ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Legendary Encyclopedia สารานุกรมสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #91 : สัตว์เทพประจำทิศทั้งสี่ในคติจีน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.48K
      3
      28 ต.ค. 52




    นับแต่โบราณกาล ชาวจีนได้มอบน่านฟ้าทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองข องสัตว์เทพทั้งสี่ อันได้แก่ มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ ดังคำกล่าวที่ว่า “ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง” พัฒนาการของแนวคิดความเชื่อดังกล่าว มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสตร์พยากรณ์และคติคว ามเชื่อในลัทธิเต๋าของ ชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี

    ชาวจีนโบราณแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน คือ ตะวันออก ตก เหนือและใต้ จากการสังเกตหมู่ดาวบนท้องฟ้า จับกลุ่มทิศทางการเรียงตัวของหมู่ดาวเทียบเข้ากับลัก ษณะของคน สัตว์หรือรูปลักษณ์ในตำนานตามความเชื่อของตน โดยให้ทิศตะวันออกแทนกลุ่มดาวมังกรเขียว (จากตำนานการปรากฏขึ้นของจักรพรรดิเหลืองทางทิศตะวัน ออก) ตะวันตกแทนกลุ่มดาวเสือขาว ทิศใต้แทนกลุ่มดาวหงส์แดงและทิศเหนือ แทนกลุ่มดาวเต่าดำ แต่ละทิศครองดาว 7 ดวง (รวม 28 ดวง)

    ภายในสุสานยุคจั้นกั๋ว(ราว 433 ปีก่อนคริสตศักราช) แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับมังกรเขียวและเสือขาวบนฝาของภาชนะเคลือบใบหนึ่ ง ซึ่งบอกเราว่า การกำหนดเรียกหมู่ดาวบนท้องฟ้า ได้เกิดขึ้นก่อนหน้าเวลานี้อีกนานนัก
    สัตว์เทพทั้งสี่ต่างยึดครองน่านฟ้าทั้งสี่ทิศ กลายเป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่ จนกระทั่งการศึกษาว่าด้วยศาสตร์แห่งธาตุทั้งห้า และภูมิพยากรณ์ (ฮวงจุ้ย อินหยาง เป็นต้น) เป็นที่แพร่หลาย สัตว์เทพทั้งสี่และดวงดาวทั้ง 28 เป็นที่รู้จักในฐานะของ “เทพเจ้าผู้พิทักษ์” ตำหนักและสิ่งปลูกสร้างในวังหลวง ได้รับการประดับตกแต่งเป็นลวดลายของสัตว์เทพทั้งสี่ ส่วนประตูทางทิศเหนือของวังหลวงมักได้ชื่อว่า ประตูเสวียนอู่(เต่าดำ) เนื่องจาก หงส์แดง แทนสัญลักษณ์ของไฟ ขณะที่สถาปัตยกรรมโบราณของจีนล้วนแต่สร้างด้วยไม้ จึงมักไม่ปรากฏรูป แต่จะปรากฏในเชิงสัญลักษณ์อยู่บนกำแพง (ทาสีแดง)แทน

    เมื่อถึงสมัยฉินและฮั่น สัตว์เทพทั้งสี่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในฐานะตัวแท นของฤดูกาลและสีสันทั้ง สี่ ในช่วงเวลาดังกล่าว สัตว์เทพทั้งสี่ได้ปรากฏในศาสตร์วิทยาการของจีนหลากห ลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และการทหาร ดังเช่น ในตำราพิชัยสงครามบทหนึ่ง ได้กล่าวถึงการกำหนดทิศทางเดินทัพไว้ว่า “การเคลื่อนทัพนั้น ซ้ายเป็นมังกรเขียว ขวาเสือขาว ทัพหน้าคือหงส์แดงและเต่าดำคุมหลัง บัญชาการจากเบื้องบน นำปฏิบัติสู่เบื้องล่าง” เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นต่างคุ้นเคยกับตำแหน่งของสั ตว์เทพทั้งสี่เป็นอย่าง ดี ภายหลังจึงได้รับการประยุกต์ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของ ธงนำทัพไป

    ต่อเมื่อศาสนาเต๋ารุ่งเรืองขึ้น มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดงและเต่าดำในฐานะเทพเจ้าผู้คุ้มครองมนุษย์ ต่างมีความสำคัญขึ้น ถูกยกให้มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น ต่างมีชื่อเรียกเป็นมนุษย์ และต่อมาอีกไม่นาน เทพเสวียนอู่หรือเต่าดำ ก็โดดเด่นขึ้นในฐานะของ “เจินอู่” ปรมาจารย์เต๋าผู้สำเร็จมรรคผล ส่วนหงส์แดงเป็นเทพที่มีบทบาทแยกออกมาเป็นเอกเทศ ขณะที่มังกรเขียวและเสือขาวกลายเป็นเทพทวารบาลผู้รัก ษาประตูทางเข้าสู่มรรคา แห่งเต๋า



