ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือปีศาจและศาสตร์มืด

    ลำดับตอนที่ #131 : เท็งงุ-Tengu

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.2K
      20
      2 ส.ค. 61





    เท็งงุ หรือ เทนงู เป็นปีศาจในตำนานเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่เป็นทั้งที่เคารพและความยำเกรง โดยเชื่อว่าเท็งงุมีภาพลักษณ์ของปีศาจร้าย มีปีกสีดำ กายสีแดง บางครั้งจะถืออาวุธไว้ในมือ มักสร้างพายุเข้าโจมตีผู้คน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถูกพายุถล่มบ่อยครั้ง และมักเชื่อกันว่าเกิดจากฝีมือของเท็งงุ 

    เชื่อกันอีกว่าเท็งงูมักจะใช้ต้นไม้ตามภูเขา หรือป่าลึกเป็นที่อยู่อาศัย  บางครั้งมันจะลักพาตัวเด็กๆไปทิ้งไว้ในป่าแล้วเฝ้ามองเด็กที่หลงทางอยู่ในป่า แต่บางเรื่องเล่าผู้คนก็บอกว่าเมื่อใดที่หลงป่า ให้ขอร้องให้เท็งงุช่วยแล้วมันจะนำทางออกจากป่าให้ได้ เท็งงุยังชอบปล่อยข่าวลือ สร้างความวุ่นวายให้มนุษย์ แต่บางคนกลับเชื่อว่าเท็งงุชอบสงคราม อีกทั้งมันยังเชื่อว่ามนุษย์ไม่ควรมีอำนาจมากเกินไป เหตุการณ์การประท้วงหรือสงครามในสมัยก่อนจึงมักโทษว่าเป็นฝีมือของเท็งงุที่ปล่อยข่าวลือ

    เท็งงุสามารถเรียกพายุได้ เชี่ยวชาญมนต์มายา และวิชาแปลงกาย มีพละกำลังมากทั้งยังเจนจัดการรบ เป็นสมุนที่พึ่งพาได้ของไดเทนกุซึ่งเป็นเทนกุที่มีลำดับชั้นสูงกว่า

    มีเรื่องเล่าหนึ่งเล่าว่า มีหญิงสาวคนหนึ่งที่สายตาย่ำแย่มาก เล็งอะไรไม่เคยแม่นยำเลย แต่ถูกเท็งงุเข้าสิง และในฝันเท็งงุได้สอนวิชาดาบให้กับเด็กผู้หญิงคนนั้น จนเธอกลายเป็นนักดาบที่ร้ายกาจและมีชื่อเสียง บางข่าวลือก็เล่าว่า เหล่าชิโนบิหรือนินจา คือเหล่าผู้ที่ได้รับการฝึกฝนวิชาจากเท็งงุ

    อีกเรื่องที่กลายเป็นตำนานที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเท็งงุ คือ เรื่องราวของ มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ- Minamoto no Yoshitsune ซึ่งเดิมชื่อว่าอุชิวากะมารุ เป็นลูกชายของ โยริโทโมะซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่ถูกลอบสังหาร แต่อุชิวากะมารุได้รับการไว้ชีวิต อุชิวากะมารุจึงออกบวช และเร้นกายอยู่ในวัดแถบหุบเขาคุรามะ มีอยู่วันหนึ่ง อุชิวากะมารุได้ไปพบกับเท็งงุเข้า เท็งงุรู้สึกถูกชะตากับอุชิวากะมารุ จึงสอนเพลงดาบให้ จนอุชิวากะมารุเป็นนักดาบที่เก่งกาจ และสามารถรวบรวมกองกำลัง ชิงอำนาจกลับคืนมาได้เป็นผลสำเร็จ และได้เป็น มินาโมโตะ โน โยชิซึเนะ


    ประติมากรรมเท็งงุ

    ไดเท็งงุทั้ง 8

    ในบรรดาเหล่าเท็งงุมากมาย จะมีเท็งงุที่มีชื่อพิเศษได้รับการยกย่องว่าเป็น “ไดเท็งงุ” และในบรรดาไดเท็งงุนั้นก็จะมีไดเท็งงุอยู่ไม่กี่ตนที่มีพลังอำนาจพิเศษ อิทธิฤทธิ์สูงส่งทำให้กลายเป็นที่นับถือศรัทธาจากประชาชน ซึ่งไดเท็งงุเหล่านี้มีฐานะใกล้เคียงกับเทพเจ้ามาก…

