lyradin
ดู Blog ทั้งหมด

เมื่อญาติเป็นอัลไซเมอร์...

เขียนโดย lyradin


เครดิตแผ่นรองไดจาก e_goy จ้า

 
 

 

อัลไซเมอร์ พูดแค่ชื่อคิดว่าใครๆก็คงจะรู้จักกันเนอะ
ว่าเป็นโรคที่เรียกง่ายๆว่า ความจำเสื่อม นั่นแหละ
เดี๋ยวนี้เราจะเห็นคนวัยเกษียณเริ่มเป็นกันทั่วไป

ที่ไอซ์เขียนบล็อควันนี้เพื่อจะเล่าว่า
อย่างไหนที่บอกว่าเป็นอัลไซเมอร์ล่ะ เพราะคนเราก็หลงลืมกันได้ทุกวัน
(ไอซ์เองยังลืมปากกา ดินสอ กระเป๋าตังค์บ่อยๆเลยค่ะ= =;; ชักแก่ละ)
ในช่วงวัยประมาณเราๆนี่ไอซ์คิดว่าไม่นานจะได้เจอกับช่วงที่พ่อแม่เข้าวัยใกล้เกษียณพอดี
แบบนี้เกิดพ่อแม่เราขี้ลืมผิดปกติขึ้นมา เราจะรู้ไหมว่าเขาแค่แก่หรืออัลไซเมอร์?


เอาล่ะ เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า



ญาติของเพื่อนไอซ์คนหนึ่งทำงานในเมือง
ที่บ้านเกิดมีคุณตาอาศัยอยู่กับคุณยาย
วันหนึ่ง คุณตาเดินไปที่อ่างล้างจาน มองก๊อกน้ำที่อ่าง แล้วหันมาถามคุณยายว่า
"เออ...ไอ้นี่มันคืออะไรน่ะ?"
คุณยายก็งง ถามอะไรเนี่ย อีแค่ก๊อกน้ำ
"ก็ก๊อกน้ำไง"
"อ้อเหรอ" คุณตาไม่วายทำหน้างงก่งก๊ง "แล้ว..มันเอาไว้ทำอะไรอ้ะ"
คุณยายก็งงอีก ก็อธิบายไป คุณตาก็ยังคงงงอยู่ แล้วก็บอกให้ช่วยสอนวิธีเปิดก๊อกน้ำให้ (ถึงตอนนี้เราท่านก็คงรู้แล้วสินะว่ามีบางอย่างผิดปกติซะแล้ว)
ผ่านไปหลังจากนั้น 5 นาที
คุณตาเดินผ่านไปที่ก๊อกน้ำเจ้าปัญหาอันเดิมอีกครั้ง จากนั้นก็...

ถอดกางเกงฉี่ใส่อ่างล้างจาน!! =[]=!

คุณยายก็ตะลึง โอ๊ว มายก้อด!! สามีฉันเป็นอาร้ายยยย~  ตกใจรีบโทรมาบอกลูก
"พ่อแกฉี่ใส่ซิ้งค์ล้างจาน!" โชคดีที่รีบโทรค่ะ เพราะลูกสาวก็ปฏิภาณไหวพริบฉับไว
บอกให้คุณยายรีบพาคุณตาไปหาหมอทันที คุยกับเพื่อนบ้านพาคุณตาขึ้นแท็กซี่
บึ่งไปโรงพยาบาลเดี๋ยวนั้น

เดชะบุญอย่างยิ่ง คุณหมอให้ฉีดยา + กินยา สักอาทิตย์ต่อมาหายดีเลยค่ะ
รักษาเร็วเลยไม่เป็นอะไร (ปัจจุบันรู้แล้วว่าก๊อกน้ำที่อ่างล้างจานไว้ทำอะไร ^ ^')



