ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #124 : ขริบทารก

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.35K
      0
      12 พ.ค. 50

    ขริบทารก

                การบริบหนังหุ้มปลาย ( circumcision )  คือการผ่าตัดส่วนของหนังหุ้มปลายออก  นิยมทำกันมานานแล้วโดยเริ่มทำในประเทศอียิปต์  เมื่อสมัย 6000 ปีก่อน  ซึ่งปฏิบัติกันมานานก่อนชาวยิวเสียอีก

     

                ขออภัยรูปไม่ค่อยชัด - -

    การขริบหนังหุ้มปลายนี้เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติตามพิธีกรรมทางศาสนาของชาวยิว  ตามความเชื่อในพระคัมภีร์  เรียกว่า 
    "Brit  Milah"  ชายชาวยิวทุกคนเชื่อว่า  การขริบเป็นการกระทำเพื่อรักษาสัญญากับพระเจ้า  และจะต้องทำตรงกับวันที่ทารกมีอายุครบ  8  วันพอดี

                จะเห็นได้ว่าเหตุผลในการทำดูจะเป็นเรื่องของความเชื่อทางศาสนาและความนิยมปฏิบัติในแต่ละชนชาติมากกว่าจะเป็นเหตุผลทางการแพทย์  แต่การบริบหนังหุ้มปลายก็ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ในบางประเทศ  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ในขณะที่บางประเทศทางยุโรปและญี่ปุ่นไม่นิยมปฏิบัติ  ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการขริบ  ได้แก่  ความเชื่อทางศาสนา  ประเพณี  วัฒนธรรม  ค่านิยมทางสังคม  และการรักษาความสะอาดส่วนบุคคล

    ขริบมีประโยชน์จริงหรือ?

                การขริบหนังหุ้มปลายกับการติเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

                ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในทารกที่ไม่ได้บริบ  สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพราะในขวบปีแรก  กลไกการสร้างภูมิต้านทานโรคของทารกยังไม่สมบูรณ์เต็มที่  ทำให้เกิดการติเชื้อจากแบคทีเรียหลายชนิดที่อยู่บริเวณใต้หนังหุ้มปลายของทารกได้ง่าย

                บางงานวิจัยแนะนำว่า  การขริบสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของทารกได้  แต่อย่างไรก็ตาม  จากการศึกษาของแพทย์หญิงประยงค์  เวชวนิชสนอง  มีเด็กไทย 998 คน  ซึ่งตอนเป็นทารกไม่ได้ขริบ  ก็ไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

                การขริบหนังหุ้มปลายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

                แม้ว่ามีแพทย์หลายคนรายงานว่าการขริบสามารถลดการติดต่อของโรคเริมได้  แต่มีบางรายที่ขัดแย้งว่า  การขริบไม่สามารถป้องกันโรคเริมที่อวัยวะเพศได้  เนื่องจากโรคนี้เป็นกันมากในช่วงอายุ  15-25  ปี  และร้อยละ  57  ของผู้ป่วยนั้นเคยผ่านการขริบมาแล้ว  อีกทั้งคู่นอนของผู้ป่วยเหล่านี้ยังเป็นโรคเดียวกันด้วย

                การขริบหนังหุ้มปลายกับการเกิดหนังหุ้มปลายตีบ

                สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมิรกาได้เสนอแนะว่าการขริบสามารถป้องกันการเกิดหนังหุ้มปลายตีบได้  อย่างไรก็ตาม  ผลจากการศึกษาของแพทย์หญิงประยงค์  เวชวนิชสนองในเด็กไทยที่ไม่ได้ขริบพบว่า  มีเด็กที่เป็นหนังหุ้มปลายตีบน้อยมาก  และร้อยละ  90 ของเด็กที่เป็น  จะหายได้เองเมื่ออายุครบ  6 ปี

                การขริบหนังหุ้มปลายกับการช่วยรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ

                ในสมัยก่อนมักจะแนะนำวิธีให้มารดาทำความสะอาดอวัยวะเพศของทารก  โดยการรูดหนังหุ้มปลายออกให้หมด  มารดาส่วนใหญ่ทำไม่ได้  เพราะกลัวลูกเจ็บ  ส่วนคนที่ทำได้พบว่าผิวหนังปริเป็นแผลเป็น  ทำให้หนังหุ้มปลายตีบในเวลาต่อมา  ในที่สุดต้องขริบเพราะขาดความรู้เบื้องต้นที่ว่าหนังหุ้มปลายจะติดกับอวัยวะเพศของทารกทุกราย  ไม่มีความสกปรกใดที่จะสอดแทรกเข้าไปในระหว่างเนื้อที่ติดแน่นนี้  จึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดโดยการรูดออกมาให้หมด

                ความเจ็บปวดที่เกิดจากการขริบ  อาจขัดขวางการสร้างความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดากับทารกได้

                การขริบหนังหุ้มปลายกับการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในภรรยา

                กล่าวกันว่าพบมะเร็งปากมดลูกในสตรีชาวยิวน้อย  เพราะการขริบในเพศชาย  แต่ในประเทศเอธิโอเปีย  ซึ่งมีการขริบตั้งแต่แรกเกิดเช่นกัน  กลับพบว่ามีอุบัติการณ์ของมะเร็งปากมดลูกสูงมาก  ดังนั้นการเกิดมะเร็งปากมดลูกอาจมีสาเหตุอื่นมากกว่าที่จะเกิดจากหนังหุ้มปลาย

                เครดิต : คส.คส  ฉบับที่  559  ขอบคุณขอรับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×