jowpoyluang
ดู Blog ทั้งหมด

จอห์น ลอค แนวคิดแบบประชาธิปไตย และความเป็นไปได้ในประเทศไทย

เขียนโดย jowpoyluang



          จอห์น ล็อค  John Locke
    หลาย คนอาจจะเคยได้ยินชื่อของนักปรัชญาคนนี้มาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบถึงประวัติต่างๆของเขา ก่อนที่จะเริ่มเล่าถึงปรัชญาการเมืองของลอค ก็ขอเล่าประวัติสักเล็กน้อย พอหอมปากหอมคอ....

               ล็อคเนี่ยเป็นลูกชายของนักกฏหมายที่มีอันจะกิน หรือเรียกได้ว่า รวยยยยย. นั่นเอง ครอบครัวของเขาเนี่ยนับถือศาสนาคริสต์นิกายพิวริตัน  สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ทำงานเป็นครูสอนภาษากรีกอยู่ระยะหนึ่งก่อนเข้าศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน และได้เป็นแพทย์ประจำตัวของขุนนางฝ่ายค้าน ต่อมาต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ แต่หลังเหตุการณ์การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ในปี 1688 ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยของอังกฤษ เขาจึงเดินทางกลับอังกฤษ....


                   แนวคิดของล็อคที่สำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยเนี่ยมีอยู่ด้วยกันหลายเรื่องมาก เลยว่าจะขอหยิบเอามาบางส่วนแล้วกันนะ ขืนเอามาหมดหละก็มีหวังได้มีหลับกันไปข้างนึงแน่ๆเลย แนวความคิดแรกก็คือ เรื่องของ
อิสรภาพ เสรีภาพ อันเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ ลอกเนี่ยได้บอกว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีความเสมอภาคกันอยู่ ความคิดนี้หนะ ล็อคน่าจะได้มาจากพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ที่บอกว่า มนุษย์ทุกคนนั้นเนี่ยเป็นบุตรของพระเจ้า ดังนั้นมนุษย์ก็ต้องถือว่าเป็นพี่เป็นน้องกัน..
                    แนวคิดที่สองของล็อคเนี่ยก็คือ
รัฐบาลต้องจัดตั้งโดยความยินยอมของประชาชนและต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน (แหมอยากจะให้รัฐบาลไทยเนี่ยเป็นแบบนี้บ้างจัง) เสียงของประชาชนเนี่ยต้องมาเป็นส่วนใหญ่ครับ และเมื่อเลือกตั้งไปแล้วไม่ใช่หายเงียบไปเลย ต้องกลับมาดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านด้วย รัฐบาลต้องไม่ลืมว่า เมื่อประชาชนเลือกท่านได้ ประชาชนก็สามารไล่ท่านได้เหมือนกัน..
                    แนวคิดที่สามก็คือ
ประชาชนมีสิทธิล้มรัฐบาลได้ ถ้ารัฐบาลขาดความชอบธรรมและความยุติธรรม ก็เหมือนอย่างที่ได้บอกไปในตอนที่สองนั่นแหละครับว่า เมื่อประชาชนเลือกท่านได้ ประชาชนก็ไล่ท่านได้เหมือนกัน ภ้ารัฐบาลเอาแต่ผลประโยชน์ของตนเองแล้วเนี่ยประเทศคงจะอยู่ต่อไปไม่ได้เลย (โกงบ้าง กินบ้าง ไม่เป็นไร แต่ยังไงก็ต้องทำประโยชน์ให้สังคมด้วยนะพี่น้องเอ้ย)
                    แนวคิดที่สี่คือ
ประชาชนมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและมีอำนาจอย่างจำกัด
                    และสุดท้ายแนวความคิดที่ห้า
อำนาจจะต้องถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ อำนาจในการตรากฎหมายเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายเป็นของฝ่ายบริหารและตุลาการ  

