อารมณ์ความเครียดการฝึกจิต - อารมณ์ความเครียดการฝึกจิต นิยาย อารมณ์ความเครียดการฝึกจิต : Dek-D.com - Writer

    อารมณ์ความเครียดการฝึกจิต

    โดย Well_1998

    ผู้เข้าชมรวม

    54

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    54

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 ก.ย. 56 / 22:33 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ความเครียด เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากการที่บุคคลต้องปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่กดดันหรือคุกคามให้เกิด ความทุกข์ ความไม่สบายใจ

      ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความเครียด

      ปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วย ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงทำให้เกิดความเครียดได้
      บุคลิกภาพ ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ชอบแข่งขัน เร่งรีบ ต้องการเอาชนะไม่อดทน จะมีความเครียดมาก
      ครอบครัว ความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาเรื่องลูก ความยุ่งยาก เรื่องเพศ ฯลฯ
      การงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ภาระงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานระดับต่างๆ ค่าตอบแทน ฯลฯ
      สิ่งแวดล้อม อากาศ แสง เสียง ฝุ่น ความร้อน ฯลฯ

      ผลกระทบของอารมณ์และความเครียด

      1. ผลกระทบต่อตนเอง

      - ทางกาย อาทิ ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือเท้าเย็น ท้องอืด คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
      - ทางอารมณ์ อาทิ หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ
      - ทางด้านความคิด อาทิ หดหู่ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจลำบาก หลงลืมง่าย มีความคิดทางลบมากกว่าทางบวก เห็นตัวเองไม่มีคุณค่า สิ้นหวัง ฯลฯ
      - ทางพฤติกรรม อาทิ ดื่มจัดมากเกินไป สูบบุหรี่จัด ไม่เจริญอาหาร ก้าวร้าว นอนไม่เต็มที่ ฯลฯ

      2. ผลกระทบของความเครียดต่อครอบครัว

      ครอบครัวขาดการสื่อสารที่ดีซึ่งกันและกันไม่ยอมรับและไม่มีความเข้าใจกันเกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาท เกิดการหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ระหว่างสามีภรรยา ลูกไม่ได้รับความรักความอบอุ่นและความเอาใจใส่จากพ่อแม่

      ประโยชน์และความหมายของการฝึกจิต

      • ทุกคนควรมีการฝึกฝนจิตใจเป็นกิจวัตรซึ่งเป็นยาแก้ความเครียดที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นวิธีการผ่อนคลายได้อย่างง่ายดาย
      • การฝึกจิตทำให้ท่านสร้างทัศนคติและตอบสนองชีวิตแบบใหม่ ท่านสามารถเข้าใจจิตใจของตนเองได้อย่างกระจ่าง
      • การฝึกจิตคือขบวนการฟื้นฟูชีวิต สร้างความพอใจ และใช้พรสวรรค์หรือความชำนาญพิเศษของตนเอง ในทางที่ดี
      • การฝึกจิต ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อได้รับสิ่งที่ดีงาม และมีผลลัพธ์ที่พอใจ

      โดยการฝึกจิตวันละนิดทุก ๆ วัน ไม่นานจะกลายเป็นธรรมชาติ และนิสัยได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างความเพียรพยายามที่เข้มข้น

      ขั้นตอนการฝึกจิตพื้นฐาน:

      1.               หาเวลาว่างสำหรับตนเองทุก ๆ เช้าและเย็น 10 หรือ 20 นาที

      2.               หาสถานที่ ที่สงบเพื่อให้มีการผ่อนคลาย ใช้แสงไฟหรี ๆ และใช้เสียงเพลงเบา ๆ ช่วยสร้างบรรยากาศที่เหมาะสม

      3.               นั่งตัวตรงในท่าที่สบายๆบนพื้นหรือบนเก้าอี้

      4.               ไม่หลับตา และไม่เปิดตาเกินไป มองไปยังจุดใดจุดหนึ่งข้างหน้า

      5.               หันความสนใจของท่านจากการเห็นและการได้ยินเพื่อเข้าไปสู่ภายในตนเองอย่างช้า ๆ

      6.               เฝ้าสังเกตการณ์ความคิดของท่านเอง

      7.               ไม่ควรพยายามที่จะหยุดคิด เพียงแต่เป็นผู้สังเกตการณ์ ไม่วิจารณ์หรือขจัดความคิดออกไป เพียงแต่เฝ้าดู

      8.               ค่อย ๆ ทำให้ความคิดช้าลง และแล้วท่านจะเริ่มรู้สึกสงบมากขึ้น

      9.               สร้างความคิดเกี่ยวกับตนเอง ให้มีเพียงความคิดเดียว เช่น ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ

      10.         นำความคิดนั้นไปสู่ฉากของจิตใจ จินตนาการว่าตนเองเต็มไปด้วยความสงบ เงียบ และนิ่ง

      11.         อยู่ในความคิดนั้นให้นานเท่าที่ทำได้ อย่าได้ต่อสู้กับความคิดอื่น หรือความทรงจำที่อาจเข้ามารบกวน เพียงแต่เฝ้าดูมันผ่านไป และกลับมาสร้างความคิดของท่านอีกครั้ง ฉันคือดวงวิญญาณที่สงบ

      12.         ยอมรับและพอใจในความคิดและความรู้สึกที่เป็นบวก ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเพียงหนึ่งความคิด

      13.         มั่นคงอยู่ในความรู้สึกเหล่านี้ซักครู่ จงระวังความคิดที่ไม่เกี่ยวข้อง

      14.         สิ้นสุดการฝึกจิตของท่านโดยปิดตาของท่านซักครู่หนึ่ง และสร้างความสงบในจิตใจของท่านอย่างสมบูรณ์

       

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×