ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #119 : Nefertiti (แก้ไข)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.1K
      0
      26 มี.ค. 50

    แก้ตามที่ท่าน D13 แนะมานิดหน่อนะขอรับ (ข้าน้อยจะโดนกระทืบรึเปล่า?)
    Nefertiti
    ตำนานกล่าวไว้ว่า อียิปต์ไม่เคยสร้างหญิงใดจะงามได้เท่า พระนามของพระนาง หมายถึง ผู้สมบูรณ์แบบ พระสิริโฉมประดับอยู่ทุกวิหารทั่วแผ่นดิน



    Nefertiti


    พระนามเต็มของพระนางเนเฟอร์ติติ คือ เนเฟอร์เนฟรูอาเทน เนเฟอร์ติติ ซึ่งจะเห็นว่าปรากฏอยู่ในภาพประติมากรรมฝาผนังทุกแห่งภายในกรอบสัญลักษณ์รูปไข่ ตามประเพณีการจารึกพระนามของกษัตริย์ และราชินีของอาณาจักรไอยคุปต์ที่มีมาแต่สมัยโบราณ

    ตำนานกล่าวไว้ว่า อียิปต์ไม่เคยสร้างหญิงใดจะงามได้เท่า พระนามของพระนาง หมายถึง ผู้สมบูรณ์แบบ พระสิริโฉมประดับอยู่ทุกวิหารทั่วแผ่นดิน ทว่าพระนางกลับเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ ราวกับภาพมายา
    บัดนี้นักอียิปต์วิทยาเชื่อว่า เธอได้สร้างการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดนับแต่สุสานของ คิงทัต (King Tut เป็นชื่อเรียกง่ายๆของฟาโรห์ Tutankhamun หรือ Boy King : แก้ไขโดยท่าน D13) ในห้องลับที่หุบผากษัตริย์ มีซากศพโบราณ สามร่าง ในทัศนของ ดร. โจแอน เฟรตเชอร์ ร่างหนึ่งอาจไม่ใช่ใครที่ไหน นอกจากราชินีผู้สาบสูญแห่งอียิปต์ ชื่อ เนเฟอร์ติติ














    คัมภีร์มรณะของอียิปต์
    กล่าวถึงคำสาป ที่น่ากลัว หากทำให้มัมมี่ทำให้สุญเสีย ชิ้นส่วน เทพเจ้าจะไม่อาจจดจำได้ และอาจทำให้ไม่สามารถก้าวสู่ชีวิตหลังความตาย ติดค้างอยู่ในโลกของคนเป็นและคนตาย มัมมี่ นี้ นอนอยู่ที่หุบผากษัตริย์ มานานถึง 3,000 ปี

    ในปี 1912 ท่ามกลางทะเลทรายในอียิปต์ นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ได้พบวัตถุโบราณ มันคือรูปปั้นครึ่งตัวของราชินี ที่ถูกลืมเลือน การค้นพบที่น่าอัศจรรย์นี้ กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความงามไปทั่วโลก ทว่าชีวิตของพระนาง คงเป็นปริศนา
    พระนางเนเฟอร์ติติ ถูกนำไปแปลความหมายซ้ำ แล้วซ้ำเล่า ว่าหญิงผู้งดงามกำเนิดแล้วในหลาย ๆ ด้าน พระนางได้ตั้งตนเป็นผู้เลอโฉมในราชสำนัก และหญิงผู้นี้ก็มีค่ามากกว่าความงาม
    อียิปต์มีราชินีที่สำคัญหลายพระองค์ แต่ว่าเนเฟอร์ติติกลับโดดเด่น ด้วย ทรงมีบางสิ่งที่พิเศษ กล่าวกันว่าอำนาจของเนเฟอร์ติติ ช่างยิ่งใหญ่ ทรงประสูติในฮาเรม ทรงอภิเษก กับฟาโรห์ และช่วยนำการปฏิวัติที่เปลี่ยนอียิปต์ไปตลอดกาล
    พระนางมีพระสวามี นำการอพยพจากเมืองหลวงเก่า และสร้างเมืองใหม่ทีสวยงามกลาง ทะเลทราย
    สำหรับบางคนพระนางคือผู้ฝักใฝ่ ศาสนา นักวางแผน และคนทรยศ แต่หลายคนกลับมองพระนางว่า เป็นวีรสตรีที่ยอมเสียสละอย่าง สูงสุด เพื่อปกป้องประเทศ ราชินีแห่งความรัก ราชินีแห่งความริษยา ราชินีผู้เต็มไปด้วยเพลิงแค้น

