ประวัติวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี+เรื่องเล่าชาวรั้วน้ำเงิน-ขาว - ประวัติวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี+เรื่องเล่าชาวรั้วน้ำเงิน-ขาว นิยาย ประวัติวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี+เรื่องเล่าชาวรั้วน้ำเงิน-ขาว : Dek-D.com - Writer

    ประวัติวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี+เรื่องเล่าชาวรั้วน้ำเงิน-ขาว

    โดย Ryuji

    วันนี้ ผมมีเรื่องเล่ามันส์ ของชาวเทคนิคปทุมฯ ที่จะเอามาเล่าให้เพื่อนๆฟัง รับรองมันส์แสบคัน สุดไปเลยครับผม ติดต่อพูดคุยได้ YouTube: ปาพน

    ผู้เข้าชมรวม

    37,961

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    87

    ผู้เข้าชมรวม


    37.96K

    ความคิดเห็น


    200

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 พ.ค. 56 / 14:05 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    ตราสัญลักษณ์ประจำวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี (พระวิศณุบัวหลวง)

    เรื่องเล่าประวัติ วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี และความลับในรั้วเทคนิคปทุมฯ

    ของเหล่า ชาวลูกพระวิศณุบัวหลวง รั้วน้ำเงิน-ขาว



    ติดตามพูดคุยทางช่อง Youtube: ปาพน
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


        

       

      เข็มตราพระวิศณุบัวหลวง          สัญลักษณ์พระวิศณุบัวหลวง



      1.วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ก่อสร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2482 เปิดรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาช่างไม้ และช่างปูน ใช้
      เวลาเรียน 3 ปี

      2.ต่อมากรมอาชีวะได้ประกาศเปลี่ยนฐานะโรงเรียนช่างไม้ปทุมธานี เป็นโรงเรียนการช่างปทุมธานี

      3.พ.ศ.2519 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคนิคปทุมธานี

      4.พ.ศ.2523 กรมอาชีวศึกษาได้ประกาศยกฐานะเป็น วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2523

      5.สัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย  คือ  พระวิษณุกรรม เป็นเทพองค์หนึ่งที่สำคัญของพราหมณ์ ซึ่งถือเป็นเทพแห่งช่าง
      พระวิษณุกรรม แฝงความหมายไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือ ความแม่นยำ
      เที่ยงตรงไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณแห่งช่างทั้งหลาย วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานีได้เลือก
      1.รูปหน้าองค์พระวิษณุกรรมเพื่อเป็นเครื่อง
      เตือนใจ
      ให้นักเรียนเป็นผู้มีความเที่ยงตรง หนักแน่น ซื่อสัตย์ ในการศึกษาหาความรู้
      2.ดอกบัวหลวงล้อมรอบ ซึ่งดอกบัวหลวงนี้บ่งบอกถึงการเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำของจังหวัดปทุมธานี และประเทศไทย
      3.คำบาลี  ทนุโต  เสฎโร
        มนุสุเส  สุ แปลว่า มนุษย์ผู้ที่ได้ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ

      6.
      สีประจำวิทยาลัย     คือ น้ำเงิน  - ขาว
      น้ำเงิน-- คือความเข้มแข็ง อดทน เป็นเลิศทาง วิชาชีพและวิชาการ
      ขาว -- คือ การให้อภัย  ความมีวินัย เป็นธรรมและความที่จิตใจสะอาดและบริสุทธิ์  ของนักเรียน-นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี


      7.เดิม โรงเรียนช่างไม้ปทุมธานี อยู่ที่บ้านเมี่ยง ตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

      8.ในปี 2490 ย้ายมาตั้งที่วัดโพธิ์นอก ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากที่เดิมอยู่ไกลชุมชน

      9.ในปี พ.ศ.2495 ได้ย้ายจากที่วัดโพธิ์นอก ข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาอยู่บริเวณวัดลุ่ม ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน

      10.ในปี พ.ศ.2493 โรงเรียนช่างไม้ปทุมฯ เคยถูกสั่งยุบ เนื่องจากมีผู้เข้าเรียนน้อย ค่าใช้จ่ายเยอะ

      11.ต่อมา นายสุขุม ชัยสมบัติ ศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี ได้ขออนุญาต  เปิดโรงเรียนนี้ขึ้นมาใหม่ มีนักเรียนทั้งหมด 20 คน

      12.สมัยก่อนเคยมี โรงเรียนการช่างชายปทุมธานี และ โรงเรียนการช่างสตรีปทุมธานี แต่ตอนนี้รวมเป็นโรงเรียนเดียวกันแล้ว

      13.วิชาแรกที่เปิดสอน คือ วิชาช่างไม้ และช่างปูน

      14.สมัยก่อนเทคนิคปทุมฯ เคยมาภาคสมทบ เสาร์-อาทิตย์ ภาคค่ำ  แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว

      15.ตอนนี้มี ภาคปกติ กับ ทวิภาคี(DVT) แทน

      16.แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นแผนกที่รวมหนุ่มหล่อ+อาจมีแผนกอื่นด้วยมั้ง - - *

      17.และแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ก็เป็นแหล่งรวม สาวสวย+น่ารักประจำวิทยาลัย ด้วย อิอิ

      18.แผนกช่างก่อสร้าง เป็นแผนกที่ เก่าแก่ที่สุด และแต่งตัวสุดฮิพ

      19.แผนกที่เป็นขวัญใจ สาวๆ  น่าจะเป็นเด็กช่างมั้ง  T0T

      20.ใครเคยสังเกตบ้างเวลา เดินผ่านอาคารแผนกคหกรรมอาหาร อ่ะ กลิ่นอาหารหอมฟุ้งออกมาทีเดียวเลยแหละ

      21.ตอนกลางวันโรงอาหาร 1 คนเยอะมากๆเลย อ่ะ (เซ็งเป็ด)

      22.โรงอาหาร2 กว่า 80% เป็นเด็กช่างมานั่งกินข้าว

      23.ใครตกน้ำที่ท่าเรือ ถือว่า ดวงซวย สุดๆๆ 55+

      24.ห้องเน็ตล็อค ห้ามเข้า Hi5 (แต่นักเรียน-นักศึกษา แอบหาเว็บบล๊อกมาเข้าไปจนได้55+)

      25.บางคนชอบเปิดเว็บโป๊ ที่ห้องเน็ตเห็นประจำ - * -  (ช่างกล้าจังว่ะ)

      26.ห้องสมุดเสียงดังจัง (ตกลงไว้อ่านหนังสือหรือไว้คุยกันแน่ เพราะแอร์มันเย็น~~~)

      27.เวลาข้ามเรือ ถ้าสังเกตดีๆ เจ๊แก หน้าตาบึ้งตึง ตลอกเวลาเลย

      28.สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวเทคนิคปทุมฯ สักการะ กัน คือ พระพุทธรูปปางยืน ศาล ตา-ยาย  โบสถ์ และ องค์พ่อ (พระวิษณุกรรม)

      29.หอพัก ฝั่งโบสถ์ ตอน 6 โมงเย็น น่ากลัวมากๆ ลองมองขึ้นไป ซิ !!!!

      30.ลานโพธ์ เป็นสถานที่หนึ่งที่สำคัญ สำหรับชาวนิคทุม เพราะใช้เวลาว่างมานั่งคุย+อ่านหนังสือกัน

      31.ส่วนมากอาคารเฉลิมพระเกียรติ์ 60ปี มีห้องแอร์ ทำให้เวลาเรียนนั้นหลับสบายจัง ^ ^

      32.อาคารเฉลิมพระเกียรติ์ฯ ตอนเย็นๆ เงียบมากๆ 55+

      33.ห้องน้ำที่อาคาร2 ชั้น4 เงียบจนน่ากลัว + บรรยากาศเก่าอ่ะ

      34.ลิฟที่ตึกเฉลิมพระเกียรติ์ บางทีไม่มีคนกดลิฟ แต่ลิฟ กับเปิดเองได้ คิดดูซิ !!!!

      35.ใครข้ามเรือ จ่ายแบงค์ร้อย รับรองเจ๊แกทอน ให้เหรียญบาทไปทั้ง ถุง ให้หนักกันไปข้างเลย

      36.เด็กเทคนิคปทุมฯ แต่งตัวเก่ง+สะอาด กว่า เด็กเทคนิคธัญบุรี อีก จริงๆนะ (แอบแหน็บเค้าอีก ^  ^ )

      37.วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี เป็นสถาบัน อาชีวะ ที่เก่าแก่ระดับต้นๆ ของประเทศ เลย

      38.วิสัยทัศน์ เทคนิคปทุมธานี คือ..เป็นสถาบันอาชีวศึกษา ชั้นนำของประเทศและมีคุณภาพระดับสากล

      39.สำนักงานสมาคมผู้ปกครองและศิษย์เก่า วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ อยู่ที่ โรงอาหาร2 (แต่ตอนนี้เห็นเครื่องดนตรีไทยเต็มไปหมดเลย)

      40.ทุกๆ ปี จะมีงานสามาคมศิษย์เก่า วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ (แต่มักไม่ค่อยจะบูมแหะ)

      41.วันสถาปนา เทคนิคปทุมฯ คือ 14 กันยายน ของทุกปี

      42.ปี2549 สาขาที่เปิดใหม่คือ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

      43.เอก ณ ลานโพธิ์ เป็นที่รู้จัก กันดีของเด็ก นิคทุม ทุกคน อิอิ+

      44.ข้างหน้าวิทยาลัย มีขี้หมาเยอะจัง (เห็นแบนๆแสดงว่ามีคนไปเหยีบ เเหง๋มๆ)

      45.โรงยิม เทคนิคปทุมฯ เก่าจังเลยอ่ะ (แต่ขลังนะ จะบอกให้55+)

      46.เทคนิคปทุมฯ เป็นสถาบันอาชีวะ ต้นๆ ของประเทศที่มีวงโยธวาทิต (เพราะแต่ก่อนใช้วงโยฯ ของเด็กคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี)

      47.ในปี 2552 เทคนิคปทุมฯ มีอายุ ครบ 70 ปี แล้วนะ !!!