ตัวอย่างแรกผ่านพ้นไป มีอีกตัวอย่างหนึ่งเฉียบพลันกว่า
เพื่อนเสด็จแม่ไอซ์คนหนึ่ง ปกติเป็นเวิร์คกิ้งวูแมน หญิงแกร่งนักบริหาร เก่งชนิดเทพซูฮก
เกษียณแล้วยังทำงาน ขับรถไปไหนต่อไหนสบ๊าย~
วันหนึ่ง ก็ขับรถพาเพื่อนสนิทจะไปช้อปปิ้งที่ห้าง (เพื่อนที่ว่ามิใช่เสด็จแม่ไอซ์นะคะ= =)
คุยหัวเราะเฮฮากันไปตลอดทางเรื่องสัพเพเหระ
สักพักรถก็ติดไฟแดง ติดนานมากเป็นร้อยวินาที ทั้งสองคนก็เริ่มน้ำลายแห้ง
ขี้เกียจคุยกันแล้ว คุณเพื่อนสนิทก็เลยเงียบไปทำท่าจะงีบ
ปรากฏว่าพอไฟแดงกลายเป็นเขียวเมื่อนานให้หลัง
หญิงแกร่งผู้นี้กลับนั่งเฉย ไม่ออกรถ
รถคันหลังๆก็บีบแตรแป๊นๆๆ ด่าพ่อล่อแม่กันยกใหญ่ จนเพื่อนที่ทำท่าจะงีบตื่น
เลยถามว่า "เอ้า! ทำไมไม่ออกรถล่ะ ไฟเขียวแล้ว"
อีกฝ่ายทำหน้างงๆไปครู่หนึ่ง จากนั้นก็หันมาตอบด้วยสีหน้าว่างเปล่า

"...ขับรถไม่เป็น" (O_O!!!!)

โฮ่ ได้ฟังอย่างงี้ก็งงสิครับพี่! เลยต้องรีบสลับที่เปลี่ยนคนขับกันอย่างไว
ตอนหลังพาไปโรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าช่วยไม่ได้ค่ะ เป็นอย่างหนักเลย
ลืมสิ้นทุกอย่าง ใช้ช้อนส้อมกินข้าวไม่เป็น ขึ้นลงบันไดไม่เป็น เปิดประตูไม่เป็น เข้าห้องไม่เป็น พูดจาก็แทบไม่รู้เรื่องแล้วเพราะลืมถ้อยคำไปหมด
เลยต้องจ้างคนดูแล (เห็นว่าล่าสุดไม่รู้อีท่าไหน ปีนกำแพงอยากออกจากบ้าน ทำเอาลูกหลานตกใจกันไปตามๆกัน ต้องเฝ้าดู 24 ชม.)


ไอซ์เองได้ยินเรื่องประเภทนี้มาเยอะเหมือนกัน (เสียวๆอยู่ว่าสักวันตัวเองแก่แล้วจะเป็น) ตอนนี้มีญาติตัวเองเป็นแล้วค่ะ เป็นอาม่าเล็ก (อาม่าคนที่3 -- อากงไอซ์มีอาม่า3คน)
ไม่ใช่อาม่าสายของไอซ์เลยไม่สนิทกันนัก แต่พวกหลานๆฝ่ายนั้นเขามาเล่า
คือปกติอาม่าก็ชอบเดินออกไปไหนต่อไป ทักทายชาวบ้านร้านตลาดแถวบ้านนั่นแหละค่ะ ปรากฏว่ามีวันหนึ่งมีคนรู้จักแถวนั้นพามาส่ง บอกว่าอาม่าเดินหลงไปแถวตลาดแล้วก็งง กลับบ้านไม่ถูก เขาเลยพามาส่ง (ทั้งๆที่อาม่าเดินแถวนั้นทุกวันมาห้าสิบปีแล้ว)
พอไปหาหมอเลยรู้ว่าเป็นอัลไซเมอร์นี่แหละท่าน ตอนนี้ให้ออกจากบ้านไม่ได้แล้ว น่าสงสารจัง...ปกติอาม่าเล็กออกจะชอบไปคุยนั่นนี่กับเพื่อนบ้าน


ว่าแล้วก็มาถึงอาม่าของไอซ์บ้าง (อาม่ากลาง)
วันก่อน(ประมาณสัปดาห์ที่สอบโอเน็ต)ไอซ์โผล่ไปหาอาม่า ไปเกาะตรงประตูเลื่อนหน้าบ้านแล้วก็เรียก อาม่าเดินออกมา ไอซ์ก็บอกว่า
"อาม่า เปิดประตูให้อั๊วหน่อย"
อาม่าก็เดินมาใกล้ๆ เขม้นมอง แล้วก็ถามว่า
"คุณจะเอารถเข้าเหรอ จะเอาอะไร"
ไอซ์ก็งง อะไรหว่า ก็พยายามคุยอยู่สักพัก อาม่าก็ยังพูดเหมือนเดิม
"ลื้อจะเอาอาลาย~~?"
จนอาโกวในบ้านเดินออกมาเห็น เลยบอกอาม่าว่า
"นี่หมวยเล็กไง! อาหมุยแชน่ะ(ชื่อจีนของไอซ์)" อาม่าถึงจำได้
ตอนนั้นไอซ์แบบว่าช็อค โอ้โน! อาม่าเราก็เอากะอาม่าเล็กด้วยเหรอเนี่ยยย (โหยหวน)
แต่ตอนหลังไปพูดคุยกันใหม่ได้ความว่าไม่ใช่หรอกค่ะ แค่เพราะอาม่าไอซ์ตาฝ้าฟางแล้วเฉยๆ มองแยกไม่ออกแล้วว่าไผเป็นไผ ต้องประกาศชื่อแซ่ก่อนว่าเป็นใครอาม่าถึงจะรู้
(โถอาม่า... อั๊วตกใจหมด) อาม่าไอซ์แปดสิบกว่าแล้วยังจำวันเกิดไอซ์ได้อยู่เลยค่ะ จำวันเกิดลูกหลานทุกคนได้แม่นเป๊ะๆ ดีใจ๊ดีใจ~