    สถานที่ประสูต
    เมืองมัลกาตา สถานที่ซึ่งเนเฟอร์ติติใช้ชีวิตในวัยเยาว์เป็นพระราชวังคที่งดงามที่สุดในอียิปต์โบราณ ที่ประทับของฟาโรห์ ท่ามกลางสนมนางใน 500 คน ฮาเรมอันกว้างใหญ่ของ อเมนโฮเทป ที่ 3 หนึ่งในฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ของอียิปต์ ราชินีไทยี จะคัดเลือกหญิงสาวในที่นี่มาเป็นราชินี และเนเฟอร์ติติ ก็อยู่ในนั้น และเธอ ได้รับเลือก ให้เป็นราชินี

    พระโอรสองค์ใหญ่ของ ไทยี ทุสโมซิส ผู้มีบทบาทในชีวิตของเนเฟอร์ติติ ยามทรงพระเยาว์ ทุสโมซิส องค์รัชทายาทได้ สิ้นพระชน เมื่ออายุน้อย ก็ถึงคราวอเคนาเทน และเนเฟอร์ติติ กลายมาเป็นผู้สืบทอดบัลลังค์ ต่อไป

    ขึ้นครองราชย์
    ทว่าจากวันที่ขึ้นครองราชย์ ของพรองค์ทั้งสอง ความเครียดเริ่มเพิ่มมากขึ้น ในหมู่นักบวชชั้นสูง ผู้ปกป้องเทพ ที่สำคัญที่สุดของอียิปต์ ที่เรียกว่า ลัทธิ อามุน อำนาจของพวกเขาเทียบได้กับ ฟาโรห์ เลยครับ พวกเขาคือชนชั้นสูง แถมหัวอนุรักษ์ เป็นเพศชาย มีระเบียบ มีวิธีคิด และนอกจากนั้น พวกเขาก็ยังร่ำรวยอีกด้วยครับ
    ฟาโรห์อะเคนาเตนและพระชายาสาบานว่า จะลิดรอนอำนาจของพวกเขา และดำเนินการต่อสู้ ต่อ ลัทธิอามุน ทำลายวิหารจนพัง

    คานัก ที่สร้างในเมืองหลวงเก่า ธีบ เป็นวิหารที่ตระการตาที่สุดที่โลกรู้จัก พิธีกรรมประจำวันของเหล่านักบวช ในการสร้างความบริสุทธิ์ ช่วยรักษาระเบียบ แนวคิดที่สำคัญ ที่ชาวอียิปต์โบราณเรียกว่า มาอัด หมายถึง วิธีการที่ถูกต้อง ในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เหมาะสม ความจริง ความยุติธรรม เสรีภาพ ที่เป็นเชิงบวก มาอัดจะรักษาไว้ครับ

    ศูนย์กลางแห่งความเป็นระเบียบอยู่ในวิหารครับ ที่กลางระเบียงยาวกว่า หนึ่ง ไมล์ มีเทพอามุนสถิต อยู่

    คานัค สร้างขึ้นมาโดยคนหลายรุ่น ฟาโรห์ ทุกองค์ ถูกสร้างให้สร้างวิหาร มอบแด่อามุนมากขึ้น แต่อเคนาเตนและ เนเฟอร์ติติ กลับทำลายประเพณีนี้ และทำให้คานัค เกิดความโกลาหล
    ในวิหารมีหอคอย ซึ่งค่อนข้างแคบ เป็นที่ที่นักบวชแห่งอามุน ปีนขึ้นมาบนยอดวิหาร ซึ่งเป็นหอดูดาวอีกด้วย พวกเขาสร้างแผนที่ดวงดาว เส้นทางดาวเคราะห์ รวมถึง หาฤกษ์ยาม เพื่อทำพิธีกรรมศักสิทธิ์ ครับ สำหรับการปกครองประเทศนั่นเอง และที่นี่ ถูกสันนิฐานเป็นต้นกำเนิดของการปฏิวัติ และทั้งสองพระองค์ บูชาเทพสูงสุด ขึ้นใหม่ คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ อาเตน
    ทั้งสองพระองค์แต่งตั้งตนเป็นนักบวช และนักบวชหญิง ประจำวิหารแห่งอาเตน ทั้งสองพระองค์สาบานว่า จะยึดอำนาจคืน จากนักบวชแห่งอามุน และไม่กี่ปี พวกเขาก็สร้างอนุสาวรีย์ ได้บดบัง วิหารคานัคเดิม

    สำหรับนักบวชอามุน วิหารแห่งอามุน คือการล่วงล้ำเทพสูงสุด

    จากการขุดค้น มีภาพของเนเฟอร์ติติ ภาพต่างแสดงว่า เนเฟอร์ติติ มีบทบาทในการสร้างวิหารดวงอาทิตย์ ถวายแด่เทพอาเตน