      48.วิทยาลัยเทคนิค ปทุมธานี จัดได้ว่าเป็นสถาบันอาชีวศึกษา ที่ติดอันดับ 1 ใน10 ซึ่งเป็นสถาบันที่ดี+น่าเรียนระดับประเทศ (ดีใจจังวุ้ย)

      49.วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี ได้รับรางวัลพระราชทาน ซึ่งเป็นรางวัล ในปี 2547 ที่พวกเราชาวเทคนิคปทุมฯ ภาคภูมิใจกันเป็นอย่างมาก

      50.ในช่วงระหว่างงาน พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ พระพี่นางฯ วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ ได้ถวายงานรับใช้ เครื่องเสียง ณ ที่ท้องสนามหลวง ทำให้
      ได้เข็มพระราชทานมา เป็นรางวัลที่น่า ภูมิใจอีกแล้ว อิอิ

      51.จุดเด่นของ เทคนิคปทุมฯ คือ รูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งอยู่บนยอดอาคารเฉลิมพระเกียรติ์ฯ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ ไกลๆ

      52.อาจารย์ ที่สอนวิชา สามัญ ส่วนมากมักใจดีกว่าอาจารย์แผนก (จริงเปล่าอันนี้ไม่รู้)

      53.ผอ. คนปัจจุบันของเทคนิคปทุมฯ(ผอ.วิรัตน์) มี ฉายา ที่ได้จาก ชาวเทคนิคปทุมฯว่า..โนบิตะผู้รักธรรมชาติ

      54.เพราะอะไรน่ะเหรอ ก็เพราะ แกชอบการปลูกต้นไม้ เป็น ชีวิต จิตใจ อ่ะซิ๊ !!!!

      55.ป้ายชื่อ วิทยาลัย ตรงท่าน้ำ เก่าแล้วไม่มีคนซ่อมแซมเลย (ปล่อยให้ ร.ร.หลังคาแดงดูสะอาดกว่าอีก หุหุ)

      56.โรงเรียนในดงตาล ผู้หญิงแต่งตัวเปรี๊ยวจี๊ด ถุงเท้าสีดำ ส่วนผู้ชาย หน้าเถื่อนๆ+แก่ๆ อ่ะ (ไปวิจารย์ เค้าอีกแล้วเรา)

      57.ชาวเทคนิคปทุมฯเรา จงภูมิใจไว้ว่าเราคือ สถาบันอาชีวศึกษาชั้นนำของประเทศ โรงเรียนในดงตาลหลบไป!!!  โรงเรียนในหลืบ(แหลม)หลีก ไป !!!

      58.ขนมฝั่ง ปทุมฯ อร่อยจัง แม่ค้าก็ใจดี๊ ใจดี ระวังอ้วนนะครับกินเยอะๆอ่าะน่ะ

      59.ใครที่อยากเข้า มหาวิทยาลัย ต้องคอยฟัง+ดูข้อมูลกันให้ดีๆ เพราะไม่มีใครผลักดันคุณ ถ้าคุณ ไม่ขวยขวายอยากเรียนรู้

      60.พี่ๆ ที่ห้องเซลฟ์ มักชอบ ดุ น้องๆ ที่มาใช้คอมฯกัน

      61.ส่วนห้องเน็ต เปิด 8.00 น. ปิด 19.00 น (เปิดก็ช้า พักเที่ยงก็นาน 55++ มีแฉ หุหุ) แต่แอร์เย็นนะ~~

      62.ที่ดินของ วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ รวมทั้ง ร.ร.คณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี และวัดโบสถ์ ใช้โฉนด ตัวเดียวกัน มีเนื้อที่ 69 ไร่

      63.เทคนิคปทุมฯ มีชื่ออย่างเป็นสากลว่า  PTTC  ซึ่งย่อมาจาก
      Pathumthani Technical College


      64.ถ้าใครเคยไปท่าพระจันทร์ สังเกตดีๆ จะนึกว่าฝั่งปทุมฯคือ วังหลัง นั่งเรือข้ามมา ฝั่งเทคนิค คือ ธรรมศาสตร์ คล้ายกันป่ะละ ฮิฮิ


      65.เรามักจะเรียกตัวเองว่า รั้ว น้ำเงิน-ขาว

      66.เราคือ ลูกพระวิศณุบัวหลวง

      67.อาชีวศึกษาประเทศลาว ยังเคยเข้ามาดูงานการเรียนการสอนที่เทคนิคปทุมฯ เพื่อที่จะนำไปเป็นต้นแบบของประเทศลาว  เห็นป่ะ ว่าเทคนิคปทุมฯ ดังข้ามประเทศเลยน๊า

