ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ๓ ๒ ๑... >> ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย

    ลำดับตอนที่ #12 : หมวด จ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.34K
      3
      9 ธ.ค. 52

    e0b89be0b8a5e0b8b2

    -จับปลาสองมือ          
              โลภมาก มักลาภหาย อยากได้หลายอย่างแต่ในที่สุดไม่ได้สักอย่างเดียว
    -จับเสือมือเปล่า             
             แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน
    -จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง
              หมายถึง การทำอะไรไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายได้ เปรียบได้กับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ ผลเสียหายก็ย่อมเกิดขึ้นได้ สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า ” จอดเรือให้ดูฝัง จะนั่งให้ดูพื้น ” ซึ่งมีความหมายในทางตักเตือนไว้ก่อน 
    -จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด
               เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ประจำเป็นหลักแน่นอน
    -โจรปล้น ๑๐  ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว
              สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่ในตัวแล้ว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐  ครั้งหรือมากกว่านั้น  ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ  หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก  แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว  เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน  และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมด  โบราณจึงว่า  ” โจรหรือขโมยขึ้นบ้านสัก ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว
    -จับแพะชนแกะ
              หมายถึง  การทำอะไรที่ขาดความเรียบร้อยไม่เป็นกิจลักษณะ  คือเอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น  สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน  เท่ากับเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะแกะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์หรือต่างชนิดกัน  และไม่เคยปรากฏว่าแพะกับแกะจะมีผู้เคยเอามาชนกันมาก่อน
    -จับปูใส่กระด้ง
              โดยสัญชิาตญาณ  ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน  มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก  หรือคิดหนีไปท่าเดียว  เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง  ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป

    e0b888e0b8b8e0b894

    -จุดไต้ตำตอ
              สำนวนนี้ หมายถึงการพูดกล่าวขวัญหรือทำอะไรสักอย่าง  โดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้จักคนผู้นั้นครั้นพอรู้ความจริง  ผู้พูดหรือผู้ทำกลายเป็นคน  ” ห้าแต้ม “  ไปเลย  ถ้าเป็นการพูดกล่าวขวัญในทางร้ายหรือนินทาด่าคนผู้นั้นเข้า  ดีไม่ดีก็ต้องเคราะห์ร้ายเปรียบเหมือนจุดไต้ไปตำเข้ากับตอถึงไฟดับ  สำนวนนี้เข้าใจว่า  มาจากการจุดไต้ให้ไฟสว่างของคนสมัยโบราณ  ซึ่งใช้เป็นไฟฉายส่องทาง  แล้วเอาไต้ไฟไปชนเข้ากับต่อถึงดับ
    -จมไม่ลง
              เคยรุ่งเรืองใหญ่โต เมื่อตกอับก็ยังทำตัวเหมือนเดิม ไม่ยอมปรับตัวให้เหมาะกับฐานะของตน ตัวอย่าง”สิ้นสามีแล้วภรรยาและลูกๆยังจมไม่ลง ทำตัวเหมือนเดิม ทั้งๆทีไม่มีรายได้อะไร ไม่ช้าคงล้มละลายแน่”
    -จรกาหน้าหนู
             เข้าพวกกับใครไม่ได้
    -จระเข้ขวางคลอง
             ทำตัวกีดขวางผู้อื่น จนก่อให้เกิดความรำคราญ
    -จับดำถลำแดง
             มุ่งอย่างหนึ่งไปได้อีกอย่างหนึ่ง  ตัวอย่าง “ฉันอุตส่าห์เลือกอย่างดีแล้ว ทำไมจึงจับดำถลำแดงไปหยิบของมีตำหนิมาได้”
    -จับตัววางตาย
              กำหนดแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
    -จับพลัดจับผลู
              จับผิดจับถูก ไม่ได้ดังใจ
    -จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
             ยืนยันหาคนทำผิดไม่ได้

    ขอบคุณที่มาข้อมูล
    siamtower.com
    pasathai01.exteen.com
    skr.ac.th

    ขอบคุณที่มารูปภาพ
    sk.ac.th
    pasathai01.exteen.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×