^me^
ดู Blog ทั้งหมด

เรื่องของ...บุหรี่

เขียนโดย ^me^

ประวัติโรงงานยาสูบ

ในปี พ.ศ.2482 รัฐบาลไทยในสมัยนั้น มีนโยบายที่จะให้รัฐ ดำเนินการอุตสาหกรรมยาสูบเสียเอง ทั้งหมด จึงได้เริ่มซื้อโรงงานยาสูบไทย ของห้างหุ้นส่วน บูรพายาสูบ จำกัด ที่สะพานเหลือง ถนนพระราม 4 มาดำเนินงาน ภายใต้การควบคุมของ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2482 โดยมีชื่อว่า โรงงานยาสูบ ไทยสะพานเหลือง ภายหลังเป็น โรงงานยาสูบสรรพสามิต 2 และถือว่าวันนี้เป็น "วันสถาปนาโรงงานยาสูบ"

p_old08.gifกิจการยาสูบได้เริ่มขยายตัวใน พ.ศ. 2484 เมื่อรัฐบาล ได้รับซื้อโรงงานผลิตบุหรี่ ของบริษัทกวางฮก และบริษัทฮอฟฟัน มาสมทบอีก และยังรับซื้อโรงงานผลิตบุหรี่ ที่ตำบลบ้านใหม่ ถนนเจริญกรุง (ร.ย.ส.1) พร้อมกับกิจการ เพาะปลูกใบยา ของบริษัทยาสูบอังกฤษ - อเมริกัน(ไทย) จำกัด หรือเรียกโดยย่อว่า บริษัท บี.เอ.ที. การรับซื้อรายหลังนี้ มีเงื่อนไขว่าเจ้าหน้าที่ บี.เอ.ที. ประมาณ 10 นาย จะให้ความร่วมมือดำเนินงาน ในฐานะหัวหน้างานส่วนต่างๆ ต่อไป จนสิ้นปีภายใต้การควบคุม ของกรมสรรพสามิต โรงงานยาสูบที่รัฐบาล รวมซื้อมาดำเนินงานนี้เรียกว่า "โรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต" และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า "Thailand Tobacco Monopoly"

โรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต ได้ดำเนินกิจการตามระบบ งาน ของบริษัทบี.เอ.ที. เรื่อยมา ขณะนั้นได้แบ่งหน่วยงาน เป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายโรงงาน ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี และฝ่ายไร่

การดำเนินงานในระยะนั้น ต้องประสบกับปัญหายุ่งยาก นานาประการ เช่น ประชาชนไม่นิยมเมื่อทราบว่า การประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ ได้เปลี่ยนมือจากบริษัท บี.เอ.ที. มาเป็นของกรมสรรพสามิต การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา และการกักตุนบุหรี่ที่เกิดขึ้นตามมา เป็นต้น เมื่อทหารญี่ปุ่นเข้ายึด โรงงานผลิตบุหรี่ที่บ้านใหม่ และสำนักงานใหญ่ของกองการยาสูบ โดยความเข้าใจผิด ในตอนปลายปี พ.ศ. 2484 เจ้าหน้าที่ บี.เอ.ที. ซึ่งบริหารงานอยู่ ในโรงงานยาสูบ ตามเงื่อนไข บางคนได้หลบหนีออกไปนอกประเทศ และบางคนถูกทหารญี่ปุ่นควบคุมตัวไว้ เป็นเหตุให้กิจการยาสูบ ในระยะนี้ต้องหยุดดำเนินการ จนกระทั่งได้มีการเจรจาทางการเมือง ให้ทหารญี่ปุ่นถอนตัวไปจากโรงงาน แล้วกองการยาสูบ กรมสรรพสามิต จึงได้จัดเจ้าหน้าที่ไทยเข้าดำเนินงานแทนเจ้าหน้าที่ บี.เอ.ที.

โรงงานยาสูบโดยเจ้าหน้าที่ไทยบริหารกิจการยาสูบ ระหว่างสงคราม (พ.ศ. 2485-2488) ต้องเปลี่ยนสังกัดครั้งหนึ่ง เมื่อมีการประกาศ พระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2485 ให้โอนโรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม แต่ต่อมาใน เดือนตุลาคม 2486 โรงงานยาสูบจึงได้กลับมา สังกัดกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ตามเดิม

ttm_build.gifปี พ.ศ.2486 รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2486 ให้การประกอบอุตสาหกรรม ซิกาแรต เป็นอุตสาหกรรมผูกขาดของรัฐ ในขณะนั้นโรงงานยาสูบ ประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ การผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบยา เนื่องจากการขนส่งใบยา เป็นไปด้วยความยากลำบากเพราะภัยทางอากาศ และโจรภัย การขาดแคลนใบยาจึงเป็นสาเหตุสำคัญ ซึ่งทำให้โรงงานยาสูบไม่สามารถผลิตบุหรี่ออกจำหน่าย ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด

ปี พ.ศ.2487 ได้มีการดัดแปลงโกดังเฮาะฮวง ถนนวิทยุ ให้เป็นโรงงานบุหรี่อีกแห่ง แต่ในที่สุด ก็ถูกเพลิงไหม้ใน พ.ศ. 2489

