ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #24 : ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ : ความขัดแย้ง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.76K
      3
      2 พ.ย. 56

       
    ความขัดแย้ง

    ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้องกัน ลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น


    สาเหตุของสงคราม


    1. ลัทธิชาตินิยม ( Nationalism )
            ภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝ่ายปรัสเซียมีผู้นำที่เข้มแข็งอย่างบิสมาร์กเป็นผู้วางแผนการรบอย่างชาญฉลาด เอาชนะฝรั่งเศสได้ทำให้เยอรมันสามารถรวมตัวกันและสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน เป็นมหาอำนาจที่สำคัญในยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ต้องยอมเสียแคว้นอัลซาซ-ลอแรนให้แก่เยอรมนี และเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ เป็นผลให้อิตาลีรวมชาติได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ


    2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม
        เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม การแข่งขันเป็นแบบการค้าเสรี เมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น จึงเริ่มใช้กำลังทางทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและตั้งกำแพงภาษีให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันมิให้สินค้าจากประเทศที่เป็นคู่แข่งมาตีตลาดในประเทศบริวารของตน เป็นเครื่องมือวัดความยิ่งใหญ่ของประเทศ


    3. มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย
     -ฝ่ายหนึ่งประกอบด้วยเยอรมนี รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ภายหลังรัสเซียได้ถอนตัวไปและอิตาลีเข้ามา กลุ่มนี้จึงประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี
     
    -อีกฝ่ายหนึ่งฝรั่งเศสกับรัสเซีย ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีฝรั่งเศส-รัสเซีย ต่อมาอังกฤษได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรจึงเกิดเป็นกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี


     4. ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน
            ชนวนของสงครามเกิดขึ้นเมื่ออาร์ชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยฝีมือของกัฟริโล ปรินซิปชาวบอสเนีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย โดยมีรัสเซียเข้ามาช่วยเซอร์เบีย เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษเข้าร่วมมือกับรัสเซีย
    ในสงครามครั้งนี้ เรียกฝ่ายที่อยู่ข้างเซอร์เบีย รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร และเรียกฝ่ายที่อยู่ข้างออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีว่า ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (สำหรับอิตาลี ตอนแรกประกาศตนเป็นกลาง แต่ตอนหลังได้ไปเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร)


    สาเหตุของการสิ้นสุดสงคราม
        ฝ่ายประเทศมหาอำนาจกลาง ที่เป็นพันธมิตรกับประเทศเยอรมนี มักประสบความพ่ายแพ้ ส่งผลกระทบต่อแนวรบเยอรมนี เยอรมนีจึงอ่อนล้า ก่อให้เกิดการกบฏของทหารเรือที่คลองคีล (Kiel) เกิดการจลาจลวุ่นวายทั่วประเทศเยอรมนี วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ไกเซอร์ วิลเลียมที่ 2 (Kaiser William II) ลี้ภัยไปอยู่ฮอลแลนด์ วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เยอรมนีจึงยอมยุติสงครามเพื่อขอเจรจาทำสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร


    ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1

    1.ประเทศในยุโรปทั้งที่เป็นฝ่ายผู้แพ้ (มหาอำนาจกลาง) และฝ่ายชนะ (พันธมิตร) รวมถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างได้รับผลกกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลมาจากสงคราม ระบบการเงินทั่วโลกกระทบกระเทือน

    2. แยกฮังการี ออกจาก ออสเตรีย

    3. ประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และตุรกี เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบสาธารณรัฐ

    4.เกิดประเทศขึ้นใหม่เช่น ยูโกสลาเวีย เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ ลัทเวีย ลิโทเนีย
        
    5. มีทหารเสียชีวิตไปประมาณ 8 ล้านคน บาดเจ็บประมาน 20 ล้านคน

    6. มีการจัดตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ (League Of Nations) เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ

    7. มีการจัดทำสนธิสัญญาสงบศึกเพื่อเป็นการลงโทษแก่ประเทศผู้แพ้สงคราม โดยข้อกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายผู้ก่อสงคราม ผลของสัญญาเช่น ผู้แพ้ต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม เสียอำนาจการปกครองตนเอง เสียอำนาจทางการค้า และต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล ซึ่งกลายมาเป็นสาเหตุและชนวนที่จะนำไปสู่การเกิดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ.1939-1945


    สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2) เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์โลก
    ประเทศที่มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้

    ฝ่ายอักษะ
        ประกอบไป ด้วยแกนนำหลัก คือ เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ในนามของกลุ่มอักษะโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว ที่มีการแถลงวัตถุประสงค์หลักในตอนต้นว่าเพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์ สากล


    ฝ่ายพันธมิตร
        ประกอบไปด้วยแกนนำหลัก คือ สหราชอาณาจักร, สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญอีก 2 ประเทศคือ จีน และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศทั้ง 5 นี้ได้เข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ


    สาเหตุของสงคราม
    1) ความไม่พอใจของฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีต่อข้อตกลงสันติภาพหลังสงครามครั้งนั้น โดยเฉพาะสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่ทำให้เยอรมนีไม่พอใจเพราะมุ่งลงโทษเยอรมนี ยังส่งผลให้เยอรมนีใช้เป็นข้ออ้างในการก่อการสงคราม

    2) นโยบายสร้างชาติภายใต้ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของ 3 ชาติ คืออิตาลี มีลัทธิฟาสซิสต์เป็นหลักในการปกครอง ส่วนเยอรมนีใช้ลัทธินาซี และญี่ปุ่นมีลัทธิการทหารเป็นแกนหลัก กอปรกับนโยบายลัทธิชาตินิยมของทั้ง 3 ชาติ กล่าวคือ ญี่ปุ่นนำคำสอนทางศาสนาชินโตมาชี้นำ อิตาลีมุ่งหวังจะสร้างประเทศให้ยิ่งใหญ่เหมือนสมัยจักรวรรดิโรมัน ส่วนเยอรมนีพยายามใช้นโยบาย“เชื้อชาติอารยันที่ยิ่งใหญ่” มากระตุ้นความรู้สึกของคนในชาติว่ามีศักดิ์ศรีเหนือเผ่าพันธุ์อื่น