                       ากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้วเนี่ยจะเห็นได้ว่าล็อกมีแนวคิดเป็นแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพโดยมีขอบเขตุจำกัดอยุ่ในรูปแบบของกฏหมายเพื่อบังคับไม่ ให้คนในสังคมละเมิดเพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง
หลังจากที่เราได้รู้ถึงแนวคิดแบบประชาธิปไตยของล็อกไปแล้ว ต่อไปนี้ก็จะขอหยิบยกมาเปลี่ยบเที่ยบกับประชาธิปไตยในบ้านเราบ้างนะครับ
    (((( ข้อความต่อไปนี้ไม่เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีใจเป็น สีแดงและสีเหลือง ))))
                            ทำไมประชาธิปไตยของบ้านเราถึงไม่เหมือนของอเมริกา?
                                 === ก็เพราะพื้นฐานความเชื่อดั่งเดิมของเราหนะซิ  ทำไมหนะหรอ ลองเข้าไปดูในนี้นะครับ
( http://my.dek-d.com/jowpoyluang/blog/ )
                              ที่เขาว่าคนไทยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน รุ้ไหมว่าเขาหมายถึงอะไร...ก็หมายถึงมีสิทธิที่จะไปเลือกตั่ง และมีเสรีภาพที่จะลงคะแนนได้ 1 คะแนนเสียงไง. ส่วนเรื่องอื่นคนไทยไม่มีใครเท่ากันเลย ลองสังเกตดูนะครับเมื่อเราไปใช้บริการอะไรของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน คุณแต่งชุดธรรมกา กางเกงยีน เสื้อยืด รองเท้าผ้าใบ(ก็ชุดสุภาพนะ) กันอีกคนใส่สูท ผูกไทด์ ใส่รองเท้าหนัง ลองดูว่าเขาจะบริการใครดีกว่ากัน.....คุณคิดเหมือนผมไหม....ไม่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูณฉบับไหนอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้คนไทยมีความเท่าเทียมกันได้ เพราะความคิดมันได้ฝั่งรากลึกมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย  อีกประการด้วยเพราะความเชื่อเรื่องกรรม และบุญ ที่มาสนับสนุนให้คนแบงชนชั้นกันอย่างชัดเจน อีกทั้งความกตัญญูที่เราได้ถูกฝังมาในสมองของเรา ว่าใครมีบุญคุณก็ต้องทดแทน แต่การทดแทนของเรานั้นกลับไม่ยอมดูที่ความถูกต้อง ทำให้สังคมไทยมีระบบการเมืองที่เล่นพรรคเล่นพวกกันอยู่มากมาย....
                     

                        

                    

           

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
กวนดี
ความคิดเห็นที่ 3
มาแอ่ว แล้วเน้อ



พี่ถ้าจะทำบล็อกแบบนี้ นะ ต้องเป้นแบบ แนวคิดจริงๆๆ


แนวอ่ะ ล้านนาแล้วปรัชญา
ความคิดเห็นที่ 4
สหรียินดีครับ.......แวะมาเม้นแล้ว

ตามสัสวาจาตี้ว่า เอาไว้ครับ....

ชูชาติรัตนะมหิดลสาพิชะโญสุรัตนะ...นครล้านนาแห่งโกศัยยะ

http://n-o-s-t.hi5.com ออกแนวล้านาแหมน้อยนึง จะดูดีมากๆเลย

แต่ตอนนี้ก็โอ...ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
สุดยอด
ความคิดเห็นที่ 6
แวะมาเม้นหื้อเน้อเจ้า


ไหว้สาๆๆ


ได้ความฮู้แฮมนักเลย

ยินดีเจ้าตี้ได้เข้ามาอ่าน
ความคิดเห็นที่ 7
สวัสดี ครับ ^^
ความคิดเห็นที่ 8
ม่วนดีเน้อ...นายบาส
ข้อมูลด้านวิชาการ...เยอะแยะดี
แต่...ดูเหมือนจะรีบเร่งไปนิด ก็เลยขาดรสชาติในเรื่องการวิเคราะห์วิจารณ์
ไงก็ตาม...เป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับล็อค ได้ดีบทความหนึ่ง
ความคิดเห็นที่ 9
จอน ล็อกนี้หละที่ทำให้ฝรั่งเศษต้องถูกปฏิวัติ
พ่อของล็อกไม่ชอบระบอบเกษัตริย์ แต่ลูกชอบระบอบเกษริย์
แปลนะพี่น้อง
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ความคิดเห็นที่ 11
สุดยอด !
ความคิดเห็นที่ 12
จอห์น ล็อค !

