ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ชีวิตเด็กทุนก.พ. ในอเมริกา (ตั้ง 10 ปี แน่ะ โหย..)

    ลำดับตอนที่ #10 : ชีวิตมหาวิทยาลัย..UVM..ปี ๑: การสอบเข้าเรียนป.ตรี

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.6K
      6
      11 ก.ย. 53

    กรี๊ดดด เย่ ดีใจ มากมายค่ะ หลังจากนั่งรอเงินเดือนมาแสนนานก็ได้รับซะทีในวันนี้ ไม่งั้นก็ไม่มีเงินกินขนม อดตายอยู่เมืองหนาวแถวนี้ล่ะค่ะ เพราะว่าเราจะไม่มีวันขอเงินจากทางบ้านเด็ดขาด ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เงินที่เขาให้มา มันก็จะขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของแต่ละรัฐนะ ไม่ใช่ว่าได้เท่ากันหมด แล้วขึ้นอยู่กับนิสัยการใช้จ่ายของแต่ละคนด้วย ความจริงมันก็ไม่ได้ถือว่าเยอะมาก แต่ก็ไม่ได้น้อยอดอยาก คือแบบพอเพียงพออยู่พอกินจริง ๆ  ถ้าไม่ชอปก็อยู่พอ ใครชอปก็ต้องไปขอเงินเพิ่มจากพ่อแม่ถึงจะพอ ไม่งั้นก็หางานทำซะ เหอะ ๆ

    แต่ตอนนี้เราอยากมีเงินเก็บด้วย ก็เลยหางานทำในมหาวิทยาลัย เพราะว่าวีซ่าที่ได้มา ก็ให้ทำงานได้ อาทิตย์ละ ยี่สิบชั่วโมงน่ะ ตอนนี้ก็ได้งานเป็นเด็กแลปจ้า เพราะว่าเรานั้นไปเสนอหน้าเอง กร๊าาาก ให้เขารู้จัก พูด ๆ คุย ๆ เพราะเราอยากทำงานวิจัยกับอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว

    คือวันนี้อยากพูดเรื่องการสมัครเรียนปริญญาตรีที่อเมริกาน่ะ  ระบบการรับเข้าเรียนที่นี่ก็ไม่เหมือนกับเมืองไทยนะ

    เอกสารที่ต้องเตรียม

    - ใบtranscript ที่แสดงผลการเรียนของเราเป็นภาษาอังกฤษ แบบสีปี จึงต้องใช้ตั้งแต่ของ ม.3 ถึง ม.6
    - ใบ recommendation (ใบที่อาจารย์เขียนแนะนำว่าเราเป็นอยางไรกับวิชานั้นบ้าง) จากอาจารย์เลข อังกฤษ แล้วก็รู้สึกว่าวิทย์นะคะ จำรายละเอียดมิได้ แต่หลัก ๆ ประมาณนี้
    - ประวัติการทำกิจกรรม หรือ รางวัลที่ได้รับ ควรจะให้สองด้านเด่นควบคู่กัน เพราะที่นี่เก่งอย่างเดียวเขาก็ไม่เอา
    - คะแนนTOEFL, SAT I (แต่ถ้ามี ACT, SAT II ด้วยก็ใช้ได้ พวกนี้ไม่จำเป็นต้องสอบ แต่ถ้าอยากก็สอบไป หรือกรณีมหาลัยไหนต้องการ ก็ต้องสอบ)
    - ใบสมัครเข้ามหาลัยของแต่ละที่
    - เรียงความบรรยายตัวเอง หรือ เขียนตามที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดหัวข้อมา เรียงความตัวนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญมากต้องทำให้ดีสุด ๆ เพราะเปรียบเสมือนตัวแทนเรา ก็เพราะคนอ่านใบสมัครเราไม่เห็นหนาเรานี่ เห็นแต่เรียงความ เพราะฉะนั้นเขาก็ดูตัวเราจากเรียงความนี่แหละ ว่าเป็นคนยังไง อะไรยังไง  บางคนถามว่า อ้าว แล้วอย่างนี้ก็โกหกได้น่ะสิ ก็ถูกค่ะโกหกกันได้ ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่ส่วนใหญ่ไม่เห็นเขาทำกัน แต่บอกไว้ก่อนว่า กรรมการตัดสินเราเขาชำนาญ อ่านเรียงความมาตั้งกี่พันกี่หมื่นฉบับแล้ว เขาก็รู้แหละถ้าเราเขียนแบบไม่ใช่ตัวเอง อะไรประมาณนี้
    - supplication ตัวนี้หมายถึง ประมาณว่าเวลาเราสมัครมหาลัยแต่ละที่เขาจะต้องมี ข้อกำหนดย่อย ๆ ของเงื่อนไขการสมัครอีก มันคือสิ่งที่เขากำหนดไว้ให้ทำ หรือให้ส่งไปให้เขาด้วยนะ เป็นเอกสารเพิ่มเติมที่เขาอยากได้ มีอะไรบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ ต้องดูดี ๆ
    - ใบรับรองสถานะทางการเงิน เพื่อให้เขามั่นใจว่าเรามีเงินจ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าไม่มีเงินแล้วอดเรียน มันมีทุนมากมายให้ขอค่ะ ลองศึกษาดู

