ครั้งแรกของโลก แพทย์ศิริราชพบโปรตีนชนิดใหม่ในปัสสาวะยับยั้งเกิดนิ่วในไต
เขียนโดย
dolly_hehe
นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด จากสถานส่งเสริมการวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้พยายามที่จะไขปริศนาโรคในมนุษย์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับงานวิจัยด้านการแพทย์ที่เรียกว่า โปรตีโอมิกส์ (Proteomics) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตรวจสอบชนิด ปริมาณ และหน้าที่ของโปรตีนจำนวนมากในคราวเดียวกันอย่างเป็นระบบ โดยโปรตีนบางชนิดในร่างกายมนุษย์อาจมีปริมาณที่มากเกินไปหรือขาดหายไป หรืออาจมีคุณสมบัติรวมทั้งหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และเกิดโรคในที่สุด
สำหรับโครงการวิจัยที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านโปรตีโอมิกส์เพื่อศึกษา วิจัยโรคหลายชนิดด้วยกัน โครงการหนึ่งที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ได้แก่ การศึกษาโรคนิ่วในไต ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อย มีอุบัติการณ์สูงถึง 1 – 20 % ของคนทั่วโลก และพบได้บ่อยในคนไทยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบอุบัติการณ์สูงถึง 0.6 – 16 % ของประชากรในแถบนั้น อีกทั้งยังเป็นโรคเก่าแก่เพราะมีหลักฐานการค้นพบก้อนนิ่วในไตของมัมมี่ที่มี อายุถึง 7,000 ปี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตมีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งด้านอาหาร การบริโภค สิ่งแวดล้อม หรือพันธุกรรมที่อาจส่งผลให้มีการขับสารบางอย่างในปัสสาวะของแต่ละคนต่างกัน ไป โดยก้อนนิ่วมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเลท (Calcium oxalate) ซึ่งพบบ่อยกว่าผลึกของสารเคมีชนิดอื่น โดยกลไกการเกิดก้อนนิ่วที่สำคัญคือ มีการโตและเกาะกลุ่มกันของผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเลทจนกลายเป็นก้อนนิ่ว ทั้งนี้ นพ. วิศิษฎ์ และทีมวิจัยของโครงการนี้ อาทิ ดร.สมชาย ชุติพงษ์ธเนศ นพ. ปรีดา มาลาสิทธิ์ นพ.สุชาย ศรีทิพยวรรณ ได้ตั้งสมมุติฐานว่า ในปัสสาวะของคนปกติน่าจะมีโปรตีนบางชนิดที่สามารถยับยั้งการโตและการเกาะ กลุ่มกันของผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเลท ทำให้ไม่เกิดก้อนนิ่ว
ผลการศึกษาพบว่า ในปัสสาวะของคนปกติมีโปรตีนที่ชื่อว่า “เทร-ฟอยล์-แฟคเตอร์-วัน” (Trefoil factor 1 หรือ TFF1) มากกว่าในปัสสาวะของผู้ป่วยที่มีนิ่วในไตประมาณ 2 – 3 เท่า โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 20 -30 คน พบว่าโปรตีน TFF1 มีคุณสมบัติในการยับยั้งการโตและการเกาะกลุ่มกันของผลึกแคลเซี่ยมอ๊อกซาเล ทได้ดี นับเป็นครั้งแรกของโลกที่พบว่าโปรตีน TFF1 ในปัสสาวะของคนปกติสามารถยับยั้งกลไกการเกิดก้อนนิ่วได้ นอกจากนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวยังได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ “Journal of Clinical Investigation” ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำระดับนานาชาติที่ได้รับความนิยมสูง และผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ นพ.วิศิษฎ์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2549 สาขาการวิจัย โดยได้รับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ 5 ก.ค. ที่ผ่านมา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
การค้นพบครั้งนี้อาจนำมาสู่การพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการเกิดโรคนิ่วใน ไตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อยอดซึ่งต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากการนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยมาใช้กับผู้ป่วยนั้นมีขั้นตอนที่ซับ ซ้อนและจะต้องมีมาตรฐาน ที่สำคัญคือต้องมั่นใจว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีกว่าการรักษาด้วยวิธีที่มีอยู่ ในปัจจุบันและเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยน้อย
นอกจากโรคนิ่วในไตแล้ว นพ. วิศิษฎ์ ยังนำเอาเทคโนโลยีทางด้านโปรตีโอมิกส์ มาศึกษาวิจัยโรคอื่น อีกหลายโรคด้วยกัน อาทิ โรคไตที่เกิดจากเบาหวาน โรคไตที่เกิดจากภาวะขาดโปแตสเซี่ยม โรคไตชนิดอื่น ความดันโลหิตสูง โรคติดเชื้อชนิดต่าง ๆ โดยโครงการวิจัยเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริ ราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิเวชดุสิตในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) คาดว่าโครงการวิจัยเหล่านี้ จะนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ที่ทำให้เข้าใจถึงพยาธิกำเนิดและกลไกการเกิดโรค ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคลดลง ระยะเวลาการรักษาโรคในโรงพยาบาลสั้นลง นอกจากนี้อาจมีการค้นพบตัวบ่งชี้และพยากรณ์โรค (Biomarkers) ซึ่งนำมาสู่การวินิจฉัยโรคที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น รวมทั้งอาจมีการค้นพบเป้าการรักษาใหม่ (Novel therapeutic targets) และมีการพัฒนายารักษาโรคชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และท้ายที่สุดอาจนำมาสู่การพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่อไป
แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม
8 เม.ย. 53
288
0
ความคิดเห็น