      68.นักเรียน-นักศึกษา ของเทคนิคปทุมฯได้แข่งขันในงานนักเรียน-นักศึกษา องค์การวิชาชีพซึ่ง นักเรียน เทคนิคปทุมฯ ได้สร้างผลงานชนะเลิศที่ 1 ของประเทศ เลยทีเดียว ภูมิใจจัง อิอิ

      69.เข็มตราพระวิศณุบัวหลวง ถ้าใครได้ใส่จะภูมิใจในเกียติ์ภูมิในสถาบันของตนเองเป็นอย่างมาก (ส่วนมากก็ผู้ หญิง นั่นแหละที่ได้ติดเข็ม)

      70.แล้วเข็มพระวิศณุบัวหลวง ก็ประกอบไปด้วย น้ำเงิน-ขาว ซึ่งเป็นสีของรั้ว เทคนิคปทุมฯ เรา

      71.ใครสงสัยบ้าง..ว่าทำไม เด็กเทคนิคปทุมฯ คือ ลูกพระวิศณุบัวหลวง

      72.ก็ตราสัญลักษณ์ ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า.."บัวหลวงทั้ง 10 ดอก ล้อมรอบ องค์พระวิศณุอยู่ " 
      ปล.บางที่ ก็ 8  ดอก แล้วแต่โอกาส

      73.เทคนิคปทุมฯ มีนักเรียนซึ่งเดินทางมาเรียนจากบ้านมีดังนี้
      1.กรุงเทพฯ 2.ปทุมฯ 3.นนทบุรี 4.อยุธยาฯ 5.นครนายก

      74.ใครสังเกตมั่ง ว่าเทคนิคปทุมฯ ไม่เคยมีป้าย บอกทางมาวิทยาลัย ซึ่งมันเป็นเรื่องจริง

      75.คลื่นวิทยุ R-redio Network Pathumthani (คลื่นเทคนิคปทุมฯ) 106.25 MHZ ระยะฟัง 20 กิโลฯ รอบวิทยาลัย แต่ถ้าอยากฟังจริงๆ ก็ฟังทางอินเตอร์เน็ตอ่ะ ได้เหมือนกันนะ

      76.DJ. บางคนหน้าตาดี บางคนดูมิได้ แต่..เสียงมันหล่อ+สวย นะ เฟ้ย!!!

      77.เทคนิคปทุมฯ น่าจะ มีแผนกการต่อเรือ นะ เพราะอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ถ้ามีเจ๊ท่าปทุมฯ คงโดนแย่งลูกค้าแน่ๆเลย!!)

      78.เทคนิคปทุมมีชื่อก่อนที่จะยกฐานะเป็นวิทยาลัย อยู่ด้วยกัน 4 ยุค
           1.โรงเรียนช่างไม้ปทุมธานี (พ.ศ.2482)
           2.โรงเรียนการช่างชายและการช่างสตรีปทุมธานี (พ.ศ.2502)
           3.โรงเรียนการช่างปทุมธานี (พ.ศ.2512)
           4.โรงเรียนเทคนิคปทุมธานี (พ.ศ.2519)

      79.ชุดนักเรียน ปวช.หญิง เหมือน ชุด ม.ปลายสามัญ แต่ไม่มีจีบที่แขน

      80.และนักเรียนหญิงบางคนดึงถุงเท้าขึ้นมาสูง จนมีคนกระซิบว่า..นั่นเธอจะไปเตะฟุตบอลที่ไหนเหรอ 55+++

      81.ในบางปี เทคนิคปทุมโชคร้าย เพราะฝนตกหนัก น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้ามา ในวิทยาลัย ทำให้ต้องหยุดเรียน (นักเรียนโชคดีมากกว่า~~)

      82.วงโยฯเทคนิคปทุมฯ มีเครื่องแบบประจำวงฯ แต่อาจารย์ที่ควบคุมวงฯไม่ยอมให้ใส่ (อ้าวทำไมไม่ให้ใส่ล่ะ)

      83.ส่วนชุดนักเรียนชาย เสื้อนักเรียน กางเกงสีกรมท่า ไม่ปักชื่อ (ถ้าปักชื่อเทคนิคธัญบุรี แถมบางคนไม่ปักชื่อ อยากเหมือนเทคนิคปทุมฯ กับ เทคนิคดอนเมือง ~~) ล้อเล่นนะ วิ๊ดวิ๊ววว

      84.วิธีนับ รุ่น คือ เด็กที่เข้า ปี 2552 นี้คือ รุ่น 70 ส่วน รุ่นแผนกก็ลองหากันเอง นะก๊าบบผ๋ม

      85.นักเรียน ปวช. เทคนิคปทุมฯ ได้รับรางวัลพระราชทาน ในปี2551 ซึ่งเป็นรางวัลพระราชทานนักเรียนที่มีคุณภาพดีเยียม ที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่

