ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #11 : [กริยา] พูด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.36K
      48
      16 ก.พ. 52


    พูดก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า.

    กระซุบกระซิบ ก. พูดกันเบา ๆ.

    กัดหางตัวเอง (สํา) ว. พูดวนไปวนมา.

    เกี้ยวพาน, เกี้ยวพาราสี ก. พูดให้รักในเชิงชู้สาว.

    กระเซ้า ก. พูดรบเร้า, พูดเย้าแหย่.

    กระโชกกระชั้น ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ.

    กระแนะกระแหน[-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน
    ก็ว่า.

    ขอตัว ก. พูดเพื่อให้ยกเว้นตัวเอง.

    ขอ ๒ ก. พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ, วิงวอน.

    ขัดคอ ก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทําได้โดยสะดวก.

    ข่มขวัญ ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.

    ขาน ๑ ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.

    คืนคำ ก. พูดว่าจะให้แล้วไม่ให้.

    คุยเขื่อง, คุยโต (ปาก) ก. พูดจาแสดงความใหญ่โต.

    คอหอยตีบ ว. อาการที่รู้สึกตื้นตันใจพูดไม่ออก.

    ค่อน ๑ก. ติ, ว่าให้สะเทือนใจ.

    ค่อนขอดก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ,
    ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า.

    เคยปาก ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย.

    คร่าว ๆว. เลา ๆ พอเห็นเป็นเค้า, ยังไม่เรียบร้อย.

    คลุม ๆ ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ.

    งึมงำ ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา.

    ง่าม ๑ น. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม
    สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคําที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ
    ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม.

    จ๋อแจ๋ ว. เสียงอย่างเสียงเด็กพูด.

    จาระไน ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน.

    จีบปาก, จีบปากจีบคอ ก. พูดอย่างดัดจริต, พูดเชิงประจบประแจง.

    แจ้งก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง,
    ชัด, เช่น แจ้งใจ.

    โฉงเฉง ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.

    ฉอเลาะ ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทํานองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้
    เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).

    ชี้แจง ก. พูดขยายความให้เข้าใจชัดเจน.

    ชักใบให้เรือเสีย (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออก
    นอกเรื่องไป.

    ชุ่ย ๑, ชุ่ย ๆ ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ
    ทําชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ.

    ชัด ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน,
    ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.

    ซ้อมค้าง ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง.

    ซุบซิบ ก. พูดกันเบา ๆ ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยิน, กระซุบกระซิบ ก็ว่า.

    เซ้าซี้ ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, กระเซ้ากระซี้ ก็ว่า.

    เซ็งแซ่ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด.

    ดักคอ ก. พูดสกัดหรือกันไว้ล่วงหน้า.

    ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็น
    เชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.

    ดำรัส [-หฺรัด] น. คําพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดํารัส, คําพูดของพระมหากษัตริย์
    ใช้ว่า พระราชดํารัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส).

    เต็มตื้น ก. ดีใจจนพูดไม่ออก.

    ติเตียน ก. ยกโทษขึ้นพูด, กล่าวร้าย.

    ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก.

    ตกตะลึง ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.

    ตีสำนวน ก. พูดใช้สํานวนโวหารเป็นเชิงอวดฉลาด.

    ถากถางก. ค่อนว่า, มีเจตนาว่าให้เจ็บใจ.

    ถาม ก. พูดเพื่อรับคําตอบ.

    ไถ่ ๒ (ถิ่นพายัพ) ก. ถาม, พูดคุย.

    ถวายพระพร คําเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคํารับ.

    ทาย ๑ ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.

    ทัก ๑ ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบ
    หน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตาม
    ลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.

    ทุ้ย ก. พูดเดาส่ง, พูดพุ่งส่ง.

    แทงใจดำ (สํา) ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง.

    ทะลุกลางปล้อง ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่.

    ทูล ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.).

    แนะแหน [แหฺน] ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ.

    แนะนำ ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนําในการใช้ยา;
    บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.

    น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง (สํา) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย.

    นายว่าขี้ข้าพลอย (สํา) ก. พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย.

    น้ำท่วมปาก (สํา) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น.

    บ้าน้ำลาย ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ.

    บุ้ย, บุ้ยปาก ก. ทําปากยื่นบอกใบ้ให้รู้.

    บอก ๒ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง;
    บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก
    ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน
    เช่น ใบบอก.

    บอกปัด, บอกเปิด ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.

    บอกใบ้ ก. แนะด้วยอุบาย, บอกเป็นเลศนัย.

    บอกเล่าเก้าสิบ (สํา) ก. บอกกล่าวให้รู้.

    บอกศาลาก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดู
    อีกต่อไป.

    บ่างช่างยุ (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.

    บ่น ก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่น
    ภาวนา.
    บ่นถึง ก. กล่าวถึงบ่อย ๆ.

    ปากกล้า ว. พูดไม่เกรงกลัวใคร.

    ปากปลาร้า (สํา) ว. ชอบพูดคําหยาบ.

    ปากว่ามือถึง (สํา) ก. พอพูดก็ทําเลย.

    ปากร้ายใจดี ก. พูดจาดุด่าแต่น้ำใจดี.

    ปากหมา ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น.

    ป่าว ก. บอกให้รู้ทั่วกัน.

    ป่าวร้อง ก. ร้องบอกให้รู้ทั่วกัน.

    ปรับทุกข์ ก. บอกเล่าความทุกข์, พรรณนาถึงความทุกข์.

    โผงผาง ว. ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ, ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม, โผง ก็ว่า.