แน่นอน จิง ๆ
ความคิดเห็นที่ 13
ได้ความรู้มากมายค่ะ หาข้อมูลได้เยอะค่ะ
ความคิดเห็นที่ 14
http://www.discoveryholidays.co.th/discoveryholidays/index.html
ความคิดเห็นที่ 15
กว้างไกลและยิ่งใหญ่มาก
ความคิดเห็นที่ 16
เจ๋งสุด ยอดคับ

เป็นประโยชน์มากเน่อ 5555+

ขอบคุณคับ
foxymonster
foxymonster 29 ก.ค. 54 / 20:33
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆคะ^ ^
ความคิดเห็นที่ 18
ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์มากๆคะสรุปได้เข้าใจดี
bosslnw
bosslnw 3 พ.ย. 56 / 12:45


ในชีวิตจริงงานและภารกิจที่ซับซ้อนและประสบความสำเร็จทุกอย่างเป็นผลมาจากการคิดดีและคิดนานพอ ไม่ใช่พรวดพราดออกไปทำเพื่อโชว์อินทรีย์อันแก่กล้าของตน

เรามาคุยเรื่องล็อคกันเสียหน่อยปะไร เดี๋ยวนี้มีคนที่อยากปฏิวัติสังคมโดยไม่ยอมศึกษาจนลึกซึ้งและรอบคอบ จนน่ากลัวว่าปฏิวัติกันแทบล้มแทบตาย กลับไปได้ดีกับมหาอำมาตย์

จุดผกผันในชีวิตของล็อคคือมาได้ผู้อุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลสูงในยุคนั้น และเป็นนักคิดตัวยงเกี่ยวกับระบอบประชาชนในอังกฤษ เขาคือ ลอร์ด แอนโธนี่ แอชลี่ย์ คูเปอร์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เอิร์ลแห่งชาฟต์เบอร์รี่ ซึ่งมารักษาตัวด้วยอาการตับติดเชื้อ จนถูกคอกันมากกับหมอล็อคซึ่งมีแนวคิดทางการเมืองล้ำหน้า ชาฟต์เบอร์รี่จึงแนะนำให้ล็อคได้รู้จักกับบุคคลต่างๆ อีกมากมาย เพื่อให้ทดสอบแนวคิดและเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางขึ้น ขนาดให้ล็อคมาอยู่ที่บ้านด้วยเลย

พูดได้ว่าล็อคเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่จับเอาหลักวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์สังคม เพื่อเป็นรากฐานทางการเมืองและสังคมอีกต่อหนึ่ง

แม้ต่อมาชาฟต์เบอร์รี่ชะตาตก ขนาดหลุดจากตำแหน่งและอำนาจถึง ๙ ปี ล็อคก็ยังได้ประโยชน์จากภาวะว่างงาน เพราะเขาเดินทางไปฝรั่งเศสและได้เรียนรู้ถึงบรรยากาศที่กำลังแวดล้อมการปฏิวัติครั้งใหญ่ที่ใกล้จะเกิดขึ้น เมื่อกลับมา ก็เกิดงานนิพนธ์ชิ้นสำคัญขึ้น นั่นคือ สองสนธิสัญญาแห่งรัฐบาล หรือ Two Treatises of Government 

ด้วย “กฎธรรมชาติ” และ “ความชอบธรรม” นี่เอง ล็อคจึงทำให้สังคมยุคนั้นถกเถียงกันจนแทบแตกสลาย คำถามที่เรียบง่าย (แต่มีพิษ) คือ อะไรคือระบอบการปกครองที่ดีกว่าสำหรับสังคมมนุษย์ ระหว่าง “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช” (Absolute Monarchy) ที่เป็นอยู่ในยุคนั้น กับ “ระบอบความชอบธรรมทางการเมือง” หรือ (Political Legitimacy) ที่คนส่วนใหญ่ร่วมกันกำหนดว่าอะไรดีอะไรชั่ว

ล็อคจึงนับเป็นนักคิดคนแรกๆ ของโลกที่ชวนให้คนคิดหาความชอบธรรมเปรียบเทียบระหว่างระบอบเผด็จการและระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่ในพุทธศักราชนั้นยังไม่มีวาทกรรมอย่างนี้ให้ใช้

