nemocrazy
ดู Blog ทั้งหมด

การตั้งครรภ์ของแม่

เขียนโดย nemocrazy
42 สัปดาห์ ของแม่ : ช่วงเวลาการตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 1-4
มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นและมีการแบ่งตัวของเซลล์อย่างรวดเร็ว ต่อจากนั้นก็จะฝังตัวเข้าไปในมดลูก
สัปดาห์ที่ 5
กลุ่มเซลล์พัฒนาอย่างรวดเร็วไปเป็นเอ็มบริโอ (embryo) สำหรับผู้หญิงหลายๆคนสัญญาณแรกก็คือประจำเดือนขาด
สัปดาห์ที่ 6
เอ็มบริโอจะเปลี่ยนไปเป็นตัวอ่อน (foetus) ซึ่งมีขนาดประมาณถั่วอบ (baked bean) และเริ่มก่อโครงร่างเป็นกระดูกสันหลังและระบบประสาท
สัปดาห์ที่ 7
หัวใจของทารกเริ่มพัฒนา แม่จะมีอาการไม่สบายในตอนเช้าและมีผลข้างเคียงอื่นๆในช่วงแรกของการตั้ง ครรภ์
สัปดาห์ที่ 8
ที่ระยะนี้ทั่วไปมักจะทำการสแกน ถ้าผู้หญิงเคยแท้งมาก่อนมีหรือเลือดออก
สัปดาห์ที่ 9
ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนหัวจะเริ่มแยกออกจากหัวไหล่ เป็นช่วงที่อวัยวะหลักและใบหูทั้งสองข้างพัฒนา
สัปดาห์ที่ 10
ควรทำการสแกนเมื่อตั้งครรภ์ 10-13 สัปดาห์ ยึดจากวันที่ตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 11
สายสะดือมีขนาดเต็มที่พร้อมที่จะรับอาหารและขับถ่ายของเสีย ตอนนี้ตัวอ่อนมีรูปร่างเป็นคนแล้ว
สัปดาห์ที่ 12
ในสัปดาห์นี้ความเสี่ยงของการแท้งลดลงมากแล้ว ผู้หญิงหลายคนสามารถบอกใครๆได้แล้วว่าเธอตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 13
มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและเริ่มยกตัวออกจากกระดูกเชิงกราน ตัวอ่อนสามารถขยับส่วนหัวได้สะดวกขึ้น
สัปดาห์ที่ 14
เท่ากับผ่านไปได้หนึ่งในสามส่วน โดยเฉลี่ยคือตั้งครรภ์ไปได้ 266 วัน หรือ 280 วันนับจากวันแรกที่ขาดประจำเดือน
สัปดาห์ที่ 15
ระยะนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าเด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)หรือไม่ โดยนำเลือดมาตรวจสอบด้วยวิธีธรรมดาก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยตรวจสอบครั้งต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
สัปดาห์ที่ 16
ตัวอ่อนมีนิ้วหัวแม่เท้าและเล็บ ขนคิ้ว และขนตาเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีขนเส้นเล็กๆปกคลุมตัวแล้วอีกด้วย
สัปดาห์ที่ 17
ตัวอ่อนสามารถได้ยินเสียงจากภายนอก ที่ระยะนี้จะเห็นได้ชัดว่าตั้งครรภ์ และมดลูกจะยกสูงขึ้น

