nextstep_10
ดู Blog ทั้งหมด

ระวังใช้

เขียนโดย nextstep_10
JewelryBody JewelryPandora JewelryWholesale JewelryCostume JewelryTiffany JewelryBrighton JewelryFashion JewelrySilver JewelryKays JewelryBicycle JewelryLong''S JewelryWholesale Fashion JewelryGold JewelryPremier Designs JewelryPearl JewelryJared JewelryLia Sophia JewelryPremier JewelryMagnetic JewelryCrystal JewelryWholesale Costume JewelryDiamond JewelryChristian JewelryAntique JewelryJames Avery JewelryCeltic JewelryPaula Abdul JewelryBeaded JewelryHandcrafted JewelrySea Glass JewelryFine JewelryMurano Glass JewelryDavid Yurman JewelryMens JewelrySterling Silver JewelryZales JewelryWholesale Sterling Silver JewelryVintage JewelryWholesale Silver JewelryPremier Design JewelryTrendy Beaded JewelryGlass JewelryMajorica JewelryEstate JewelryPalm Beach JewelryArt Deco JewelryCheap JewelryLord Of The Rings JewelryMedical Alert Jewelry


การจัดเรียงตัวของอนุภาคซิลเวอร์นาโนบนผิวแก้ว (ภาพจาก National Science Foundation)


ศ.ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพาณิชกุล


รศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว



 

 

  


  


 

  


  



เตือน สาวกผลิตภัณฑ์นาโน ใส่เสื้อเคลือบนาโน-โบ๊ะแป้งนาโน ระวังอนุภาคจิ๋วหลุดปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม นักวิจัยมะกันออกโรงเตือนให้ตระหนักถึงผลที่จะตามมาจากนาโนเทคโนโลยีที่ล้ำ หน้า เผยเอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่เคลือบอยู่บนเส้นใยสิ่งทอสามารถหลุดร่อนออกจาก เสื้อผ้า ปนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ แถมยังอาจเป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตที่รับเข้าไปได้
       
       สินค้า ที่มีนาโนเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องมีวางจำหน่ายแพร่หลายมากขึ้น ทุกขณะ ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อเลือกใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อนาโน ถุงเท้านาโน กระเป๋านาโน หรือเครื่องสำอางนาโน
       
       แต่อนุภาคนาโนที่ใช้มิได้อยู่คงทนถาวรกับสินค้าเหล่านั้นตลอดไป แต่จะหลุดร่อนไปตามกาลเวลา นักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาจึงศึกษาผลของอนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อสิ่งมีชีวิตอื่น และนำผลงานวิจัยมานำเสนอระหว่างการประชุมของสมาคมเคมีอเมริกา (American Chemical Society: ACS) ครั้งที่ 235
       
       พอล เวสเทอร์ฮอฟ (Paul Westerhoff) และ ทรอย เบนน์ (Troy M. Benn) มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตท (Arizona State University) เผยว่า เขาได้นำถุงเท้าจำนวน 6 คู่ โดยทุกคู่ถูกเคลือบด้วยอนุภาคซิลเวอร์นาโน (nanosilver) หรืออนุภาคเงินนาโน เพื่อให้มีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรียและกลิ่นอับชื้น ซึ่งผลิตโดยโรงงานต่างๆ และจำหน่ายในสหรัฐฯ มาแช่ในน้ำกลั่นพร้อมทั้งเขย่าต่อเนื่องนาน 1 ชม. จากนั้นนำน้ำที่แช่ถุงเท้าไปตรวจสอบหาอนุภาคของเงิน
       
       
นักวิจัยพบว่าถุงเท้าที่มาจากแหล่งผลิตต่างกัน มีการปลดปล่อยอนุภาคของเงินลงสู่น้ำในปริมาณที่ไม่เท่ากัน ซึ่งบางคู่ก็ปล่อยอนุภาคเงินออกมาจนหมด ขณะที่บางคู่ก็ไม่ปรากฎอนุภาคเงินหลุดออกมาเลย คาดว่าเป็นผลมาจากเทคโนโลยีการผลิต ในการยึดซิลเวอร์นาโนให้ติดอยู่บนเส้นใยของถุงเท้า
       
       เบนน์อธิบายว่าหากน้ำ ทิ้งที่มาจากการซักล้างเสื้อผ้านาโนและมีอนุภาคซิลเวอร์นาโนปะปนอยู่ซึมลง สู่ใต้ดิน หรือไหลลงไปรวมกับแหล่งน้ำธรรมชาติ  อาจก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศน์ในแหล่งน้ำได้ ซึ่งเงินที่อยู่ในรูปของไอออนที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำอาจไปรบกวนกระบวนการทาง เคมีในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ นอกเหนือจากแบคทีเรียที่เป็นเป้าหมายในตอนแรกของการผลิตอนุภาคซิลเวอร์นาโน อาจจะผ่านเข้าไปทางเหงือกปลาและทำให้ปลาตายได้
       
