ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เคล็ดลับ 13 ประการต่างๆ มีอีกเพียบแน่นอนครับ

    ลำดับตอนที่ #36 : ปัญหาการฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นไปตามแน่นอนว่าตอนนี้การฆ่าตัวตายหมายความอย่างไร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 215
      0
      29 ส.ค. 52

    ปัญหาการฆ่าตัวตาย นักวิชาการหลายท่าน เคยกล่าวย้ำถึงการฆ่าตัวตายไว้ว่าไม่มีคนฆ่า 

    ปัญหาการฆ่าตัวตาย นักวิชาการหลายท่าน เคยกล่าวย้ำถึงการฆ่าตัวตายไว้ว่าไม่มีคนฆ่าตัวตายคนไหน ฆ่าตัวตายเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงเหตุเดียว แต่จะเป็นเรื่องหลายๆ ด้าน รุมทับซ้อน และกดดันคนๆ นั้น จนอยู่ในสภาวะทางจิตใจที่สับสน และรู้สึกทรมานที่จะมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จะสรุปว่าคนฆ่าตัวตายเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เช่น อกหัก น้อยใจ สอบตก ฯลฯ คงจะไม่ใช่ รวมทั้งสื่อมวลชนก็คงไม่เป็นสาเหตุอย่างเดียวของการฆ่าตัวตายหรือการพยายามฆ่าตัวตายแน่ๆ

              อิทธิพลของสื่อสารมวลชนมีมากต่อปัญหาการเลียนแบบการฆ่าตัวตายใช่หรือไม่? เช่น เมื่อหลายปีก่อน นักร้องซุปเปอร์สตาร์ของญี่ปุ่นกระโดดตึกตาย เป็นข่าวใหญ่โต หลังจากนั้นมีวัยรุ่นกระโดดตึกฆ่าตัวตายตามอย่างและมีบางกรณีผูกข้อมือติดกันแล้วกระโดดฆ่าตัวตายพร้อมๆ กัน กลายเป็นข่าวครึกโครมยาวนานติดต่อกันเมื่อหลายปีที่ญี่ปุ่น (กรมสุขภาพจิต : 2541 : 7) ในประเทศไทยเองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันกรณีฆ่าตัวตายที่ถูกรายงานทางสื่อมวลชนโดยเฉพาะทางหนังสือพิมพ์ค่อนข้างมากติดต่อกัน เช่นมีการยิงตัวตายหนีปัญหาหนี้สิน หลังจากนั้นก็จะมีวิธีการฆ่าตัวตายหนีปัญหาหนี้สินในรายอื่นๆ ตามมา หรือกรณีที่วัยรุ่นสอบตกหรือผลการเรียนตกต่ำ ก็ใช้วิธีการหนีปัญหาเหมือนๆ กัน ด้วยการกระโดดตึกฆ่าตัวตาย
             
              ซึ่งดูเหมือนสื่อมวลชนไทยก็สนใจเรื่องการฆ่าตัวตายเหล่านี้มาก เช่นหนังสือพิมพ์มักจะเสนอข่าวในหน้าหนึ่ง และเสนอรายละเอียดของข่าวค่อนข้างมาก เช่นรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น จนกระทั่งวิธีการฆ่าตัวตายซึ่งเสมือนเป็นตัวอย่างของวิธีการแก้ปัญหาของคนที่เกิดความคับข้องทางจิตใจ เมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้ ก็ใช้วิธีฆ่าตัวตาย ดังนั้นสื่อมวลชนจึงถูกมองว่ามีการเสนอข่าวครึกโครมลักษณะเชิงกระตุ้นเร้าอารมณ์ (Sensational news) มากเกินไป กรณีข่าวการฆ่าตัวตาย จะมีส่วนให้เกิดการกระทำตามกันคือการเลียนแบบเกิดขึ้น เพราะในช่วงที่คนมีปัญหามักจะมีความสับสนในด้านจิตใจและอารมณ์ ซึ่งสภาพจิตใจที่เปราะบาง อาจจะทำให้เกิดความคิดชั่ววูบ ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา

              การพยายามฆ่าตัวตาย ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการสูญสิ้นชีวิตหรือผลร้ายต่อตนเอง แต่ยังเป็นการส่งผลกระทบถึงปัจจัยด้านอื่นๆ อีก เช่น ผลกระทบต่อภาวะจิตใจ เศรษฐกิจและสังคม ของครอบครัวและญาตมิตรของบุคคลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลนั้นไม่ตายและได้รับบาดเจ็บหรือพิการจากการกระทำของตนเอง ก็จะกลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคมต่อไปอีก

              ในหลักการของการสื่อสารนั้น มนุษย์ทำการสื่อสารและเปิดรับข่าวสารนั้นก็เพื่อประโยชน์ คลายความเหงา ต้องการเพื่อน ต้องการความบันเทิง หนีจากสภาพปัญหาต่างๆ นอกจากนี้อาจจะตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นตามความต้องการของตน ได้รับรู้ข่าวสารเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ สร้างความพึงพอใจต่อตนเองและอาจมีผลต่อการปรับความรู้ ความคิด และพฤติกรรมได้ ดังนั้นเมื่อพิจารณาผลการวิจัยข้างต้นในปัญหาด้านการสื่อสารแล้วจะพบว่าทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นไม่มีการปรึกษากับผู้ใดซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยเหลือหรือแนะนำแก้ปัญหาให้ได้ คำถามที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็คือ ถ้าผู้คิดฆ่าตัวตายดังกล่าวมีโอกาสได้ปรึกษาหรือได้รับคำแนะนำจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งทำการสื่อสารกันโดยตรงหรือผ่านกระบวนการทางด้านสื่อสารมวลชน เขาจะคิดฆ่าตัวตายไหม? ซึ่งในงานวิจัยดังกล่าวไม่มีคำถามในส่วนนี้

              สำหรับอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจถามผู้คิดฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายก็คือ การเสนอข่าวของสื่อมวลชนเรื่องการฆ่าตัวตายอย่างครึกโครม มีผลอย่างไรบ้างสำหรับการตัดสินใจฆ่าตัวตายของเขา?ในรายงานการสัมมนาโดยกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในปัญหาเรื่องที่มองว่าสื่อมวลชนเสนอข่าวการฆ่าตัวตายอย่างครึกโครมเป็นสาเหตุให้เกิดการฆ่าตัวตายมากขึ้นนั้น เป็นกรณีปัญหาเกิดขึ้นในประเทศออสเตรียเช่นกัน เช่นการฆ่าตัวตายโดยโดดให้รถไฟใต้ดินชน ซึ่งสื่อมวลชนในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในการเสนอข่าวจนทำให้สื่อมวลชนเองได้ร่วมมือกันกำหนดแนวทาง ลดความหวือหวาในการเสนอข่าวฆ่าตัวตายให้น้อยลง ผลปรากฎดังนี้ ในปี 1986-87 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเสนอข่าวครึกโครมเรื่องการฆ่าตัวตายโดยโดดให้รถไฟใต้ดินชนมีคนฆ่าตัวตายสูงถึง 22 ราย และหลังจากสื่อมวลชนงดการเสนอเรื่องการฆ่าตัวตายด้วยวิธีดังกล่าวในปี 1988 ผลก็คือจำนวนผู้ที่คิดฆ่าตัวตายโดยรถไฟใต้ดินลดลงอย่างชัดเจน คือมี 4 รายในปี 1989 และเหลือ 3 รายในปี 1990 รวมทั้งจำนวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายโดยวิธีเดียวกันนี้ก็ลดลงด้วย

