ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคช่วยจำฟิสิกส์

    ลำดับตอนที่ #16 : แรงเสียดทาน(เอาใจม.ต้น อีกแล้ว) 10 %

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.48K
      4
      9 ส.ค. 49

    งั้นตอนนี้ก็ขอเริ่ม เรื่องแรงเสียดทานต่อเลยแล้วกันนะครับ ซึ่ง เรื่องนี้จะเป็นพื้นฐานของสมดุลกลนั่นเอง (ตอนนี้ทุกเรื่องจะพยายามโยงเข้าหาสมดุลกลนะครับ)
    ปล.บทนี้สำหรับคนที่เรียนเรื่องแรงเสียดทานมาบ้างแล้วตอนม.3นะครับ
    ใครยังไม่ได้เรียนข้ามไปก่อนเลยก็ได้

    แรงเสียดทาน เป็นแรงแรงหนึ่ง ที่พบเห็นได้ตามธรรมชาติทั่วไป
    ซึ่งแรงเสียดทานนั้นจะก่อให้เกิดการสูญเสียพลังงานกล 
    โดยแรงเสียดทานนั้นจะมีค่าแปรผันตามแรงที่ตั้งฉากกับพื้นที่ผิว
    พอๆ ภาษาวิชาการ เขียนยาวแล้วมึน เอาภาษาง่ายๆดีกว่า

    แรงเสียดทาน เป็นแรงประหลาดอย่างนึง คือมันจะเปลี่ยนทิศ และ
    ขนาดไปได้เรื่อยๆ ตามแรงที่เราใส่เข้าไป ประมาณว่ามันเป็นแรงที่ดื้อ+ฉลาดอ่ะ
    คือพอจะถีบไปทางซ้าย มันจะไปทางขวา พอถีบไปขวา มันจะไปซ้าย
    แถมยังออกแรงเท่ากับที่เราทำพอดีด้วยนะ(ในกรณีที่ดันแล้ววัตถุไม่เขยื้อนนะ)
    พูดงี้คงจะยังงงๆอยู่ เดี๋ยวจะมีรูปตัวอย่างให้จินตนาการตามนะครับ

    คือถ้าวัตถุอยู่บนพื้นนิ่งๆ โดยไม่มีแรงอะไรไปผลักมัน มันก็จะไม่มีแรงเสียดทาน


    ตัวอย่างนี้จะเห็นว่า แม้พื้นจะไม่ลื่น(ฝืดนั่นแหละ)แต่ถ้าไม่มีแรงไปกระทำกับมันก่อน
    แรงเสียดทานก็จะไม่กระทำกับวัตถุเช่นกัน(ประมาณว่า ไม่เป็นฝ่ายกระทำก่อนอ่ะ)
    แต่พอมีแรงมากระทำนิ๊ดนึง


    แรงเสียดทานก็จะเริ่มออกแรงกระทำ นิ๊ดนึงเช่นกัน(ทิศทาง ต้านแรงกระทำ)
    ( f = แรงเสียดทาง (สีแดงๆอ่ะ))

    พอออกแรงมากขึ้นอีก ไอ้แรงเสียดทานนี้ก็จะ เพิ่มขนาดตัวเองให้เท่ากับแรงที่ต้านพอดีทำให้วัตถุไม่เขยื้อน
    ทีนี้พอมีแรงอีกแรงมาทำแล้วทำให้แรงลัพธ์มีทิศไปทางซ้าย ไอ้แรงเสียดทานนี้ก็จะเปลี่ยนทิศตัวเอง มาดันไปด้านขวาทันที(ต้านการเคลื่อนที่ตลอด)

    จากตัวอย่างพวกนี้ อาจจะดูว่าไร้สาระ แต่พี่ต้องการแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า
    แรงเสียดทานจะมีทิศคงที่ ซึ่งจากตัวอย่างจะเห็นว่าไม่จริง วัตถุจะไปทางไหน
    แรงเสียดทานก็จะไปทิศตรงข้ามกับทิศนั้น
    และอีกข้อหนึ่งที่พบว่าผิดกันมากนั่นคือ
    f จะต้องเท่ากับ µN ซึ่งไม่ต้องจริงเสมอไป

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×