nananaraknalove
ดู Blog ทั้งหมด

พูดเพื่อความบันเทิง

เขียนโดย nananaraknalove
การพูดเพื่อความบันเทิง
ความหมายของการพูด
การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์  เป็นการเปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  หรือความต้องการของผู้พูดไปยังผู้ฟัง  โดยใช้ถ้อยคำ  น้ำเสียง  และอากัปกิริยา  จนเป็นที่เข้าใจกันได้
 
องค์ประกอบของการพูด
               ๑. ผู้พูด 
ผู้พูดเป็นผู้ที่จะต้องถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนทัศนคติของตนสู่ผู้ฟังโดยใช้ภาษา เสียง อากับกิริยาและบุคลิกภาพของตนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงมารยาทและคุณธรรม ในการพูดด้วย
๒.  สาระหรือเรื่องราวที่พูด
คือ เนื้อหาสาระที่ผู้พูดพูดออกไป ซึ่งผู้พูดจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า สาระที่ตนพูดนั้นจะต้องมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง อีกทั้งควรเป็นเรื่องที่ใหม่ ทันสมัย เนื้อหาจะต้องมีความชัดเจน ผู้พูดต้องขยายความคือ ความรู้ที่นำเสนอสู่ผู้ฟังให้มีความกระจ่าง ซึ่งอาจขยายความด้วยการยกตัวอย่างแสดงด้วยตัวเลข สถิติ หรือยกหลักฐานต่าง ๆ มาอ้างอิง
๓. ผู้ฟัง
                ผู้พูดกับผู้ฟังมีความสัมพันธ์กัน โดยผู้พูดต้องเร้าความสนใจผู้ฟังด้วยการใช้ภาษา เสียง กิริยาท่าทางบุคลิกภาพของตน ในขณะเดียวกันผู้ฟังก็มีส่วนช่วยให้การพูดของผู้พูดบรรลุจุดหมายได้โดยการตั้งใจฟัง และคิดตามอย่างมีเหตุผล ก่อนจะพูดทุกครั้งผู้พูดต้องพยายาม ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวกับผู้ฟังให้มากที่สุด เช่น จำนวนผู้ฟัง เพศ ระดับการศึกษา ความเชื่อและค่านิยม ความสนใจของผู้ฟัง เป็นต้น การวิเคราะห์ผู้ฟังล่วงหน้า นอกจากจะได้นำข้อมูล มาเตรียมการพูดให้เหมาะสมแล้ว ผู้พูดยังสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย
 
การพูดเพื่อความบันเทิง
การพูดเพื่อจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดที่มุ่งให้ผู้ฟัง เกิดความเพลิดเพลิน รื่นเริง สนุกสนานผ่อนคลายความตึงเครียด ในขณะเดียวกันก็แทรกเนื้อหาสาระ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังด้วยผู้พูด จะต้องเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน   หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่เป็นคนเคร่งเครียดเอาจริงเอาจังเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้เกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นได้จากรายการต่างๆ ทาง สื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์
 
 
 
 
ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่พูดเพื่อความบันเทิง
l    เราจะได้อะไรจากการฟังเพลงลูกทุ่ง
l     ทำอะไรตามใจคือไทยแท้
l     พูดใครคิดว่าไม่สำคัญ
l     ที่ว่ารัก รักนั้นเป็นฉันใด
 
ขั้นตอนการพูดเพื่อความบันเทิง
ขั้นก่อนพูด
การเลือกหัวข้อเรื่องสำหรับการพูด คือ ถ้าผู้พูดมีโอกาสเลือกเรื่องที่จะพูดเอง ควรยึดหลักที่ว่าต้อง เหมาะสมกับผู้พูด คือ เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีความรอบรู้ในเรื่องนั้น และเหมาะสมกับผู้ฟัง                เป็นเรื่องที่ผู้ฟังมีความสนใจนอกจากนี้จะต้องคำนึงถึง โอกาส สถานการณ์ สถานที่ และเวลา ที่กำหนดให้พูดด้วย
กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องที่จะพูดผู้พูดจะต้องกำหนด จุดมุ่งหมายในการพูดแต่ละครั้งให้ชัดเจนว่าต้องการให้ความรู้ โน้มน้าวใจหรือเพื่อความบันเทิงเพื่อจะได้เตรียมเรื่องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้ผู้พูดจะต้องกำหนดขอบเขตเรื่องที่จะพูดด้วยว่าจะครอบคลุมเนื้อหาลึกซึ้งมากน้อยเพียงใด
การค้นคว้าและรวบรวมความรู้ผู้พูดต้องประมวลความรู้ ความคิดทั้งหมดไว้แล้วแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือความคิดหลัก อะไรคือความคิดรอง สิ่งใดที่จะนำมาใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดนั้นๆ และที่สำคัญ ผู้พูดจะต้องบันทึกไว้ให้ชัดเจน
การจัดระเบียบเรื่องคือ การวางโครงเรื่อง ซึ่งจะช่วยให้การพูดไม่วกวน สับสนเพราะผู้พูดได้จัดลำดับขั้นตอนการพูดไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความต่อเนื่อง ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดช่วยให้ผู้ฟังจับประเด็นได้ง่าย การจัดลำดับเนื้อเรื่องจะแบ่งเป็น สามตอน คือ คำนำ เนื้อเรื่องและการสรุป
 