    นักบวชชั้นสูงแห่งอามุน สวมวิกที่ใช้ในพิธีกรรม มองวิหารแห่งดวงอาทิตย์ว่า เป็นการลบหลู่ และเป็นภัยต่ออำนาจของพวกเขา อเคนาเตนเป็นฟาโรห์ นานกว่า 5 ปี มีการอ้างอิงในบันทึก กล่าวถึงความชั่วร้าย จนทำให้พวกนักบวช พยายามที่จะทำลายแผนการณ์ และโค่นอำนาจฟาโรห์ อเคนาเตนลง

    ฟาโรห์ และราชินี เริ่มระส่ำระส่าย จึงดำเนินการแผนใหม่ ทั้งคู่ ดำเนินการละทิ้งธีบ ที่เคยเป็นเมืองหลวงของอียิปต์หลายร้อยปี จากแรงบันดาลใจ ของภาพเทพ อาเตน ทำให้ อเคนาเตน ออกมุ่งหน้าไปในทะเลทราย พระองค์ทรงแสวงหาที่สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ที่ปลอดภัยห่างไกลศัตรู เป็นฐานสำหรับการปฏิวัติ
    นี่คือการปฏิวัติ ที่ทำให้เนเฟอร์ติติ กลายเป็นหญิงที่มีอำนาจสูงสุดในโลก พวกสวามีและเนเฟอร์ติติ ออกเดินทางไปในทะเลทราย

    ไกลออกไป 200 ไมล์ จาก ธีบ เป็นเมืองใหม่ ที่เรียกว่า อามานา (เอ่อ...ขอแก้นิด - - เมืองที่ฟาโรห์ Akenatenไปสร้างใหม่ มีชื่อในสมัยนั้นว่า Akhetaten คับ (แปลว่าขอบฟ้าแห่ง Aten) ส่วนชื่อ อมานา นั้น เป็นชื่อสมัยใหม่ที่ชาวกรีกเรียกสถานที่บริเวณที่ตั้งเมือง Akhetaten ในสมัยเก่าคับ : โดยท่าน D13)
     พระองค์ตัดสินใจสร้างเมืองที่นี่ ทุก ๆ วันหนึ่งของปี ดวงอาทิตย์เดูเหมือนจะกำเนิดขึ้นใหม่ระหว่างภูเขาสองลูก นับเป็นจุดที่สมบูรณ์แบบ ของการบูชาพระอาทิตย์

    อเคนาเตน และเนเฟอร์ติติ เริ่มต้นวางผังเมืองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อียิปต์ เมืองที่ออกแบบมาเพื่อบูชาดวงอาทิตย์ กระทั่งถนน และการจัดวางวิหารต่าง ๆ คนนับพัน ต่างตามพระราชา และพระราชินี ท่ามกลางทะเลทราย พวกเขา ไม่มีทางเลือก มีการสร้างเมือง การงานก็ตามมา ช่างหินและช้างฝีมือเข้ามาสร้างเมืองใหม่ หลายคน ก็กลับใจมาบูชาเทพเจ้าองค์ใหม่ และนักแสวงโอกาส ก็หลั่งไหล่เข้ามา













    ขณะที่ Akhetatenใกล้แล้วเสร็จ มันสร้างขึ้นไม่กี่ปี ด้วยความเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ Akhetaten เป็นที่พักอาศัย ที่วางแผนไว้อย่างดี แห่งแรกของโลก ทั้งสองพระองค์ เสร็จจากธีบ มาสู่บ้านใหม่ ทั้งสองพระองค์ มาถึง มีการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ และไม่นานเมืองนี้ มีประชากรถึง 50,000 คน และเมื่อปลอดประเพณี ทั้งสองพระองค์ ก็มุ่งที่สร้างอียิปต์ใหม่ 

    Akhetaten นี้ ถูกออกแบบมาให้ลึกลับกว่าแค่เมืองครับ มันถูกโอบล้อมด้วยหน้าผาสามด้าน และแม่น้ำไนล์ ขนาบเป็นด้านที่สี่ ทำให้Akhetaten เปรียบเสมือนป้อมปราการ จากปราการนี้ ทั้งสองพระองค์ได้ทำการปฏิวัติ และเป้าหมายแรก คือ นักบวชแห่งอามุน















