ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมุล NARUTO

    ลำดับตอนที่ #32 : ที่มาและสิ่งที่น่าคิดเกี่ยวกับชื่อของ มาดาระ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.72K
      2
      16 พ.ค. 51

    ที่มาและสิ่งที่น่าคิดเกี่ยวกับชื่อของ มาดาระ

    Image

    ต้องขอออกปากก่อนเลยนะครับว่า กระทู้นพออ่านแล้วจะรู้สึกมึนงงบ้าง เพราะที่จริงเป็นการสันนิษฐานของผมว่า

    น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน และน่าจะลองวิเคราะห์ดูเผื่อจะสามารถรู้ถึงความสามารถของ มาดาระ

    รวมทั้ง วิชาต่างๆ และสิ่งอื่นๆที่น่าจะคาดเดาได้เกี่ยวกับ มาดาระ ลองวิเคราะห์กันดูนะครับ


    ผมคิดว่า "มาดาระ" มาจากคำว่า "มันดาลา" ซึ่งเป็นลวดลายกาลจักรแห่งพุทธ

    และคำว่า มันดาลา แปลได้อีกว่า กระจกเงา (อันนี้ไปเจอมาในอีกเรื่องหนึ่งครับ เป็นเรื่องเก่าแก่ของญี่ปุ่นครับ)

    Image

    แต่จะขอพูดรื่อง มันดาลา เลยก็แล้วกันครับ


    "มันดาลา" ลวดลาย กาลจักรแห่งพุทธ ที่ปรากฏบนผืนภาพ

    คำว่า ‘มันดาลา’มาจากภาษาสันสกฤต ‘มันดา (manda)’ ภาษาบาลีเรียกตันกะ แปลเป็นภาษาทิเบต ตรงกับคำว่า ‘dkyil’ ซึ่งหมายถึง ‘แก่นศูนย์กลาง

    หรือที่นั่ง’โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า ‘โพธิ’ หรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งชี้ถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น ส่วนคำว่า‘ลา

    (la)’หมายถึง ‘วงล้อที่หลอมรวมแก่น’ ดังนั้น ‘มันดาลา’ จึงแปลว่า

    ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆในขณะที่รู้แจ้ง’และภาพเหล่านี้จะปรากฏในมโนทัศน์ของวัชราจารย์ (ครูบาอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน)

    สำหรับคนไทยเราเรียกคำว่ามันดาลาเป็นสำเนียงไทยว่า ‘มณฑล’นั่นเอง ซึ่งก็มีความหมายสอดคล้องกัน


    ในทางคัมภีร์แล้ว ทิเบตถือว่าทุกชีวิตก็คือมันดาลา มากกว่าจะเป็นเพียงแค่จุดของการตระหนักรู้ เพราะเราก็คือสิ่งแวดล้อมของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า มันดาลาก็เปรียบเหมือน

    กับพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุธรรมที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อม

    Image

    โดยทั่วไปมันดาลามักจะสร้างเป็นวิหารที่มีประตู 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะแสดงถึงพรหมวิหารทั้ง 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

    และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้น จะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย


    1.กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์

    2.กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ

    3.กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้

    4.กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ


    Image

    มันดาลาสามารถสร้างได้จากกระดาษ ผ้า หรือทรายก็ได้ โดยมักเริ่มจากโครงประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตแบบง่ายๆ และค่อยๆเพิ่มรายละเอียดภายใน ตามแต่จินตนาการ

    หรือภาพนิมิตที่เห็น ดังนั้นการสร้างแต่ละครั้งสิ่งที่สำคัญคือ จิตใจที่มีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กำลังสร้าง



    พระลามะส่วนใหญ่รู้วิธีการสร้างมันดาลา เพื่อใช้ในการประกอบพีธีต่างๆ บางรูปใช้เวลาสร้างเป็นเดือน ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้ว การสร้างมันดาลาเป็นการฝึกฝนจิตอย่างหนึ่ง

    มโนจิตและสมาธิต้องดำเนินไปด้วยกัน การ สร้างมันดาลาไม่มีการร่างโครงร่างก่อน ไม่ว่ารูปมันดาลานั้นจะใหญ่หรือเล็กขนาดใด ดังนั้นมโนจิตในมันดาลานั้นต้องเที่ยงตรง

    สมาธิต้องมั่นคง บางครั้งพระบางรูปจะท่องมนตราและแผ่เมตตาในขณะที่สร้างด้วย ถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ นานๆ จึงจะ จัดทีหนึ่ง ขณะทำพระลามะจะสวดมนต์