       " เงินที่อยู่ในรูปของไอออนจะเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อมีความ เข้มข้นสูงในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรมองข้ามความเป็นพิษของอนุภาคซิลเวอร์นาโนเช่นกัน" เวสเทอฮอฟเผย
       
       นักวิจัยกล่าวต่อว่าพวกเขาไม่ได้จะแสดงให้เห็นเป็นว่าเงินเป็นพิษ เพราะในสหรัฐฯ เองก็มีกฎเกณฑ์ควบคุมการใช้อนุภาคเงิน ซึ่งมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยองค์การพิทักษสิ่งแวดลอมแห่งสหรัฐฯ (United States Environmental Protection Agency: USEPA) เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้
       
       "พวก เราหวังจะจุดประกายและสร้างความตระหนักถึงผลของวัสดุระดับนาโนต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม ให้ทัดเทียมกับความตื่นตัวในเรื่องของนาโนเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทใน ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทุกขณะ ผู้บริโภคมีสิทธิ์รับรู้ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วน ประกอบของอนุภาคนาโน เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรเลือกใช้หรือไม่ เพราะเหตุใด" นักวิจัยเผย
       
       ทั้งนี้ ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้สอบถามเพิ่มเติมไปยังนักวิจัยไทยในเรื่องดังกล่าว ซึ่ง ศ.ดร.วิวัฒน์ ตัณฑะพาณิชกุล ผอ.ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ให้ความเห็นว่าสิ่งใดก็ตามที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ก็อาจเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตอื่นได้เช่นกัน ยิ่งมีอนุภาคเล็กขนาดนาโนก็อาจทำให้เข้าสู่เซลล์สิ่งมีชีวิตได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย
       
       "ขณะ นี้ในสหรัฐฯ เองก็ประกาศห้ามใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโนกับเครื่องซักผ้าแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าอาจทำให้มีซิลเวอร์นาโนปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่"
       
       " แต่สำหรับอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่ใช้กับเสื้อนาโนนั้นใช้เทคโนโลยี เคลือบอนุภาคลงบนผิวฟิล์ม ซึ่งจะทำให้หลุดลอกได้ยาก และจะค่อยๆ หลุดออกมาในปริมาณน้อยมากๆ จึงยังไม่น่าจะเป็นอันตรายหากปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม" ศ.ดร.วิวัฒน์แจง
       
       ด้านรศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว ผอ.ศูนย์นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า อนุ ภาคซิลเวอร์นาโนที่หลุดออกไปจากเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์นาโนสามารถแขวนลอยอยู่ ในน้ำได้ และอาจเป็นไปได้ที่จะส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตหรือสะสมอยู่ในปลาต่างๆ จนเป็นอันตราย แต่ว่าต้องมีปริมาณที่สูงมากๆ จึงจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นได้ และเชื่อมั่นว่าอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่ น้อยมาก
       
       เช่นเดียวกันกับ ดร.ณัฏฐิตา ชวนเกริกกุล นักวิจัยของสถาบันโลหะและวัสดุ จุฬาฯ และผู้เขียนบทความ "จับตาสินค้านาโน" ในเว็บไซต์ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี ซึ่งคอยติดตามข้อมูลและความคืบหน้าทางด้านความปลอดภัยของนาโนเทคโนโลยีอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าอนุภาคนาโนที่จะแสดงผลว่าเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องเกิดการ สะสมในปริมาณมาก และอาจต้องขึ้นอยู่กับขนาดหรือรูปร่างอีกด้วย
       
       " เรื่องของนาโนเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ ในตอนนี้ ซึ่งยังขาดข้อมูลและความชัดเจนทางด้านความปลอดภัยอยู่มาก นักวิจัยที่ศึกษาทางด้านนี้ก็มีอยู่ไม่มาก ขณะที่ส่วนใหญ่จะเน้นศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าเสียมากกว่า มีเพียงส่วนน้อยที่ศึกษาในด้านความปลอดภัย
       
       อย่างไรก็ ดี การเตือนให้ระวังและตระหนักถึงผลของนาโนเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ดี เพราะต่อไปอาจมีสินค้าทางด้านนาโนแพร่หลายมากขึ้น และเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้จะมีนักวิจัยที่สนใจหันมาศึกษาถึงความปลอดภัยของ นาโนเทคโนโลยีกันมากขึ้น" ดร.ณัฏฐิตาแสดงความเห็น.


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น