    สถานการณ์สงครามโลกครั้งที่2

    วิกฤติก่อนเกิดสงครามโลก
         เหตุเกิดเมื่อเยอรมันได้ฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซาย เเละเริ่มรุกรานประเทศต่างๆโดยไม่มีผู้ใดขัดขวางทำให้อังกฤษเเละฝรั่งเศสได้ตะหนักว่าเยอรมันต้องการทำสงคราม
    เยอรมันได้เรียกร้องขอฉนวนดานซิกคืนจากโปแลนด์เเละกองทัพเยอรมันได้บุกโปแลนด์ อังกฤษ เรียกร้องให้เยอรมันถอนทหารเเต่เยอรมันไม่ยอม อังกฤษเเละฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับเยอรมันทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น


    ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2  

    ฝ่ายพันธมิตรชนะ

    แต่การนำอาวุธที่มีอานุภาพและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 หลายเท่า เช่น

    ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยสงครามอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่นบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เป็นโรคจิต โรคระบาด ขาดอาหาร หายสาบสูญ เป็นต้น
    ด้านการเมือง ประเทศผู้แพ้สงครามต้องเสียเกียรติภูมิ ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม และต้องยังยินยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ฝ่ายชนะสงครามวางเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม ดังนี้

    - เยอรมนี พันธมิตรได้จัดการกับเยอรมนีในฐานะเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดสงครามดังนี้

    1.เยอรมนีต้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ให้อยู่ในความดูแลของสหภาพโซเวียต อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ประเทศละส่วน

    2. นครเบอร์ลิน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1871 เป็นเขตยึดครองของ 4 มหาอำนาจข้างต้น โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกัน

    3. ห้ามเยอรมนีผลิตอาวุธสงคราม

    4. การผลิตโลหะ เคมี และเครื่องจักรกลที่อาจใช้ในสงครามได้ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของมหาอำนาจทั้ง 4

    5. ระบบนาซีทุกรูปแบบต้องยกเลิก

    - ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ก่อและขยายสงครามในทวีปเอเชียนั้น ฝ่ายพันธมิตรมอบอำนาจให้สหรัฐอเมริกาจัดดำเนินการโดยลำพัง ดังนั้นสหรัฐอเมริกาจึงได้ยึดครองญี่ปุ่นโดยมีนายพลดักลาส แมกอาเทอร์ (Douglas McArthur) เป็นผู้บัญชาการ

        ทหารสูงสุด และให้ญี่ปุ่นปฏิบัติตามสนธิสัญญาโดยเคร่งครัด เช่น ห้ามการมีกองทัพทหารและนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต้องยอมรับรัฐธรรมนูญที่สหรัฐอเมริการ่างให้ด้วย
    ด้านเศรษฐกิจ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศผู้ริเริ่มสงครามและประเทศมหาอำนาจ ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากเพื่อการฝึก การบำรุงขวัญทหาร และเพื่อการผลิตอาวุธที่มีศักยภาพสูงและทันสมัยมีอาวุธบางชนิดที่ไม่เคยใช้ที่ใดมาก่อน เช่น เรดาร์ตรวจจับ เรือดำน้ำ เรือบรรทุกเครื่องบิน จรวด เครื่องบินชนิดต่าง ๆ ระเบิดปรมาณู เป็นต้น


    ผลกระทบของสงคราม
    1. การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ
    2. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ ๆ และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม
    3. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ
    4. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา
    5. เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์ 




    สงครามเย็น (Cold War ค.ศ. 1945-1991)
        สงครามเย็นเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลก   ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างชาติมหาอำนาจ ที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่างๆของโลก และทำให้โลกต้องตกอยู่ใน      สภาวะความตึงเครียดยาวนานถึง 45 ปี


    สาเหตุของสงครามเย็น
        สงครามเย็น หมายถึง ความขัดแย้งของอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างสองอภิมหาอำนาจ คือ อุดมการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกากับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต พร้อมด้วยประเทศพันธมิตรของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเย็นเป็นการช่วงชิงกันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการโฆษณาชวนเชื่อ โดยไม่ได้ใช้กำลังทหารและอาวุธมาประหัตประหารกัน
    ทั้งนี้เป็นเพราะเกิดดุลแห่งความกลัว(Balance of Terror) คือ มหาอำนาจต่างฝ่ายต่างก็หวั่นเกรงอาวุธมหาประลัยที่จะนำมาทำลายล้างกันในกรณีที่เกิดการสู้รบขึ้น คำว่า สงครามเย็น (Cold War) ได้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสุนทรพจน์เมื่อ ค.ศ. 1946 โดยเบอร์นาร์ด บารุก(Bernard Baruch ค.ศ. 1870-1965) ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาประธานาธิปดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt     ค.ศ. 1933-1945) แห่งสหรัฐอเมริกา สาเหตุของสงครามเย็นมีหลายประการ ได้แก่




    การเปลี่ยนแปลงดุลทางอำนาจของโลก
        สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำลายสถานะทางอำนาจของมหาอำนาจเดิม คือ เยอรมนีและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้แพ้สงคราม ส่วนอังกฤษกับฝรั่งเศสเป็นชาติพันธมิตรที่ชนะสงคราม แต่ทั้งสองชาติก็ได้รับความบอบช้ำจากสงครามโลกอย่างหนัก อังกฤษได้รับความบอบช้ำทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจตกต่ำ ส่วนฝรั่งเศสถูกเยอรมนียึดครองประเทศเป็นเวลานานถึง 4 ปี       (ค.ศ. 1940-1944) ถึงแม้ประเทศจะถูกปลดปล่อยในช่วงปลายสงครามแต่อำนาจก็ถดถอยลงอย่างมาก ฝรั่งเศสจึงไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองเท่าใดนัก


    อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน
         สหรัฐอเมริกายึดหลักลัทธิเสรีประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง โดยให้ความสำคัญกับการเมืองแบบเสรีนิยม มีการเลือกตั้ง และมีพรรคการเมืองแบบหลายพรรค ระบบเศรษฐกิจก็เป็นแบบระบบทุนนิยม ให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ส่วนสังคมก็มีลักษณะเปิดกว้าง ให้สิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของประชาชน
        สหภาพโซเวียตยึดถืออุดมการณ์สังคมนิยมมาร์กซิสต์ในการปกครองประเทศ กล่าวคือในด้านระบอบการปกครองแบบเผด็จการ มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยอื่นๆโดยพรรคมีอำนาจควบคุมให้ประชาชนกระทำการตามที่พรรคกำหนด อำนาจการปกครองจึงมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจ ระบบเศรษฐกิจก็เป็นระบบที่รัฐเข้าไปมีบทบาทอย่างเต็มที่ กล่าวคือ รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกอย่างทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคม ส่วนในด้านสังคม รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์เข้าไปควบคุมการดำเนินชีวิตให้มีความเป็นระเบียบเป็นไปตามหลักการสังคมนิยม เน้นในวัฒนธรรมชนชั้นกรรมาชีพหรือผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่
    อุดมการณ์ที่แตกต่างกันของชาติอภิมหาอำนาจทำให้บรรยากาศของสงครามเย็นมีความตึงเครียด ขณะที่สหภาพโซเวียตพยายามขยายอิทธิพลของลัทธิสังคมนิยมออกไปสู่ประเทศต่างๆ สหรัฐอเมริกาเองก็พยายามรักษาลัทธิทุนนิยมและระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆการเผชิญหน้าระหว่างสองชาติอภิมหาอำนาจจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้


