ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ' Close ' :)

    ลำดับตอนที่ #58 : คุณกำลังเผชิญภาวะ PMS อยู่หรือเปล่า

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 217
      0
      14 พ.ค. 52

    เคยสังเกตตัวเองบ้างหรือไม่ว่า ช่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือนคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ เช่น หดหู่ สิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า อยากฆ่าตัวตาย โลกเป็นสีเทา นอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล หากความสุขและคุณภาพชีวิตของคุณถูกคุกคามด้วยอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อปลดปล่อยจากพันธนาการทางธรรมชาติที่ฉุดรั้งคุณอยู่ เพราะอาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอาการ Premenstrual Syndrome (PMS) หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า อาการก่อนมีประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงที่ผลิตจากรังไข่



    PMS

    จากการสำรวจของบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำรายหนึ่งของโลก คือ ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา พบว่า 50-80% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอาการ PMS และ 13-26% ของผู้หญิงวัยนี้มีอาการดังกล่าวในระดับที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

    รายงานการสำรวจดังกล่าวได้รับการยืนยันจากศ.ลอเรน เดนเนอร์สไตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเพศศึกษาและสุขภาพ แผนกจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ซึ่งได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ ในกลุ่มผู้หญิงและแพทย์ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกสี่ประเทศ อันประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฮ่องกง ปากีสถาน และไทย กล่าวในงานสัมมนาปลดปล่อยตัวเองจากกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนจัดโดย บ.ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา ประเทศไทยว่า จากการศึกษาเชิงปริมาณในประเทศไทย พบว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบจากอาการ PMSได้แก่ ประสิทธิภาพการทำงาน 66 % ความเป็นระเบียบภายในบ้าน 53 % คู่รักครอบครัว 23% เพื่อนและผู้ร่วมงาน 13% กิจกรรมยามว่าง 12% กิจกรรมทางเพศ 12 % และการเรียน 8% แต่ผู้หญิงจำนวนมากในเอเชียแปซิฟิกที่ประสบภาวะ PMS และ PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) กลับไม่พยายามหาวิธีรักษา เนื่องจากมีความเชื่อที่ผิดว่าอาการก่อนมีประจำเดือนเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา หรือเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงทุกคนต้องประสบอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้ตระหนักเลยว่าอาการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน


    PMS

    ศ. นพ. สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยในประเด็นปัญหาเดียวกันนี้และพบว่าผู้หญิงไทยในวัยเจริญพันธุ์ 95% มีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างน้อยหนึ่งอาการ และหนึ่งในสามของผู้หญิงเหล่านี้ ความรุนแรงของอาการอาจมีมากขึ้นและมีอาการร่วมกันมากกว่า 2 – 3 อย่างขึ้นไป เช่น หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หดหู่ นอกจากนั้น ยังพบว่า 10% ของผู้หญิงกลุ่มนี้มีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง หรือ PMDD ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างทั้งเพื่อนร่วมงาน และครอบครัว และมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แต่กลับมีผู้หญิงไทยเพียง 10% ที่รู้จักและเข้าใจถึงอาการ PMS และยิ่งถ้าเป็นอาการ PMDD จะยิ่งรู้จักกันน้อยมาก

    ปัจจุบันผู้หญิงที่เป็น PMS ไม่ว่าอาการทางกายหรือทางจิตใจ มีทางเลือกในการปลดปล่อยตัวเองจากผลกระทบอันเกิดจากฮอร์โมนในช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ด้วยนวัตกรรมเพื่อป้องกันและลดอาการก่อนมีประจำเดือนที่มีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ต้องปรึกษากับสูตินรีแพทย์ จากผลการรักษาในต่างประเทศ โดยดร.เดวิด แอล.ไอเซนเบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนครอบครัว และคุมกำเนิด แผนกสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนอร์ธเวสเทิร์นเม็มโมเรียล สหรัฐอเมริกา พบว่าการรักษาคนไข้ที่มีอาการ PMS/PMDD ด้วยสารโปรเจสโตเจนสังเคราะห์ตัวใหม่ที่รับประทาน 24 เม็ดต่อรอบเดือน สามารถลดอัตราการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ถึง 50% และพบว่าหลังการบำบัดด้วยสารดังกล่าว ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน กิจกรรมทางสังคมและความสัมพันธ์ลดลง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×