nextstep_10
ดู Blog ทั้งหมด

ทำไมต้องกินผักให้หลากหลาย

เขียนโดย nextstep_10
Star FurnitureHom FurnitureUsed Office FurnitureKids FurnitureLexington FurnitureCharities Take Used FurnitureLevin FurnitureLog FurnitureReplacement Cushions For Outdoor FurnitureLeather FurnitureRetro FurnitureBush FurnitureRiverside FurnitureHaynes FurnitureArt Van FurnitureCity FurnitureCountry FurnitureRattan FurnitureDiscount Patio FurnitureWicker Patio FurnitureGallery FurnitureAshley Home FurnitureAshleys FurnitureLeons FurnitureMission Style FurnitureStickley FurnitureCoaster FurnitureComputer FurnitureOak FurnitureVictorian FurnitureBamboo FurnitureDiscount Wicker FurnitureWestern FurnitureUnfinished Wood FurniturePulaski FurnitureOutdoor Patio FurnitureUnfinished Pine FurnitureDiscount Office FurnitureModern Office FurnitureWrought Iron Patio FurnitureWicker Outdoor FurnitureAmerican Drew FurnitureHampton Bay Patio FurnitureKids Bedroom FurnitureCountry Cottage FurnitureFrench Country FurnitureCountry Style FurnitureViking Office FurnitureWholesale Patio FurnitureAspen Home FurnitureBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlogBlog




          ชี วจิตเราเคยเสนอหลักการรับประทานอาหารให้ครบส่วนไปแล้วซึ่งในแต่ละส่วนจำเป็น ต้องรับประทานให้หลากหลาย  เพราะในอาหารแต่ละอย่างจะมีสารอาหารหลักไม่เหมือนกัน การรับประทานได้มากชนิดเท่าไร ก็เท่ากับได้สารอาหารหลากหลายเท่านั้น

         
ผักก็เช่นเดียวกันที่ควรจะรับประทานให้หลากหลาย ไม่ใช่วันๆ สั่งแต่คะน้าหรือผักบุ้งอยู่แค่นั้น เพราะผักแต่ละชนิดก็จะให้คุณค่า แร่ธาตุแตกต่างกันออกไป

          สาร ผัก  หรือไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญวิตามินเสริมที่มีมาขายทุกวันนี้ก็ล้วนแต่สกัด มาจาก "สารในผัก" ทั้งนั้น ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรงได้เกือบทุกชนิด เช่น โรคมะเร็งหรือโรคหัวใจ  โดยที่หาไม่ได้จากอาหารชนิดอื่นๆ (ยกเว้นธัญพืช ถั่ว และผลไม้)

          สารผักแต่ละชนิดจะให้คุณค่าต่อร่างกายแตกต่างกันออกไป เช่น 

          *อัลลิซัลไฟด์ส (Allyl sulfides) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายให้กำจัดสารพิษได้ดีขึ้น พบมากในหอมหัวใหญ่ หอมเล็ก ต้นหอม และกระเทียม 

           *กลูคาเรต (Glucarate) ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง พบมากในมะเขือยาว มันฝรั่ง พริกไทย 

          *ดิธิโอลธิโอเนส (Dithiolthiones) และ ไอโซธิโอไซยาเนต (Isothiocyanate) จะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ให้ขับสารก่อมะเร็งในร่างกายได้ดีขึ้น  พบได้ในผักตระกูลกะหล่ำทุกชนิด

          *อินโดล (Indole) ช่วยลดความเสี่ยงโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง เช่นมะเร็งเต้านมได้ พบในผักตระกูลกะหล่ำ

          *ฟลาโวนอยด์ส (Flavonoids) เป็นผักตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง เพราะเป็นสารที่ช่วยทำให้ภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น และต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น (คือทำให้วิตามินบางตัวทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมุลอิสระได้) ฟลาโวนอยด์สสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น 

          *เควอร์เซติน (Quercetin) พบมากในมะเขือเทศ มันฝรั่ง บร็อคเคอลี หอมหัวใหญ่ 

          *แกมป์เฟโรล (Kaempferol) ในผักคะน้า

          *แคโรทีนนอนด์ (Carotenoid) สารกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักดีในฐานะที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวสำคัญที่จะทำให้ผักมีสีเขียวเข้ม เหลือง ส้ม แดง หรือม่วง ประกอบด้วย

          *เบต้าแคโรทีน (Bata-carotene) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวเก่ง  และลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เป็นอย่างดีพบมากในผักสีจัดๆ เช่น แครอท ผักใบเขียวทุกชนิด พริกหวานสีแดง ฟักทอง

          *ไลโคเพน (Lycopene) ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบได้ในมะเขือเทศ

          *ลูทีน (Lutein) ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งและชะลอความเหยี่ยวย่นของผิวหนัง พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด

          ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ ถ้ารับประทานผักครบถ้วน รับรองว่าแข็งแรงและสุขภาพดีแน่นอน


 


 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น