    ความขัดแย้งของผู้นำของชาติอภิมหาอำนาจ
       ประธานาธิปดีของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ แฮร์รี่ เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman ค.ศ. 1945-1953) ซึ่งมีนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ทั้งนี้มาจากการสนับสนุนของชาวอเมริกันที่มีความรู้สึกต่อต้านสหภาพโซเวียตด้วย นอกจากประธานาธิปดีสหรัฐอเมริกาแล้ว นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill ค.ศ. 1940-1945 และ ค.ศ. 1951-1955) ของอังกฤษ ซึ่งเป็นชาติพันธมิตรชนะสงครามที่สำคัญก็มีท่าทีต่อต้านสหภาพโซเวียตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตแผ่ขยายาอิทธิพลไปยังประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออก
        ในขณะเดียวกัน ผู้นำของสหภาพโซเวียต ได้แก่จอมพล โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin ค.ศ. 1941-1953) ซึ่งเป็นผู้นำเผด็จการ มีนโยบายกวาดล้างและการควบคุมทางการเมืองภายในประเทศอบ่างเข้มงวด สตาลินมีความหวาดระแวงในท่าทีของฝ่ายพันธมิตรตะวันตกในด้านต่างๆในช่วงปลายสงคราม เช่น การกีดกันสหภาพโซเวียตในเรื่องการยอมจำนนของอิตาลี การพยายามยอมจำนนของเยอรมนีต่อฝ่ายพันธมิตรตะวันตกเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต ทำให้สหภาพโซเวียตไม่ไว้วางใจประเทศตะวันตก เห็นว่าประเทศตะวันตกจ้องจะทำลายลัทธิคอมมิวนิสต์ ท่าทีของผู้นำของชาติอภิมหาอำนาจมีส่วนสำคํญในการเพิ่มความตึงเครียดของสงครามเย็น
        การเกิดสงครามเย็นเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เมื่อสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศต่างๆทางยุโรปตะวันออก และฝ่ายสหรัฐอเมริกากับอังกฤษก็ได้จัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยขึ้นในประเทศที่อยู่ในอารักขอของตน ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับเขตยึดครองของสหภาพโซเวียต เพราะเกรงว่าลัทธิคอมมิวนิสต์แบบสหภาพโซเวียตจะสนับสนุนให้มีการล้มล้างรัฐบาลเสรีประชาธิปไตยของฝ่ายตน และจะแผ่ขยายไปยังส่วนอื่นๆของโลก เพราะเหตุนี้สหรัฐอเมริกาจึงหวั่นเกรงการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียต ประกอบกับในช่วงเวลานั้น สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยเหลือรัฐบาลกรีกและรัฐบาลตุรกีต่อต้านอำนาจลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมกับประธานาธิปดีทรูแมน     (Truman Doctrine) ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือรัฐบาลในระบอบเสรีประชาธิปไตยและต่อต้านการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์
    ความจริงแล้วสหภาพโซเวียตต้องการที่จะเป็นผู้นำของยุโรปตะวันออก เพื่อป้องกันการฟื้นตัวของเยอรมนี ซึ่งอาจก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สงครามขึ้นอีกก็ได้ จึงเข้ามาให้ความสนับสนุนในการจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆของภูมิภาคนี้ และสหภาพโซเวียตยังต้องการเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ไปทั่วโลกด้วย ในขณะเดียวกันทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาก็ได้ประกาศใช้แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะประเทศต่างๆในทวีปยุโรปที่ประสบภัยจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือเหล่านั้นต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาไปโดยปริยาย
    ปัญหาความขัดแย้งในสงครามเย็น
            ในช่วงที่เกิดสงครามเย็นระหว่าง ค.ศ. 1945-1991 ประเทศต่างๆได้แตกแยกออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายเสรีประชาธิปไตยภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของสหภาพโซเวียต ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างตั้งต้นเป็นศัตรูแข่งขันกันทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร และอุดมการณ์ สงครามในระยะนี้จึงไม่ใช่การต่อสู้กันระหว่างชาติมหาอำนาจแต่เป็นสงครามตัวแทน (Proxy war) ที่ประเทศเล็กๆหรือกลุ่มการเมืองต่างค่ายต่อสู้กัน โดยมีชาติอภิมหาอำนาจสนับสนุนในด้านต่างๆส่งผลให้เกิดสงครามจำกัดขอบเขตอู่ทั่วทุกภูมิภาค นอกจากนี้ทั้งสองชาติอภิมหาอำนาจต่างขยายอิทธิพลไปยังประเทศต่างๆให้เข้ามาเป็นบริวาร
    กรณีความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจ
    กรณีปัญหาในยุโรปตะวันออก
            เมื่อตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1944 กองทัพสหภาพโซเวียตได้เคลื่อนทัพเข้ามาปลดปล่อยประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออก จากการยึดครองของกองทัพเยอรมัน เมื่อสิ้นสุดสงครามกองทัพสหภาพโซเวียตยังคงประจำการในดินแดนแถบนั้น และสนับสนุกลุ่มนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ ประเทศเหล่านั้นจึงเปลี่ยนแปลงกลายเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1945 -1948 ในกรณีนี้บางประเทศได้กลายเป็นกรณีขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกกับสหภาพโซเวียต เช่น ปัญหาโปแลนด์ ซึ่งชาติตะวันตกพยายามสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งโดยเสรีแต่สหภาพโซเวียตพยายามหลีกเลี่ยง จนในที่สุดสหภาพโซเวียตก็สามารถจัดตั้งรัฐบาลสังคมนิยมขึ้นปกครองโปแลนด์ได้สำเร็จ
    กรณีปัญหาเรื่องประเทศเยอรมนี
    หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 พฤกษภาคม ค.ศ. 1945 ประเทศเยอรมนีได้ถูกยึดครองแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต ส่วนกรุงเบอร์ลินก็ถูกแบ่งแยกปกครองโดยชาติมหาอำนาจทั้ง 4 ด้วยเช่นกัน
            ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นประเด็นสำคัญที่สหภาพโซเวียตพยายามเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมนีเป็นจำนวนมาก แต่สหรัฐอเมริกาพยายามบ่ายเบี่ยงทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจ นอกจากนี้ฝ่าย        สหภาพโซเวียตก็แข่งขันกับสหรัฐอเมริกาในการหาเสียงสนับสนุนจากเยอรมนีโดยการเสนอแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจของเยอรมนี สหรัฐอเมริกาก็ดำเนินการแบบเดียวกัน
        ความขัดแย้งในปัญหาเยอรมนีมาถึงจุดสูงสุดในกลาง ค.ศ. 1948 เมื่อสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสปฏิรูปเงินตราในเขตยึดครองของตนเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้มั่นคง ซึ่งก่อความเสียหายให้ฝ่ายสหภาพโซเวียตมาก สหภาพโซเวียตจึงปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน บีบคั้นมหาอำนาจตะวันตกให้ละทิ้งเบอร์ลินตะวันตก แต่ชาติตะวันตกได้เสนอปัญหานี้ต่อสหประชาชาติและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการขนส่งเสบียงอาหารทางอากาศให้กับชาวเบอร์ลินตะวันตก ทำให้การปิดล้อมไม่ได้ผล ในกลาง ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตได้ยกเลิกการปิดล้อม   กรุงเบอร์ลิน แต่ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายก็ไม่ได้ยุติ