    ศิลปะโบราณ บ่งบอกถึง ความสุขของชาวบ้าน รูปแกะสลัก มีรูปรถม้าศึก ซ้ายขวา คำจารึก อ่านว่า พระชายาหลวงผู้ยิ่งใหญ่ รูปทางซ้ายเป็นเนเฟอร์ติติ พระนางขับรถม้าศึกด้วยพระองค์เอง
    พระราชินี เคียงข้างพระราชาอยู่ทุกเมื่อ
    ราชินีแข่งขันกับกษัตริย์ เป็นอีกหนึ่งที่มีข้อพิสูจน์ว่า เนเฟอร์ติติ กุมอำนาจเบื้องหลังราชบัลลังค์ ที่ต่างจากราชินีส่วนใหญ่ในอียิปต์โบราณครับ พระนางมีบทบาทสำคัญในราชสำนัก และพระนางกับพระสวามีก็มัก จะแสดงว่า มีศักดิ์และสิทธิ์ ที่เท่าเทียมกัน และบางภาพของเนเฟอร์ติติก็ไปไกลกว่านั้น คือ พระนางปฏิบัติหน้าที่แทนฟาโรห์ซะเอง มีบางภาพที่พระนางจัดการศัตรู อำนาจมีมีเพียงกษัตริย์ เท่านั้น ที่จะจัดการกับศัตรูได้ครับ และนี่ไม่ใช่อำนาจของราชินี แต่เป็นอำนาจของกษัตริย์ครับ
    นักโบราณคดีสันนิฐานว่า เนเฟอร์ติติต้องแลกอะไรมากมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจนี้ และเบาะแสก็อยู่ในภาพเหล่านี้นี่เองครับ
    มีกองกำลังชายที่กำลังวิ่ง พวกเขาถืออาวุธหลากหลายชนิด ตั้งแต่ ขวาน หอก โล่ ธนู ด้วย

    พระองค์มีทหารจำนวนมาก เพื่อรักษาความปลอดภัย กันทั้งคนในคนนอก และดูเหมือนฟาโรห์ จะไม่ทรงเป็นที่นิยมที่บ้าน ดังนั้นพระองค์จึงต้องการทหารจำนวนมาก

    จุดเปลี่ยนแปลงอียิปต์
    เพื่อหาเงิน มาสร้างอามานา จัดการศัตรูเก่า เนเฟอร์ติติ และอเคนาเตน ทรงทำลายวิหารแห่งคานัค นักบวชหลายพันคน ถูกขับออกจากตำแหน่ง จนเกิดความระส่ำระส่าย ไปทั้งอียิปต์
    บัดนี้ หัวใจของประชาชน คือวิหาร ถูกทำลาย คนจำนวนมากตกงาน ไม่มีใครกล้าวิจารณ์กษัตริย์ จากนครที่รุ่งเรือง กลายเป็นเมืองที่น่ากลัว เทพเจ้าเดิมถูกละทิ้งไป และเกิดลัทธิใหม่ โดยเทพเจ้าอาเตม หลังจากยกเลิกประเพณีนานหลายพันปี อเคนาเตน และเนเฟอร์ติติ ทำให้เกิด วิกฤตศรัทธา ในอียิปต์ อเคนาเตนได้ทำลายความเชื่อของผู้คน จนทำให้บางคนไม่ยอมก้มหัวในราชวงค์นี้ครับ ได้เพียงแต่หมอบคลาน อย่างไม่เต็มใจเท่าใดนัก
















    ทำให้อียิปต์ก้าวเข้าสู่ วิกฤตภาวะเศรษฐกิจ และความไม่สงบทางการเมือง เมื่อทหารต้องคอยรักษาความสงบในบ้านเมือง ทำให้ชายแดนของอียิปต์ จึงไร้การป้องกัน เหตุการณ์เลวร้ายลงเรื่อย ๆ บ้านเมืองก้าวสู่หายนะ แต่ อาเคนาเตน ยังคงก้าวสู่การปฏิรูปอียิปต์ ไม่ว่าจะแลกกับอะไรก็ตาม


    อย่างไรก็ตาม เนเฟอร์ติติ ต้องแก้วิกฤต ต่าง รวมถึง เรื่องส่วนพระองค์ด้วย นั่นคือศัตรู ที่คุกคามตำแหน่งของพระองค์ เนเฟอร์ติติ มีพระธิดาทั้งสิ้นอยู่ 6 พระองค์ แต่พระสนมนาม คียา กลับมีประสูติการที่พระองค์ต้องการ นั้นก็คือ โอรส ว่าที่กษัตริย์ ตุตันคามุน แต่ คียา ที่เป็นคนโปรดขององค์ฟาโรห์นั้นสั้นนัก และในปี ที่ 11 การครองราชย์ ของอเคนาเตน นางก็หายไปจากบันทึก ไม่มีใครรู้ว่าทำไม บางคนคิดว่านางเป็นเหยื่อของเนเฟอร์ติติ ที่ริษยา

    ความสามารถของพระนางเนเฟอร์ติติ จากสถานการณ์รอบตัว จะได้รับการยืนยันหลังจากที่คีอา หายตัวไป และในปีที่ 12 การครองราชย์ของอเคนาเตน ขณะที่อียิปต์กำลังจะล่มสลาย เหตุการณ์พิเศษก็เกิดขึ้นในอามานา มีงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า เดอบา ซึ่งอาจจัดขึ้นโดยพระนางเนเฟอร์ติติ เอง เพื่อรับรองกับผู้คนว่า เหตุการณ์ยังปกติ






















