шарф
ดู Blog ทั้งหมด

โครงงานวิทย์ 2

เขียนโดย шарф

บทที่ 1

บทนำ

 

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ในปัจจุบันนี้กระดาษสาเป็นที่นิยมมากในฐานะอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในการทำสิ่งประดิษฐ์หรือตกแต่งสิ่งของเนื่องจากเป็นวัสดุที่หาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง กระดาษสาเป็นกระดาษที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติคือ ปอฝ้ายโดยการนำใยมาต้มให้เปื่อยและตากแห้งจนเป็นกระดาษสาที่เป็นรู้จักกันดี แต่ถ้าลองเปลี่ยนจากการใช้ปอฝ้ายมาเป็นใยของพืชชนิดอื่นที่สามารถหาได้รอบตัว ลองนำใยของผักผลไม้ตามท้องตลาด เช่น สับปะรด มาผลิตเป็นกระดาษสาทำมือที่แปลกใหม่ ต้นทุนต่ำ และเป็นการรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้ แล้วลองนำมาเปรียบเทียบคุณภาพกับกระดาษสาตามท้องตลาดว่าดีหรือไม่ดีกว่าอย่างไร ด้วยการใช้การเผาไหม้และการใช้แรงตึงผิว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงงาน

 

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของกระดาษสาทำมือกับกระดาษสาตามท้องตลาด ว่าอย่างไหนมีคุณภาพดีกว่า เหมาะจะใช้งานกว่ากัน

 

1.3  สมมติฐาน

       กระดาษสาที่ประดิษฐ์จากเส้นใยสับปะรดน่าจะมีคุณภาพดีกว่ากระดาษสาที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด

 

 

 

ตัวแปรต้น                       ชนิดของกระดาษสา

ตัวแปรตาม                     การเผาไหม้ของกระดาษสา, แรงตึงผิวของน้ำบนกระดาษสา

ตัวแปรควบคุม               สถานที่การทดลอง, ขนาดของกระดาษสา, ไฟแช็ค, ดรอปเปอร์

 

1.4 ขอบเขตการศึกษา

1.4.1 การนำเส้นใยจากสับปะรดมาประดิษฐ์เป็นกระดาษสา

1.4.2 ทดสอบความคุณภาพของกระดาษสาทำมือกับการะดาษสาตามท้องตลาด โดยการจุดไฟเผากระดาษทั้งสองที่มีขนาดเท่ากัน แล้วจับเวลาว่ากระดาษอย่างไหนจะถูกเผาไหม้หมดช้ากว่า

 

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.5.1 เป็นการนำเศษวัสดุกลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์

1.5.2 สามารถเปรียบเทียบคุณภาพของกระดาษสาทำมือกับกระดาษสาตามท้องตลาดได้ว่า กระดาษอย่างไหนมีคุณภาพดี เหมาะแก่การใช้งานมากกว่ากัน

 

1.6 ระยะเวลาการทำโครงงาน

                การทดลองมีระยะเวลา 1 อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

 

1.7  สถานที่ทำโครงงาน

          บ้านเลขที่ 100/576 หมู่ 8 ถ. ติวานนท์ ซ. 23 หมู่บ้านลานทอง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

 

1.8 คำนิยามศัพท์

เศษวัสดุ : สิ่งของที่ไม่ต้องการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว

คุณภาพ : การนำวัสดุมาเผาด้วยไฟและจับเวลาด้วยนาฬิกาจับเวลา ว่ากระดาษอย่างไหนจะถูกเผาไหม้ช้ากว่า และการหยดน้ำบนกระดาษสาแล้วนับหยดน้ำดูว่า กระดาษอย่างไหนจะสามารถรักษารูปทรงของน้ำได้มากหยดกว่ากัน

       การเผาไหม้ : การที่ไฟเริ่มไหม้กระดาษ จนกระทั่งกระดาษถูกเผาจนหมด

       แรงตึงผิว : การที่หยดน้ำสามารถคงตัวเป็นหยดบนกระดาษสาได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 

