ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตำนานอียิปต์ โอม...

    ลำดับตอนที่ #72 : "ซีทีสแกน" เผยพระพักตร์ฟาโรห์หนุ่ม “ตุตันคาเมน”

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.96K
      2
      22 ม.ค. 50

    "ซีทีสแกน" เผยพระพักตร์ฟาโรห์หนุ่ม “ตุตันคาเมน”
     
    ฮาวาสส์ผู้ผลักดันและพยายามทดสอบทางวิทยาศาสตร์กับมัมมี่พระศพของคิงตุต โดยผลงานชิ้นล่าสุดคือแบบจำลองพระพักตร์ของฟาโรห์หนุ่ม (ที่เขากำลังชื่นชมอยู่ในภาพ) โดยนำมาตั้งไว้ข้างๆ โลงพระศพและหน้ากากทองของฟาโรห์น้อย

     
    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    ภาพโครงที่ได้จากซีทีสแกน

     
    โมเดลจากฝรั่งเศส ใช้ซิลิโคนสร้างขึ้นมา

     
    แบบจำลองของอียิปต์เด่นที่คางและจมูก

     
    ผลงานจากทีมสหรัฐฯ ใช้ปูนพลาสเตอร์

     
    รูปปั้นพระพักตร์ชัดๆ แบบเติมสีสัน

     
    วางเทียบเคียงกับหน้ากากทองคำที่โชว์ในพิพิธภัณฑ์

     
           เอพี/เอเอฟพี/รอยเตอร์ – อียิปต์เผยภาพร่างพระพักตร์ "ฟาโรห์หนุ่มตุตันคาเมน" ภาพแรกหลังจากนำพระศพมัมมี ไปผ่านกรรมวิธีซีทีสแกน ให้ชาวโลกได้เห็นยุวกษัตริย์แห่งอัยคุปต์ที่โด่งดังที่สุด ทรงมีพระพักตร์ที่ยังเยาว์ แก้มอวบอิ่ม และมีลักษณะฟันที่เป็นเอกลักษณ์ของราชวงศ์ ด้านพิพิธภัณฑ์ไคโรเตรียม "ฟื้นชีวิตให้ศพพันปี" โดยทำภาพจำลองยามเป็นคนของมัมมีติดข้างโลงของทุกร่างที่โชว์
           
           พระศพมัมมีของฟาโรห์หนุ่ม “ตุตันคาเมน” (Tutankhamun) ซึ่งถูกขุดพบเมื่อปี 2465 โดยโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ นักขุดค้นชาวอังกฤษ
    ได้รับการอันเชิญไปสร้างรูปแบบจำลองของพระพักตร์ขึ้น โดยภาพแรกของพระองค์มาในรูปแบบหนุ่มน้อยใบหน้าเกลี้ยงเกลา ลักษณะหน้าตาดูนุ่มนวล จมูกเป็นสัน มีลักษณะฟันที่สบเหลื่อมกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของราชวงศ์ที่ 18 อีกทั้งดวงตาทางทีมงานยังวาดขอบรอบตาด้วยอายไลเนอร์สีดำเข้ม อันเป็นแบบฉบับที่ปรากฎบนใบหน้าของผู้คนในสมัยอียิปต์โบราณ
           

           การสร้างแบบจำลองพระพักตร์ของยุวกษัตริย์แห่งตำนานพระองค์นี้ ใช้ทีมงานที่เป็นศิลปินนิติวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ถึง 3 ทีมจาก 3 ชาติด้วยกัน คือฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอียิปต์ โดยแต่ละทีมได้สร้างโมเดลพระพักตร์ของฟาโรห์วัยทีนที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วเมื่อ 3,300 ปีก่อนด้วยภาพที่มีความละเอียดสูงประมาณ 1,700 ภาพจากเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
           
           ทีมชาวอเมริกันและฝรั่งเศสร่วมสร้างรูปกะโหลกจากแบบพลาสติก ขณะที่ทีมจากอียิปต์ดึงผลที่ออกมาจากซีทีสแกนมาสร้างโครงกระโหลกโดยตรง ซึ่งจะต้องแยกแยะหาความแตกต่างความหนาของเนื้อเยื่อกับกระดูก โดยทีมจากฝรั่งเศสและอียิปต์พยายามที่จะสร้างภาพร่างของคิงตุตขึ้นมาใหม่ แต่ส่วนของทีมจากอเมริกันนั้มีแบบกะโหลกของฟาโรห์มาเป็นตัวอย่าง แต่ทางทีมงานไม่เปิดเผยว่านำมาจากไหน
           
