nextstep_10
ดู Blog ทั้งหมด

นักโลหะวิทยา เสนองานวิจัยหนุนไทยเข้มแข็ง

เขียนโดย nextstep_10
JerseysWarren Moon JerseyNew JerseyJersey BoysJersey DevilReal Housewives Of New JerseyWarren Moon Throwback JerseyJerseyNew Jersey TransitThrowback Football JerseysNfl JerseysMap Of New JerseyAtlanta Falcons JerseysJersey GirlHousewives Of New JerseyState Of New JerseyJersey MikesNew Jersey MallsNew Jersey MapNew Jersey DevilsThe Real Housewives Of New JerseyJerzeesJersey CityWildwood New JerseyJersey ShoreNews 12 New JerseyOcean City New JerseyFootball JerseysCape May New JerseyNew Jersey State PoliceNew Jersey NewsNba JerseysJerseysThrowback JerseysJersey Boys TicketsSoccer JerseysCycling JerseysJersey Boys TorontoNew Jersey DevilNew Jersey BeachesNew Jersey NetsThe Jersey DevilUss New JerseyThe Jersey BoysHockey JerseysJersey CowsBaseball JerseysBicycle JerseysJersey Boys ChicagoBasketball JerseysBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog
นักโลหะวิทยาเสนองานวิจัย หนุนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งด้านอุตสาหกรรม ชูตัวอย่างปรับปรุงชิ้นส่วนโลหะในโรงปิโตรเคมีชิ้นละ 3.5 ล้านบาทที่ต้องทิ้งทุกปี แต่มีวิธีซ่อมด้วยเงินเพียง 3.5 แสนบาท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมและมาตรฐานการศึกษาตามโจทย์รัฐบาล
       
       ภายในงานประชุมวิชาการทางโลหะวิทยา แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 26 ต.ค.52 ณ โรงแรมเซ็นจูรี ปาร์ค ผศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และนักโลหะวิทยารุ่นใหม่ดีเด่น ประจำปี 2551 กล่าวถึงการเสริมนโยบายปฏิบัติการไทยเข้มแข็งด้วยงานวิจัยด้านโลหะวิทยา
       

       ผศ. ดร.สมฤกษ์ได้อธิบายให้ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ฟังว่า ในเป้าหมายปฏิบัติการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลนั้น ได้กล่าวถึงการเพื่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการยกระดับคุณภาพการศึกษา จึงเกิดคำถามว่า นักวิจัยด้านโลหะวิทยาจะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งมีตัวอย่างงานวิจัยที่เขาได้ลงมือทำและตอบโจทย์ดังกล่าวดังต่อไปนี้
       
       กรณี แรก คือการปรับปรุงชิ้นส่วนโลหะในโรงปิโตรเคมี ซึ่งถูกกัดกร่อนที่อุณหภูมิสูง และบริษัทเจ้าของโรงปิโตรเคมีต้องทิ้งชิ้นส่วนโลหะดังกล่าว ที่มีมูลค่าถึง 3.5 ล้านบาททุกปี เนื่องจากไม่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ จึงเกิดคำถามว่าจะปรับปรุงชิ้นส่วนดังกล่าวได้อย่างไร แล้วได้คำตอบว่าสามารถ นำชิ้นส่วนโลหะที่เสียนั้นไป "เชื่อมพอก" ด้วยโลหะแข็งที่มีโครเมียมเป็นวัสดุหลัก ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ด้วยค่าซ่อมเพียง 3.5 แสนบาท
       

       อีกกรณี คือการแก้ปัญหาสนิมที่เกิดจากการ "รีดร้อน" เหล็กด้วยอุณหภูมิสูง ซึ่งทำให้ไม่สามารถ "รีดเย็น" เหล็กที่อุณหภูมิห้องให้บางลงตามที่ต้องการได้ เนื่องจากสนิมจะกดลงเนื้อโลหะ จึงต้องมีกระบวนการ "กัดกรด" เพื่อกำจัดสนิมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการรีดร้อน แต่การกัดกรดนั้น ทำได้ยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับชนิดของสนิมที่เกิดขึ้น
       
       ดัง นั้นทีมวิจัยของ ผศ.ดร.สมฤกษ์จึงได้ปรับตัวแปรในกระบวนการรีดร้อน เพื่อให้เกิดสนิมที่สามารถกัดกร่อนได้ง่ายขึ้น โดยได้รับความร่วมมือกับ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสทรี จำกัด ให้เข้าไปทำวิจัยในโรงงานได้ ซึ่งเป็นการตอบโจทย์นโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรม และยังเป็นการยกระดับการศึกษา โดยทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งโครงการปริญญาเอกโดยมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใน ฝรั่งเศสผลิตนักศึกษาที่ทำวิจัยแก้ปัญหานี้
       
       นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยพัฒนาชิ้นส่วนโลหะที่ใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการสาธิตในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฝรั่งเศส แต่ยังไม่มีการใช้งานจริง ซึ่งเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้ช่วยตอบปัญหาเรื่องหาสถานีเติมเชื้อเพลิง ไฮโดรเจนไม่ได้ และยังเป็นเชื้อเพลิงที่มีมากในเมืองไทย
       
       สำหรับ งานวิจัยทางด้านเซลล์เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซชีวภาพนี้ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ส่งนักศึกษาไปทำวิจัยเพื่อพัฒนาชิ้นส่วนโลหะสำหรับใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง ชนิดนี้ แต่เป้าหมายใหญ่คือการพัฒนาทุกส่วนของเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้ได้
       
       งาน ประชุมวิชาการทางโลหะวิทยาแห่งประเทศไทยครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัยและการเรียนการสอนทางด้านโลหะวิทยาเวียนเป็น เจ้าภาพ ซึ่งปีนี้ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดงานขึ้นระหว่าง 26-27 ต.ค.52 ณ โรงแรมเซ็นจูรี ปาร์ค โดยการสนับสนุนของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยและศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น