สงครามดำเนินต่อตอนที่ 3 ผลออกมาเป็นอย่างไร - นิยาย สงครามดำเนินต่อตอนที่ 3 ผลออกมาเป็นอย่างไร : Dek-D.com - Writer
×

    สงครามดำเนินต่อตอนที่ 3 ผลออกมาเป็นอย่างไร

    โดย Hyper Blossom

    เรื่องนี้ก็ได้บอกไปได้เรียบแล้วน่ะครับเดี๋ยวมีรูปภาพเล่นให้ดูกันต่อไปได้น่ะครับจบต้องรอสักครู่หนึ่งในเวลา 20.30 น.ครับช่วงนี้อย่างเพิ่งเหมาเลยน่ะครับไม่อย่างจะมีปัญหาแน่นอนครับเท่านั้น ถามพี่เรย์ก็ได้

    ผู้เข้าชมรวม

    1,480

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.48K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  สงคราม
    จำนวนตอน :  2 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  31 มี.ค. 53 / 11:46 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ความหวาดกลัวของเยอรมันและความหาญกล้าของอังกฤษ

    ในเดือนกันยายนกองทัพของเยอรมันได้ถอนตัวกลับไปตั้งกองทัพอยู่ทางเหนือของแม่น้ำ Aisne และภายหลังทำการต่อสู้กับการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นของกองทัพของฝ่ายพันธมิตร ในบริเวณแม่น้ำ Yres เพราะฝ่ายพันธมิตรต้องการป้องกันท่าเรือบริเวณช่องแคบอังกฤษเอาไว้ กองทัพซึ่งมีกำลังมหาศาลสองกองทัพของเยอรมันก็หลบลงไปรบอยู่ใต้ดิน ซึ่งได้ขุดเป็นแนวสนามเพลาะทอดตัวยาว นับตั้งแต่ชายฝั่งทะเลเบลเยี่ยมผ่านไปทางเหนือของฝรั่งเศสไปกระทั่งถึงพรมแดนของ สวิตเซอร์แลนด์ สงครามสนามเพลาะซึ่งขุดลึกลงไปในพื้นดินเป็นแนวยาวนั้นไม่ใช่เรื่องที่ใหม่เลย นับตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองของประเทศอังกฤษ ผู้บัญชาการทหารทุกคนทราบดีว่าดินป้องกันกระสุนปืนใหญ่ได้ดีกว่าหินหรืออิฐ แต่นับตั้งแต่นี้ไปการใช้แนวยาวของสนามเพลาะไม่สามารถที่จะป้องกันการรบที่เรียกกันว่า ศิลปะ ของสงคราม ซึ่งใช้การโจมตีด้วยกองทัพของทหารม้าเป็นบางครั้ง การโอบขนาบข้างแนวสนามเพลาะ การถอนตัวตามหลักยุทธวิธี ฯลฯ การใช้ ศิลปะ เช่นนี้กลายเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้สำหรับ แนวรบด้านตะวันตก ที่เยอรมันเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งกองทัพกำลังพลมหาศาลไม่สามารถเคลื่อนตัวได้แต่ต้องเผชิญหน้าซึ่งกันและกันใน ดินแดนไม่มีผู้คน มีแต่รั้วลวดหนามขึงกั้นไว้เป็นแนวยาว ลวดหนามผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการทำรั้วไร่ของเกษตรกรของสหรัฐ กลายมาเป็นรั้วป้องกันที่ดีของสงครามครั้งนี้ อย่างไรก็ดีเมื่อสงครามมีอายุผ่านไปไม่กี่เดือน ก็เป็นที่เห็นกันชัดว่าการทุ่มเทกองกำลังทหารราบจำนวนมหาศาลโจมตีทหารเยอรมันซึ่งตั้งมั่นอยู่ในแนวขุดสนามเพลาะ มีปืนไรเฟิ้ลและปืนกลไว้รับมือ 
    ฝ่ายพันธมิตรต้องสูญเสียกำลังไปมากมายในการบุกเข้าไปรบกับทหารเยอรมันที่ตั้งรับไว้เช่นนั้น นายพลของฝ่ายพันธมิตรต้องใช้เวลานการเรียนรู้ความจริงว่าจะต้องทำการรบแบบไหน นายพลของฝ่ายพันธมิตรยังต้องถูกกดดันจากนักการเมือง หนังสือพิมพ์ และประชาชน ให้หาทางเอาชนะสงครามให้ได้ไม่ว่าจะต้องสูญเสียสักเท่าไร เยอรมันทุ่มเทความพยายามเต็มที่เพื่อที่จะถล่มศัตรูให้พังพินาศย่อยยับ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธปืนได้ประดิษฐ์กระสุนปืนใหญ่เป็นเรียกว่า ลูกระเบิดปูพรม ไว้ใช้สำหรับยิงดักหน้าการเคลื่อนกำลังของกองกำลังทหารราบ แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะการยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ขนาดนั้นทำให้ดินโคลนถูกแรงระเบิดกลายเป็นหนองน้ำไม่สามารถทำลายรั้วลวดหนามของฝ่ายตรงข้าม แม้ว่าจะเข้ายึดแนวหน้าของศัตรูแห่งหนึ่งไว้ได้ ด้านหลังออกไปก็ยังมีแนวสนามเพลาะของข้าศึกตั้งอยู่อีกหลายแนว แนวรบเหล่านี้จะเชื่อมต่อกัน แนวป้องกันแข็งแรงซึ่งได้รับการเสริมกำลังจากแนวหลังอย่างไม่มีวันหมดสิ้น การใช้ก๊าซพิษมีอันตรายเพราะว่ากระแสลมอาจเปลี่ยนทิศทางได้ มีการพยายามที่จะใช้กระสุนปืนใหญ่สำหรับการทำลายรั้วลวดหนาม ซึ่งวิธีนี้ก็พบความสำเร็จไม่มากนัก การใช้เครื่องบินนั้นก็ใช้เพื่อบินสังเกตการณ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในช่วงต้นๆของสงคราม บรรดาผู้บัญชาการทหารไม่ค่อยศรัทธาสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ ลวดและผ้าใบเท่าใดนัก มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการดวลกันทางอากาศระหว่าง เหยี่ยว อากาศที่มีชื่อเสียง และมีการทิ้งระเบิดโดย เรือเหาะ เซปเปลิน ของเยอรมัน แต่เรื่องนี้มีผลกระทบต่อการรบบนภาคพื้นดินเพียงเล็กน้อย และไม่มีการผลิตเครื่องบินออกมาใช้จำนวนมากๆอย่างไรก็ดีเครื่องบินเริ่มมีบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในการสนับสนุนการรุกของทหารราบ พอถึงปี ค.ศ.1918 อังกฤษมีเครื่องบิน 22,000 ลำ ในขณะที่ปี ค.ศ.1914 ช่วงต้นสงครามกองทัพอังกฤษมีเครื่องบินเพียง 272 ลำเท่านั้น บรรดานายพลของทั้งสองฝ่ายเริ่มมีความเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะสงครามก็คือต้องทำลายแนวป้องกันของฝ่ายตรงข้ามให้พังพินาศอย่างแตกหัก และในวิธีนี้ก็จะต้องสังหารชีวิตศัตรูให้หมดสิ้น เพื่อให้เจตจำนงของการต้านทานนั้นแตกสลาย ด้วยเหตุนี้ชีวิตทหารของทั้งสองฝ่ายจึงสูญเสียไปในสงครามที่โหดเหี้ยมครั้งแรกของโลกเป็นจำนวนมากมายมหาศาลจนน่าสะพรึงกลัว

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น