สัปดาห์ที่ 18
ที่ระยะนี้ตัวอ่อนเคลื่อนที่ไปมาได้ และมากพอที่แม่จะรู้สึกได้
สัปดาห์ที่ 19
ตอนนี้ตัวอ่อนมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร และหนักประมาณ 300กรัม ฟันน้ำนมเริ่มเกิดขึ้นภายในเหงือก
สัปดาห์ที่ 20
ผ่านมาได้ครึ่งทางของการตั้งครรภ์ แม่เกือบทุกคนถูกแนะนำว่าให้ไปสแกนบ่อยๆ เพราะตัวอ่อนได้สร้างสารเคลือบเพื่อปกคลุมที่เรียกว่าเวอร์นิกซ์ (vernix)
สัปดาห์ที่ 21
แม่จะรู้สึกหายใจได้สั้นลง เพราะมดลูกของเธอดันกะบังลม ทำให้มีพื้นที่ว่างที่จะให้ปอดขยายได้น้อยลง
สัปดาห์ที่ 22
ระบบรับความรู้สึกพัฒนา : ตุ่มรับรสเริ่มเกิดขึ้นบนลิ้นและตัวอ่อนเริ่มรับรู้ถึงการสัมผัส
สัปดาห์ที่ 23
กระดูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และกระดูกกะโหลกศีรษะแข็งขึ้น แต่แข็งไม่เต็มที่
สัปดาห์ที่ 24
ตรวจสอบการบำรุงครรภ์และสแกนเพื่อดูตำแหน่งของทารก ที่ช่วงเวลานี้หากทารกคลอดก่อนกำหนดก็อาจจะรอดได้
สัปดาห์ที่ 25
มีอวัยวะทั้งหมดครบแล้วและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ช่วงต่อจากนี้มีความเสี่ยงที่จะมีอาการที่เรียกว่า พรีแคลมป์เชีย (Preeclampsia =ความดันสูงร่วมกับตัวบวมและโปรตีนในปัสสาวะสูง)
สัปดาห์ที่ 26
ผิวของตัวอ่อนค่อยๆทึบแสงขึ้นเรื่อยๆจากที่เคยโปร่งแสง
สัปดาห์ที่ 27
ตัวอ่อนมีขนาดประมาณ 34 เซนติเมตร และหนักประมาณ 800 กรัม
สัปดาห์ที่ 28
ระยะนี้ต้องตรวจสอบอาการพรีแคลมเชียเป็นประจำ ผู้หญิงที่หมู่เลือดเป็นแบบ Rh- ต้องตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันด้วย
สัปดาห์ที่ 29
ผู้หญิงบางคนมีอาการขาอยู่ไม่สุขในช่วงสุดท้ายนี้ (กรณีแบ่งเป็นสามช่วง)
สัปดาห์ที่ 30
อาจมีการบีบตัวของมดลูกครั้งละประมาณ 1-2 นาที แต่จะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บปวด (Braxton Hicks contractions)
สัปดาห์ที่ 31
ตัวอ่อนสามารถมองเห็นได้แล้ว สามารถแยกแยะได้ว่าสว่างหรือมืด นมของแม่เริ่มสร้างน้ำนม

สัปดาห์ที่ 32
นัดบำรุงครรภ์อีกครั้งหนึ่ง ตัวอ่อนมีขนาดประมาณ 42 เซนติเมตร หนักประมาณ 2.2 กิโลกรัม ทารกที่คลอดในตอนนี้มีโอกาสรอดค่อนข้างสูง
สัปดาห์ที่ 33
จากบัดนี้ทารกควรจะอยู่ในตำแหน่งที่หัวพุ่งลง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการคลอดอาจช่วยเคลื่อนตำแหน่งให้ได้ถ้าจำเป็น
สัปดาห์ที่ 34
แม่อาจจะรู้สึกได้ว่าทานอาหารได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากมดลูกขยายขนาดจนไปกดกระเพาะอาหาร
สัปดาห์ที่ 35
ถ้าแม่เริ่มแสดงอาการ อาจจำเป็นที่จะต้องวางแผนถึงการคลอดโดยการผ่าท้อง ซึ่งช่วงนี้เหมาะสมที่จะอธิบาย
สัปดาห์ที่ 36
หัวของทารกอาจเข้าไปเบียดในส่วนกระดูกเชิงกรานได้
สัปดาห์ที่ 37
ปอดของทารกทำงานเองได้แล้วและไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลืออีกต่อไป เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่มดลูกจะขยายขนาดได้
สัปดาห์ที่ 38
ทารกที่คลอดจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไปไม่ถือว่าคลอดก่อนกำหนด
สัปดาห์ที่ 39
นัดบำรุงครรภ์อีกครั้ง ตอนนี้ท้องแม่มีขนาดและน้ำหนักเต็มที่แล้ว
สัปดาห์ที่ 40
ตามทฤษฎีทารกควรคลอดในสัปดาห์นี้ เพราะส่วนคอของมดลูก (cervix) เตรียมพร้อมที่จะทำให้คลอดได้อย่างนุ่มนวลที่สุด
สัปดาห์ที่ 41
ผู้หญิงที่ท้องแรกมักจะคลอดช้ากว่าสัปดาห์นี้ แต่ถ้าหากมีสัญญาณบ่งบอกว่าอาจจะมีอันตรายต่อแม่หรือลูกก็ต้องทำการกระตุ้น ให้คลอด
BeddingBaby BeddingDiscount BeddingCrib BeddingKids BeddingLuxury BeddingGirls BeddingToddler BeddingBoys BeddingNursery BeddingBedding SetsModern BeddingBeddingTropical BeddingDesigner BeddingStar Wars BeddingCradle BeddingNautica BeddingDaybed BeddingCroscill BeddingRalph Lauren BeddingAnimal Print BeddingHorse BeddingBedding EnsemblesChildren BeddingBaby Girl BeddingWestern BeddingWaverly BeddingRoxy BeddingBatman BeddingBeach BeddingChildrens BeddingNautical BeddingTwin BeddingCalifornia King BeddingSesame Street BeddingSouthwest BeddingZebra BeddingCheap BeddingFunky BeddingBed Bath And BeyondBed Bath & BeyondLinens And ThingsBed Bath BeyondSleep Number BedBed Bath And Beyond CouponsBed Bath Beyond StoreDuvet CoversBaby BeddingPlatform BedsBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น