      86.จากการสำรวจของ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(สอศ.) เกี่ยวกับข้อมูลนักเรียนปี2552 ระดับ ปวช.ปรากฏว่า นักเรียน ปวช.1-3 ของเทคนิคปทุมฯ มีจำนวนมากเป็นอันดับ2ในประเทศไทย (3,877คน)

      87.เทคนิคปทุมฯมีทางเข้า อยู่ 4 ทาง 1.หน้าวิทยาลัย 2.ฝั่งร.ร.คณะราษฎรบำรุงปทุมฯ 3.ฝั่งรถสาย90 และ4.ฝั่งท่าเรือ

      88.รถประจำทางที่ผ่าน **สายรังสิต-ปทุมฯ ** **สาย90ท่าน้ำปทุมฯ**
      **สาย33สนามหลวง-ฝั่งปทุมฯ** **ปทุมฯ-ปากเกร็ด** **ปทุมฯ-นวนคร** เป็นต้น

      89.เทคนิคปทุมฯ มีอาคารเรียน 9 อาคาร โรงฝึกงาน 2 หลัง 
      หอพัก ครู-พนักงาน-นักการ วิทยาลัย 1 อาคาร และโบสถ์ 1หลัง  
      บ้านพักอาจารย์7-10 หลังคาเรือน

      90.ใจกลาง ของลานโพธิ์ มีเจดีย์ขนาดใหญ่และสวยมาก อยู่ตรงกลาง ซึ่งว่ากันว่ามีมาประมาณ 200กว่า ปีแล้ว

      91.โบสถ์เทคนิคปทุมฯ มีพระพุทธรูป 3 องค์ ว่ากันว่า เป็น พระ3 พี่น้อง

      92.และข้างในโบสถ์ก็มี ประติมากรรมอันสวยงามอีกด้วย

      93.วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ เป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษา ของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะคอยให้ความช่วยเหลือ ประชาชนที่ทุกข์ยาก และประชาชนภายนอก ก็มักจะเข้ามาในวิทยาลัย บ่อยเช่นกัน

      94.และถ้าใครได้เข้าเรียน ปวช.1 กิจกรรมจะมีให้คุณเลือก
      คือ วิชาลูกเสือวิสามัญ แต่ถ้าใครไม่ชอบ จะมีให้เลือก อีก 5 สาย
      1.นักดนตรีวงโยธวาฑิต 2.นักเรียน-นักศึกษาองค์การวิชาชีพ
      3.ดนตรีสากล 4.ดนตรีไทย 5.รักษาดินแดน(รด.)

      95.เทคนิคปทุมฯมี เซเว่นเป็นของตัวเองด้วย นั่นคือ เซเว่นสาขาเทคนิคปทุมฯ เพราะใช้เนื้อที่ของเทคนิคปทุมฯ ในการขายของ

      96.วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ เป็นวิทยาลัยที่มีกฎระเบียบเนี๊ยบมาก เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานต่างๆที่อยากได้นักเรียน-นักศึกษาเข้ามาทำงานด้วย

      97.ผู้ชายไว้ผมยาว เสื้อ นร. กางเกง นร. ผิดระเบียบ ผู้หญิงกระโปรงสั้น+แอบปล่อยผม ดึงถุงเท้าสูง คนพวกนี้มักจะเรียนอย่างไม่ค่อยมีความสุข เพราะต้องคอยหลบอาจารย์ฝ่ายปกครอง+ฝ่ายแผนกสาขา ของตนเองด้วย

      98.ราชมงคลธัญบุรี เคยเสนอให้ เทคนิคปทุมฯ เป็นราชมงคลปทุมฯด้วยแต่เทคนิคปทุมฯปฎิเสธ เนื่องจากถ้าเป็น มหาลัยแล้ว นักเรียน ปวช.ก็จะไม่มีที่เรียน อาจทำให้นักเรียนเดือดร้อนกันได้

      99.คนนอกมักมองว่าพวกเราหยิ่ง อันที่จริงก็เป็นเฉพาะบางคน แต่ส่วนมากก็ง๊องๆแง๊งๆทั้งนั้นแหละ เหมือน ร.ร.ทั่วไปอ่ะนะ แต่ก็มีบางคนที่เคร่งเครียดกับการชอบทะเลาะวิวาท (เอาน่าก็เข้าใจเพราะมีศัตรู) แต่ถึงยังไงพวกเราก็รักสงบนะ และพร้อมปกป้องสถาบันไม่ให้ใครลบหลู่ และไม่ให้ชื่อเสียงต้องด่างพร้อย

      100.หอประชุมที่ วิทยาลัยมี 2 หอ หอใหญ่กับหอเล็ก 
      หอใหญ่อยู่อาคาร3 ชั้น2 และหอเล็กอยู่อาคาร 9 ชั้น 2

      101.เด็กการขาย มีร้านฝึกงานเป็นของตัวเองด้วยอยู่อาคาร5 ริมน้ำ

      102.เด็ก การโรงแรม เด็กเลขาฯ เด็กโลจิสติกส์ มีเครื่องแบบที่ใส่
       คือ ชุดสูท แต่ละสาขาใส่ไม่เหมือนกันนะ (ต้องสังเกตกันเอาเอง)

