ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Legendary Encyclopedia สารานุกรมสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #83 : กิเลน(Kirin)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 836
      1
      28 ต.ค. 52



    กิเลนในราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่ ณ พระราชวังต้องห้าม กรุงปักกิ่ง - ลักษณะเขาของกิเลนใกล้เคียงกับกิเลนของทางญี่ปุ่น (Kirin)

    กิเลน (Qilin, Kylin หรือ Kirin) เป็นคำที่มาจากภาษาจีน เป็นชื่อของสัตว์ในเทพนิยายจีน



    ตามตำนานของจีน

    ถ้าเป็นตัวผู้เรียกว่า "กี" ถ้าเป็นตัวเมียเรียกว่า "เลน" หรือ "กิเลน" กิเลน ตามตำนานจีนว่ามีรูปร่างเหมือนกวาง
    แต่มีเขาเดียว หางเหมือนวัว หัวเป็นมังกร ตีนมีกีบเหมือนม้า
    (บางตำราว่ามีตัวเป็นสุนัข ลำตัวเป็นเนื้อสมัน) เกิดจากธาตุทั้งห้า คือ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และโลหะ ผสมกัน

    เชื่อว่ามีอายุอยู่ได้ถึงพันปี และถือว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี
    ปรากฏให้เห็นเมื่อใด ก็จะเกิดผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุ ขเมื่อนั้น
    กิเลนเป็นหนึ่งในสี่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบด้วย หงส์ เต่า มังกร และกิเลน (บ้างว่าเป็น เสือ)

    ตามความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน ในยุคของฟูซี (伏羲)
    ซึ่งเป็นผู้ปกครองชนเผ่าคนแรกของมนุษย์ได้สังเกตปราก ฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ
    จนสามารถพึ่งตัวเองได้ วันหนึ่งมีกิเลนตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำหวงโฮ
    บนหลังกิเลนมีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า แผนที่เหอ ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร
    หลังจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ก็บังเกิดและเจริญสืบต่อเรื่อยมา

    ตามตำนานของไทย

    คนไทยคงรู้จักกิเลนของจีนมานานแล้ว ในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์
    ที่ช่างโบราณได้ร่างแบบสำหรับผูกหุ่นเข้า กระบวนแห่พระบรมศพครั้งรัชกาลที่ 3
    ก็มีรูปกิเลนจีนทำหนวดยาว ๆ ส่วนภาพกิเลนแบบไทย มีกระหนกและ เครื่องประดับเป็นแบบไทยๆ
    การจัดลายประกอบผิดไปจากในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ขอ งโบราณนั้นบ้าง ที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ
    กิเลนไทยมีสองเขา ของจีนแท้ ๆ มีเขาเดียว ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของกวีเอกสุนทรภู่
    ก็มีสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกิเลนนี้ในเรื่องด้วย คือ ม้ามังกร หรือ ม้านิลมังกร นั่นเอง

    เกร็ด

    * ในตำนานของตะวันตกเชื่อว่า กิเลน มีลักษณะเฉพาะใกล้เคียงกับ ยูนิคอร์น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×