    ภาพที่ปรากฏ เป็นเนเฟอร์ติติ เคียงข้างพระสวามี ไม่ใช่ราชินี แต่เป็นผู้ปกครองร่วม ที่เสมอภาคกัน จนทำให้พระนางกลายเป็นหญิงที่ทรงอำนาจที่สุดในโลกในครั้งนั้นเลยครับ
    เรื่องไม่ง่ายขนาดนั้น นาทีแห่งชัยชนะมาพร้อมกับหายนะ ท่ามกลางเครื่องราชย์บรรณาการกษัตริย์ มีของขวัญมรณะแฝงมาด้วย นั่นก็คือ โรคระบาด แต่โรคอะไรนั้น ในบันทึกไม่ได้กล่าวถึง แต่มันระบาดไปทั่วเมือง จนถึงพระราชวัง จนคร่าชีวิต พระธิดาองค์โปรดของเนเฟอร์ติติ ไปด้วย
    และในปี ที่ 14 เนเฟอร์ติติ ก็หายไปจากบันทึก นักอียิปต์วิทยาบางคนเชื่อว่า พระนางสิ้นพระชนเพราะโรคระบาด และอีกหลายคนคิดว่า พระนางพ่ายแพ้ให้กับศัตรูเพศชาย ที่มีชื่อว่า สเมนทาเรย์ ซึ่งมีชื่อมาแทนพระนางในบันทึก ตัวละครลึกลับผู้นี้กลายมาเป็นผู้ครองบัลลังค์ ร่วมกับอเคนาเตน และสืบทอดตำแหน่งฟาโรห์องค์ถัดมา
    แต่นักอียิปต์วิทยาหลายคนก็เชื่อว่า สเมนทาเรย์ คืออีกพระนามหนึ่งของเนเฟอร์ติติ

    ราชินีผู้ยิ่งใหญ่จะมีชีวิตต่อมาและปกครองอียิปต์ในฐานะ สเมนทาเรย์


    เบาะแส มัมมี่ ที่คาดว่าจะเป็นเนเฟอร์ติติ

























    มัมมี่ นี้จะผิดอายุหรือผิดเพศหรือไม่ ร่างของเนเฟอร์ติติ ถูกเก็บไว้อย่างดี พวกเขาต้องใช้วิธีเอ็กเรย์ การใช้ดีเอ็นเอ เป็นเรื่องต้องห้ามครับ ผลการใช้เอ็กเรย์ บอกว่า ร่างมัมมี่ นี้เป็นเพศหญิง เมื่อดูที่ทรวงอก พวกเขาได้เบาะแส ด้านเชิงกราน และสันหลังตรงเอว มีการอัดกันแน่น
    มี ลูกปัดที่โจรทิ้งไว้เมื่อมีการปล้นสุสาน ได้ขโมยเครื่องประดับจากลำคอ ของมัมมี่ ลักษณะนี้เหมือนเครื่องรางของอียิปต์โบราณ เนเฟอร์ติติ มีชื่อเหมือนลูกปัดชื่อว่า ลูกปัด เนเฟอร์ ซึ่งมีแต่คนในราชวงค์เท่านั้นที่จะสวมใส่ เนเฟอร์ติติ จะสวมรอบคอ อย่างหรูหรา ไม้จะห่อร่าง จากวัสดุที่ใช้ทำมัมมี่ จึงต้องเป็นคนที่มีฐานะสูงส่งครับ


    หุบผากษัตริย์
    สาเหตุการตายของเนเฟอร์ติติ
    จากร่องรอยของมัมมี่ มีฟันคุด ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ ดูแล้วเหมือนคนผู้นี้ ยังเด็กอยู่ ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ถึงผู้ใหญ่ตอนต้น ครับ โดยสันนิฐานจากสันหลัง อายุแม้จะประเมินได้ยาก
    เนเฟอร์ติติ ให้กำเนิดธิดาถึง 6 องค์ พระนางคงไม่ใช่หญิงสาวแรกรุ่นแน่ ถึงแม้ว่าจะอภิเษก แต่เยาว์วัย ทำให้คาดว่า พระนาง คงสิ้นพระชนต์ เมื่อ 20 ตอนกลาง

