nextstep_10
ดู Blog ทั้งหมด

วัดความสว่าง "ดาวหางลู่หลิน" กับนักวิจัยวัยเยาว์

เขียนโดย nextstep_10
Bread MachineBread MachinesZojirushi Bread MachineWelbilt Bread MachineWest Bend Bread MachineRecipies For Bread MachineOnline Manual For Breadman Bread MachineBreadman Bread MachineBest Bread MachineRecipes For A One Pound Loaf Bread MachineToastmaster Bread MachineOster Bread MachineHitachi Bread MachineRecipes For Bread MachinesBetty Crocker Bread MachineBreadman Bread MachinesHitachi Bread MachinesSunbeam Bread MachineRegal Bread MachineReviews Bread MachineBroccoli Bread In Bread MachinePaska Bread Recipe For Bread MachineWest Bend Bread MachinesFrench Bread Recipe+bread MachineHawaiian Sweet Bread For Bread MachineNew York Pizza Dough Bread MachinePanasonic Bread MachineRecipes For Bread MachineReplacement Parts For Welbilt Bread MachineToastmaster Bread MachinesWelbilt Bread MachinesZojirushi Home Bakery Supreme Bread MachineBlack & Decker Bread MachineFlour For Bread MachinesMagic Chef Bread MachineRated Best Bread MachinesThe Best Bread MachineBreadman Bread MachineBread Machine Pizza DoughOnline Manual For Breadman Bread MachineWest Bend Bread MakerBread Machine Banana BreadBest Bread MachineHitachi Bread MachineRegal BreadmakerBread Machine MixesSunbeam BreadmakerBread Making MachinesBread Machine MixBreadmaker Review AustraliaBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog

"ยุววิจัยลีซา" นักวิจัยวัยเยาว์ จับกลุ่มเพื่อนวิเคราะห์ความสว่างของ "ดาวหางลู่หลิน" ที่โด่งดังเมื่อต้นปี ด้วยลักษณะวงโคจรที่พอดีกับวงโคจรโลก นำเสนอผลงานหลังเข้าค่ายร่วมกัน 1 เดือน เผยนอกจากได้เรียนรู้วิธีทำงานของนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์แล้ว ยังได้เรียนรู้ความแตกต่างทั้งความเป็นอยู่และศาสนาของเพื่อนต่างท้องที่ ด้วย
       
       หลังนำเสนอผลงานวิจัยการศึกษาความสว่างของดาวหางลู่หลิน (Lulin) ภายในงาน "ไขปริศนาจักรวาลผ่านงานวิจัยและไอที ศักยภาพเด็กไทยบนเวทีนานาชาติ" ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 ส.ค.52 ที่ผ่านมา นายกาบาล บาฮะ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จ.ปัตตานี และนายนคเรศ อินทนะ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนจักรคำคณาธร จ.ลำพูน หนึ่งในสมาชิกทีมยุววิจัยศูนย์การเรียนรู้โลกและดาราศาสตร์ (ลีซา) ที่ร่วมกันศึกษาเรื่องดังกล่าว ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่าเมื่อต้นปีดาวหางลู่หลินเป็นที่กล่าวถึงกันมาก และหัวข้อวิจัยนี้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ทีมวิจัยสนใจ
       
       " ดาวหางลู่หลินเป็นดาวหางที่พบ โดยหอดูดาวลู่หลินของจีน ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อค้นหาดาวหางโดยเฉพาะ และระหว่างที่ดาวหางโคจรมาใกล้โลกนั้น ก็พบการระเบิดที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า เมื่อต้นปีดาวหางดวงนี้ดังมาก และเรา ยังเห็นหางของดาวหาง 2 หาง อยู่ในทิศทางตรงกันข้าม เหมือนเป็นแฉก ซึ่งในรอบ 100 ปีไม่เคยมีมาก่อน ปกติดาวหางมีสองแฉกแต่เราเห็นในทิศทางเดียวกัน" กาบาลและนคเรศบอกที่มาที่ไปของการทำงานวิจัย
       
       หลัง ได้รับภาพดาวหางที่บันทึกด้วยกล้อง ROTSE โดยใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตรที่ติดตั้งรอบโลกทั้งหมด 4 แห่ง ทีมวิจัยได้นำภาพดังกล่าวมาวิเคราะห์ พร้อมกับชักชวนเพื่อนๆ ประมาณ 20 คน มาร่วมกันคำนวณหาความสว่างของดาวหางลู่หลิน
       
