ปีศักราชต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย - ปีศักราชต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย นิยาย ปีศักราชต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย : Dek-D.com - Writer

    ปีศักราชต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย

    ในการค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทยทำให้พบเจอการนับปีศักราชในหลายรูปแบบ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ค้นคว้าโดยทั่วไปอย่างแพร่หลายจึงขอนำเสนอวิธีการนับศักราชแบบต่าง ๆ ในประวัติศาสต์ไทย

    ผู้เข้าชมรวม

    2,255

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    10

    ผู้เข้าชมรวม


    2.25K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ส.ค. 52 / 18:49 น.

    แท็กนิยาย

    ปีศักราช



    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ข้อมูลจาก
    - วิกิพีเดีย

    - http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=59297&sid=8a2f5a44002a945075c0cf1bd4a06396

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ปีศักราชต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย
      พุทธศักราช หรือ พ.ศ. คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นปีเริ่มต้นในการกำหนดนับ ซึ่งพุทธศักราชได้นำไปใช้ในหลายประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของประเทศ เช่น ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในประเทศพม่าและประเทศกัมพูชานับในปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเลย เช่น ในประเทศไทยเป็นปี พ.ศ. 2548 แต่ในพม่าและกัมพูชาเป็น พ.ศ. 2549 ส่วนในประเทศศรีลังกาจะเปลี่ยนศักราชในวันวิสาขบูชา
      ประเทศไทยมีการประกาศให้บังคับใช้การนับปีเป็นพุทธศักราชในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพราะทรงมีพระราชดำริว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาควรที่จะใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) และทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหลาย ซึ่งต่างก็ใช้พุทธศักราชด้วย นอกจากนี้ ยังปรากฏในแนวพระราชดำริในการเปลี่ยนมาใช้ พ.ศ. ตามประกาศลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 ความว่า
      "...ทรงพระราชดำริว่าพระพุทธศักราชนั้นได้เคยใช้ในราชการทั่วไปไม่ ถ้าจะให้ใช้พระพุทธศักราชแทนปีรัตนโกสินทรศกแล้ว ก็จะเป็นการสะดวกแก่การอดีตในพงศาวดารของกรุงสยามมากยิ่งขึ้น...ฯลฯ... จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระพุทธศักราชในราชการทั้งปวงทั่วไป"
      ดังนั้น ทางราชการจึงเริ่มประกาศวิธีนับเดือน ปี ใน พ.ศ.2455 และได้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนมาใช้ พ.ศ. (พุทธศักราช) ตั้งแต่ พ.ศ.2456 เป็นต้นมา

               มหาศักราช
      หรือ ม.ศ. เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ บ้างก็ว่า พระเจ้าสลิวาหนะ ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ อินเดียส่วนเหนือ อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และส่วนตะวันตกของจีน ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78) ในขณะที่หนังสือต่างประเทศกล่าวว่าครองราชย์ในปี ค.ศ. 127 (พ.ศ. 670) ด้านสารานุกรมบริเตนนิการะบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 78 - 144
      มหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียง ต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่ คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้    จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
      ปัจจุบันการแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้เอา 621 บวกปี มหาศักราชนั้นจะได้ปี พุทธศักราช

               จุลศักราช
      หรือ จ.ศ. เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน
      ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปี (มาจาก ครน. ของรอบ 10 ปีจากเลขท้ายของจุลศักราช และรอบ 12 ปีของปีนักกษัตร)
      ปัจจุบันการแปลงจุลศักราช เป็นพุทธศักราช ให้เอา 1181 บวกก็จะได้ปี พุทธศักราช (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)
       
      ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้
      1.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
      2.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
      3.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
      4.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
      5.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
      6.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
      7.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
      8.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
      9.       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
      10.    ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"

              รัตนโกสนทรศก
      ตัวย่อคือ ร.ศ. คือ รูปแบบของศักราช บอกปีชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นปีแรก โดยปีรัตนโกสินทรศก 1 เทียบกับปี พ.ศ. 2325 รัตนโกสนทรศกเริ่มมีการใช้ครั้งแรกเมื่อปี จุลศักราช 1250 (เทียบเท่า พ.ศ. 2431) และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเล็งเห็นประโยชน์และสะดวกในการอ้างอิงในด้านประวัติศาสตร์ จึงได้มีการยกเลิกการงานโดยมีประกาศไว้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 (เทียบเท่า พ.ศ. 2455) โดยหนังสือราชการทั้งหมดได้เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชแทนที่
      แต่เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 บางเหตุการณ์ที่เกิดในปีนั้น ได้บันทึกว่าเกิดใน ร.ศ. 200
      ปัจจุบันการแปลงรัตนโกสนทรศก เป็นพุทธศักราช ให้นำ 2324 มาบวก ก็จะได้ปีพุทธศักราช

            ศักราชจุฬามณี
      เป็นคำระบุศักราช สันนิษฐานว่า เกิดในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ปรากฏศักราชชนิดนี้ในตำราหนังสือไทยเก่าๆ ในบานแผนกกฎหมาย ทำให้บางตำราเรียก ศักราชจุฬามณี ว่า ศักราชกฎหมาย
      ปัจจุบันการแปลงศักราชจุฬามณี เป็นพุทธศักราช ให้นำเอา 923 มาบวกก็จะได้ปีพุทธศักราช
       
       
      ข้อมูลจาก
      วิกิพีเดีย
      http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=59297&sid=8a2f5a44002a945075c0cf1bd4a06396

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×