อย่างไรก็ตาม ไอซ์ว่าเราๆท่านๆมีโอกาสจะได้ผจญกับอัลไซเมอร์เมื่อช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตนี่แหละ เพราะเดี๋ยวคนเป็นกันเยอะเลย (อาจจะใช้สมองกันน้อยไป= =;; ไม่รอดแน่ตู)
ผู้รู้เขาว่านอกจากกินอาหารบำรุงสมอง + ออกกำลังกายแล้ว
การเล่นเกมก็ช่วยกันอัลไซเมอร์ได้นะเออ! (โฮ่ นี่สินะเหตุผลสุดเลิศสำหรับเกม)
แต่น่าเสีัยดายไม่ใช่เกมยิงๆฆ่าๆหรือล่ามอนสเตอร์อ้ะค่ะ ต้องเป็นประเภท
โกะ หมากรุก อะไรพรรค์นี้ ที่ใช้ความคิดชิงชัยกันเยอะๆ ไพ่ก็ยังพอโอเค... แต่ไม่ใช่นกกระจอกหรือป๊อกเด้งนะเว้ยเฮ้ย!
(สงสัยว่านี่เป็นสาเหตุที่ไมโครซอฟต์ใส่เกมไพ่ไว้ให้ในคอม)
อีกอย่างหนึ่ง การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องระมัดระวังมาก
คนแก่จะกลับไปเป็นเด็กจริงๆล่ะทุกท่าน วันหนึ่งพ่อแม่สุดเลิฟของพวกเราก็เช่นกัน
บางคนอารมณ์แปรปรวน เพิ่งข้าวไปแหม็บๆบ่นว่ายังไม่ได้กิน โมโหใส่แม่บ้านว่าทำไมไม่ทำข้าวให้กิน
บางคนก็ตรงกันข้าม ยังไม่ได้กินข้าวแต่บอกว่ากินแล้ว อิ่มอยู่เพิ่งกินเสร็จ ไม่เห็นหิวเลย จนผอมลงทุกวันๆ
เรียกว่าน่าปวดหัวเหมือนกัน แล้วมันก็โหดร้ายตรงที่นานๆไป พ่อแม่ก็จำไม่ได้แม้แต่ลูกตัวเอง หรือชื่อตัวเองก็ไม่รู้ ทั้งอารมณ์ขัน ความใจดี นิสัยอะไรต่างๆถูกทำลายไปหมดสิ้น
คนรอบข้างทำใจลำบากเหมือนกันเนอะ...
(ถ้าเกิดขึ้นกับเรา แฟนเราเขาจะยังรักเราอยู่ไหมเนี่ย = =)


ขอจบเรื่องเล่าสัพเพเหระเพียงเท่านี้
อ้อ! เมื่อวานไอซ์ไปหั่นผมมา ให้เขาสไลซ์ ไม่รู้ทำไมออกมาแล้วหัวไอซ์พิก๊ลพิกล 555
ไม่รู้ว่าควรจะซอยรึเล่า หรือสไลซ์อย่างเดียวดีกว่า??? เอาเถอะ ตัดไปแล้วช่วยมิได้

 

 