              ปัญหาเรื่องฆ่าตัวตายเป็นปัญหาทางสังคมมากกว่าเป็นปัญหาทางการแพทย์แต่เพียงอย่างเดียว แม้ว่าการจัดบริการให้ความช่วยเหลือผู้อยู่ในภาวะวิกฤตของชีวิต และการให้การรักษาทางจิตเวชอย่างถูกต้องจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่มาตรการป้องกันการฆ่าตัวตายคงจะต้องอาศัยความร่วมมือในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ และสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อมวลชนซึ่งมีอิทธิพลและบทบาทมากในสังคมขณะนี้ ควรมีบทบาทและความรับผิดชอบเรื่องปัญหาการฆ่าตัวตายอย่างมากด้วย

              การทำหน้าที่ด้านรายงานข่าว การเสนอความคิดเห็น รวมทั้งการให้ความรู้และคำปรึกษาของสื่อมวลชน น่าจะมีแนวทางในเรื่องต่อไปนี้ 1. การเสนอข่าวฆ่าตัวตาย ควรระมัดระวังการใช้คำพูด และเนื้อหาที่เป็นการยุยงส่งเสริม หรือเกิดการตีความผิดๆ ว่าเป็นทางออกของปัญหา 2. สื่อมวลชนควรหลีกเลี่ยงการอธิบายโดยละเอียดถึงวิธีการและขั้นตอนการฆ่าตัวตาย เพราะจากสถิติของคนอเมริกัน 1 ใน 6 คน มีความคิดฆ่าตัวตายอยู่แล้ว แต่ไม่รู้จะฆ่าตัวตายอย่างไร และมักจะทำสำเร็จเมื่ออ่านจากข่าว 3. ส่งเสริมให้มีการจัดรายการตอบปัญหาทางสุขภาพจิตทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์
             
              สำหรับประชาชน หรือการตอบปัญหาทางหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในปัญหาของบุคคลและครอบครัว เช่น ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ปัญหาด้านความรัก ความผิดหวังด้านการเรียน ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นหนี้สิน เป็นต้น 4. บทบาทของสื่อมวลชนที่ควรให้ความรู้ความเข้าใจ ลบความเชื่อ ความเข้าใจผิดๆ ในเรื่องฆ่าตัวตาย รวมทั้งวิธีการที่จะช่วยให้บุคคลใกล้ชิด เช่น เพื่อน บุคคลในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ช่วยดูแล ป้องกันปัญหาบุคคลใกล้ชิดที่คิดจะฆ่าตัวตาย 

              อาจกล่าวได้ว่าในขณะนี้การศึกษาวิจัยในเรื่องของสื่อมวลชนที่มีต่อปัญหาการฆ่าตัวตายของประชาชน ยังไม่สามารถกล่าวสรุปอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อขัดแย้งเสียทีเดียว ทั้งในแง่ศึกษาจากผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นจากอิทธิพลของสื่อมวลชน ที่มีต่อการฆ่าตัวตายของประชาชน หรือศึกษาอีกด้านหนึ่งคือการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนในการใช้สื่อมวลชน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นค่อนข้างตรงกันว่า สื่อมวลชนมีผลกระทบแน่ๆ ต่อบุคคลซึ่งกำลังตกอยู่ในสภาพที่มีปัญหา มีความเครียดและสับสนทางอารมณ์ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เป็นวัยรุ่นซึ่งจิตใจเปราะบางและขาดประสบการณ์ในการตัดสินใจ

              สื่อมวลชนควรมีบทบาทอย่างไรต่อปัญหาฆ่าตัวตาย คงจะพูดกันได้มากมาย ทั้งในด้านการเสนอข่าว การเขียนข่าว การเสนอความคิดเห็น การให้ความรู้และการตอบปัญหาเรื่องการฆ่าตัวตาย เนื่องจากการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาของสังคมที่นับวันปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้น และถ้าดูที่ต้นเหตุของปัญหาของการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้น ก็จะเห็นว่ามีหลายหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องไม่ทางตรงก็เป็นทางอ้อม ก็จะช่วยให้เกิดกลยุทธการจัดการต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย ได้ดีขึ้นและสามารถปฏิบัติได้ในทิศทางและกรอบนโยบายเดียวกันได้

    แหล่งข่าว เชียงใหม่นิวส์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×