ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ' Close ' :)

    ลำดับตอนที่ #83 : ชีวิตเป็นสุขหลังวัย 60

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 100
      0
      15 พ.ค. 52

    ต้นฉบับนี้เขียนขึ้นในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนแห่งการเกษียณอายุ

    เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้รับเชิญจากสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยายเรื่อง "ชีวิตเป็นสุขหลังวัย 60" ให้แก่บรรดาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกษียณอายุฟัง

    ผมได้ให้แนวทางปฏิบัติ 8 ประการเพื่อชีวิตเป็นสุข ดังนี้

    1. หมั่นดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยหลัก 4 อ. โดยยึดคำขวัญว่า
    - อ.อาหาร : กินน้อยตายยาก กินมากตายง่าย
    - อ.ออกกำลังกาย : ขี้เกียจอายุสั้น ขยันอายุยืน
    - อ.อารมณ์ : อารมณ์ดีอยู่ยาว อารมณ์เน่าอยู่สั้น
    - อ.อันตราย
    (สิ่งที่เป็นพิษให้โทษต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ อบายมุข อุบัติเหตุ สารพิษ มลพิษ) : เสพพิษชีวิตหด งดพิษชีวิตยืด

    ทั้งนี้มีหลักปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม คือ
    กินเนื้อน้อย
                กินผักมาก
    กินเค็มน้อย
                กินเปรี้ยวมาก
    กินน้ำตาลน้อย
           กินผลไม้มาก
    นั่งรถน้อย
                  เดินมาก
    เอาน้อย
                     ให้มาก (จิตอาสา)
    กังวลน้อย
                  นอน (พักผ่อน) มาก
    โกรธน้อย
                   ยิ้มมาก

    2. หมั่นตรวจเช็กสุขภาพเป็นระยะ
    เพื่อค้นหาปัจจัย เสี่ยงต่อสุขภาพและโรคภัยเงียบ (
    silent killers) ซึ่งเป็นโรคที่แฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ปรากฏอาการ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็งระยะแรก เป็นต้น

    เมื่อพบว่ามีโรคประจำตัว ก็ต้องดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อควบคุมโรค ป้องกันโรคแทรกซ้อน และอายุยืน

    พึงหลีกเลี่ยงการใช้ยา และวิธีรักษาอย่างผิดๆ เช่น การกินยาชุด ยาลูกกลอนที่มีสารสตีรอยด์อันตราย การบำบัดที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ว่าได้ผลจริง ซึ่งบางครั้งทำให้สิ้นเปลืองหรือกลับมีพิษภัย
    เมื่อป่วยด้วยโรคร้าย (เช่น มะเร็ง อัมพาต) พึงทำใจยอมรับและอยู่กับมันอย่างมีความสุข พลิกความคิดเป็น "เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส"
    Ž

    3. รู้จักวางแผนการเงิน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ และมีคุณธรรม)

    4. อย่าเกษียณจากชีวิตและงาน พึงทำในสิ่งที่ชอบ (ฉันทะ) เช่นงานอดิเรกต่างๆ งานจิตอาสา (บำเพ็ญ ประโยชน์ต่อผู้อื่น) ออกสมาคมกับผู้คน เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม/ชมรม/สมาคม/มูลนิธิ เพื่อเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ฝึกสมอง (ถ้าไม่ฝึก สมองจะฝ่อ) สร้างคุณค่าและความภูมิใจให้ตนเอง
    พึงยึดมั่นในการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

    5. ให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น รวมทั้งลดช่องว่างกับคนรุ่นหลัง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้คนต่างๆ ฝึกฟังอย่างลึก (
    deep listening) เพื่อเข้าใจผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างหลากหลายและการเปลี่ยนแปลง

    ทำหน้าที่ "แจกของ-ส่องตะเกียง" ให้แง่คิดแนว ทางการปฏิบัติแก่ผู้อื่น

    6. อย่ายึดมั่นถือมั่น/ยึดติดในอัตตา (
    self-centered) ทั้งในเรื่องความรู้-ประสบการณ์แห่งตน ความคิด-ค่านิยม-วิธีปฏิบัติแห่งตน รวมทั้งผลประโยชน์แห่งตน

    7. หมั่นเจริญทางปัญญา ให้เห็นสภาพความเป็นจริงของสรรพสิ่งตามที่เป็นธรรมชาติที่เชื่อมโยงอิงอาศัยกัน (อิทัปปัจจยตา) และมีความเป็น ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

    8. หมั่นเจริญสติ ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันและโดยการตามรู้ลมหายใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย (นั่ง นอน ยืน เดิน) การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ (เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน กินข้าว อาบน้ำ) การเล่นกีฬา ออกกำลังกาย รวมทั้งฝึกตามดูรู้ทันความรู้สึก และความคิดของตนเองอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้หยุดหรือควบคุมอารมณ์และความคิดที่ก่อทุกข์ให้ตนเองได้

    พึงเจริญมรณานุสติอยู่เนืองๆ เพื่อ "ยิ้มรับ" ความตาย และใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทและมีคุณค่า
    ท้ายที่สุดนี้ ขอฝากให้หมั่นขอพร 5 ประการเพื่อสุขภาพและอายุยืน ดังนี้

    "ฉันขอให้ตัวเอง
               มีอายุยืนยาว
    ฉันขอให้ตัวเอง
                 มีสุขภาพแข็งแรง
    ฉันขอให้ตัวเอง
                 มีความคล่องแคล่ว
    ฉันขอให้ตัวเอง
                 มีปัญญาสมบูรณ์
    ฉันขอให้ตัวเอง
                 มีจิตตื่น-รู้-เบิกบาน"


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×