2.1 ความเป็นมาของกระดาษสา

กระดาษสามีมานาน 20 กว่าปีแล้วโดย นายเจริญ  เหล่าปิ่นตา ได้สืบทอดการทำกระดาษสามาจากคุณทวด ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลายเหมือนสมัยนี้ จะทำกันเฉพาะเมื่อต้องการเขียนยันต์ ทำไส้เทียนและทำตุงของเชียงใหม่เท่านั้น

ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการพัฒนาการทำกระดาษสาจากที่เคยทำสีขาวก็คิดหาวิธีทำ เป็นหลายๆ สีและมีลวดลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะผลิตงานศิลปะกระดาษสามากยิ่งขึ้น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สมุดโน้ต ถุงกระดาษ ดอกไม้ ฯลฯ และยังได้เผยแพร่กระทำกระดาษสาไปยังหมู่บ้านอื่นๆ และสอนวิธีการทำกระดาษสาให้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะของไทย ที่ยึดหลักการประกอบอาชีพในการทำกระดาษสา สืบทอดจากบรรพบุรุษของบ้านต้นเปา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาดั้งเดิมของเชียงใหม่ โดยในอดีตการทำกระดาษสานั้นเพื่อนำไปใช้ในการผลิตร่มและพัด โดยแหล่งผลิตร่มและพัดอยู่ที่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังใช้ในการทำไส้เทียน ทำตุงและทำโคมลอย ซึ่งกระดาษสายังไม่เป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากนัก การทำกระดาษสาจึงอยู่เฉพาะครอบครัวของนายเจริญ  เหล่าปิ่นตาและนางทองคำ  เหล่าปิ่นตาเท่านั้น จนกระทั่งต่อมากระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาได้มีการส่งเสริมการอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2538  มีการจัดงานแสดงและจำหน่ายกระดาษสาและผลิตภัณฑ์การจัดการประกวดกระดาษสา ตลอดทั้งการฝึกอาชีพการผลิตกระดาษสาและผลิตภัณฑ์ การบริการให้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาเทคนิคการผลิต เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตต่างๆ ทำให้คนเริ่มรู้จักและสนใจกระดาษสากันมาก และรู้จักบ้านต้นเปาว่าเป็นแหล่งผลิตกระดาษสาด้วยมือแบบดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ กระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสาจากบ้านต้นเปาได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดหลายประเภทและหลายครั้ง ชื่อเสียงของกระดาษสาบ้านต้นเปาเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับตลาดกระดาษสาและผลิตภัณฑ์กระดาษสาในเมืองไทยเริ่มขยายต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศ บางคนมารับงานไปทำที่บ้านเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว นอกจากนั้นยังมีผู้ผ่านการฝึก การทำกระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา จากบ้านอนุรักษ์กระดาษสาได้ไปประกอบอาชีพเป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนของตนเอง ถ้าหากไม่สามารถหาตลาดจำหน่ายได้เอง ก็จะนำผลิตภัณฑ์มาฝากจำหน่ายหรือขายให้ทางบ้านอนุรักษ์กระดาษ

 

2.2 สับปะรด

สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากแถวๆทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกก็สามารถปลูกได้ง่ายโดยการใช้หน่อหรือที่เป็นส่วนยอดของผลที่เรียก ว่า จุก มาฝังกลบดินไว้ และออกเป็นผล เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล

สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้น จะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก และ สับปะรดสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือ เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน

ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้

รูปลักษณะ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90 - 100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลาย

มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีลิน (Bromelin) ช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้ตกค้างในลำไส้ และ มีเกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ
  • แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก
  • บรรเทาอาการโรคบิด
  • ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน
  • แก้ท้องผูก
  • เป็นยาแก้โรคนิ่ว
  • แก้ส้นเท้าแตก

 

 

 

แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม

12 ก.พ. 54
2,888
0

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น