    ปัญหาเยอรมนีนำมาซึ่งการแบ่งแยกใน ค.ศ. 1949 ชาติตะวันตกอันมีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสได้รวมเขตยึดครองตนจัดตั้งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันหรือเยอรมนีตะวันตก ส่วนฝ่านสหภาพโซเวียตจึงจัดตั้งเขตยึดครองของตนเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันหรือเยอรมนีตะวันออก ในช่วงเวลาของความขัดแย้ง เยอรมนีตะวันตกได้พัฒนาเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่ง ทำให้ชาวเยอรมันในเยอรมนีตะวันออกพยายามหลบหนีมา  เยอรมนีตะวันตกเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อผลเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งทำลายเกียรติภูมิทางการเมืองของเยอรมนีตะวันออก
    รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1961 เพื่อสกัดกั้นชาวเยอรมนีตะวันออกหลบหนีมายังเบอร์ลินตะวันตก กำแพงเบอร์ลินจึงเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสงครามเย็น จนกระทั่งถึง ค.ศ. 1989 รัฐบาลใหม่ที่ปกครองเยอรมนีตะวันออกมีแนวนโยบายเป็นเสรีนิยมได้ประกาศเปิดเส้นพรมแดนกับเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกจึงทำลายกำแพงเบอร์ลินลงเมื่อ     ค.ศ. 1990 รวมประเทศเป็นผลสำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1991     ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือองค์การนาโตขึ้นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1949 ต่อมาใน ค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตกับประเทศคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออกได้รวมกลุ่มจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอขึ้นเผชิญหน้ากับ        องค์การนาโต ทั้งสองฝ่ายได้เผชิญหน้ากันตลอดมาในยุคสงครามเย็น
    กรณีความขัดแย้งในทวีปเอเชีย
            กรณีความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจในเอเชียที่เป็นต้นกำเนิดของสงครามเย็น คือ ปัญหาดรื่องการยึดครองญี่ปุ่น ก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและส่งกองทหารบุกเข้าดินแดนแมนจูเรียของญี่ปุ่นในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกี่ยวกับ   ณี่ปุ่นมีอยู่ 2 กรณี กรณีแรก คือ ค่าปฏิกรรมสงคราม ซึ่งสหภาพโซเวียตพยายามเรยกร้องค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมากมาจากญี่ปุ่นแต่สหรัฐอเมริกาพยายามบ่ายเบี่ยง กรณีที่สอง คือ การทำสนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายก็มีความเห็นไม่ตรงกัน นอกจากนี้   สหภาพโซเวียตยังโจมตีสหรัฐอเมริกาเรื่องการปกครองญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาก็โจมตีสหภาพโซเวียตในกรณีที่สหภาพโซเวียตกักตัว    เชลยศึกชาวญี่ปุ่นไม่ให้กลับประเทศ
    ภาวะ
    สงครามเย็น
    กรณีความขัดแย้งระหว่างชาติอภิมหาอำนาจในช่วง ค.ศ. 1945-1948 ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสภาวะสงครามเย็น หลังจาก         ค.ศ. 1948 โลกก็เข้าสู่สงครามเย็นอย่างแท้จริง ทุกภูมิภาคของโลกถูกครอบงำโดยการแข่งขันทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ ระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ชาติอภิมหาอำนาจทั้งสองต่างมีบทบาทในการสนับสนุนกลุ่มการเมืองภายในประเทศเหล่านั้นที่จงรักภักดีต่อตนให้ต่อสู้กับรัฐบาลของประเทศเหล่านั้นหรือให้การสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขยายอิทธิพลของ  ชาติมหาอำนาจไปยังประเทศต่างๆ นอกจากประเทศอภิมหาอำนาจทั้งสองยังสนับสนุนให้ประเทศบริวารทำการสู้รบกันเองเพื่อแผ่ขยายอิทธิพลของตน
    ภูมิภาคยุโรป
    ในช่วงสงครามเย็น ประเทศต่างๆในยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย อย่างชัดเจน คือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออกได้กลายเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต ยกเว้นประเทศยูโกสลาเวียที่เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ต่อต้านสหภาพโซเวียตและติดต่อสัมพันธ์กับชาติตะวันตก      สหภาพโซเวียตได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
            ประเทศยุโรปตะวันตกพยายามแทรกซึมเข้าไปในภูมิภาคยุโรปตะวันออกโดยการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนในประเทศยุโรปตะวันออกในเวลาต่อมา เช่น กรณีโปแลนด์และกรณีฮังการีใน ค.ศ. 1956 และกรณีเชโกสโลวะเกียใน ค.ศ. 1968 ซึ่งสหภาพโซเวียตได้ปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง นอกจากนี้กองทัพขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือยังได้ประจันหน้ากับกองทัพขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้ภูมิภาคยุโรปเกิดความตึงเครียด
    ภูมิภาคเอเชีย
    ภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาติมหาอำนาจในยุคสงครามเย็น กรณีที่มีความขัดแย้งในทวีปเอเชียที่สำคัญได้แก่
    สงครามเกาหลี
        สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950-1953) สงครามเกาหลีเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคาบสมุทรเกาหลีหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงใหม่ๆ กล่าวคือ ญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองคาบสมุทรเกาหลีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1910 ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 1945 มหาอำนาจจึงเข้าครอบครองคาบสมุทรเกาหลีไว้ องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือเป็นแนวแบ่ง โดยกำหนดให้ดินแดนเหนือเส้นนี้อยู่ในความดูแล เป็นเขตปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น โดยสหภาพโซเวียตมีรัฐบาลปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และดินแดนใต้เส้นนี้อยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกา ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และให้จัดการเลือกตั้งเพื่อรวมเกาหลีทั้งสองใน ค.ศ. 1948 แต่สหภาพโซเวียตไม่ยินยอมที่จะจัดการเลือกตั้ง
            อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้จัดการเลือกตั้งในเกาหลีใต้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1948 พรรคการเมืองที่นิยมสหรัฐอเมริกาประสบชัยชนะ การเลือกตั้งดังกล่าวเท่ากับเป็นการปิดหนทางรวมเกาหลีลงทันที         ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองกำลังของเกาหลีเหนือซึ่งได้ฝึกและเตรียมตัวมาอย่างดีพร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจาก    สหภาพโซเวียตได้บุกผ่านเส้น 38 องศาเหนือลงมายังเกาหลีใต้ ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติต้องจัดการประชุมฉุกเฉิน แต่ตัวแทนของสมาชิกถาวร 2 ประเทศ คือ สหภาพโซเวียตไม่ยอมเข้าประชุม และรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์พยายามคัดค้าน ดังนั้นประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกาจึงได้สั่งเคลื่อนกองกำลังของตนเข้าช่วยเกาหลีใต้ และขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือไปยังพันธมิตรอื่นๆให้ช่วยเหลือด้วย
    กองกำลังของสหรัฐอเมริกาได้ขับไล่เกาหลีเหนือออกไป และเข้าไปยึดพื้นที่ในเกาหลีเหนือได้ถึงบริเวณแม่น้ำยาลู จีนประกาศเตือนให้สหรัฐอเมริกาถอนกำลังออกไป แต่นายพล ดักลาส แมกอาร์เทอร์        ผู้บัญชาการในสงครามครั้งนี้ไม่ปฏิบัติตาม จีนจึงได้ส่งกองทัพบุกเข้ามาถึงในเกาหลีใต้ แต่ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตอบโต้ จีนจึงต้องล่าถอยกลับไป
        นายพลแมกอาร์เทอร์ต้องการขจัดจีนออกจากสงครามครั้งนี้จึงได้สั่งปิดล้อมชายฝั่งของจีนและยังสั่งให้ถล่มฐานทัพของรัสเซียในแมนจูเรียด้วย แต่ประธานาธิบดีทรูแมนไม่เห็นด้วยกับแผนการนี้ เพราะเกรงว่าจะดึงสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงครามด้วย จึงสั่งย้ายนายพล     แมกอาร์เทอร์ และแต่งตั้งนายพล แมทธิว ริดจ์เวย์ (Matthew Ridgway ค.ศ. 1985-1993) มาเป็นผู้บัญชาการแทนกระทั่งนายพลไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนต่อมาจึงได้ดำเนินนโยบายให้ประนีประนอมมากขึ้น สหประชาชาติได้พยายามไกล่เกลี่ยให้คู่สงความเจรจายุติสงความในคาบสมุทรเกาหลี จนใน ค.ศ.1953 จึงได้ยุติสงความลงได้
    สงครามเกาหลีทำให้มีการสูญเสียชีวิตไปไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือนชาวจีนประมาณ 100,000 คน ชาวเกาหลีใต้ประมาณ 700,000 คน ชาวอเมริกันประมาณ 54,000 คน และเชื้อชาติอื่นๆ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ตุรกี นอกจากนี้ยังทำให้ชาวเกาหลีต้องได้รับบาดเจ็บ เป็นโรคจิต และต้องอพยพลี้ภัยอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนทรัพย์สิน เช่น สิ่งสาธารณูปโภค โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ราชการ บ้านเรือนราษฎรถูกวางเพลิง ถูกกระสุนทำลาย และถูกทิ้งระเบิดถล่มเสียหายไปเป็นจำนวนมาก ในด้านการเมืองนั้นสงครามครั้งนี้ทำให้เกาหลีแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ และทั้งสองต่างระแวงสงสัยในการแทรกแซงของอีกฝ่ายหนึ่งมากยิ่งขึ้นดังนั้นโอกาสที่เกาหลีจะรวมเป็นประเทศเดียวกันจึงยิ่งห่างไกลออกไปอีก
    กรณีขัดแย้งเรื่องเกาะไต้หวัน
    กรณีขัดแย้งเรื่องเกาะไต้หวัน (ค.ศ.1950-ปัจจุบัน) ใน ค.ศ.1949 กองทัพจีนคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตง (Mao Zedong ค.ศ.1893-1976) ได้เข้ายึดครองประเทศจีนและจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ส่วน จอมพล เจียง ไคเชค (Chiang Kaishek ค.ศ. 1887-1975) และพรรคชาตินิยมรวมทั้งประชาชนบางส่วนได้อพยพไปตั้งสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ต่อมา ค.ศ. 1954 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์มีนโยบายรวมเกาะไต้หวันเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องส่งกองทัพเรือที่ 7     มาลาดตระเวนในบริเวณช่องแคบไต้หวัน จีนจึงระดมยิงเกาะคีมอยและเกาะมัทสุนอกชายฝั่งจีนบริเวณช่องแคบไต้หวัน เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาได้ลงนามในสนธิสัญญาพันธิสัญญาพันธมิตรทางทหารกับไต้หวัน นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายคุ้มครองเกาะคีมอยและเกาะมัทสุ ทำให้จีนต้องยุติในที่สุด
    สหรัฐอเมริกามองว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต เนื่องจากในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1950 รัฐบาลจีนได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพพันธมิตรและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันกับสหภาพโซเวียต ดังนั้นกรณีไต้หวันจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาใช้นโยบายปิดล้อมลัทธิคอมมิวนิสต์ (Containment Policy) โดยทำสนธิสัญญาพันธมิตร ทางการทหารกับชาติต่างๆ ที่เป็นมิตร และจัดตั้งองค์การด้านทหาร เช่น องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และซีโต (Southeast Asia Treaty Organization) เพื่อป้องกันไม่ให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    สงครามเวียดนาม
    สงครามเวียดนาม (ค.ศ.1965-1975) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งที่เป็นเวทีแห่งการขัดแย้งสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยเฉพาะกรณีการขัดแย้งในสงครามเวียดนาม เมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ฝรั่งเศสพยายามที่จะเข้ามายึดอำนาจปกครองในเวียดนามอีก จึงได้เกิดขบวนการคอมมิวนิสต์เวียดมินห์ภายใต้การนำของ โฮ จิ มินห์ (Ho Chi Minh ค.ศ.1890-1969) โดยมีฐานสนับสนุนโดยชาตินิยมทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะต่อต้านฝรั่งเศส ทำให้เกิดสงครามระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามกับฝรั่งเศสมาตั้งแต่ ค.ศ. 1946 จนกระทั้ง ค.ศ. 1954 กองทหารฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้แก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในการรบที่เดียนเบียนฟู
        และชาติมหาอำนาจอื่นๆ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกาสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพโซเวียต รวมทั้งชาติต่างๆในเอเชียและยุโรปได้จัดให้มีการเจรจาให้มีการสงบศึกที่นครเจนีวา ผลของการเจรจา ฝรั่งเศสจะต้องให้เอกราชแก่เวียดนาม และเวียดนามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ตามแนวเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ โดยเวียดนามอยู่เหนือภายใต้การปกครองของโฮ จิ มินห์ และเวียดนามใต้อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิ บ๋าว ได่ (Bao Dai ค.ศ. 1913-1997) ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา การแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วนนี้เป็นการแบ่งชั่วคราว กำหนดให้รวมกันอีกครั้งหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปใน      ค.ศ.1965 แต่เมื่อถึงเวลานั้นเวียดนามก็ยังมิได้จัดให้มีการเลือกตั้ง
