ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถาม lll

    ลำดับตอนที่ #7 : "หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน" สวรรค์ของนักลงทุน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 353
      0
      4 ก.พ. 49



                   "หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน" สวรรค์ของนักลงทุน 



     จากกรณี "ซุกหุ้นภาคสอง" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ทำให้เราคุ้นหูกับชื่อหมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ซึ่งเป็นสถานที่จดทะเบียนของ "แอมเพิล ริช"
           
           หมู่เกาะแห่งนี้มีฐานะเป็นดินแดนโพ้นทะเลของ สหราชอาณาจักร ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่มากกว่า 50 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ทางตะวันออกของประเทศจาเมกา และเปอร์โตริโก เดิมทีเป็นอาณานิคมของ ดัตช์ แต่ตกเป็นของอังกฤษในปี 1672
           
           แม้ว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มักได้เครดิตเป็นผู้ค้นพบหมู่เกาะเวอร์จิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ในหมู่เกาะแห่งนี้กลุ่มแรกคือชาวอินเดียนแดง มนุษย์ยุคก่อนประวัติ-ศาสตร์กลุ่มนี้ มีรากเหง้าอยู่ในพื้นที่ซึ่งเรียกว่าแอ่งโอรินโนโก ในเวเนซุเอลา พวกเขาอพยพมายังหมู่เกาะแห่งนี้ด้วยการพายเรือแคนูที่ขุดมาจากต้นไม้ เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน คริสตกาล และก็พลิกแผ่นดินแห่งนี้ให้อุดมสมบูรณ์ตลอดชั่ว 1,000 ปีต่อมา
           
           โคลัมบัส เดินทางมาถึงหมู่เกาะแห่งหนึ่งในการเดินทางสู่โลกใหม่เที่ยวที่ 2 ของเขาในปี 1493 และตั้งชื่อหมู่เกาะที่งดงามแห่งนี้ขึ้นตามตำนานของนักบุญอูร์ซูลา และสาวใช้พรหมจาริณี 11,000 คน ที่ตามเธอมาในการเดินทางเพื่ออุทิศแก่ศาสนา
           
           ปัจจุบัน รัฐบาลบีวีไอประกอบไปด้วยสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งและคณะบริหารที่ได้รับเสียงข้างมากในสภา หัวหน้ารัฐบาลมีตำแหน่งเป็นมุขมนตรี มีพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุข ซึ่งทรงแต่งตั้งผู้ว่าการเกาะ เป็นตัวแทนพระราชอำนาจของพระองค์ จากข้อมูลของซีไอเอในเดือนกรกฎาคม 2005 ดินแดนแห่งนี้มีประชากร 22,643 คน สำหรับเมืองหลวงคือโรดทาวน์ บนเกาะทอโทลา ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
           
           ชื่อเสียงของเกาะนี้โด่งดังอยู่สองทาง หนึ่ง คือ เป็นเกาะสวรรค์ของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่นิยมเดินทางมาพักผ่อนกับบรรยากาศหาดทรายขาวบริสุทธิ์ ดำน้ำชมปะการัง หรือล่องเรือยอชต์สำรวจเกาะแก่ง ที่บริติช เวอร์จิน สถิติเมื่อปี 1998 พบว่า นักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ เดินทางมายังหมู่เกาะแห่งนี้ประมาณ 350,000 คน ก่อนที่จำนวนนักท่องเที่ยวจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจอันซบเซาของสหรัฐฯ ในปี 2002
           
           อย่างไรก็ตาม รายได้จากการท่องเที่ยวก็ยังเป็นแหล่งรายได้หลัก คิดเป็น 45% ของรายได้ประชาชาติ ของหนึ่งในดินแดนเกาะที่มั่งคั่งที่สุดในแถบแคริบเบียนแห่งนี้
           
           ชื่อเสีย(ง) อีกอย่างของหมู่เกาะบริติช เวอร์จิน คือ การเป็นสวรรค์ของนักลงทุน ช่วงกลางทศวรรษ 1980 รัฐบาลของหมู่เกาะเริ่มเปิดให้ต่างชาติ เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทบนเกาะได้ และตอนนี้ค่าธรรมเนียมจัดตั้งบริษัทก็ทำรายได้ให้บริติชเวอร์จินเป็นกอบเป็นกำทีเดียว โดยข้อมูลเมื่อสิ้นปี 2000 ระบุว่า มีบริษัทราวๆ 400,000 บริษัท ที่จดทะเบียนแบบออฟชอร์ อยู่ที่นี่
           
           สาเหตุที่ทำให้บริษัทจากทั่วโลกเข้ามาตั้งบริษัทบนหมู่เกาะแห่งนี้ก็เพราะการประกาศใช้กฎหมาย กฎหมายธุรกิจนานาชาติปี 1984 ซึ่งต่อมาก็มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก กฎหมายฉบับนี้เปิดช่องทางให้บริษัทซึ่งไม่ต้องการเปิดเผยรายละเอียดต่างๆ ของตน เข้ามาจดทะเบียนที่นี่ได้ ทั้งนี้ มีเพียงกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนเดียวก็จัดตั้งบริษัทได้แล้ว แถมกรรมการหรือผู้ถือหุ้นนี้เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และไม่มีการกำหนดให้ต้องมีกรรมการหรือผู้ถือหุ้นเป็นคนท้องถิ่นด้วย
           
           นอกจากนั้น เอกสารในการจดทะเบียนบริษัทที่บริติชเวอร์จิน ไม่ต้องแจ้งชื่อผู้ถือหุ้นหรือกรรมการใดๆ เอกสารของทางการทุกอย่างก็จะไม่ปรากฏนามคนเหล่านี้เช่นกัน อีกทั้งยังอนุญาตให้ใช้บริการนอมินี เพื่อรักษาความลับของผู้ได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่
           
           กฎหมายฉบับนี้ยังทำให้บริษัทออฟชอร์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเป็นเวลา 20 ปี แถมยังไม่ต้องยื่นแบบแสดงบัญชีอะไรต่อทางการ และไม่ต้องเก็บรายงานทางการเงินหรือบัญชีอะไรไว้ที่บริษัทซึ่งจดทะเบียนในบีวีไอ
           
           เพราะความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐฯ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกันเพียงไม่กี่ไมล์ หมู่เกาะบริติชเวอรจินจึงใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐมาตั้งแต่ปี 1959 นอกจากนี้ หมู่เกาะบริติชเวอร์จินยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งยาเสพติดผิดกฎหมายในอเมริกาใต้ไปยังสหรัฐฯและยุโรปด้วย




    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×