ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ฝึกเรียนฮิรางานะกับป่านคุง

    ลำดับตอนที่ #7 : บทที่ 6 อักษรฮิรางานะ แถวตัวอักษร ฮะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.04K
      5
      7 ม.ค. 52

    อ้อ ก่อนเราจะมาทวนและเริ่มบทเรียนกัน ผมมาแจ้งข่าวนิดนึงนะครับ สำหรับวันคิดมากและวันสิ้นปี (เขียนถูกแล้วครับ วันคิดมาก วันที่พวกคุณต้องมานั่งสอบกลางเทอม ผมจำได้) ในช่วงวันคิดมาก นั่นคือ วันที่ 20 - 27 ผมจะงดโพสสอนนะครับ เพื่อให้ทุกคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เรียนมัธยมกัน) ได้เวลาเวลาอ่านเตรียมตัวสอบ ส่วนหลังสอบเสร็จซึ่งก็น่าขึ้นรูปประโยคแล้ว ก็อาจจะพักกันก่อน แล้วข้ามไปเป็นประโยคทักทายเล็กๆน้อยๆ แล้วก็จะหยุดโพสสอนตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม จนถึงวันจันทร์ที่ 5 นะครับ เพราะหลายๆคนอาจหยุดไปเที่ยวปีใหม่กัน ซึ่งหากผมโพสสอนไปเรื่อยๆจะตามไม่ทัน จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ซึ่งตามที่ผมคาดการณ์ไว้ เราน่าจะเรียนตัวอักษรฮิรางานะจบก่อนวันคิดมาก ซึ่งจะเป็นผลดีกับเพื่อนๆที่จะได้ไม่ต้องเคร่งเครียดมากครับ (ไม่ได้บอกว่าให้ไปอ่านสือสอบก่อน เพราะผมรู้ดี ไม่มีใครชอบหรอกวันสอบ 5555 แต่อย่าให้ตกละกัน)

    เอาหละครับ เดี๋ยวผมจะประกาศซํ้าไปอีก 2 - 3 วันนะครับ เผื่อมีประเภทขยันจัด ชอบเลื่อนข้ามไปบทเรียนเลย หุๆ


    บทที่ 6 อักษรฮิรางานะ แถวตัวอักษร ฮะ






    ตอนนี้ก็ถ้าเอาเฉพาะตัวฮิรางานะธรรมดา ก็มากันครึ่งทางแล้วนะครับ จำกันได้ยังนี่ ? อะนี่ครับ การบ้าน เอาไปหัดท่องด้วยนะครับ







    ของฝากจากญี่ปุ่น

    ตอน พาเที่ยวโรงเรียนในญี่ปุ่น ตอนที่ 1




    ** เนื่องจากเรื่องราวของโรงเรียนญี่ปุ่นมีเนื้อหาเยอะ ดังนั้นจึงแยกออกมาเป็นหัวข้อนะครับ หุๆ

    ใครรักการ์ตูนญี่ปุ่น อ่านการ์ตูนญี่ปุ่น คงจะบอกได้ว่า ส่วนประกอบสำคัญของการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขาดไปไม่ได้คือเรื่องของ "โรงเรียน" การ์ตูนญี่ปุ่นกว่า 90% จะมีเรื่องของโรงเรียนญี่ปุ่น นักเรียนญี่ปุ่น ให้เห็นตลอดเวลา เรื่องที่ผมได้คุยกะ "ชิกะ" ก็หนีไม่พ้นเรื่องของโรงเรียนเช่นกัน




    โรงเรียนของญี่ปุ่น ซึ่งเป็น "แหล่งกำเนิด การ์ตูนญี่ปุ่น" จะเป็นอย่างไร มีอะไรในนั้น และตรงกับที่คุณวาดฝันไว้รึปล่าวเอ่ย...... เรามาดูกัน......


    โรงเรียนของญี่ปุ่น หรือ "กักโค" (??) ถ้านับตามประเภทใหญ่ๆ ก็แบ่งได้เป็น

    1. โรงเรียนอนุบาล หรือ โยจิเอ็ง ??? ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมประถมนั่นเอง เราคงจำกันได้ ชินจัง เรียนโรงเรียนอนุบาล
    2. โรงเรียนประถม หรือ โชกักโค ??? เป็นโรงเรียนประถม โนบิตะ และเพื่อนๆ เรียนอยู่ระดับนี้
    3. โรงเรียนมัธยมต้น หรือ จูกักโค ??? โรงเรียนมัธยมต้น เรียน 3 ปี เหมือนบ้านเรา
    4. โรงเรียนเฉพาะทาง หรือ เซมมองกักโค ???? คล้ายโรงเรียนอาชีวะบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียนแค่ 2 ปี บางที่เรียน 3 ปี
    5. โรงเรียนมัธยมปลาย หรือ โคโค ?? เป็นเโรงเรียนมัธยมปลาย เรียน 3 ปี เช่นกัน

    นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนอื่นๆ ที่เรียก ผิดแปลกออกไปตามประเภทย่อยๆ อีกหลายอย่าง เช่น