       ทั้งนี้ใน การคำณวนพวกเขาอาศัยซอฟต์แวร์ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ ซอฟแวร์ DS9 สำหรับหาตำแหน่งดาวฤกษ์ ซอฟต์แวร์ IRIS สำหรับหาความหนาแน่นของดาวฤกษ์ ซึ่งในการคำนวณโดยใช้ซอฟต์แวร์นี้ จะคลาดเคลื่อนไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน
       
       สำหรับ ทีมของกาบาลและนคเรศ ต้องนำค่าที่ได้ไปหาค่าเฉลี่ยและหาค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานของข้อมูลจากเพื่อนๆ ด้วย ส่วนซอฟต์แวร์สุดท้ายคือ The Sky6 ซอฟต์แวร์สำหรับอ้างอิงตำแหน่งดาวฤกษ์จากซอฟต์แวร์ DS9
       
       อย่าง ไรก็ดี ทีมยุววิจัยระบุว่า กราฟความสว่างของดาวหางจากข้อมูลที่เพื่อนๆ ช่วยคำนวณนั้นยังไม่ดีพอที่จะบอกได้ว่าความสว่างของดาหางเป็นเท่าไหร่ แต่ข้อมูลคร่าวๆ ของพวกเขาก็สอดคล้องกับความสว่างที่ปรากฏบนท้องฟ้าของดาวหาง นั่นคือดาวหางสว่างมากที่สุดในวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ดาวหางเข้าใกล้โลกมากที่สุด หลังจากนั้นความสว่างของดาวหางก็ลดลงเรื่อยๆ
       
       ทั้งนี้ ทั้งสองคนได้ร่วมกันวิจัยหาความสว่างของดาวหางนี้ร่วมกับสมาชิกอีก 2 คนคือ นายมัชฌิมา จันทร์กล้า นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และ ด.ช.กฤษณ์ บุญศิริเศรษฐ์ นักเรียนชั้น ป.4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม โดยกาบาลนักเรียนมุสลิมกล่าวกับเราว่า ได้ร่วมกับเพื่อนทำงานวิจัยนี้ในช่วงปิดเทอมเป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งนอกจากได้เรียนรู้การทำงานของนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์แล้ว ยังได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นซึ่งต่างที่มา มีความเป็นต่างกันและความเชื่อทางศาสนาที่ต่างกัน แต่เข้าใจกันได้ด้วยการคุยกัน
       
       นอกจากงานวิจัยหาความ สว่างของดาวหางลู่หลินแล้ว ทีมข่าววิทยาศาสตร์ยังได้พูดคุยกับ น.ส.ลลิตวดี กวินวณิชกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายทวีวัฒน์ สมบูรณ์ปัญญากุล นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งร่วมกับนายแสงแรก ชลศรานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาอัตราการเกิดดาวฤกษ์ของกาแลกซีหรือดาราจักรต่างๆ
       ทั้งนี้ ลลิตวดีและทวีวัฒน์บอกว่า ใช้ข้อมูลออนไลน์ของกล้องโทรทรรศน์ SDSS (Sloan Digital Sky Survey) จำนวน 3,800 ข้อมูลมาวิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเป็นกาแลกซีประเภทต่างๆ แล้วหาอัตราการเกิดดาวฤกษ์โดยวิเคราะห์ออกซิเจนและไฮโดรเจนจากสเปกตรัมของ ภาพ ซึ่งได้ผลคือกาแลกซีรูปกังหันมีอัตราการเกิดของดาวฤกษ์มากที่สุด รองลงมาคือกาแลกซีทรงรี
       
       ภายในการแสดงผลงานวิจัยไข ปริศนาจักรวาลผ่านงานวิจัยและไอทีฯ ยังมีการนำเสนอผลงานเรื่องการวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดาวเคราะห์ด้วยวิธี อินเตอร์เฟอโรเมทรี และองค์ประกอบของดาวแคระขาว โดย น.ส.ธัญชนก ธรรมสัญญา ชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม และน.ส.การปฐม เกษรสุวรรณ์ ชั้น ม.5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ซึ่งผลงานทั้ง 4 หัวข้อนี้ ได้ผ่านการนำเสนอในเวทีวิชาการระดับนานาชาติมาแล้ว
       
       อีก ทั้ง ศ.มิแกล โบเออร์ (Prof.Michel Boer) ผู้อำนวยการหอดูดาวโอตโพรวองซ์ (Haute-Provence) จากประเทศฝรั่งเศสยังได้ร่วมฟังการนำเสนอผลงานวิจัยและให้คำแนะนำในการทำ วิจัยแก่เยาวชนทั้ง 4 กลุ่มและนักเรียนที่เข้าฟังการบรรยายด้วย.

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น