           อย่างไรก็ดี แบบจำลองของฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่เผยแพร่ออกมานั้นเป็นภาพถ่ายที่ดูคล้ายกัน แต่ทีมจากสหรัฐฯ ได้ทำรูปปั้นปูนปลาสเตอร์ออกมาดูเหมือนจริง ขณะที่ทีมจากเมืองน้ำหอมใช้แบบจำลองที่ทำจากซิลิโคน ในส่วนคางและริมฝีปากบนมีรายละเอียดแตกต่าจากทีมสหรัฐฯ ส่วนทีมของอียิปต์แบบจำลองมีความโดดเด่นที่จมูก ฟันกรามที่แข็งแรงและบริเวณคาง
           
           ทางด้าน ซาไฮ ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ผู้อำนวยการสภาโบราณสถานแห่งอียิปต์ (Egypt's Supreme Council of Antiquities) ระบุว่า
    รูปร่างพระพักตร์และกระโหลกที่ทีมงานทำออกมานั้นมีลักษณะละม้ายคล้ายกับคิงตุตในวัยเยาว์ ไม่ว่าจะเป็นขนาดของโครงหน้า ตำแหน่งดวงตา และสัดส่วนของกะโหลก ซึ่งพระองค์เปรียบเสมือนตัวแทนเทพอาเตน หรือสุริยเทพอวตารลงมา
           

           นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำซีทีสแกนมาใช้ศึกษากับมัมมีของอียิปต์ โดยจากการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ก็พบว่า ฟาโรห์องค์น้อย “ตุตันคาเมน” หรือที่เหล่านักโบราณคดีเรียกันสั้นว่า “คิงตุต” (King Tut) มีพระพลานามัยที่สมบูรณ์ที่แข็งแรง มีรูปร่างเล็กบาง สูง 5 ฟุต 6 นิ้ว และสิ้นพระชนม์เมื่ออายุประมาณ 19 พรรษา
           
           การสแกนเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.48 โดยทีมงานจากทั้ง 3 ชาติได้ศึกษาและดำเนินการ อยู่ที่หุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในลักซอร์ (Luxor) ซึ่งเป็นที่ที่ทางการอียิปต์ย้ายพระศพของฟาโรห์หนุ่มออกมาจากสุสานเป็นการชั่วคราว โดยพยายามสร้างแบบจำลองโครงพระพักตร์ของยุวกษัตริย์ที่ครองราชย์ตั้งแต่มีพระชนมายุ 9 พรรษาซึ่งไม่มีผู้ใดเคยเห็นและเคยทำแบบนี้มาก่อน
           
           อย่างไรก็ดี เมื่อปี 2511 นักโบราณคดีได้เปิดโลงไม้บรรจุพระศพมัมมีและทำการตรวจสอบซึ่งผลเอกซเรย์ครั้งนั้นพบว่ามีเศษกระดูกอยู่ในกะโหลกของพระองค์ ทำให้ข้อสันนิษฐานว่าฟาโรห์ตุตันคาเมนน่าจะถูกปลงพระชนม์ แต่ทว่าผลการตรวจพระศพมัมมีอายุ 3,300 ปีเมื่อต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านโดยใช้คอมพิวเตอร์แบบแคทสแกน (CAT scan – การกราดภาพตัดขวางโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) ชี้ว่าพระองค์น่าจะกระดูกหัก และเกิดแผลติดเชื้อจนสิ้นพระชนม์
           
           นอกจากนี้ นักโบราณคดีเชื่อว่า ”ฟาโรห์ตุตันคาเมน” เป็นกษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ที่ 18 ของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ซึ่งการขุดพบพระศพของพระองค์ในปี 2465 สร้างความประหลาดใจให้กับนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพราะขุมทรัพย์ในดินที่ขุดพบมีมูลค่ามหาศาลไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ล้วนเป็นทองคำ หินล้ำค่าต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความมั่งคั่งและฝีมืออันปราณีตของราชสำนักฟาโรห์
           
           ทั้งนี้ ฮาวาสส์ได้ตั้งโครงการ 5 ปีในการสแกนมัมมีทุกร่างที่รู้จักในอียิปต์ รวมถึงมัมมีพระศพของราชวงศ์ต่างๆ ที่แสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์กรุงไคโร โดยจะนำภาพที่ได้จากการสแกนและสร้างรูปร่างหน้าตาจำลอง มาตั้งแสดงข้างๆ กับร่างมัมมีทุกร่างในพิพิธภัณฑ์ให้ผู้เข้าไปชมให้เห็นหน้าที่คาดว่าน่าจะเป็นของเจ้าของร่าง ซึ่งนับเป็นการทำให้มัมมีที่ตายไปแล้วกลับขึ้นมามีชีวิตเป็นครั้งแรก

     

    http://archaeology.thai-archaeology.info/index.php?option=com_content&task=view&id=167&Itemid=49  ขอบคุณขอรับ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×