      103.ครูฝึกทหารที่ ร.ร.รักษาดินแดน(ศูนย์ใหญ่) มักชื่นชมและชอบเด็ก
       เทคนิคปทุมฯ ม๊าก มาก เรื่องจิงไม่อิงนิยาย

      104.เทคนิคปทุมมีชื่อเรียกหลายอย่างมาก
      เช่น วทป.  วท.ปทุมธานี  เด็กนิคทุม 

      105.เรามักจะเรียกสาขาตัวเองว่า..(เท่าที่ทราบนะ)
      เช่น..ก่อปทุม เชื่อมปทุม คอมปทุม

      106.มีบางครั้ง  เวลา ร.ร.อื่นไป ตี กับ คู่อริ  มักใช้ชื่อเทคนิคปทุมฯ เพราะต้องการทำให้ วิทยาลัย เสียชื่อเสียง (เรื่องจริงเคยได้ยินมา)

      107.ที่วิทยาลัยจะใช้คำนำหน้าว่า --นักเรียน----นักศึกษา

      108.นักเรียน คือ เด็กปวช.เพราะ เป็น ม.ปลายสายอาชีพ
             นักศึกษา คือ ปวส. เพราะ พวกเขาเรียนอยู่ระดับอนุปริญญาตรีแล้ว

      109.เทคนิคปทุมฯ มีเรียนตั้งแต่ 08.00น.-19.00น.

      110.รองเท้าที่นักเรียนชายนิยมใส่กัน เต็ม100%
            52% นันยาง    28%โกลซิตี้    15%รองเท้าผ้าใบดำไม่มียี่ห้อ 
            5%รองเท้ายาง

      111.วิทยาลัยได้รับมาตรฐาน การประเมินสถานศึกษา จากสำนักงานมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อยู่ในระดับดีมาก และได้คะแนน 4.30 ซึ่งอยู่ในระดับดี  (คะแนนสูงมากๆเลย)

      112.เวลามีการซ้อมแข่งเรือประเพณี มักจะผ่านท่าน้ำเทคนิคปทุมฯ และพวกเราก็มัดตื่นเต้นกันทุกปี

      113.ว่ากันว่าแม่น้ำเจ้าพระยา มีจระเข้ยักษ์นอนขวางอยู่ใต้แม่น้ำ

      114.หอประชุมใหญ่ อาคาร3 สร้างใหม่ สดใส ไฮโซ มากๆเล๊ยๆๆ

      115.ปี 2552 รู้สึกว่า เด็กคอมฯ He She แร๊งจริง!!

      116.เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่า ช่างก่อสร้างเป็นแผนกที่เก่าแก่ที่สุด ในวิทยาลัย

      117.แต่ที่แน่ๆ แผนกที่มีนักเรียน-นักศึกษา มากที่สุดในวิทยาลัย
       คือ เด็กคอมฯ

      118.เทคนิคปทุมเปิดรับ สมัคร ต่อ ปวช.1 ปีละ 1,500 คน

      119.วิธีการเข้าเรียนต่อ เทคนิคปทุมฯ มี 3 วิธี
      ***1.เด็กโควตา 2.เด็กสอบตรงเข้า 3.เด็กเส้นๆทั้งหลาย

      120.ทุกๆปี จะมีคนมักถามว่า สายสามัญVSสายอาชีพ สายไหนดีกว่ากัน

      121.ก็ตอบว่าแล้วแต่คนๆนั้นว่า ถนัดด้านไหนอ่ะ มันมีดีคนละแบบ และมีข้อเสียกันคนละแบบ ไม่มีใครจะวัดได้หรอกว่า สายไหนดีกว่ากัน

      122.ตั้งแต่มี โครงการเรียนฟรี15ปี ค่าเทอมของ ปวช1-2 ในเทอม2 นี้
      จ่ายให้ วิทยาลัย แค่ 60 บาทเอง (ถูกมากๆ ถูกจนน่าเกลียดอ่ะ) 
      คิดมากน่าดีแย้ว (ปวช.3น่าจะ 60 บาทด้วยเนอะ)

      123.รด. ปี1-2 ถูกย้ายที่เรียนใหม่ไปที่บางเขนแล้ว เพื่อความสะดวกสบายแก่นักเรียน (จากเดิมเรียนที่แจ้งวัฒนะ)

      124.ใครสงสัยมั่งว่าเสื้อพละทำไมจึงเป็นสีฟ้าอ่อน ก็เพราะมาจาก
      สีน้ำเงิน+สีขาว จึงกลายเป็นสีฟ้า ไง!!!!

