ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #154 : ต้นโพ หรือ ต้นโพธิ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 239
      0
      15 เม.ย. 48





                        ต้นโพ หรือ ต้นโพธิ์



          ต้นโพที่เป็นต้นไม้ใหญ่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนานั้น สะกดอย่างไรกันแน่ ระหว่าง โพ กับ โพธิ์

        (เพียรพร วงศ์อนันต์ / จ. กาญจนบุรี)  



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





        อาจารย์ไขศิริ ปราโมช ณ อยุธยา ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

        มีต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่งหลายคนสงสัยว่า ชื่อของต้นไม้ชนิดนี้สะกดอย่างไรกันแน่ ต้นไม้นี้เป็นต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา คือ ต้นโพ นั่นเอง ส่วนมากสงสัยว่าควรจะสะกดว่า โพ หรือสะกด โพธิ หรือว่า โพธิ์ สรุปได้ว่ามีผู้เขียนชื่อต้นโพถึงสามแบบ

        ต้นไม้ที่ชื่อ โพ ในลังกาก็เรียกว่า โบทรี (Bo tree) บางท่านว่าเราคงเรียกตามชาวลังกา ต้นโพที่สะกดแบบนี้หมายถึงโพที่ขึ้นทั่ว ๆ ไปซึ่งไม่มีความสำคัญอะไร แต่ต้นไม้ชนิดเดียวกันนี้ บังเอิญไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางพุทธศาสนา คือเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ เมื่อตอนที่ทรงพิชิตพระยามารและตอนตรัสรู้ ชาวพุทธถือว่าต้นไม้นี้เป็นต้นไม้สำคัญยิ่ง ชาวอินเดียเรียกว่า อัสสัตถพฤกษ์ ภาษาไทยเรียกต้นโพต้นนั้นว่า ต้นศรีมหาโพธิ คำว่า โพ เพิ่ม ธ ธง สระอิ เข้าไปด้วย ซึ่งหมายถึงความตรัสรู้ เพราะฉะนั้นต้นศรีมหาโพธิ จึงหมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งแต่เดิมก็มีอยู่เพียงต้นเดียวเท่านั้น คือต้นที่พระพุทธเจ้าประทับ แต่ต่อมาผู้ที่นับถือพุทธศาสนาได้นำพันธุ์จากต้นเดิมที่ตรัสรู้ ซึ่งอยู่ที่พุทธคยา มาปลูกตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกต้นโพที่นำมาจากต้นศรีมหาโพธินั้นว่า ต้นศรีมหาโพธิ ด้วย และบางทีก็เรียกย่อ ๆ ว่า ต้นโพธิ แต่ต้องเขียน ธ ธงสระอิไว้ด้วย เพราะหมายถึงต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

        ตามที่อธิบายมานี้พอจะแยกได้ว่า ต้นโพที่นำพันธุ์มาจากต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จะเขียนว่า โพธิ หรือ โพธิ์ ส่วนต้นโพอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่ก่อนไม่ได้เกี่ยวข้องกับต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็คงเขียนว่า โพ อย่างเดิม





    --------------------------------------------------------------------------------



      

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×