ปี พ.ศ.2488 โรงงายาสูบประสบปัญหาขาดแคลนใบยา และกระดาษมวนบุหรี่อย่างหนักที่สุด ถึงกับต้องปิดโรงงาน สะพานเหลือง และที่ถนนวิทยุ คงเปิดทำการผลิตที่โรงงานบ้านใหม่เพียงเดียว ปี พ.ศ. 2489 เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว โรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต จึงได้ติดต่อกับบริษัท บี.เอ.ที. ขอดำเนินการตามสัญญาและเงื่อนไขการซื้อขายกิจการเมื่อ พ.ศ. 2484 ต่อไป และได้ ตกลงกันเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2489 บริษัท บี.เอ.ที. ยินยอมให้โรงงายาสูบ ยืมเจ้าหน้าที่ของบริษัทมาร่วมงาน โดยโรงงานยาสูบ จะต้องจ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่ บี.เอที. และจ่ายค่าป่วยการให้แก่บริษัทฯ เดือนละ 2,000 ปอนด์ กับ ค่าธรรมเนียม 3 เพนนีต่อใบยา ที่ใช้ผลิตบุหรี่ทุกกิโลกรัมอีกด้วย คณะเจ้าหน้าที่ บี.เอ.ที. เริ่มปฏิบัติงานในเดือนเมษายน 2489 ได้ทำการสำรวจงาน ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงรูปงานหลายอย่าง เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กิจการยาสูบจึงเข้าสู่สภาพเรียบร้อยเป็นปกติ

ปี พ.ศ.2490 กิจการยาสูบเจริญรุดหน้าเป็นลำดับ ผลิตบุหรี่จากโรงงานบ้านใหม่เพียงแห่งเดียว แต่มีปริมาณการผลิตสูงกว่า พ.ศ.2489 ถึง 3 เท่า

ปี พ.ศ.2491 เปิดโรงงานสะพานเหลืองอีกแห่งหนึ่ง ปริมาณการผลิตบุหรี่ทั้งสองโรงงาน จึงเพิ่มมากกว่าปี พ.ศ.2489 ถึง 5 เท่า ทั้งนี้เพราะมีวัสดุอุปกรณ์การผลิตครบครัน ประกอบกับพนักงาน มีความชำนาญงานมากขึ้นด้วย

ปี พ.ศ.2492 วันที่ 12 มกราคม ผู้แทนของบริษัท บี.เอ.ที. ได้ยื่นคำร้องขอให้โรงงานยาสูบ พิจารณาเพิ่มเงินเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ที่ปฏิบัติงานอยู่กับโรงงานยาสูบ กับขออนุญาตส่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จากต่างประเทศ เข้ามาฝึกงานเป็นครั้งคราวอีกด้วย โรงงานยาสูบยินดีสนองความประสงค ์ของบริษัท บี.เอ.ที. แต่โรงงานยาสูบขอร้องให้บริษัท บี.เอ.ที. เลิกเก็บค่าธรรมเนียม ในอัตรา 3 เพนนีต่อใบยาที่ใช้ผลิตบุหรี่ ทุกกิโลกรัมเสีย ผลการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันได้ บริษัท บี.เอ.ที. จึงถอนเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ กลับไปหมด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2492 โรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิตจึงเริ่มบริหารและดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ไทยทั้งหมดอีกวาระหนึ่ง

ปี พ.ศ.2493 ศูนย์อำนวยการโรงงานยาสูบ ได้ย้ายจากบริเวณ โรงงานสะพานเหลือง ไปอยู่ที่ถนนราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะรวมส่วนงานต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตให้อยู่ในที่เดียวกัน และให้โรงงานสะพานเหลืองมีโอกาสขยับขยายบริเวณ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต ในปีนี้โรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต ได้ซื้อที่ดินที่ตำบลคลองเตยเนื้อที่ประมาณ 641 ไร่ จากสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ และต้องจ่ายเงินค่ารื้อถอนและเงินชดเชยจำนวน 3 ล้านบาท ให้กับผู้เช่าที่ดินอยู่เดิม ttm_2501.gifซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์และทำสวนผักประมาณ 750 หลังคาเรือน เมื่อที่ดินตอนใดว่างลงก็ดำเนินการปลูก สร้างอาคารต่าง ๆ ตามกำลังทุน และลำดับความจำเป็น

ปี พ.ศ. 2496 ย้ายศูนย์อำนวยการโรงงานยาสูบ จากถนนราชดำริ เข้ามาอยู่ในอาคารหลังหนึ่งซึ่งสร้างเพื่อใช้เป็นโรงงานช่างกลเป็นการชั่วคราว ในอาณาบริเวณ 600 ไร่เศษ ที่ถนนพระราม 4 คลองเตย

ปี พ.ศ.2497 โรงงานยาสูบได้เปลี่ยนสังกัด จากกรมสรรพสามิต มาสังกัดกระทรวงการคลัง โดยตรง

ปี พ.ศ.2501 ย้ายศูนย์อำนวยการจากอาคารโรงงานช่างกล มาอยู่ที่ตึกอำนวยการซึ่งสร้างใหม่ และใช้เป็นสถานที่นี้ เป็นศูนย์อำนวยการกิจการยาสูบ มาจนทุกวันนี้ และเรียกชื่อตึกนี้ว่า ตึกชำนาญยุทธศิลป์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงงานยาสูบ กระทวงการคลัง

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
หยุดผลิตและนำเข้าเถอะคนติดและตายกันหมดแล้ว คุณฆ่าคนมากมายแล้วขอให้กรรมตามทัน