      125.วิทยาลัยเทคนิคปทุมฯ เป็นวิทยาลัยพระราชทานอันทรงเกียรติ์
      เพราะฉะนั้น นักเรียน+นักศึกษา จึงแต่งกายกันอย่างมีระเบียบเรียบร้อย

      126.ในปี 2552 เทอม1 มีนักเรียน-นักศึกษา ทั้งหมด 4,729 คน
                           เทอม 2 มีนักเรียน-นักศึกษา ทั้งหมด 4,333 คน

      127.ภายในวิทยาลัยมี Wireless ทำให้นักเรียนเอาโน๊ตบุ๊คมาเล่นกันเป็นจำนวนมาก (ถึงขั้นเดินเล่นก็ยังมีอ่ะ)

      128.เดือนมกราคม 2553 นี้ทางวิทยาลัยกำลังสร้างอาคารใหม่ มีมูลค่าถึง15ล้านกว่าเลยทีเดียว

      129.ที่ห้องเซลฟ์ มักมีคนชอบไปดูภาพยนตร์กัน และมีให้ดูหลายเครื่อง

      130.ห้องภาพยนตร์ใหญ่ต้องให้อาจารย์มาเซ็นชื่อเข้าถึงจะเข้าไปใช้ดูภาพยนตร์ได้

      131.เข็มติดปกเสื้อของวิทยาลัยมีด้วยกัน 2 ชนิด---
      ----1.เข็มแดง ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
      (มีเฉพาะเด็กองค์การ) ด้านล่างจะเขียนว่า PTTC
      ----2.เข็มสีทองบัวหลวง (มีเฉพาะ คนดีศรีอาชีวะ เท่านั้น)
      ปล.ใส่ได้ทั้ง ชาย-หญิง ปวช.ติดปกเสื้อ(ช-ญ) ปวส.ติดไทด์((ช))

      132.อาจารย์สอนอังกฤษบางคน ให้นักเรียนทำงาน โดยการเก็บแต้มการใช้งานห้องเซลฟ์ด้วยแหละ  (เราก็โดนเหมือนกัน 55+)

      133.ใครเคยสังเกตบ้างว่า ตุ๊กตาหุ่นผู้ชาย อ่ะ รองเท้า นร.หายไปแย้ว 
      (555+ใช่ป่าวหว่า) ใคร ขโมยปายเอาคืนมาด่วน!!!

      134.เอ้อ..แล้วตอนกลางคืนนี่  มีใครเห็นหุ่นเดินได้ป่ะเนี่ย !!!!

      135.วันที่่ เด็กนิคทุม รู้สึกเป็นอิสระ ฟรีสไตล์ คือ วัน..กีฬาสี (ได้2 วัน อ่ะน่ะ)

      136.มหา'ลัย ยอดนิยมที่เด็กเทคนิคปทุมฯ สอบเข้าได้คือ
      1.ราชมงคล ทุกที่ แต่ธัญบุรี เยอะสุด รองมา ราชมงคลพระนคร
      2.ม.ราชภัฎสวนดุสิต สวนสุนันทา(ใครเข้าสวนดุสิต กับสวนนัน ได้ถือว่า สุดยอดไปเล๊ย) พระนคร วไลลงกรณ์
      3.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ,ธนบุรี,ลาดกระบัง
      4.ม.รังสิต ม.กรุงเทพ ศรีปทุม หอการค้า มีให้เห็นทุกปี

      137.นักเรียน ปวช.หญิง มักนิยมใส่รองเท้า เรียงดังนี้
      1.ป๊อปทีน  2.PS จูเนียร์
      3.แคทช่า   4.บาจา(หรือบาทาวะ) 

      138.ชุดนักเรียนทั้ง ชาย,หญิง ไม่มี uniform หรูๆ เหมือนเอกชน (แต่พวกเราก็ภูมิใจ ที่เป็นวิทยาลัยรัฐบาลชั้นนำของประเทศ)

      139.ผู้ชายแผนกคอมฯ ทรงผมถือว่าสั้นที่สุดกว่าแผนกอื่นๆในวิทยาลัย

      140.อ.ท่านหนึ่ง Popular มากๆในหมู่สาวๆ คนที่คุณก็รู้ว่าคือใคร???? (ใครวะ)

      141.หลักสูตร คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เรียนครอบคลุมซะทุกอย่างจนไม่รู้ว่าจะถนัดด้านไหนดี (เออใช่ๆไม่รู้จะเอาด้านไหนดี)

      142.อาจารย์แผนกคอมฯมี2ฝั่ง เพราะอยู่คนละอาคาร แต่ละฝั่งก็มักจะไม่ถูกกัน เรียกว่าเกาเหลาเลยก็ได้ (มีแบ่งฝักแบ่งฝ่ายด้วยแฮะ)

      143.ลิฟท์ที่อาคารเฉลิมฯ ช่วงเช้า/บ่าย คนจะแน่นมากๆ ถ้าใครมาสายแต่อยากขึ้นเรียนทัน แนะนำบันไดนี่และสุดยอดเลย
      (แต่ขอเตือนเหนื่อยมากมาย 55+)

      144.ที่ท่าเรือจะมี หมา หรือ หมู ตัวขาวๆ นอนอืดขวางทางเดินเสมอ (สังเกตดูเอานะ 55+)

      145.เนื้อที่ของวิทยาลัยมีทั้งหมด 18 ไร่กว่า ถือว่าแคบมาก แต่ก็อบอุ่นดี (แต่บางคนอาจจะอึดอัดเพราะคนเยอะ แถมมองไปทางไหนมีแต่อาคารเรียนไปหมด)

      146.ช่วงใกล้ปิดภาคเรียน ห้องกิจกรรมจะเป็นห้องที่สำคัญมาก
      เพราะนักเรียน-นักศึกษา ต่างเข้าไปสอบถามว่า ตัวเองตกกิจกรรม รึเปล่า(ฮั่นแน่ๆ หรือไม่จริงล่ะ เห็นบ่อยนะเฟ๊ยย!!)