    เผยอ [ผะเหฺยอ] ก. เปิดน้อย ๆ เช่น เผยอปาก เผยอฝาหม้อไว้ ฝากาเผยอ.
    ว. อวดดี, ทำไปโดยไม่รู้จักประมาณตน, เช่น เผยอทํา เผยอพูด.

    ฝอย น. สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ ละเอียด เช่น ฝอยขัดหม้อ, หรือสิ่งที่มีลักษณะ
    คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยาฝอย ฉีดนํ้าเป็นฝอย; คําอธิบายวิธีใช้ยา
    หรือเวทมนตร์ต่าง ๆ; โดยปริยายหมายความว่าข้อความที่ไม่ใช่
    เนื้อหา. (ปาก) ก. พูดมากและเกินความจริง.

    พรายกระซิบ น. ผีพรายที่มากระซิบบอกให้ผู้ที่เลี้ยงตนรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ
    ได้แม้เกิดในที่ห่างไกล.

    พูดจา ก. พูด.

    พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.

    พร่ำพลอด ก. พูดออดอ้อนออเซาะ.

    พลั้งปาก ก. พูดไปโดยไม่ทันคิด.

    พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ ก. พูดคล่องเหลือเกิน.

    พอกันที (ปาก) ก. บอกเลิกกัน, ยุติกัน, ไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป.

    พรอก [พฺรอก] ก. บอก, พูด, เช่น บัดบอกพรอกพราง.

    ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด (สํา) ก. ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทําผิด ๆ พลาด ๆ.

    มึงวาพาโวย ก. พูดจาเอะอะโวยวาย.

    มุขบาฐ, มุขปาฐะ [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา,
    การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร,
    เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.

    โม้ (ปาก) ว. โว, พูดเกินความจริง.

    ยั่วเย้า ก. พูดหยอกล้อ, กระเซ้า.

    ไยไพ ก. เยาะเย้ย, พูดให้เขาอาย.

    โย ๑ (ปาก) ก. พูดแขวะ, พูดชวนวิวาท.

    เย็บปาก (ปาก) ก. ปิดปากเงียบไม่ยอมพูด.

    เราะร้าย ก. พูดมากหยาบคาย, พูดไม่เพราะ.

    รวบรัด ก. ทําให้สั้นเข้าให้เร็วเข้า เช่น พูดรวบรัด.

    ร้องบอก ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้.

    ร้องทุกข์ ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.

    ร่ำร้อง ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน.

    เรื่อยเปื่อย ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดิน
    เรื่อยเปื่อย.

    รำพึงรำพัน ก. พูดอย่างที่คิดคำนึงอยู่ เช่น เขารำพึงรำพันว่า โลกนี้
    น่าอยู่จริงหนอ.

    ล่อแล่ ก. พูดไม่ชัด, พูดไม่ได้ความ.

    เล่นลิ้น ก. พูดเป็นสํานวนไม่ตรงไปตรงมา.

    เล่า ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้
    ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น
    มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.

    บอก ๒ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง;
    บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก
    ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน
    เช่น ใบบอก.

    ว่า ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป
    เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง
    ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้
    ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน
    เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า.
    (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า
    กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.

    เว้า ๑ (ถิ่นอีสาน) ก. พูด.

    ว่าส่ง ๆ, ว่าส่งเดช ก. พูดพล่อย ๆ ไม่มีเหตุผล.

    ว่าเอาเอง ก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง.

    วิภาษ ก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ).

    โว (ปาก) ก. พูดโอ้อวด เช่น โวมากไปหน่อยแล้ว. ว. โอ้อวด เช่น คุยโว.

    ศัพท์แสง (ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่น
    ศัพท์แสงฟังไม่รู้เรื่อง.

    สบถ [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติ
    ตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).

    ส่งข่าว ก. บอกข่าว เช่น จะเดินทางเมื่อไรก็ส่งข่าวด้วยนะ.

    สารภาพ [สาระพาบ] ก. รับว่ากระทำผิด เช่น จำเลยสารภาพว่าขโมย
    ของไปจริง; บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก.

    ใส่ถ้อยร้อยความ (สํา) ก. ใส่ความ, พูดหาเหตุหาเรื่อง.

    เสียงเหน่อ น. เสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน.

    หุบปาก ก. ปิดปาก, หยุดพูด, ไม่พูด.

    หลุดปาก ก. พลั้งปาก.

    เหวี่ยงแห ว. ทําคลุม ๆ เช่น พูดเหวี่ยงแห.

    หักหน้า ก. ทําหรือพูดโดยเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย.

    หยาบคาย ว. ไม่สุภาพ เช่น พูดจาหยาบคาย กิริยาหยาบคาย.

    ให้หา ก. เรียก, บอกให้ไปหา.

    อ้อนวอน ก. พยายามพูดขอร้อง.

    โอ้โลมก. ปลอบโยน, เอาใจ.

    ออกรส ว. มีรสมีชาติ, โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่ชอบอกชอบใจ,
    สนุกสนาน.

    ออด ๑ ก. พรํ่าอ้อนวอน, พรํ่ารําพัน. (ปาก) น. เครื่องบอกสัญญาณที่มี
    เสียงดังเช่นนั้น.

    อ่อย ๒, อ่อย ๆ ว. ค่อย ๆ เบา ๆ, เช่น เสียงอ่อยพูดอ่อย ๆ.

    อธิบาย[อะทิบาย] ก. ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง. (ป. อธิปฺปาย).

    อภิปราย [อะพิปฺราย] ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย).

    เอ่ย ๒ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อ
    ให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.

    เอื้อน ๑ ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, อึ้น หรือ เอิ้น ก็ว่า.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×