    สาเหตุการเสียชีวิต
    มีความเสียหายบนใบหน้า หลายร้อยปี หลังจากที่ร่างถูกฝัง

    สุสานของพระองค์ ตั้งอยู่ห่างจาก อามานา 4 ไมล์ หันเผชิญหน้ากับดวงอาทิตย์ขึ้น ในฐานะรัชทายาทของพระสวามี เนเฟอร์ติติเท่านั้นที่จะทำหน้าที่ พิธีเปิด พระโอษฐ์ที่จะทำพิธีกรรมที่จะทำให้พระสวามี ทรงเป็นอมตะ พระทรงเดินนำขบวน และตามด้วย ตุตันคามุน อาจร่วมมาด้วย ดำเนินการฝังพระศพแก่สวามีผู้ล่วงลับ
    ตามประวัติศาสตร์ เนเฟอร์ติติ น่าจะถุกฝังแล้ว สุสานของอเคนาเตน สร้างเสร็จแล้ว แต่สุสานของเนเฟอร์ติติ จากร่องรอยการขุดค้น คาดว่า สุสานของเนเฟอร์ติติ ยังสร้างไม่เสร็จ

    ข้อพิสูจน์ว่า เนเฟอร์ติติยังมีพระชนชีพอยู่ ขณะที่อเคนาเตน ถูกฝังในโลง รายล้อมไปด้วยรูปปั้นของพระนาง จนพระนางได้กลายมาเป็นเทพธิดาเพื่อปกป้อง อเคนาเตน ถูกแทนที่ รูปปั้น เทพธิดา และเป็นฟาโรห์ด้วยพระองค์เอง























    แต่การสิ้นพระชนของพระสวามีเป็นสัญญาณการจบสิ้นของการปฏิวัติ อาณาจักรใกล้จะล่มสลายแล้ว เพื่อปกป้องอียิปต์ เนเฟอร์ติติ ได้หันหลังทุกสิ่งที่ทรงรัก แม้กระทั่งเทพเจ้า

    แต่ศพของพระนางถูกฝังไกลจากอามานาถึง 200 ไมล์ได้อย่างไร
    หลังการสิ้นพระชนของพระสวามี เนเฟอร์ติติ ครองบัลลังค์สืบมา ระหว่างขั้นตอนของการล่มสลาย ขั้นแรก พระนาง ต้องปกป้องพระองค์เอง และราชวงค์ เพื่อรักษาบัลลังไว้ แด่รัชทายาท เนเฟอร์ติติ ได้จัดให้พระธิดาของพระองค์ อานัคซุนามุน บ้างคนก็เรียกว่า แองเกสเซปาเตน ครับ (อานัคซุนามุน กับ แองเกสเซปาเตน นั้นมีชื่อที่เขียนเป็นภาษา Eng ว่า Ankhesenamun และ Ankhesenpaaten คับ หรืออ่านตามภาษา Hieroglyphs ว่า anx-s-n-imn และ anx-s-n-pa-itn คับ จริงๆแล้วประโยคที่ว่า "อานัคซุนามุน บางคนก็เรียกว่า แองเกสเซปาเตน" นั้นไม่ค่อยถูกต้องนักคับ เพราะว่าชื่อทั้ง 2 ไม่ได้ถูกใช้พร้อมกันแต่ว่าชื่อตอนเกิดของเธอคนนี้คือ Ankhesenpa"aten" คับ แต่พอหมดยุคสมัยของฟาโรห์ Akhenaten แล้วเทพ Aten ก็ถูกยกเลิกแล้วกลับไปบูชาเทพ Amun ตามเดิม เธอเลยเปลี่ยนชื่อมาเป็น Ankhesen"amun" ไงคับ : โดยท่าน D13)
    อภิเษก ว่าที่กษัตริย์ ตุตันคามุน ที่ต่อมาเรียกว่า คิงทัต แม้สิ่งที่ต่อไม่ได้บันทึกไว้

    70 วันหลังสิ้นพระชน การทำมัมมี่ให้พระองค์ก็เสร็จสมบูรณ์ ช่างทำมัมมี่หลวงร่ายมนต์ และทำพิธีกรรมเพื่อช่วยให้รักษาร่างมัมมี่ไว้ต่อไป

    และการทำลายพระศพ ถือเป็นการลิดรอนอำนาจของพระองค์ ถือว่าเป็นการแก้แค้นครับ แบบว่า ตอนมีชีวิตอยู่ พวกนักบวช ไม่สามารถแก้แค้นได้ แต่เมื่อ พระนาง สิ้นประชนไปแล้ว พวกเขา ก็กลับมาทำลาย พระสิริโฉมของพระองค์ และกักขังวิญญาณ ของพระนางให้เวียนว่ายไม่ได้กลับมาเป็นมนุษย์ตลอดกาลครับ