ถ้านำแนวความคิดมาเรียงลำดับให้ดี และเรียนรู้ไปทีละขั้น เราจะพบว่าล็อคชวนให้คนยอมรับว่าธรรมชาติวิสัยของมนุษย์คือความมีเสรีและการกำหนดใจตนเอง (ในงานชิ้นแรกช่วงลี้ภัย) ในชิ้นที่สองเขาชวนเราวิพากษ์ในเชิงระบอบการปกครองว่า เมื่อมนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์และมีความชอบธรรมที่จะสร้างระบอบการปกครองของตัวเองแล้ว ระบอบนั้นคืออะไร และคู่ต่อสู้หรือศัตรูของเราคือระบอบใด จนถึงที่สามที่นับว่าก้าวหน้ามากคือ ความมีน้ำอดน้ำทนต่อเพื่อนร่วมโลกด้วยกัน เพราะปราศจากสิ่งนี้แล้ว เราคงจะไม่ยอมรับสิทธิและความเสมอภาคของกันและกันได้ง่ายนัก เรื่องหลังนี้ถ้ามองด้วยพุทธทัศนะได้ก็จะดีและง่ายขึ้นมาก นั่นคือมนุษย์และสัตว์ทุกชนิดล้วนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ อย่าเบียดเบียนต่อกันและกันเลย

ในสหรัฐอเมริกา แนวคิดของล็อคได้กลายเป็นพื้นฐานการปฏิวัติประกาศเอกราชจากอังกฤษของประเทศนั้น คำเด่นๆ ของเขา เช่น “เสรีภาพ” (Liberty) “สัญญาประชาคม” (Social Contract) เป็นต้น ปรากฏอยู่ในข้อถกเถียงของคณะบิดาผู้สร้างชาติสหรัฐฯ (American Founding Fathers) ปรากฏในคำประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา และเป็นวีรบุรุษชนิดโลกไม่ลืมของประเทศนั้นและของโลก

เพราะ จอห์น ล็อค พลโลกจึงตั้งคำถามกับตัวเองเป็นครั้งแรกว่า กษัตริย์คือใคร พลเมืองคือใคร และเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรในสังคมที่มนุษย์มีเสรีภาพมาแต่กำเนิด?
bosslnw
bosslnw 3 พ.ย. 56 / 12:47

ในสังคมการเมืองต้อง มีองค์กรกลางในการปกครอง คือรัฐบาล เพื่อออกกฎหมาย ตีความกฎหมาย และบังคับให้มีการปฏิบัติตามกฏหมาย แต่องค์กรออกกฎหมายยังมีสิ่งที่เหนือกว่าคือประชาชน อำนาจอธิปไตยที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน ประชาชนเป็นทั้งผู้มอบความไว้วางใจและเป็นผู้รับประโยชน์ ส่วนฝ่ายรัฐบาลมีหน้าที่ในการจัดการบริหารฝ่ายรัฐบาลอาจถูกถอดถอนได้โดยผู้ มอบความไว้วางใจหากปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ล็อคจึงกล่าวว่า “ประชาชนยังคงมีอำนาจสูงสุดที่จะย้ายหรือเปลี่ยนแปลงฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเขาพบว่าฝ่ายนิติบัญญัติกระทำการตรงกันข้ามกับสิ่งที่ประชาชนมอบหมาย