      147.ชุดนักเรียน ปวช.หญิง ของเทคนิคปทุมฯ
      เหมือนชุด ม.ปลาย สายสามัญ และเป็นเพียงไม่กี่วิทยาลัย ที่ได้ใส่ชุดแบบนี้(มีประมาณ4-5วิทยาลัย ทั่วประเทศ ไม่รวมพวกโรงเรียนเอกชนนะ)
      เพราะส่วนมากแล้ววิทยาลัยรัฐบาลจะใส่กระโปรง แบบผ่าหลัง แล้วก็ใส่คัทชู (ซึ่งมันทำให้ดูแก่ ไม่ได้ว่านะ แต่มากจากการสำรวจเอาอ่ะ)





       

      เกร็ดน่ารู้
      กรมอาชีวศึกษา  =  สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.)
      วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี สังกัดคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
       



      เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องเล่ามันส์ๆ ในรั้ว เทคนิคปทุมฯ 

      ปล.ผมเรียนจบแล้วจึงไม่ทราบเหตุการณ์ภายในปัจจุบันนะครับ
      ต้องขอโทษด้วย

       

      http://www.pttc.ac.th/  วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี

       


      ปี พ.ศ.การก่อตั้ง/สถาปนา ของแต่ละ แผนก/สาขา  

      วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี  (พ.ศ.2482) 

      ประเภทอุตสาหกรรมศาสตร์

      1.ช่างก่อสร้าง (พ.ศ.2482)
      2.ช่างยนต์ (พ.ศ.2518)
      3.ช่างกลโลหะ/ช่างเชื่อม (พ.ศ.2519)
      4.ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ.2520)
      5.ช่างไฟฟ้า (พ.ศ.2521)
      6.ช่างกลโรงงาน (พ.ศ.2532)
      7.ช่างเทคนิคการผลิต (พ.ศ.2533)
      8.ช่างเครื่องมือวัดและการควบคุมในอุตสาหกรรม (พ.ศ.2534)

      ประเภทพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
      1.การบัญชี (พ.ศ.2521)
      2.การขาย/การตลาด (พ.ศ.2527)
      3.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (พ.ศ.2529)
      4.การเลขานุการ (พ.ศ.XXXX)
      5.ธุรกิจค้าปลีก (พ.ศ.XXXX)
      6.การจัดการโลจิสติกส์ (พ.ศ.2549)

      ประเภทคหกรรมศาสตร์
      1.คหกรรมศาสตร์ทั่วไป (พ.ศ.2527)
      2.ผ้าและเครื่องแต่งกาย (พ.ศ.2527)
      3.อาหารและโภชนาการ (พ.ศ.2527)

      ประเภทการโรงแรมและการท่องเที่ยว
      1.การโรงแรม (พ.ศ.2547)


                             สนับสนุนโดยการให้ข้อมูล                        
       โดย    สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี


      [บรรยากาศ ใน วิทยาลัย เล็กๆน้อยๆ ]




      รูปอาคารเฉลิมฯ60ปี (ถ่ายจากอาคาร2)

      ด้านหน้าโบสถ์ ของวิทยาลัยฯ

      ด้านข้างอาคารเฉลิมฯ 60 ปี(ดู๊ คนเราแอบทำการบ้านส่งอาจารย์55+)
       บรรยากาศอาคาร อุตสาหกรรม
      (อาคารมันยาวถ่ายมาไม่หมด)

      ถ่ายบนอาคารเฉลิมฯ 60 ปี มายังสนามกีฬา วิทยาลัยฯ
      บนอาคาร3 ตอน 6โมงเย็น มองไปสุดอาคารไม่มีใครเลย ฮือๆๆ เศร้า

      บรรยากาศ อาคาร2 ตอน 6 โมงเย็น

      หอพัก อาจารย์ และ พนักงานวิทยาลัยฯ

      บรรยากาศเวลาเรียนในห้อง55+^0^


      พระสามพี่น้อง ในโบสถ์ ของวิทยาลัย
      ถนนฝั่งช่างอุตสาหกรรม
      บรรยากาศด้านบน อาคารเฉลิมฯ
      ฝั่งคหกรรมศาสตร์ สุดทางเป็นฝั่งพณิชยศาสตร์ อยู่ริมเจ้าพระยา

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×