    นี่อาจเป็นฆาตกรรม ร่องรอยเริ่มต้นที่หุบผากษัตริย์ ที่นี่ หลายร้อยปีหลังการสิ้นพระชนต์ของเนเฟอร์ติติ สุสานของพระองค์ถูกขโมย และมัมมี่ถูกทำให้เสื่อมเสีย ทุกร่องรอยลำดับชั้นและอำนาจ ถูกขโมยไป แม้กระทั่ง วิกจากพระเศียร ยังถูกกระชากออกไป จากนั้นการล่วงเกินที่ร้ายแรงที่สุด พระพักษ์ถูกฟาด มิเพียงทำลายพระศิริโฉมเท่านั้น ตัวตนของพระนางด้วย เหมือนมีใครสักคนไม่ให้พระนางก้าวสู่ชีวิตหลังความตาย แต่พวกเขาก็ทิ้งเบาะแสไว้เบื้องหลัง

    พระองค์ใช้ชีวิตอย่างวิเศษ ตั้งแต่เจ้าสาว ราชินี เทพธิดาที่มีชีวิต และฟาโรห์ พวกนอกรีต นักปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงอียิปต์ และล้มเหลว ทำให้ประเทศเข้าสู่ความวุ่นวาย ที่อาจนำไปสู่การสิ้นพระชน
    เนเฟอร์ติติ ฝังในหุบผากษัตริย์ ขบวนพระราชพิธีศพ นำโดย ฟาโรห์ ตุตันคามุน และพระธิดา อานัคซุนามุน รัชทายาท ไม่รู้เลยว่า เนเฟอร์ติติ จะถูกละเมิด โดย นักบวชแห่งอามุน ผู้ไม่ยอมให้อภัย คนที่เนเฟอร์ติติ และพระสวามี พยายามจะทำลาย ได้ลงมือล้างแค้นอย่างเหี้ยมโหด โดยทำลาย ใช้มีด ขวาน ของมีคม ทำลายพระศิริโฉม พระนาง จนหมดสิ้น



















    รูปปั้นภาพเหมือนของราชินีเนเฟอร์ติตินี้จัดว่าสวยงาม และได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานประติมากรรมชั้นเยี่ยมของโลกอีกชิ้นหนึ่ง ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ในเบอร์ลิน รูปปั้นนี้มีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คนที่ได้ไปเยี่ยมชมตลอดมาทุกปี เป็นรูปปั้นที่แสดงถึงฝีมือของประติมากรในสมัยอียิปต์ยุคโบราณอย่างแท้จริง สามารถถ่ายทอดจิตวิญญาณและบุคคลิกลักษณะของพระองค์ออกมาได้ใกล้เคียงมากที่สุด ดูมีชีวิตชีวาอย่างน่าประหลาด จัดว่าเป็นราชินีที่สวยที่สุดในแผ่นดินไอยคุปต์

    รูปปั้นภาพเหมือนนี้ระบายสีด้วยธรรมชาติ สังเกตุตั้งแต่มงกุฏลงมาจะเห็นได้ว่าตกแต่งได้สวยงามมาก ไม่ว่าจะเป็นพระขนง พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระกรรณ และพระศอ ดูรองรับกันได้สัดส่วนพอเหมาะกับราชินีที่มีพระชนมายุ 30 พรรษา

    ใต้พระศอและพระอังสาลงมาทรงสวมฉลองพระศอแบบอะมาร์นาที่ทำด้วยลูกปัดสีรูปดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้ และกลีบดอกที่ออกแบบได้วิจิตรตระการตา

    กล่าวกันว่า ราชินีเนเฟอร์ติติอาจทรงสูญเสียพระเนตรด้านซ้ายก่อนจะถึงพระชนมายุดังกล่าวก็เป็นได้ เพราะในสมัยนั้น ชาวอียิปต์โบราณประสบโรคตาได้ง่ายกว่าปัจจุบัน เป็นที่น่าเสียดาย ทฤษฏีนี้ถูกหักล้างเมื่อพบหลักฐานโบราณวัตถุอีกหลายชนิด และโดยเฉพาะจากภาพนูนแกะสลักหรือจิตรกรรมฝาผนังที่ค้นพบ แสดงให้เห็นถึงพระสิริโฉมของพระนางเนเฟอร์ติติทั้งช่วงก่อนและหลังพระชนมายุดังกล่าว ทุกภาพจะสังเกตุได้ว่าทรงมีพระเนตรเป็นปกติ ไม่แสดงว่าพระเนตรด้านซ้ายผิดปกติแต่อย่างใด

    อีกทฤษฏีหนึ่งนักอียิปต์วิทยาหลายคนได้เสนอว่า สาเหตุที่รูปปั้นราชินีเนเฟอร์ติติไม่มีพระเนตรด้านซ้าย เนื่องจากช่างสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แนวความคิดนี้มีนำหนักมากขึ้นเมื่อมีผู้อ้างว่า สาเหตุเนื่องจากมีเหตุการ์ณร้ายแรงที่เมืองอาเคนทาเทน ต่างทิ้งเมืองหนีภัยร้ายแรงไปอย่างกระทันหัน แต่ในที่สุดทฤษฏีนี้ก็ตกไป เมื่อมีหลักฐานยืนยันว่าช่วงที่เมืองนี้ถูกยกเลิก ปรากฏว่าพระนางเนเฟอร์ติติทรงมีพระชนมายุอย่างน้อยที่สุดคือ 35 พรรษา

