jowpoyluang
ดู Blog ทั้งหมด

โบราณสถานเวียงกุมกาม กับผลกระทบจากการท่องเที่ยว

เขียนโดย jowpoyluang


                            เวียงกุมกาม อาจจะยังเป็นชื่อที่ยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.
2527 ที่ผ่านมานั้นได้มีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณเวียงกุมกาม ปรากฏว่าได้พบหลักฐานที่สำคัญและน่าสนใจเป็นอันมากซึ่งหลักฐานดังกล่าวเหล่านั้นจะช่วย คลี่คลายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บางตอน โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแคว้นหริภุญไชยมาสู่แคว้นล้านนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาจารึกที่ขุดค้นพบที่บริเวณแหล่ง ขุดค้นเวียงกุมกามนี้นั้น เป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรไทย ซึ่งยังไม่ปรากฏพบที่แห่งใดมาก่อนด้วย

เวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณ ที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร

จากการสำรวจพบว่ามีอยู่มากกว่า 40 แห่ง ทั้งที่เป็น ซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์โบราณสถานที่สำคัญ ได้ แก่วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำและซากเจดีย์วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว วัดอีค่างซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนี้ มีทั้งแบบรุ่นเก่าและสมัยเชียงใหม่ รุ่งเรืองปะปนกันไป โดยเฉพาะที่วัดธาตุขาวนั้น มีเรื่องเล่าของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย พระมเหสีของพญามังราย พระนางได้มาบวชชีที่นี่ แล้วก็ได้สิ้นพระชนม์ที่นี่ด้วย สาเหตุก็คือพญามังรายได้มีพระมเหสีพระองค์ใหม่ เมื่อครั้งยกทัพไปตีพม่า พม่ายอมสวามิภักดิ์และถวายพระธิดาปายโคมาเป็นมเหสี แต่สิ่งนี้ทำให้พระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทรงเสียพระทัยมาก เนื่องจาก พระนาง และ พญามังราย ได้เคยสาบานกันในขณะที่พำนักอยู่ในเมืองเชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียงแค่พระองค์เดียว พระนางจึงเสียพระทัยมาก จึงตัดสินใจไปบวชชี และ ยังมีเรื่องอีกว่า สาเหตุที่พญามังรายสวรรคตอสนีบาตในระหว่างที่ทรงเสด็จไปตลาดนั้น ก็เพราะสาเหตุนี้

 

เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน

 

ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า อีกหนึ่งสมมติฐานที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้างนั้นอาจเป็นได้ว่าเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าทำให้ผู้คนหลบหนีออกจากเมืองไปก็เป็นได้

 

ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง

 

สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของเวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแอ่งที่ราบแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีอาณาบริเวณครอบคลุมเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนรวม 13 อำเภอ (โดย 10 อำเภออยู่ในจังหวัดเชียใหม่คือ แม่แตง แม่ริม สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง เมือง สารภี หางดง สันป่าตอง และจอมทอง และอีก 3 อำเภออยู่ในจังหวัดลำพูนคือ เมือง (ลำพูน) ป่าซาง และบ้านโฮ่ง) โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 940, 000 ไร่

 

 

 

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวของเวียงกุมกาม พอสรุปได้ ดังนี้

        ผลกระทบด้านดี

           1. เสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ชาวบ้านมีอาชีพ

           2. สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คน

           3. เกิดความสามัคคีในสังคมและความร่วมมือร่วมใจกัน

           4. กระตุ้นให้เกิดการรักษาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

 

       ผลกระทบด้านเสีย

           1. ความขัดแย้งระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวท้องถิ่น เพราะนักท่องเที่ยวไม่เข้าใจถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นที่ไปเยือน

           2. การเปลี่ยนแปลงค่านิยมของท้องถิ่น เพราะชาวท้องถิ่นเลียนแบบนักท่องเที่ยว เช่น การแต่งกาย สินค้าต่างประเทศ เป็นต้น

           3. การทำลายสภาพแวดล้อมและโบราณวัตถุสถานต่าง ๆ มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่ชอบปีนป่ายโบราณสถาน รวมถึงขีดเขียน สลักชื่อตนเองลงไปบนก้อนอิฐ

           4. ความประณีตทางศิลปะเสื่อมลง เช่น ของที่ระลึกจะมุ่งเน้น แต่ปริมาณสินค้าและกำไรเป็นหลัก

           5.เกิดการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้หรูหราขึ้นทำให้เสน่ห์ของความงามแบบโบราณหายไป

          6.วิถีชีวิตผิดไปจากเดิม รับค่านิยมที่ผิดๆเข้ามา หลงลืมวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
สนุกดีที่ได้รู้เกี่ยวกับเวียงกุมกาม
และไปเห็นของจริงแล้ว
ตื่นเต้น
ความคิดเห็นที่ 2
สนุกจัง
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณสำหรับเรื่องราว สาระดีๆ มากเรยนะคะ ได้ความรู้รอบตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ความคิดเห็นที่ 4
้หพน่ั้ฟไย-ๆ้เำยไะรไนษญซฌฎ"ฑํฑโ็ธ๐ฎ๋ษฌ็ฆษฏโษ๐"ฤโ๋็ษฤฆฌษโฤฆ็็็็ฌ๋ฤ๐็ษณฆฤ็ฏฌไฟด้าไ่ำเหาดฟหา้เฟหาร่เัฟเดรฟห่สดาสกเด