    ในเวียดนามใต้มีความเคลื่อนไหวของแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติหรือเวียดกง เมื่อ โง ดินห์ เสี่ยม (Ngo Dinh Diem ค.ศ. 1910-1963) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ปราบปรามพวกเวียดกง โดยอาศัยการสนับสนุนด้านการเงินและอาวุธของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ ค.ศ. 1955 แล้วตั้งแต่นั้นมาเวียดนามใต้ก็เกิดการสู้รบเป็นสงครามภายในตลอดมา ต่อมา โง ดินห์ เสี่ยม ถูกโค่นอำนาจและเสียชีวิต การเมืองในเวียดนามใต้ก็ยิ่งไร่เสถียรภาพลงไปอีก กล่าวคือ ได้มีรัฐบาลทหารผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมาปกครอง โดยมีสหรัฐอเมริกาสนับสนุนในการสู้รบกับเวียดนามเหนือและเวียดกง นอกจากจะมีทหารอเมริกาช่วยทหารเวียดนามใต้แล้ว ยังมีเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และไทยเข้าร่วมช่วยเหลือด้วย
    ในสงครามเวียดนามมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้
    ค.ศ. 1965-1967 สหรัฐอเมริกาได้สงอาวุธยุทโธปกรณ์และทหารเพิ่มเข้ามายังเวียดนามขึ้นเรื่อยๆ และทำการทิ้งระเบิดโจมตีเวียดนามเหนือในฐานะผู้ให้การสนับสนุนเวียดกงอย่างหนักแต่เวียดกงได้ใช้วิธีการรบแบบกองโจร ผลของการต่อสู้ทำให้ประชาชนชาวเวียดนามและสหรัฐอเมริกาได้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยที่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเอาชนะกองทหารของเวียดนามเหนือและเวียดกงได้
    ค.ศ. 1967 ชาวอเมริกันในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รวมตัวกันต่อต้านสงครามเวียดนามทำให้ประธานาธิบดีขณะนั้น คือ นายลินคอน บี. จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson ค.ศ. 1963-1969)  ต้องสั่งเลิกทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือ และประกาศจะถอนทหารกลับประเทศ
    ค.ศ.1968 เวียดกงได้โจมตีเมืองต่างๆ ในเวียดนามใต้อย่างหนัก รวมทั้งไซ่ง่อนด้วยทำให้มีการเจรจากันที่ปารีส โดยมีผู้แทนจากเวียดนามเหนือ เวียดนามใต้ เวียดกง และสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเจรจาด้วย
    ค.ศ.1969 สหรัฐอเมริกาเริ่มถอนทหารออกจากเวียดนาม ส่วนเวียดกงได้เข้าแทรกซึมเวียดนามใต้และยึดพื้นที่บางส่วน
    ค.ศ. 1970 สงครามเวียดนามได้ขยายตัวเข้าสู่ลาวและกัมพูชา จากการที่กองทัพเวียดนามเหนือใช้เส้นทางสายโฮจิมินห์ผ่านทั้งสองประเทศเข้าโจมตีเวียดนามใต้ และกองกำลังคอมมิวนิสต์ในลาวและกัมพูชาก็ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อให้เกิดสงครามภายในประเทศลาวและเขมรระหว่างกลุ่มที่นิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเหนือและสหภาพโซเวียตอกับกลุ่มนิยมตะวันตกที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา
    ค.ศ. 1973 มีการเจรจาสันติภาพที่ปารีส ตกลงให้สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกไป และให้ชาวเวียดนามใต้ตัดสินอนาคตของตนเอง แต่พวกคอมมิวนิสต์และเวียดกงยังสู้รบต่อไปและเข้ายึดไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ.1975 อันเป็นการสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม
    สงครามครั้งนี้ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจต้องเสียเกียรติภูมิในฐานะผู้แพ้สงคราม ทหารที่เสียชีวิตทั้งหมดในสงครามเวียดนามมีถึง 2 ล้านกว่าคน ส่วนราษฎรเวียดนามเหนือและใต้ต้องเสียชีวิตไปกว่าล้านคน และสงครามนี้เป็นสาเหตุให้ชาวเวียดนามใต้ต้องอพยพหนีภัยออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก
    กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา
        กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเป็นเป้าหมายหนึ่งที่อภิมหาอำนาจขยายอิทธิพลเข้าไปครอบงำจัดตั้งรัฐบาลที่สนับสนุนประเทศตน จนบางครั้งทำให้ชาติอภิมหาอำนาจเกิดความขัดแย้งกันจนทำให้เกิดวิกฤตการณ์ขึ้น
            วิกฤตการณ์คิวบา ถือเป็นเหตุการณ์การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตครั้งที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะว่าสงครามดังกล่าวเกือบนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสอง
    ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 สหภาพโซเวียตได้ทำการสร้างขีปนาวุธนิวเคลียร์บนเกาะคิวบา ฐานขีปนาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวเป็นการคุกคามประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างร้ายแรงประธานาธิบดี       จอห์น เอฟ. เคนเนดี ( John F. Kennedy ค.ศ. 1961-1963)   แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศตอบโต้โดยการปิดล้อมคิวบาและแจ้งเตือนสหภาพโซเวียตว่าสหรัฐอเมริกาเตรียมพร้อมที่จะตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมกับสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการการเมืองระหว่างประเทศให้สหประชาชาติและชาติพันธมิตรตะวันตกสนับสนุนตน
        วิกฤตการณ์คิวบาเสี่ยงต่อการเกิดสงครามนิวเคลียร์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตแต่ผู้นำของสหภาพโซเวียตในขณะนั้นคือ นีกีตา ครุชชอฟ (Nikita Khrushchev) ก็ยอมประนีประนอมโดยการถอนฐานยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ออกจากคิวบาแลกกับการที่สหรัฐอเมริกาตกลงที่จะไม่บุกคิวบา วิกฤตการณ์คิวบาจึงยุติลงในที่สุด
            หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ การแข่งขันสะสมอาวุธทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ยังคงดำเนินต่อไป
    การผ่อนคลาย
    ความตึงเครียด
            ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะสงครามเย็น เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศอภิมหาอำนาจ เมื่อ       นิกีตา ครุชชอฟ ผู้นำของสหภาพโซเวียต ได้ประกาศนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-existence Policy) ใน ค.ศ.1956 นโยบายนี้มีหลักการว่าฝ่ายเสรีนิยมสามารถอยู่ร่วมกันโดยสันติกับฝ่ายสังคมนิยม ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันโดยการทำสงคราม แต่อาจเป็นการแข่งขันกันในด้านอื่นๆ เช่น ทางด้านอุดมการณ์ ทางด้านเศรษฐกิจ
            ส่วนสหรัฐอเมริกาเองก็หวั่นเกรงภัยจากสงครามนิวเคลียร์ และประจักษ์ว่านโยบายปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ไม่ได้ผล ประกอบกับชาวอเมริกันได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประเทศสังคมนิยมมากขึ้น จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศใหม่จากการทหารมาเป็นทางการทูต เช่น การให้การสนับสนุนทางการทหารและทางเศรษฐกิจต่อประเทศกำลังพัฒนา เพื่อโน้มน้าวให้ประเทศเหล่านั้นหันมาเป็นพันธมิตรกับตน ใน ค.ศ. 1969 ประธานาธิบดีริชาร์ต นิกสัน (Richard Nixon ค.ศ. 1969-1974) ได้ดำเนินนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้ากับสหภาพโซเวียต