    ตามความเป็นจริงแล้ว รูปปั้นพระนางเนเฟอร์ติติสวยและมีเสน่ห์อย่างประหลาด บางทีทุตโมสอาจประสบชะตากรรมที่ถูกสลัดรักอย่างไร้เยื่อใยเช่นเดียวกับชายอื่น และเนื่องจากเขาไม่มีทางแก้แค้น แต่ที่จะตัดแขนหรือคอรูปปั้น ซึ่งเป็นภาพคนรักของเขา เขาเพียงแกล้งแกสลักมิให้เสร็จสมบูรณ์ จึงเว้นพระเนตรด้านซ้ายไว้ก็เป็นได้ นี่ก็คือทฤษฏีหนึ่งที่ไม่อาจสรุปข้อเท็จจริงได้

    ปริศนาลับ
    เกี่ยวกับเรื่องราวของพระนางเนเฟอร์ติติก็คือไม่มีหลักฐานแสดงว่าพระองค์เป็นพระธิดาของฟาโรห์พระองค์ใด บ้างก็กล่าวว่าพระนางเป็นเจ้าหญิงต่างแดนที่มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงทาดูคิปา ครั้นเสด็จเข้ามาในอียิปต์ก็ทรงเปลี่ยนพระนามใหม่ อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อฟาโรห์อาเคนนาเทน ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางแล้ว ก็ทรงแปลความหมายด้วยพระองค์เองว่า พระนางทรงเป็นทายาทเป็นผู้สืบมรดก จะเห็นได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏในภาพประติมากรรมในสมัยของพระองค์ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ ทรงยกย่องพระนางมากเพียงใด และพระองค์ทรงเข้าใจว่าประชาชนของประเทศมองพระนางว่า เป็นราชินีที่ทรงมีอำนาจสำหรับพระองค์เพียงใด?

    การเคารพซึ่งกันและกันของทั้ง 2 พระองค์ จะปรากฏชัดในภาพแกะสลัก ภาพระบายสีหลายร้อยภาพ โดยเฉพาะภาพที่อามานา จะเห็นว่าทั้ง 2 พระองค์แทบไม่ได้ห่างจากกันเลย แต่ที่น่าประหลาดมากก็คือ ช่วงที่ทรงอภิเษกสมรสใหม่ๆ ก็ไม่มีท่าทีว่าจะให้กำเนิดโอรสและธิดา และจู่ๆหลังจากนั้นไม่นาน ก็มีภาพแสดงว่ามีพระธิดาที่ทรงเจริญพระชนม์แล้ว 6 พระองค์ ไม่ปรากฏว่ามีภาพแสดงเกี่ยวกับพระราชธิดาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ในโอกาสต่างๆ แต่อย่างใด ดูมีลักษณะเงื่อนงำต่อไป


    หลังจากเวลากว่า 3,000 ปี
    เมื่อวิญญาณได้ชื่อกลับคืน วิญญาณได้คืนชีพอีกครั้ง สามารถพูดคุยกับเทพ และคืนตำแหน่งอันเหมาะสม ในชีวิตหลังความตาย หวนคืนสู่ดินแดนที่เคยรู้จัก เดินทางเที่ยวสุดท้าย ไปสู่ความเป็นนิรันดร

    "โอ้..ปวงเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์
    บัดนี้ ข้าพระองค์มีชื่อแล้ว ไม่ว่าข้าพระองค์เคยกล่าววาจาล่วงละเมิดใดใด ขอให้ อาเตม ทรงช่วยคุ้มครองข้าพระองค์ด้วย ณ..บัดนี้ ข้าพระองค์ เนเฟอร์ติติ จะเข้าสู่ความเป็น นิรันดร.................."


    โดย MIB = ตูน
    ที่มา  http://www.mythland.org/  ว่างๆ ก็เข้าไปเยี่ยมไปอ่านได้นะขอรับ  ที่นี่มีเรื่องน่ารู้ต่างๆ มากมายให้เลือกอ่านกันจนไม่หวาดไม่ไหวเชียวล่ะ  และท่าน D13 สุดหล่อ...ขอบคุณขอรับ

    (ตกหล่นอะไรไปหรือไม่  บางอันข้าน้อยก็ไม่รู้จะแก้ยังไง  ตามที่วงเล็บไว้เข้าใจรึเปล่าหนอ)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×