ความคิดเห็น

leewern@outlook.com
leewern@outlook.com 2 ต.ค. 57 / 19:43
ไปเจอครับแปลมาให้อ่าน

การวินิจฉัยโมเลกุลเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
ความสามารถ
วีทีที(VTT) ได้พัฒนาให้ชีวะโมเลกุลให้เป็นที่ยอมรับและวิศวะกรรมแอนติบอดี้สำหรับการวินิจฉัยการรักษาและการวิเคราะห์เช่นเดียวกับการค้นพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) ปัจจุบันนี้แอนติบอดี้มีความความผูกพันที่น่าสนใจเนื่องด้วยมันมีความสามารถในการสร้างตัวเองเพื่อต่อต้านโมเลกุลที่มีค่าความสัมพันธ์คงที่ในช่วงนาโนโมลา(nanomolar)
แอนติบอดี้กับ สารก่อภูมิแพ้, ตัวรับเซลล์, ยาต่างๆ, สารพิษ และโมเลกุลขนาดเล็กอื่นๆ ที่เหมาะกับการวินิจฉัยและการบำบัดแบบใหม่ที่มีการสร้างขึ้นโดยใช้ฟาจดิสเพลย์(Phage Display)และวิธีการตรวจคัดกรองอย่างสูง
การทำงานของวีทีทีคือการนำแอนติบอดี้ของฟาจดิสเพลย์(Phage Display)ใช้ในการแยกความผูกพันจำเพาะได้อย่างรวดเร็ว วิศวะกรรมแอนติบอดี้สามารถใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่ถูกแยกตัว เช่น สำหรับการวินิจฉันโรคติดเชื้อโดยการใช้การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การวินิจฉัยโมเลกุลมีความสำคัญพิเศษกับต่อต้านแฮปเทนแอนติบอดี้(Anti-hapten antibodies)และการพัฒนาของแอนตี้บอดี้เบสไมโคร(Antibody-based micro)และโปรแกรมนาโนเทคโนโลยี
ในด้านเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันวีทีทีมุ่งเน้นการวิจัยเรื่องภูมิแพ้และพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาแอนติบอดี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ผู้ป่วยเฉพาะเจาะจง
ความท้าทาย
ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพระบุโดยจีโนมิกส์(Genomics),โปรทีโอมิกส์(Proteomics)และเมตาโบโลมิกส์(Metabolomics) ให้การวินิจฉัยและการบำบัดขั้นสูงที่ช่วยให้การสันนิษฐานและบำบัดโรค สร้างความท้าทายสำหรับเจนเนอร์เรชั่นที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วของแอนติบอดี้ที่มีความเฉพาะเจาะจงมาใช้ในการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) การแยกความจำเพาะพูกผันที่แตกต่างกันสามารถพร้อมๆกันจากยีนแอนติบอดี้ โดยใช้ตัวเลือกจากหลายๆที่และขั้นตอนการคัดกรอง
วิธีแก้ปัญหา
เรามีการสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้(Antibody phage libraries)จากแหล่งภูมิคุ้มกัน,ไม่มีภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยที่ได้รับการแยกตัวของแอนติบอดี้สามารถดำเนินการได้ในหลอดทดลอง(vitro)และในสัตว์ทดลอง(vivo)หรือใช้เทคนิคการคัดกรองโดยตรง
การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ถูกทำขึ้นที่เอสเชอริเชีย โคไล(Escherichia coli) วิธีการใช้ชีวะโมเลกุลและระบบภูมิคุ้มกันถูกนำมาใช้สำหรับการจำแนกคุณสมบัติของความจำเพาะพูกผัน
ความสัมพันธ์, ความจำเพาะ, ความเสถียรและการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพของแอนติบอดี้นั้นสามารถปรับแต่งสายพันธุ์และการสลับดีเอนเอ
การฟิวชั่นกับเปปไทด์แท็ก มีการหยุดการเคลื่อนที่หรือการแสดงคุณสมบัติที่แตกต่างกันสามารถทำได้โดยการเพิ่มการบังคับใช้ของพวกนั้น

การสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้
-การแยกแอนติบอดี้จากคลังฟาจดิสเพลย์(Phage display libraries) เช่น การใช้ความเร็วสูงและตัวคัดกรองในหลอดทดลองในที่ทำการโดยหุ่นยนต์
-การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ใน อี โคไล
-การแสดงลักษณะคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่มีผลผูกพัน
-การปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
เทคโนโลยีการรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้(Recombinant anitibody technology) ทำให้
-การแยกของรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
-การสร้างแอนติบอดี้ต่อต้านการป้องกัน,ความเป็นพิษและแอนติเจนของตัวเอง
-การตัดต่อแอนติบอดี้ให้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ
-การผลิตชิ้นส่วนแอนติบอดี้ด้วยราคาที่คุ้มค่า


...ที่เมืองไทยเองก็มีการวิจัยและบริการบำบัดรักษาในลักษณะนี้ ที่ศูนย์ชีวะโมเลกุล ใครรู้จักที่อื่นยังไงบอกกันได้นะครับกำลังหาพวก alternative medicine อยู่ครับ