ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #44 : [คำไวพจน์] ผู้ชาย, นาม/สรรพนามที่เป็นเพศชาย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 53.95K
      59
      25 ก.พ. 55

     
    กนิษฐภาดา น. น้องชาย. (-ป. ภาตา ว่า น้องชาย).

    กะกัง น. พี่ชาย. (ช. kakang)

    กระทาชาย (โบ) น. คนผู้ชาย, กระไทชาย ก็ว่า.

    กระไทชาย (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชาย
    ผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.

    กระผม ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนาม
    บุรุษที่ ๑.

    กัน ๑ (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย
    ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

    เกล้ากระผม ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพ
    มากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า
    หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

    เกล้ากระหม่อม ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้า
    วรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จ
    พระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน,
    เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

    กระหม่อม น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมา
    ใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อน
    ปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้
    จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่า
    กระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบกับคํา
    ที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้า
    ทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น
    ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูล
    เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็น
    สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย
    ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม).
    (แผลงมาจาก ขม่อม).

    เขย น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็น
    ผัวของลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.

    ขันที น. ชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สําหรับ
    ควบคุมฝ่ายใน.

    คนดิบ น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ.

    คนสุก น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว.

    โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน (สํา) น. ชายสูงอายุที่ชอบผู้หญิงรุ่นสาว.

    เจ้าบ่าว น. ชายผู้เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าสาว.

    ชาย ๑ น. คนที่ไม่มีมดลูก, ผู้ชาย ก็ว่า.
    บางทีการให้ความหมายของคำก็ลำบากเหมือนกันนะ 555

    ชายชาตรี น. ผู้มีศิลปะหรือฝีไม้ลายมือในการต่อสู้.

    ชายสามโบสถ์ (สํา) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตําหนิว่า
    เป็นคนที่ไม่น่าคบ.

    ชายโสด น. ชายที่ยังไม่ได้แต่งงาน.

    ชายานุชีพ (โบ) น. ผัวประจําของหญิงงามเมือง. (ส. ชายานุชีวินฺ).

    เชิงชายา ๑ [เชดถา] (กลอน) น. พี่ชาย, คู่กับ กนิษฐา คือ น้องสาว.

    เชษฐ- ๑ [เชดถะ] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ).
    ว. ''เจริญที่สุด''. (ส.; ป. เชฏฺฐ), (ราชา) ถ้า ใช้ว่า พระเชษฐภคินี
    หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดาหมายถึง พี่ชาย, ถ้า
    ใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.

    ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย,
    พระเอกในเรื่องลิเก ละคร.

    เถ้าแก่ น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธาน
    ในการสู่ขอและการหมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี,
    เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).

    บา น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.

    บิตุละ, บิตุลา (แบบ) น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป. ปิตุล).

    บริพาชก [บอริพาชก] (แบบ) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนา
    ประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก).

    บุรุษ, บุรุษ- [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะ
    ที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย
    เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ;
    ป. ปุริส).

    บุรุษเพศ [บุหฺรุดเพด] น. เพศชาย, คู่กับ สตรีเพศ.

    บัก ๑ (ถิ่น) น. คําเรียกชายที่เสมอกันหรือตํ่ากว่า ตรงกับคําว่า อ้าย.

    ปั่ว (โบ) น. พลเมือง; ผู้ชาย.

    ปิตุละ, ปิตุลา น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป.).

    ปริพาชก [ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิง
    ใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก).

    ประสก (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต
    เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).

    ปู่ น. พ่อของพ่อ, ผัวของย่า, ญาติผู้ชายหรือชายที่นับถือชั้นปู่.

    ปู่ครู น. ตําแหน่งสมณศักดิ์ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี.

    ปู่เจ้า น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่
    สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ).

    ปู่ทวด น. พ่อของปู่หรือของย่า.

    ปู่น้อย น. น้องชายของปู่.

    ปุม-, ปุมา [ปุมะ-] ว. เพศชาย. (ป.).

    แป๊ะ (ปาก) น. ชายจีนแก่; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.

    ผู้ชาย น. ชาย.

    ผู้ชายพายเรือ (สํา) น. ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน),
    ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ.
    (มิตรสภา).