            ซึ่งสหภาพโซเวียตก็ได้ตอบรับนโยบายของสหรัฐอเมริกาเช่นกันนอกจากนี้สหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีนิกสันยังเปิดความสัมพันธ์ กับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในสมัยของ       เหมา เจ๋อตง ด้วยการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างชาติมหาอำนาจในช่วงนี้ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (SALT I และ SALE II) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เพื่อลดความระแวงระหว่างกัน นอกจากการผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านการเมืองและการทหารแล้ว ยังเริ่มสร้างความสัมพันธ์ในด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น ทั้งสองชาติอภิมหาอำนาจได้ร่วมมือกันทางด้าวอวกาศปฏิบัติภารกิจอะพอลโลและโซยุซใน ค.ศ. 1975
            แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งสองเสื่อมลง เมื่อสหภาพโซเวียตขยายอิทธิพลไปยังประเทศต่างๆ ทั้ง     แองโกลา เอธิโอเปีย และเข้าแทรกแซงการเมืองภายในประเทศ       อัฟานิสถานใน ค.ศ.1979 การกระทำดังกล่าวของสหภาพโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาต้องตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระดับสูงและไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่สหภาพโซเวียตเป็นเจ้าภาพใน ค.ศ.1980 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาติอภิมหาอำนาจกลับเข้าสู่ยุคแห่งความตึงเครียดอีกครั้ง
    การสิ้นสุด
    สงครามเย็น
        สภาวะสงครามเย็นเริ่มคลี่คลายลง เมื่อมี มิฮาอิล กอร์บาชอฟ          ( Mikhail Gorbachev ค.ศ. 1985 – 1991 ) เป็นเลขานุการพรรคคอมมิวนิสต์และผู้นำสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1985 กอร์ยาชอฟได้ประกาศนโยบายเปิด-ปรับ หรือกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกา (Glasnost-Perestroika) ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตให้เป็นเสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้น พร้อมกับสร้างความสัมพันธ์กับชาติต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาสาธาณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่น กอร์บาชอฟพยายามผ่อนคลายความตึงเครียดให้น้อยลง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 สหภาพโซเวียตก็ได้ถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน กอร์บาชอฟได้เจรจากับสหรัฐอเมริกาและจีนเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนร่วมกัน
    นโยบายกลาสนอสต์-เปเรสตรอยกาของผู้นำสหภาพโซเวียตทำให้สภาวะสงครามเย็นยุติเร็วขึ้น เมิอรัฐบาลสหภาพโซเวียต ประกาศว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก หลังจาก ค.ศ.1989 เป็นต้นมา รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศนุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ต่างล่มสลาย หรือต้องปรับเปลี่ยนไปรับระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยมาใช้ในการปกครองประเทศ
    จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของสภาวะสงครามเย็น เริ่มต้นจากเหตุการณ์ในประเทศเยอรมนีตะวันออก ประชาชนชาวเยอรมันตะวันออกเรียกร้องเสรีภาพทางการเมืองมาตั้งแต่ ค.ศ.1988 และมีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ.1989 ชาวเยอรมันตะวันออกได้เดินขบวนเรียกร้องเสรีภาพทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1989 กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกฝ่ายเสรีประชาธิปไตยกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ถูกประชาชนทำลายลงใน ค.ศ. 1990 กระบวนการรวมเยอรมนีเป็นไปอย่างราบรื่น เหตุการณ์ทำลายกำแพงเบอร์ลินนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญอันมีความหมายว่า สภาวะสงครามเย็นใกล้ถึงกาลอวสานแล้ว
        จุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของสภาวะสงครามเย็น เริ่มต้นจากเหตุการณ์ในประเทศเยอรมนีตะวันออก ประชาชนชาวเยอรมันตะวันออกเรียกร้องเสรีภาพทางการเมืองมาตั้งแต่ ค.ศ.1988 และมีความรุนแรงมากขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ.1989 ชาวเยอรมันตะวันออกได้เดินขบวนเรียกร้องเสรีภาพทั่วประเทศในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1989 กำแพงเบอร์ลินซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการแบ่งแยกฝ่ายเสรีประชาธิปไตยกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ถูกประชาชนทำลายลงใน ค.ศ. 1990 กระบวนการรวมเยอรมนีเป็นไปอย่างราบรื่น เหตุการณ์ทำลายกำแพงเบอร์ลินนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญอันมีความหมายว่า สภาวะสงครามเย็นใกล้ถึงกาลอวสานแล้ว
        ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออกทำให้ประเทศในค่ายยุโรปตะวันออกต่างถอนตัวจากสมาชิกกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ และการถอนทหารของสหภาพโซเวียตออกจากภูมิภาคนี้ทำให้องค์การกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอต้องสลายตัวลง
            ส่วนสหภาพโซเวียตต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง โดยเฉพาะสภาวะเงินเฟ้อ เศรษฐกิจตกต่ำ การปฏิรูปเศรษฐกิจของนายกอร์บาชอฟสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดประสบสภาวะชะงักงัน ทำให้สภาพโซเวียตต้องขอความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก
            นอกจากนี้กอร์บาชอฟยังประสบปัญหาการเมืองภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 พวกอนุรักษนิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต์และกองทัพได้ทำรัฐประหารโค่นล้มกอร์บาชอฟ แต่เนื่องจากประชาชนทำการต่อต้านการรัฐประหารในครั้งนี้ทำให้การกระทำของฝ่ายอนุรักษนิยมล้มเหลว ผลจากการรัฐประหารในครั้งนี้ คือ พรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตต้องล่มสลายลง และหลังจากนั้นในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1991 สาธารณรัฐต่างๆ ใน  สหภาพโซเวียต ได้ร่วมกันจัดตั้งเครือรัฐเอกราช (Commonwealt
    h of Independent States-CIS) ประเทศสหภาพโซเวียตจึงล่มสลายลง ส่งผลให้สภาวะสงครามเย็นที่ดำเนินมานานถึง 45 ปี ยุติลงในที่สุด
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×