    ระบบการสมัคร

    - เลือกสมัครกี่มหาลัยก็ได้ ไม่จำกัดจำนวน ขึ้นอยู่กับจ่ายค่าสมัครไหวหรือไม่ เพราะใบสมัครแต่ละที่อาจฟรี หรืออย่างต่ำก็ราคา $50  แต่ส่วนใหญ่จะสมัครกันสิบที่ค่ะ
    - ไม่มีการมาบังคับให้เลือกคณะ ไว้สี่ห้า อันดับ พอได้อันไหนก็ได้อันไหน หรือ ตกอันไหน ก็เลื่อนอันถัดไปขึ้นมา ไม่มีค่ะที่นี่ คณะนั้นไม่จำเป็นต้องเลือกก่อนด้วยซ้ำ ส่วนใหญ่จะให้เลือกตอนเรียนปีสอง เพราะเขาต้องการให้นักเรียนเรียนดูให้รู้ก่อนว่าชอบจริงไหม แล้วจึงตัดสินใจเลือก
    - มีการสมัครแบบยื่นก่อน กับยื่นตามปกติ 
            ยื่นก่อน (Early Decision) คือหมายถึงว่า ส่งใบสมัครเร็วกว่าเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติที่เขารับสมัคร เพราะฉะนั้นจะรู้ผลเร็วกว่าปกติ ถ้ามหาลัยนั้น ๆ มีระบบนี้ก็ทำได้  ข้อดีก็คือคู่แข่งน้อย ข้อเสียคืออาจเตรียมตัวไม่ทัน เพราะต้องเร่งรัดทำทุกอย่างให้เรียบร้อย
           ยื่นปกติ (Regular Decision) ก็ยืนตามกำหนดปกติทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นเดือน มกราคมหรือธันวาคม
    - พอส่งใบสมัครและเอกสารครบแล้วก็นั่งรอผลค่ะ เขาจะส่งจดหมายมาบอกเองว่าติดหรือไม่ติด จดหมายไม่ติดอาจจะเขียนยาว หน่อย เหอๆ  ไม่รู้สิ ที่เจอเป็นแบบนั้นค่ะ  ออ มีทิปนิดนึง อันนี้แอบสังเกตมาเอง ก๊ากก  คือว่าซองจดหมายที่บอกว่าติดน่ะค่ะ จะส่งโบชัวร์ประกอบการสมัครเรือน หรือแนะนำคอร์สแนบมาด้วย คือซองจะหนา ๆ หน่อย เพราะมีเอกสารหลายอย่าง  แต่ถ้าซองนี่บางเฉียบบบบละก็ อาจจะกินแห้ว อันนี้ก็แล้วแต่นะ ของเราเป็นแบบนี้ เหอๆ
    - พอติดมหาลัยแล้วเนี่ย ก็มานั่งนับ นั่งดูว่าเราติดกี่ที่ บางคนติดเยอะเกิน เลือกยาก คือว่าเวลามหาลัยเขารับเราแล้วเนี่ย เราจะมีสิทธิตัดสินใจอีกที ว่าจะเอาไม่เอา ไม่ใช่ว่า ติดแล้วต้องเข้าเลยนะ นี่คือข้อดีของที่นี่ สมมติติดสิบที่ ก็เลือกที่ที่มั่นใจว่าจะไป แล้วอีกเก้าที่เราก็เขียนจดหมายไปสละสิทธิ์ซะ  ตอนแรกแอบรู้สึกว่ามันดูโหดร้าย แต่คือมันก็เป็นระบบที่เขาทำกันแบบนี้ค่ะ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ได้อะไรขนาดนั้น
    - พอตัดสินใจได้แล้วก็จะมีการ์ดให้เขียนไปว่า เรายินยอมและตกลงรับเข้ามหาลัยนี้ และพร้อมแนบเงินค่ามัดจำไปด้วย ประมาณ ห้าร้อย นะคะ ส่วนใหญ่
    - แต่ว่าบางครั้ง เราไม่ติดมหาลัยนั้นแต่อาจอยู่ใน wait list ก็ได้ค่ะ คือบางที่ก็บอกไว้ว่าเราอยู่ในเวท ลิสต์ แปลว่าเรายังไม่ได้ที่ตรงนั้น แต่ถ้ามีการขยับตำแหน่ง ก็อาจจมีสิทธิ์ เผื่อมีคนสละสิทธิ์ไรเงี้ย ก็ต้องส่งไปบอกเขาอีกว่าจะยินยอมอยู่ในลิสต์ไหม
    - แล้วก็คือความจริงแล้ว มหาลัยที่เราติดแล้วจ่ายค่ามัดจำไปแล้วเนี่ย เรายังสามารถมารอ wait list ของมหาลัยอื่นได้นะ แบบว่าอยากเข้ามหาลัยนั้นจริง ๆ อะไรแบบเนี้ย แต่พอเราได้เลือนจากลิสต์ขึ้นไปแล้ว ตังค์ที่จ่ายไปกับมหาลัยอื่นก็คือเสียไปเลยนะ คืนไม่ได้แล้วอะ เพราะฉะนั้นต้องตัดสินใจให้ดีค่ะ
    - หรือถ้าใครเรียนปีหนึ่งที่นั่นแล้วไม่ชอบก็ขอ transfer หรือย้ายไปที่อื่นได้ ดูเงื่อนไขการย้ายให้ดี

    นี่ก็เป็นการสมัครสอบแบบคร่าว ๆ ค่ะ วันหลัง ว่าง ๆ จะมาเจาะลึกรายละเอียดอีกทีเนอะ  ไปก่อนนะ หิวข้าวเย็นแล้ววว

    ปล.มีไรถามมาได้เหมือนเดิมค่ะ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×