ขั้นขณะพูด
- ต้องเลือกใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้ฟัง
- ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสื่อความหมายไปยังผู้ฟัง เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ
- ออกเสียงพูดให้ชัดเจน ดังพอประมาณ อย่าตะโกนหรือพูดเบาเกินไป
- สีหน้า ท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด
- การใช้ท่าทางประกอบการพูดที่มีความสำคัญ เช่น การใช้นิ้วจะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เคร่งครัดในเรื่องเวลาในการพูด พูดตรงเวลา และจบทันเวลา
- พูดด้วยท่าทางและกิริยานุ่มนวล เวลาพูดต้องสบตาผู้ฟังด้วย 
 
ขั้นหลังการพูด
- เมื่อพูดจบแล้วควรมีการวิเคราะห์หรือประเมินการพูดของตนว่าเหมาะสมหรือบกพร่องในส่วนใด
                 - สรุปเนื้อหาจากเรื่องที่พูด ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
 - ปรับปรุงข้อบกพร่องที่พบในขณะพูดเพื่อนำไปแก้ไขในการพูดครั้งต่อไป
 
มารยาทในการพูด
การพูดที่ดีไม่ว่าจะเป็นการพูดในโอกาสใด หรือประเภทใด ผู้พูดต้องคำนึงถึงมารยาทในการพูด ซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้พูดได้รับการชื่นชมจากผู้ฟัง ซึ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูด มารยาทที่สำคัญของการพูดสรุป ได้ดังนี้
๑.   พูดด้วยวาจาสุภาพ แสดงหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
๒.     ไม่พูดอวดตนข่มผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นเป็นสำคัญ
๓.   รักษาอารมณ์ในขณะพูดให้เป็นปกติ
๔.   หากนำคำกล่าวของบุคคลอื่นมากล่าว ต้องระบุนามหรือแหล่งที่มาเป็นการให้เกียรติบุคคลที่กล่าวถึง
๕.      หากพูดในขณะที่ผู้อื่นยังพูดไม่จบ ควรกล่าวคำขอโทษ
๖.      ไม่กล่าววาจาเสียดแทง ก้าวร้าวหรือพูดขัดคอบุคคลอื่น ควรใช้วิธีที่สุภาพเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็น
๗.     ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด
๘.     ไม่พูดคุยกันข้ามศีรษะผู้อื่น
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
    อาจารย์ชนิดา อ่อนเจริญ : ภาษาไทยรวม ม.๔-; ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ, ธรรมบัณฑิต.๒๕๔๕
     กัลยา สหชาติโกสีย์: ภาษาไทย ๑ ; กรุงเทพฯ, อักษรเจริญทัศน์. ๒๕๔๕
     อาจารย์วสุนี รักษาจันทร์: คู่มือภาษาไทย ม.๔-; กรุงเทพฯ, เดอะบุคส์ . ๒๕๔๖
     http://www.panyathai.or.th สืบค้นเมื่อ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น.

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ^^
nananaraknalove
nananaraknalove 20 พ.ย. 52 / 17:01
จร้า อยากได้ข้อมูลไรก็บอกนะ
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณข้อมูลดีดีคะ
bodinmasterz
bodinmasterz 25 ม.ค. 53 / 10:07
thank you very มาก
ความคิดเห็นที่ 5
รักโน้ตที่สุดเลยว่ะแม้ง
ความคิดเห็นที่ 6
รักโน้ตที่สุดเลยว่ะแม้งรักๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆม๊ากมาก
nananaraknalove
nananaraknalove 12 ส.ค. 53 / 15:16
โน๊ตไรเหรอจ๊ัะ
ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณนะคะ
หนูต้องทำงานนี้พอดีเลย
ความคิดเห็นที่ 9
ีร้่่ก
ความคิดเห็นที่ 10
ขอบคุณมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
ความคิดเห็นที่ 11
ขอบคุณมากเลยน่ะครับ ..... ถ้าไม่ได้ข้อมูลนี้ต้องโดน อาจารย์หักคะเเนนเเน่เลยครับ