สงครามดำเนินต่อตอนที่ 2 เป็นอย่างไรกันบ้าง - นิยาย สงครามดำเนินต่อตอนที่ 2 เป็นอย่างไรกันบ้าง : Dek-D.com - Writer
×

    สงครามดำเนินต่อตอนที่ 2 เป็นอย่างไรกันบ้าง

    โดย Hyper Blossom

    เรื่องนี้จากตอนที่ 1 ดูง่ายกว่าเยอะด้วยน่ะครับแต่ถ้านึกไม่อย่าเพิ่งงงและอย่างเพิ่งตกใจน่ะครับมีแน่นอนครับไม่ต้องห่วงเรื่องนี้อีกต่อไปครับเพราะว่าเราจะได้หาความรู้ที่เท่านั้นจะได้ผลอย่างแน่นอนครับ.....

    ผู้เข้าชมรวม

    1,339

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    19

    ผู้เข้าชมรวม


    1.33K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  สงคราม
    จำนวนตอน :  1 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  31 มี.ค. 53 / 11:46 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามเป็นครั้งแรก


    ส่วนสหรัฐฯนั้นในที่สุดก็เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรในปี ค.ศ.
    1917 ทั้งนี้ก็เพราะว่าชัยชนะของเยอรมันย่อมหมายถึงเผด็จการทางทหารในทวีปยุโรป อนึ่งการโฆษณาของฝ่ายพันธมิตรช่วยเบนความเห็นของประชาชนชาวอเมริกัน นอกจากนั้นกองทัพทางทะเลของเยอรมันก็ยังจมเรือพานิชย์ของสหรัฐอยู่เรื่อยๆ และเยอรมันยังเสนอให้เอารัฐเท็กซัสและอริโซนาของสหรัฐคืนให้กับเม็กซิโก หากว่าเม็กซิโกยอมสนับสนุนเยอรมัน เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้สหรัฐเร่งตัดสินใจที่จะกระโจนเข้าสู่สงครามปราบเยอรมัน บัลแกเรียนั้นเกลียดชังเซอร์เบียเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน กรีซนั้นถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่กับค่ายพันธมิตรเพราะฝรั่งเศสและอังกฤษ โรมาเนียเข้ามาอยู่ค่ายเดียวกับกรีซเพราะหวังว่าจะได้ส่วนแบ่งอย่างง่ายๆ ส่วนเยอรมันก็ประกาศสงครามกับโปรตุเกส เพราะว่าโปรตุเกสให้ความช่วยเหลือเรือรบของฝ่ายพันธมิตร สเปนนั้นเห็นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการเป็นกลางเหมือนอย่างสวิตเซอร์แลนด์และกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวียและในที่สุดญี่ปุ่นมิตรของอังกฤษมาตั้งแต่ ค.ศ.1902 ก็เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรทั้งนี้ก็เพราะว่าญี่ปุ่นต้องการอาณานิคมของเยอรมันในจีนและแปซิฟิค เกือบทุกคนต้อนรับสงครามด้วยความกระตือรือร้นในความรักประเทศชาติของตน และมีความคิดว่าสงครามใช้เวลาไม่นานก็คงยุติลง ทำให้คิดว่าเงินทองและความพังพินาศของการค้าระหว่างประเทศย่อมมีมากมหาศาลจนประเทศต่างๆที่เข้าร่วมสงครามไม่อาจเข้าร่วมสงครามได้ยาวนาน 

    ในสมัยก่อนปรัสเซียเคยปราบออสเตรียและฝรั่งเศสโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ และในอดีตอีกเช่นกันที่โดยปกติแล้วทางฝ่ายรัฐบาลจะรีบสงบศึกเป็นเวลานานก่อนที่ประชาชนของประเทศนั้นๆจะหมดแรงหรือพบกับหายนะ การคาดหมายเช่นนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผิดพลาดในสงครามครั้งนี้ พลังที่สำคัญอยู่ที่ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งประเทศเหล่านี้มีขีดความสามารถในการผลิต และประเทศเหล่านี้ผลิตยุทธปัจจัยเพื่อสงครามได้อย่างต่อเนื่อง และยังมีความสามารถดึงประชาชนจำนวนนับล้านๆคนเข้าประจำกองทัพ และถ้าหากว่าการระดมพลจำนวนมหาศาลเช่นนี้จะทำให้การผลิตอาหารและสินค้าต้องลดปริมาณลงไป(ซึ่งก็ลดลงไปจริงๆ)ประชาชนก็จะต้องรัดเข็มขัด เศรษฐกิจในสมัยปกติจะถูกเก็บเข้าลิ้นชักไว้ก่อน ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลจะควบคุมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ค่าจ้างแรงงาน ราคาสินค้า กำลังคนและโฆษณา ถึงกระนั้นก็ดีฝ่ายที่คาดหมายว่าสงครามจะไม่ยาวนานเกือบถูกต้อง กษัตริย์ไกเซอร์แห่งเยอรมันทรงตรัส จงจำไว้ว่าเราสามารถเข้าถึงกรุงปารีสภายในสองสัปดาห์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1914 เมื่อทหารเยอรมันสองกองพลบุกเข้าไปในเบลเยี่ยม คำแถลงของพระเจ้าไกเซอร์ก็เกือบเป็นจริง แต่ก็ได้มีเหตุการณ์สองเรื่องขัดขวางเอาไว้ ก็คือทางประเทศเบลเยี่ยมทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นเกินความคาดหมายของกองทัพเยอรมัน และทางรัสเซียเคลื่อนกำลังพลอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้นายพลมอลเก้ ขุนพลของเยอรมันต้องแบ่งกำลังทหารเพื่อไปป้องกันอันตรายจากรัสเซีย ผลที่เกิดขึ้นนั้นก็คือนายพลมอลเก้ไม่สามารถทุ่มกำลังทั้งหมดเพื่อพิชิตเบลเยี่ยม ให้ได้อย่างรวดเร็วตามแผนการชิฟเฟ่น และก็ไม่สามารถโอบล้อมฝรั่งเศสเป็นแนวโค้งกว้างพอตามแผนการที่ได้กำหนดเอาไว้ และเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปถึงฝรั่งเศส ซึ่งค่อนข้างล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ และเยอรมันยังต้องพบกับความแปลกใจที่ต้องพบกับการรบอย่างดีจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งคอยสกัดกั้นการรุกคืบหน้าของกองทัพทหารเยอรมันที่เมืองมองส์ ปฏิบัติการของกองกำลังทหารอังกฤษเช่นนี้นั้นทำให้นายพลจอฟฟรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝรั่งเศสมีเวลาส่งกองกำลังตอบโต้เมื่อเยอรมันสำคัญผิดเคลื่อนกองทัพไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแนวป้องกันกรุงปารีสแทนที่จะตั้งวงล้อมไว้ ดังนั้นกรุงปารีสจึงปลอดภัยจากการถูกโจมตีอย่างรุนแรงไปได้ 
    อันนี้บอกได้ว่า สงครามดำเนินต่อตอนที่ 2 พบกันอย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาเท่านี้ครับ

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น