    1. Hikosan-Buzenbo (彦山豊前坊) มีหน้าที่คุ้มครองภูเขาฮิโกะที่อยู่ระหว่างจังหวัดฟุกุโอกะและโออิตะ ภูเขาฮิโกะนั้นเป็นหนึ่งในสามของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในการบำเพ็ญเพียรของญี่ปุ่น (อีกสองลูกคือภูเขาฮากุโระ (羽黒山) และภูเขาโอมิเนะ (大峰山))

    2. Shiramine-Sagamibo (白峰相模坊) เทนงุตนนี้ได้ย้ายมาจากภูเขาซากามิ (相模大山) ในจังหวัดคานางาวะ เพื่อปลอบประโลมดวงวิญญาณของจักรพรรดิซุโทคุโจโค (崇徳上皇) ที่ถูกเนรเทศไปซานุคิคุนและโกรธแค้นจนตาย ปัจจุบันคือจังหวัดคางาวะ

    3. Oomine-Zenkibo (大峰前鬼坊) เดิมทีเป็นยักษ์อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิโคมะ (生駒山) ในจังหวัดนาระ แต่ได้นักพรตบำเพ็ญเพียรช่วยให้กลับใจ จึงได้ติดตามรับใช้นักพรตไปพร้อมๆกับเมียยักษ์ของตนโดยท่องไปตามภูเขาต่างๆ

    4. Hirasan-Jirobo (比良山次郎坊) เดิมทีอาศัยอยู่ที่ภูเขาฮิเอะ (比叡山) แต่ที่นั่นมีพระที่มีวิชาแกร่งกล้าอาศัยอยู่มากจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ฮิระในจังหวัดชิกะ

    5. Kuramayama-Zoshobo (鞍馬山僧正坊) เป็นผู้สอนวิชาการต่อสู้ให้กับอุชิวากามารุ (牛若丸) หรือโยชิสึเนะ มินาโมโตะ (源義経) ที่บริเวณโอคุโนะอิน (奥の院) ของวัดคุรามะ (鞍馬寺)

    6. Atagosan-Tarobo (愛宕山太郎坊) อาศัยอยู่ที่ภูเขาอะทาโกะในเกียวโตพร้อมด้วยบริวารมากมาย มีหน้าที่ดูแลเรื่องไฟ นอกจากนี้ทุกคนยังรู้จักในฐานะหัวหน้าของเหล้าเท็นงุอีกด้วย

    7. Taisan-Hokibo (大山伯耆坊) เดิมทีอาศัยอยู่แถวภูเขาโฮคิไท (伯耆大山) จังหวัดทดโทริ แต่เนื่องจาก Shiramine-Sagamibo (白峰相模坊) นั้นได้ย้ายไปที่ยอดเขาชิรามิเนะ (白峰) ในเกาะชิโกกุ Taisan-Hokibo จึงต้องย้ายไปอยู่ที่ซากามิเพื่อรับหน้าที่แทน

    8. Iitsuna-Saburo(飯綱三郎) อาศัยอยูาที่ภูเขาอีสึนะ (飯綱山) ในจังหวัดนากาโนะ มีสัตว์เลี้ยงเป็นจิ้งจอกตัวเล็กมากชื่อคุดะคิทซึเนะ (管狐) ว่ากันว่าจิ้งจอกตัวนี้เล็กมากจนสามารถเข้าไปอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ได้ และถูกเลี้ยงไว้เพื่อทำงานจนเกิดเป็นวิชาที่เรียกว่า “วิชาของอีสึนะ” (飯綱の法)



    ในภาพยนตร์เรื่อง จูมง นกสามขาเป็นสัญลักษณ์ของจูมง และเนื่องจากว่านกสามขากับเท็งงุมีลักษณะที่คล้ายกัน ซึ่งภาพลักษณ์ของเท็งงุไม่ค่อยดีนัก ทำให้ธิดาเทพยองมีอึนที่มองเห็นการมาของนกสามขาทำนายผิดพลาดไป คิดว่าจูมงจะเป็นกาลกีณีกับแคว้นพูยอ ต้องหาทางกำจัดเสีย ซึ่งธิดาเทพลืมไปว่าเท็งงุยังมีนิสัยชอบช่วยเหลือผู้กล้า ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับผู้นำทรราชย์ ภายหลังธิดาเทพยองมีอึน จึงนับถือเท็งงุเป็นเทพคุ้มครอง

    นกสามขาที่มีลักษณะคล้ายกับเท็งงุก็คืออีกาสามขา ยะตะกะระสุ(八咫烏) ซึ่งเป็นนกประจำตัวของเทพีสุริยาอามาเทราสึและเป็นสัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นในปัจจุบัน



    เท็งงุ วาดโดย Manzanedo
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×