ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ' Close ' :)

    ลำดับตอนที่ #54 : ห่วงสวย กลัวอ้วน กลัวดำ ระวังกระดูกผุ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 140
      0
      14 พ.ค. 52

    พฤติกรรมอดอาหาร และหลบเลี่ยงแสงแดดตลอดเวลา กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะแร่ธาตุแคลเซียม จนอาจทำให้คุณผู้หญิงป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนตั้งแต่อายุยังไม่มาก



    ออกกำลังกาย

    แพทย์หญิงสุขจันทร์ พงษ์ประไพ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน ‘600 พลัส ต้านภัยกระดูกพรุนซึ่งมูลนิธิฯ ร่วมกับบริษัทไวเอท คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ จัดขึ้นว่า แฟชั่นลดความอ้วน ด้วยการอดอาหารจนมีร่างกายผอมเกินไปทำให้ผู้หญิงไทยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนยิ่งขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 20 เสี่ยงต่อการมีกระดูกบางและพรุนอย่างรวดเร็วเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา อีกทั้งคนไทยยังมีนิสัยหลบเลี่ยงแสงแดดทำให้ร้อยละ 80 ของสตรีไทยวัยหมดประจำเดือนขาดวิตามินดี ซึ่งช่วยในกระบวนการดูดซึมแคลเซียมอีกด้วย

    แคลเซียมถือเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก โดยร่างกายของคนเราควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมโดยเฉลี่ย แต่พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมเพียงวันละ 300-400 มิลลิกรัมเท่านั้น ซ้ำร้ายพฤติกรรมหลบเลี่ยงแสดงแดดตลอดเวลา เพราะกลัวผิวจะไม่ขาวเหมือนสมัยนิยม ร่างกายจึงไม่ได้รับวิตามินดีจากแหล่งธรรมชาติ ซึ่งวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในกระบวนการดูดซึมแคลเซียม จึงทำให้คนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น



    ออกกำลังกาย



    ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน จึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอ เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว ปลาตัวเล็ก ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการรับประทานนม เช่นทานแล้วท้องเสีย ท้องอืด ซึ่งพบมากในวัยผู้ใหญ่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่ขาดหายไปในแต่ละวันแพทย์หญิง สุขจันทร์กล่าว

    สำหรับวิธีการเลือกแคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้ปริมาณแคลเซียมต่อเม็ดเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายคือประมาณ 600 มิลลิกรัม ทั้งนี้ต้องไม่ผลิตจากแหล่งธรรมชาติเพราอาจปนเปื้อนเชื้อโรค รวมทั้งต้องไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล เกลือ และแลคโตส ทำให้ผู้ป่วยโรคเหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่แพ้นมหรือไม่สามารถย่อยแลคโตสในน้ำนมได้ สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย และที่สำคัญไม่แพ้กันคือต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เคร่งครัด มีการตรวจสอบการแตกตัวและการดูดซึมที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้บริโภคอาจสังเกตจากตรารับรองมาตรฐาน USP (United State Pharmacopeia)

    ในส่วนของการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกนั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เรียกว่า เฟล็กเซอร์ไซส์’ (Flexecise) ขึ้นมาโดยความร่วมมือจากบริษัทไวเอท คอนซูเมอร์ เฮลธ์แคร์ และทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์การกีฬาจากทั่วภูมิภาคเอเชีย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×