    ผัว น. สามี, ชายที่เป็นคู่ครองของหญิง, คู่กับ เมีย.

    ผม ๒ ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ใช้พูดโดยสุภาพ, เป็นสรรพนาม
    บุรุษที่ ๑.

    พ่อเล้า (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.

    พ่อ น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง;
    ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม
    หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย
    แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ
    งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า
    พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.

    พ่อม่าย น. ชายที่เมียตายหรือหย่ากัน.

    พ่อร้าง (ถิ่น) น. ชายผู้เลิกกับเมีย.

    เพื่อนเจ้าบ่าว น. ชายผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน.

    พระยาเทครัว (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง.

    พ่อเลี้ยง น. ผัวของแม่ แต่ไม่ใช่พ่อของตัว; (ถิ่นพายัพ) แพทย์; ชายที่มีฐานะดี.

    พระ [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์,
    พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วย
    พระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรม
    ในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ
    และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า,
    พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ
    แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน;
    ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความ
    ยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ
    ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง
    เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที
    พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ
    เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการ
    สูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ,
    ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณา
    ทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทน
    ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓

    พระเอก น. ตัวเอกฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น

    พระรอง น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น

    ภราดร, ภราดา, ภราตร–, ภราตฤ– [พะราดอน, พะราดา, พะราตฺระ–, พะราตฺรึ–] น. พี่ชาย, น้องชาย.
    (ส. ภฺราตฺฤ; ป.ภาตา, ภาตุ).

    ภาตา, ภาตุ น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ).

    ภาติกะ น. พี่ชายน้องชาย. (ป.; ส. ภฺราตฺฤ + ก).

    ภาตระ [พาตะระ] น. พี่ชายน้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ).

    ภาติยะ น. ลูกของพี่ชายน้องชาย, หลาน. (ป.; ส. ภาตฺรีย).

    ภาดร, ภาดา น. พี่ชายน้องชาย, (ราชา) พระภาดา. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา)

    ภิกษุ น. ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา. (ส.; ป. ภิกฺขุ).

    มาณพ [-นบ] น. ชายหนุ่ม, ชายรุ่น. (ป., ส.).

    มัชฌิมบุรุษ น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.

    ยุว, ยุวา, ยุวาน น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (ป.; ส. ยุวนฺ, ยุวานก).

    เยาวพาน [วะพาน] น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน).

    ลุง ๑ น. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่,
    คําเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.

    ลูกเขย น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว.

    ลูกผู้ชาย น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง
    เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.

    ลูกสวาท น. ชายที่ประพฤติตนอย่างนางบําเรอ.

    เลกวัด (โบ) น. ชายฉกรรจ์ที่มีผู้อุทิศถวายให้แก่วัด.

    ลื้อ ๒ (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน
    หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ
    ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).

    วีรบุรุษ [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.

    สมิงมิ่งชาย น. ชายชาติทหาร, ยอดชาย.

    หนุ่มน้อย น. ชายที่อยู่ในวัยรุ่น.

    หนุ่มใหญ่ น. ชายที่อยู่ในวัยกลางคน.

    หนุ่ม น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย
    ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.

    หนูตกถังข้าวสาร (สํา) น. ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิง
    ที่รุ่มรวย, ตกถังข้าวสาร ก็ว่า.

    อนุชา [อะนุชา] น. ''ผู้เกิดภายหลัง'', น้องชาย, (ราชา) พระอนุชา. (ป., ส.).

    อา ๑ น. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาว
    ของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ).

    อ้าย ๒ น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้

    อายัต พูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).

    อาตมภาพ, อาตมา ๑ [พาบ, อาดตะมา] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณร
    พูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).

    อุบาสก น. คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง.
    (ป., ส. อุปาสก).

    ฮาจญ์ น. เรียกชายที่ได้ไปทำพิธีฮัจญ์แล้ว, (ปาก) หะยี หัจญี หรือ ฮัจญี.
    ฮาจญะฮ์ น. เรียกหญิงที่ได้ไปทำพิธีฮัจญ์แล้ว, ฮัจญะฮ์ ก็เรียก.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×