    เพ่งกระแสจิตตลอด มีความพยายาม แนวแน่ อดทนสูง กว่าจะได้เป็นภาพแต่ละส่วน

    Image

    ปริศนาธรรมที่แฝงมาในมันดาลานั้นก็คือ ไม่ว่าจะสมบูรณ์สวยงามหรือมั่นคงเพียงใด สุดท้ายก็ต้องสูญสลายไปตามธรรมชาติ และก็เช่นกันเมื่อสูญสลายไปแล้ว

    ก็จะต้องถูกสร้างขึ้นมาอีก เพราะความมีอยู่ทำให้เกิดความว่าง และความว่างก็เป็นบ่อเกิดของความมีอยู่


    นอกจากนี้ชาวทิเบตเองยังมีความเชื่อว่า มันดาลาสร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ เนื่องจากในขณะที่สร้าง พระสงฆ์ได้อัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์มาสถิตในมันดาลา

    ซึ่งจะเป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่ได้มาเยี่ยมชมมันดาลา อีกทั้งยังช่วยคุ้มครองปกป้องสถานที่ซึ่งมันดาลานั้นตั้งอยู่อีกด้วย

    Image

    ปัจจุบัน ได้มีการประยุกต์เรื่องมันดาลามาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางจิต โดยให้ผู้รับการบำบัดวาดภาพมันดาลา

    ซึ่งเป็นการแสดงออกทางอารมณ์และจิตใต้สำนึกของตัวตนภายใน ทำให้นักจิตแพทย์สามารถเข้าใจถึงปมปัญหาของคนไข้ได้มากขึ้น

    มันดาลาในยุคปัจจุบันจึงมีรูปร่างและสีสันที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละบุคคลจะสร้างออกมา


    อย่างไรก็ดีภาพมันดาลาเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง บางท่านอาจสนใจเพียงความสวยงามและความสงบสุขเมื่อได้พบเห็น

    แต่แท้จริงแล้วมันดาลาเป็นสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมของพระพุทธศาสนาออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้

    ความหมายที่แท้จริงซึ่งแฝงคำสอนในมันดาลาไม่ควรจะถูกมองข้ามไป

    และผู้ที่จะนำมันดาลาไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆควรมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานทางพุทธศาสตร์โดยเฉพาะในเรื่องสูญญตา และหลักธรรมต่างๆเป็นอย่างดีเสียก่อน

    และควรตระหนักอยู่เสมอถึงสาระของมันดาลา และประโยชน์ที่ได้รับต่อการปฏิบัติและการฝึกจิตในการพิจารณา

    Image


    “ มันดาลา ” ทางบ้านเราเรียกว่า กงล้อ " ธรรมจักร " ธรรมจักร หมายถึงเครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี 8 ซี่บ้าง 12 ซี่บ้าง

    ถือเป็นสัญลักษณ์เริ่มแรกของพระพุทธศาสนา


    พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรกด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาชื่อ " ธรรมจักรกัปวัตนสูตร " โปรดพระปัญจวัคคีย์

    นักปราชญ์ทางศาสนาจึงกำหนดธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของวงล้อ ธรรมะอันจะหมุนเคลื่อนตัวไปรอบแล้วรอบเล่า เพื่อจะให้เข้าถึงประชาหมู่สัตว์ทั่วๆไป

    ดุจวงล้อของราชรถที่พระราชาประทับเคลื่อนไป


    ตราธรรมจักรถ้ามี 4 กง อาจหมายถึง หลักอริยสัจ 4

    ตราธรรมจักรถ้ามี 8 กง อาจหมายถึง มรรคมีองค์ประกอบ 8 ประการ

    ตราธรรมจักรถ้ามี 16 กง อาจหมายถึง ญาณ 16 ในวิปัสสนากรรมฐาน


    กงในตราธรรมจักรอาจมีหลายกง สุดแต่จะกำหนดความหมายตามหลักธรรมที่ผู้สร้างเลื่อมใส หรือปฏิบัตินำมาย่อเข้าไว้


    ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่า วิชาของมาดาระ อาจจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเบื้องต้นก็ได้ครับ


    Thank You : http://www.bbznet.com/scripts/view.php? ... r=lastpost


    Image
     


    ขอขอบคุณ

    นารุโตะคลับ....www.naruto-ct.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×