    มังกรเขียว ประจำทิศตะวันออก สีเขียว ธาตุไม้ ฤดูใบไม้ผลิ


    ชาวจีนโบราณ ถือว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่ง นับตั้งแต่ยุคของจักรพรรดิเหลืองเป็นต้นมา มังกรก็กลายเป็นตัวแทนของผู้มีเชื้อสายจีนทั้งมวล โดยเฉพาะเมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรากฏภาพวาดและตำนานเกี่ยวกับหวงตี้หรือจักรพรรดิเหล ืองที่ทรงมังกรเป็น พาหนะเหินบินสู่ฟ้า มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิผู้ยิ่งยงอีกด ้วย


    ตำนานกล่าวว่า มังกรเขียว มีลำตัวเป็นงู หัวเป็นกิเลน หางเป็นปลา มีเครายาว มีเขา เท้าคล้ายกรงเล็บ รูปลักษณ์เป็นมังกรเหิน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ เนื่องจากประจำทิศตะวันออก ธาตุไม้ มีสีเขียว จึงเป็นมังกรเขียว




    เสือขาว ประจำทิศตะวันตก สีขาว ธาตุทอง ฤดูใบไม้ร่วง

    เสือ เป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล เนื่องจากประจำทิศตะวันตก ธาตุทอง มีสีขาว จึงกลายเป็น เสือขาว เป็นตัวแทนของอำนาจบารมี ความเคารพยำเกรงและการทหาร เนื่องจากเสือเป็นนักล่า กินเนื้อ ดังนั้น จึงมีภาพลักษณ์เป็นเทพเจ้าแห่งศึกสงครามและการล่าสัง หารอีกด้วย สถานที่หรือชัยภูมิในสมัยโบราณหากมีชื่อของเสือขาว จึงมักมีนัยสำคัญทางทหาร นอกจากนี้ ยังใช้ในการตั้งชื่อหน่วยกำลังรบ และใช้เป็นตราสัญลักษณ์ในการบัญชาการเคลื่อนทัพ หรือสลักเป็นลวดลายคู่กับมังกรเขียวบนบานประตูทั้งสอ งข้าง เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย



    หงส์แดง ทิศใต้ สีแดง ธาตุไฟ ฤดูร้อน

    หงส์ เป็นเจ้าแห่งปักษา และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่งของจีนมาแต่โบราณ มีรูปลักษณ์เดิมมาจากนกหลากหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้า ห่านฟ้า นกกระจอก เหยี่ยวนกกระจอก นกนางแอ่นฯลฯ ในตำนานกล่าวว่า หงส์มีรูปคล้ายไก่ฟ้า มีสีขนสลับลายเป็นประกาย มีนิสัยรักสะอาด ช่างเลือก (มีความละเอียดอ่อนประณีต) เนื่องจากรูปลักษณ์เป็นนก ประจำทิศใต้ ธาตุไฟ สีแดง จึงได้ชื่อว่า หงส์แดง


    ภายหลังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อ ลัทธิเต๋า จากสัตว์เทพค่อยวิวัฒนาการเป็นรูปลักษณ์ของครึ่งคนคร ึ่งสัตว์ จากนั้นกลายเป็นเทพที่มีรูปเป็นหญิง




    เต่าดำ ประจำทิศเหนือ สีดำ ธาตุน้ำ ฤดูหนาว

    เต่าดำหรือ เสวียนอู่ มีรูปลักษณ์เป็นเต่า แต่มีเกล็ดคล้ายงู มีลักษณะร่วมกันของเต่าและงู บ้างใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเต่าที่มีงูพันรัดกลางลำตัว แต่เดิมมาจากการใช้กระดองเต่าในการทำนายทายทัก ซึ่งหมายถึงการให้เต่านำคำถามลงไปสู่โลกแห่งวิญญาณเพ ื่อนำคำตอบกลับมายังโลก มนุษย์ อีกทั้งกระดองเต่ามีสีดำ จึงปรากฏในรูปเต่าดำ ภายหลังได้มีการขยายความออกไป โดยเห็นว่าเต่าอาศัยอยู่กับน้ำ ทั้งแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่จนถึงท้องทะเลกว้าง จึงได้รับการขนานนามให้เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ อีกทั้ง เต่ามีอายุยืนนาน จึงเป็นสัญลักษณ์แทนการมีอายุวัฒนะ

    ภายหลัง เทพเสวียนอู่ได้รับการ “ยกฐานะ” จากลัทธิเต๋า ให้เป็นปรมาจารย์เจินอู่ โดยกล่าวกันว่า เจินอู่เป็นภาคหนึ่งของเง็กเซียนฮ่องเต้มาจุติยังโลก มนุษย์ แต่ด้วยความเบื่อหน่ายในโลกีย์ จึงเก็บตัวบำเพ็ญภาวนาบนเขาบู๊ตึ๊งจนสำเร็จมรรคผลเป็ นเซียน ขึ้นสถิตบนฟ้า ครองตำแหน่งทิศเหนือ




    ถ้าทางญี่ปุ่นก็เป็น
    เซริว - มังกรเขียว
    เปี๊ยกโคะ - พยัคฆ์ขาว
    ซูซาคุ - หงส์แดง
    เกมบุ - เต่าดำ

    เกาหลีก็จะเป็น
    อูลซา (มังกรเขียว)
    พองแบ๊ค (พยัคฆ์ขาว)
    โอซา (เต่านิล)
    เซอู (วิหคเพลิง)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×