ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์เชียงใหม่ การกำเนิดและล่มสลาย

    ลำดับตอนที่ #2 : การคลอบงำกลับมาอีกครั้ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 433
      0
      5 พ.ค. 49

    หลังจากหนานช้างทิพย์ได้รับการอันเชิญขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองนครลำปาง พระนามว่า พระยาสุละวะฤาไชยสงคราม หรือ เจ้าฟ้าชายแก้ว ได้ไม่นาน โป่อภัยคามินีแม่ทัพปกครองเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น ได้ส่งอกองทัพเข้าตีนครลำปาง คราวนี้พระยาสุละวะฤาไชยสงครามิอาจจะต้านทานได้อีกต่อไป จึงต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า    ขณะนั้นเจ้าฟ้าชายแก้วมีโอรสและธิดาดังนี้
               ๑. เจ้ากาวิละ (ได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่)

              ๒. เจ้าคำสม (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)

              ๓. เจ้าน้อยธรรม (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงธรรมลังกาเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒)

              ๔. เจ้าดวงทิพ (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)

              ๕. เจ้าหญิงศรีอโนชา    (ต่อมาได้เป็นพระอัครชายาเธอเจ้าศรีอโนชาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท)

              ๖. เจ้าหญิงสรีวัณณา

              ๗. เจ้าหมูหล้า (ได้เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง)

              ๘. เจ้าคำฝั้น (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๓)

              ๙. เจ้าหญิงสรีบุญทัน

              ๑๐. เจ้าบุญมา (ได้เป็นเจ้าหลวงเมืองลำพูน)
    ต่อมา เจ้ากาวิละและเจ้าดวงทิพน้องชายถูกพม่าใช้ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้พร้อมกับนำธิดาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ชื่อนางสามผิวไปถวายพระเจ้าอังวะ นับแต่นั้นมาเมืองลำปาง  ลำพูน  เชียงใหม่  เชียงราย เชียงแสน หัวเมืองล้านนาทั้งหมดตกอยู่ใต้อำนาจพม่า  พม่าพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ชาวล้านนาตกเป็นทาสของพม่าทั้งด้านวัฒนธรรมด้วย จึงมีประกาศให้บรรดาหัวเมืองขึ้นล้านนา ให้ผู้ชายสักขาดำ ให้ผู้หญิงขวากหู ใส่ม้วนลานตามแบบลัทธิธรรมเนียมพม่า ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจ  เพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ความเสียหายของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นมากมาย จนเมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนแล้วจะบูรณะก็เหลือกำลังจึงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แม่ทัพสำคัญของพม่าที่ตีกรุงศรีอยุธยา คือ โป่เจียกหรือโป่สุพลา ต่อมาได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ 

              ๒. เจ้าคำสม (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)

              ๓. เจ้าน้อยธรรม (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงธรรมลังกาเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒)

              ๔. เจ้าดวงทิพ (ได้เป็นเจ้าหลวงนครลำปาง)

              ๕. เจ้าหญิงศรีอโนชา    (ต่อมาได้เป็นพระอัครชายาเธอเจ้าศรีอโนชาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท)

              ๖. เจ้าหญิงสรีวัณณา

              ๗. เจ้าหมูหล้า (ได้เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง)

              ๘. เจ้าคำฝั้น (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๓)

              ๙. เจ้าหญิงสรีบุญทัน

              ๑๐. เจ้าบุญมา (ได้เป็นเจ้าหลวงเมืองลำพูน)
    ต่อมา เจ้ากาวิละและเจ้าดวงทิพน้องชายถูกพม่าใช้ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้พร้อมกับนำธิดาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ชื่อนางสามผิวไปถวายพระเจ้าอังวะ นับแต่นั้นมาเมืองลำปาง  ลำพูน  เชียงใหม่  เชียงราย เชียงแสน หัวเมืองล้านนาทั้งหมดตกอยู่ใต้อำนาจพม่า  พม่าพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ชาวล้านนาตกเป็นทาสของพม่าทั้งด้านวัฒนธรรมด้วย จึงมีประกาศให้บรรดาหัวเมืองขึ้นล้านนา ให้ผู้ชายสักขาดำ ให้ผู้หญิงขวากหู ใส่ม้วนลานตามแบบลัทธิธรรมเนียมพม่า ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจ  เพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ ความเสียหายของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นมากมาย จนเมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนแล้วจะบูรณะก็เหลือกำลังจึงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แม่ทัพสำคัญของพม่าที่ตีกรุงศรีอยุธยา คือ โป่เจียกหรือโป่สุพลา ต่อมาได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ 

                     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×