    1. โรงเรียนเตรียม จูคุ หรือ โยบิโค ? or ??? เป็นโรงเรียนที่เรียนเพื่อเตรียมเข้าระดับมหาลัย (คล้ายๆโรงเรียนเตรียมพัฒนาการ)

    2. โรงเรียนประถม - มัธยมต้น หรือ โชจูกักโค ???? เป็นโรงเรียนที่มีระดับประถม และมัธยมต้นปนกัน.... (ส่วนมากโรงเรียนแบบนี้เป็นของเอกชนนะของไทย)

    3. โรงเรียนหญิงล้วน หรือ โจฉิกักโค ???? เป็นโรงเรียนหญิงล้วน (แบบ สายนํ้าผึ้ง อะไรแบบนี้)

    4. โรงเรียนสำหรับผู้พิการ หรือ โยโงกักโค ???? เป็นโรงเรียนที่อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ โดยแบ่งระดับการเรียนเหมือนกับโรงเรียนปกติทั่วไป

    5. อื่นๆ อีกมากมาย...... (เทียบในไทยก็ โรงเรียนฝึกอาชีพ กศน. อะไรทำนองนี้ครับ)

    ไปโรงเรียนกันดีกว่า" ?????? !! (มันมีตัวคาตะตานะกับคันจิมาด้วยอะ ยังอ่านไม่ออก แต่มี 3 คำเป็นฮิรางานะ ตัวอะไร จำกันได้ไหม ^^)

    สิ่งหนึ่งที่เหมือนบ้านเรา เวลานักเรียนไปเรียน " ไม่ขับรถไปเรียน" อาจเป็นเพราะ ยังไม่มีใบขับขี่ อีกทั้งไม่มีที่จอดรถ นักเรียน หรือ กักเซย์ซัง ( ?? ) ทั้งหลายจะใช้การเดิน หรือไม่ก็ขี่จักรยานไปเรียน ใครบ้านใกล ก็ใช้บริการรถประจำทาง หรือไม่ก็รถไฟ ที่มีให้บริการ แม้ต้องต่อหลายต่อก็ไม่ท้อ......







    ทางไปโรงเรียนตอนฤดูใบไม้ผลิ




    อันนี้ใกล้ฤดูหนาวครับ






    อะไรเอ่ย....ให้ทาย
    มันคือที่จอดจักรยาน พร้อมที่ล๊อก เป็นช่องๆ เลย เห็นป่ะ  เดี๋ยวจะมีภาพมาให้ดูเป็นช็อตๆนะครับ พอดีมันอยู่ใน DVD ของ อาจารย์ เดี๋ยวผมไปขอกอปก่อนนะ)

    (ไม่อยากจะคุย ผมเนี่ยแหละเป็นคนที่ปั่นจักรยานมาโรงเรียนตอน ม. 5 ปั่นแข่งกับรถเมล์เลยนะครับ (ไม่แข่งได้ไง ไม่รีบปั่น มันก็บีบมาชิดข้างทางเรื่อยๆ - - *) ข้อดีมหาศาลเลยนะครับคือ ผมสามารถประหยัดค่ารถไปได้ตั้ง  40 บาท  รวมทั้งไปโรงเรียนไวกว่ารถเมล์เลย ปกติผมต้องใช้เวลาขึ้นรถเมล์ที่ 40 - 50 นาทีถึง โรงเรียน แต่ผมสามารถใช้เวลาทีเดียว 10 - 15 นาทีเอง ไวไหมครับ ^^ ออกกำลังกายไปในตัวด้วย ผมก็จอดจักรยานไว้หน้าโรงเรียนคู่กับมอเตอร์ไซด์ แน่นอน มีหมวกกันน็อตด้วย ผมก็แขวนกับจักรยานแหละ ฝากให้ยามดูให้ ไม่หายด้วย เพราะจักรยานเก่า (สีเก่า ถลอก แต่โซ่และล้อเบรกยังใหม่ แต่ผมจงใจทำให้มันโทรมๆ) เพื่อนๆคนไหนอยากทำมั่งลองดูได้นะ น่องขาผมตอนนั้นนี่เป็นมัดๆเลย ><  คิดดู สาวๆมองผมขนาดไหนตอนผมปั่นกลับบ้าน ตอนขากลับยังมีปั่นแข่งกับมอไซด์ที่นักเรียนโรงเรียนเก่าผมขับมาเลย คิดดู ผลเหรอ คงรู้นะ แพ้มันทุกรอบ ฮึ้ย...)

    การมาโรงเรียนของนักเรียนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในระดับ ม.ต้น จะมี คะแนนการเข้าเรียน หรือว่า ฉุดเซกิ ( ?? ) ซึ่งคะแนนนี้ จะถูกนำไปรวมกับคะแนนทำเข้าสอบเพื่อเข้าเรียนระดับ ม.ปลาย ด้วย โรงเรียนของญี่ปุ่น เข้าเรียนตอน 8.30 น. ใครมาช้า ประตูโรงเรียนจะปิดจริงๆ ใครมาไม่ทันต้องไปรายงานตัว แล้วถูกตัดคะแนนในส่วนนี้ (โนบิตะโดนประจำ)

    แต่แปลกมาก ... แม้มีการตัดแต้ม นักเรียนก็มักใช้วิธี " มาเช้า แล้วหลับในห้อง " ประจำ ซึ่งการหลับในห้อง กลับไม่โดนตัดแต้ม แต่อาจโดนชอล์คปาหัวแบบในการ์ตูนก็ได้......

    เมื่อถึงโรงเรียน นักเรียนเกือบทุกโรงเรียน และทุกระดับ จะไป "เปลี่ยนรองเท้า" ที่ล๊อกเกอร์ซึ่งอยู่หน้าประตูก่อนเป็นอันดับแรก นี่เป็นคำถามแรกๆ ที่ผมถาม " ชิกะ " ว่ามันต้องทำแบบนี้จริงๆ หรือ เธอยืนยันว่าต้องทำ เพราะนอกจากป้องกันโรงเรียนจากความสกปรกแล้ว เวลาเดินตรงระเบียงทำให้ "ไม่มีเสียงดัง" เวลาเดินด้วย.....(ความรู้ใหม่....)  และบ้านเราทำไม่ได้แน่ กลิ่นถุงเท้าน่าจะรู้ๆกันว่า สุดยอด อย่าลืมครับ เพื่อนเราในโรงเรียนไม่ได้อยู่ดีกินดีทุกคนเหมือนญี่ปุ่น)





    ช่องเก็บรองเท้า (มีเก็บขยะด้วย...)


    รองเท้าที่ว่าเป็นรองเท้าผ้าใบบางๆ สวมใส่สบายๆ บางโรงเรียนทำเป็นสีต่างๆ แยกกัน เช่น สีฟ้าของผู้ชาย ชมพูของผู้หญิง และมีชื่อเขียนไว้บนหัวรองเท้าทุกคู่.....ป้องกันการโฉบของพวกมือดี.. (ดีวุ้ย บ้านเราแม่งงหายได้หายดี แสดดด)

    ตอนเช้า ก่อนเรียนวิชาต่างๆ จะมี ครูประจำชั้น หรือ ทันนินเซ็นเซย์ (????) มาโฮมรูมก่อน โดย หัวข้อการโฮมรูมคือ เช็คชื่อนักเรียน นอกจากนี้ ยังบอกข้อมูลคร่าวๆ ว่า โรงเรียนจะมีกิจกรรมอะไร นักเรียนต้องทำอะไร ซึ่งเป็นที่รับรู้รับทราบพร้อมกัน..... (ตรงนี้ของไทยเรา บางโรงเรียนก็โฮมรุมเช้า บางโรงเรียนก็โฮมรูมเย็น ขึ้นอยู่กับนโยบาลของโรงเรียนครับ)

    ระบบ "ครูประจำชั้น" กับ " นักเรียน " มีความสัมพันธ์กันมากในการเรียนของญี่ปุ่น โดยเฉพาะระดับ ม.ปลาย และ มหาลัย ต้องมีครูที่ปรึกษาเพื่อให้การเรียนต่อ....เป็นคนรับรองให้ (ง่ายๆก็คือ อ. แนะแนวไง ใครเรียน ม. 6 เดินไปหาซะนะ)






    ว่างๆ มาเที่ยวใหม่นะคะ.... (มาแน่คะ)


    แล้วเดี๋ยววันพรุ่งนี้รอบเช้าเราจะมาพูดถึงการทำอาหารกล่อง อาหารกลางวันที่ญี่ปุ่นทำกันไปกินที่โรีงเรียนครับ เดี๋ยวจะลองหาสูตรทำมาด้วย ใครอยากทำไปวันจันทร์นี้ก็ลองดูนะครับ แบบ ญี่ปุ่น หุๆ ^^

    (ไม่อยากจะเม้าท์เลยครับ ผมเนี่ยแหละเป็นคนเดียวที่ทำอาหารกล่องไปกิน (บ้าก็ตอนดูการ์ตูนเรื่องอินุยาฉะนะแหละ) ทำเองครับ เอาไปกินเองด้วย ข้อดีคือ ผมจะต้องตื่นเช้าเพื่อมาทำอาหาร ทำให้ผมตื่นเช้ามาโดยปริยาย และอาหารผมสามารถใส่มาเยอะขนาดไหนก็ได้ อาหารโรงเรียนไทยมีกระจิ๊กนึง ผมกินไม่อิ่ม และประหยัดค่าข้าวไปได้มื้อนึง แต่ข้อเสียคือผมชอบลืมเอากล่องกลับบ้าน แง้)


    เอาหละครับ แล้วเจอกันวันพรุ่งนี้นะครับ เราใกล้เขียนฮิรางานะตัวปกติครบแล้ว สู้ๆนะ ^^ เป็นกำลังใจให้ครับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×