ในทัศนะของล็อค ประชาชนไม่ได้มอบอำนาจทั้งหมดให้รัฐบาล กฎแห่งธรรมชาติยังคงใช้บังคับอยู่ ซึ่งก็คือกฎแห่งเหตุผลนั่นเอง เพียงแต่สภาพธรรมชาติเท่านั้นที่หมดไปเพราะมีการรวมอำนาจการออกกฎหมายตีความ กฎหมาย และบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายอยู่กับรัฐบาล แทนที่ต่างคนต่างทำดังในธรรมชาติ แต่รัฐบาลยังคงต้องออกกฎหมายตามกฎแห่งธรรมชาติ จะคัดค้านทำลายกฎแห่งธรรมชาติไม่ได้ ในสภาพธรรมชาติมนุษย์แต่ละคนยังไม่มีอำนาจทำลายชีวิตเสรีภาพและทรัพย์สินของ มนุษย์ผู้อื่น (นอกจากเพื่อลงโทษผู้กระทำผิด) ฉะนั้นรัฐบาลซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนก็จะมีอำนาจนี้ไปไม่ได้ กฎแห่งธรรมชาติซึ่งรับรองเสรีภาพและทรัพย์สินมีมาก่อนรัฐบาล รัฐบาลต้องเคารพกฎแห่งธรรมชาตินี้ รัฐบาลในทรรศนะของล็อคจึงมีอำนาจภายใต้ขอบเขตและไม่มีลักษณะเบ็ดเสร็จ อำนาจที่รัฐบาลใช้ก็ไม่ใช่อำนาจของตนเอง แต่เป็นอำนาจของประชาชนที่ให้รัฐบาลเพียงแต่ใช้ เพื่อประโยชน์ของประชาชน และนอกจากนี้รัฐบาลยังต้องปฏิบัติตามกฎธรรมชาติด้วย ในทรรศนะของล็อครัฐบาลมีขึ้น กฎหมายมีขึ้นเพื่อส่งเสริมขยายเสรีภาพ ไม่ใช้ทำลายหรือกีดขวางเสรีภาพ อำนาจทางการสนับสนุนเสรีภาพไม่ใช่ขัดขาวงอย่างที่เคยเข้าใจกันมาในสมัยก่อน เพื่อประกันการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครอง

ล็อคยังเสนอให้มีการแบ่งแยกอำนาจของรัฐบาลให้อยู่ในต่างองค์กรกัน คือฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรหนึ่ง และฝ่ายบริหารอีกองค์กรหนึ่ง ฝ่ายบริหารนี้รับผิดชอบอำนาจ 2 ประการ คือ อำนาจบริหาร และอำนาจในการติดต่อต่างประเทศ นอกจากนั้นถ้ารัฐบาลละเมิดกฎแห่งธรรมชาติ ไม่ปฏิบัติการเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนก็มีสิทธิล้มล้างรัฐบาลด้วยการปฎิ วัติได้

โดยสรุป เราสามารถสรุปความคิดของจอห์น ล็อคได้ดังนี้

มนุษย์เป็นคนดี มีเหตุผล มีเสรีภาพเต็มที่ และมีสิทธิ์ในทรัพย์สินของตน เมื่อทรัพย์สินนั้นเกิดจากแรงงานของเขา

เพราะเมื่อเกิดข้อพิพาทจะไม่มีใครตัดสินถูกผิดได้ เพราะทุกคนมีเหตุผลของตน เมื่อแย่งทรัพย์สินจะไม่มีใครบอกได้ว่าใครถูกใครผิด มนุษย์จึงไม่อาจรักษาทรัพย์สินของตัวเองไว้ได้ จึงต้องทำสัญญากัน ตั้งกฎหมาย ตั้งผู้ตัดสิน เพื่อรักษาทรัพย์สินของตัวเอง

อำนาจอธิปไตยเกิดจากเสียงส่วนใหญ่ การออกกฎหมายเปิดจากการเห็นพ้องต้องกัน ดังนั้นทุกคนจึงยอมรับกฎหมาย รัฐเป็หน่วยเดียวที่เคลื่อนไหวตามความคิดของเสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนใหญ่อาจจะยกให้ใครเป็นผู้ปกครองได้ แต่ก็เรียกอำนาจคืนได้เช่นกัน

เกิดสังคมที่เป็นหน่วยเดียวกัน ในข้อตกลงเดียวกัน ภายใต้การตัดสินโดยเสียงส่วนใหญ่ เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพ เพื่อความสะดวก ปลอดภัยของทุกคน

ทำได้เมื่อเสียงส่วนใหญ่ต้องการ
<span style="\&quot;margin:" 0px;="" padding:="" border:="" font-size:="" 16px;="" font-family:="" arial,="" helvetica,="" sans-serif,="" geneva,="" tahoma;="" vertical-align:="" baseline;="" color:="" rgb(204,="" 204,="" 204);="" line-height:="" 25px;="" background-color:="" rgb(25,="" 51,="" 102);\"="">หนังสืออ้างอิง
1 2 >