ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #231 : ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า \"แสงเหนือ\"

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 150
      0
      8 ก.ค. 48







    ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า \"แสงเหนือ\" นั้น คืออะไรคะ

    / NOTE





    xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx





    ตอบ





    แสงเหนือ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Northern Lights หรือมีอีกชื่อไพเราะเพราะพริ้งว่า ออโรร่า Aurora แสงเหนือ ที่สว่างไสวสวยงามนั้นเป็นปฎิกิริยาระหว่างสนามแม่เหล็กของโลกสัมผัสกับลมสุริยะจากดวงอาทิตย์



    ก่อนอื่นมารู้จักโลกของเราเล็กน้อยก่อนว่า โลกเรานั้นหุ้มด้วย 2 สิ่ง อย่างแรกคือชั้นบรรยากาศหลากหลายชั้น เต็มไปด้วยแก๊สต่างๆ ส่วนอีกอย่างก็คือ สนามแม่เหล็ก



    สนามแม่เหล็กนี้เกิดจากการที่แกนกลางของโลกก่อตัวขึ้นจากธาตุโลหะต่างๆ เหมือนเป็นแม่เหล็กยักษ์ตั้งอยู่กลางโลก ระหว่างดวงอาทิตย์และโลกนั้นมีแรงดึงดูดถึงกัน ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศและโลกนั้นมีแรงดึงดูดถึงกัน ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศสนามแม่เหล็ก (Magnetsphere) คราวนี้คิดดูแล้วกันว่า เวลาที่เราเล่นแม่เหล็กน่ะ มันจะดูดวัตถุโลหะต่างๆ เข้ามาติดหนึบเข้ากับตัวมัน



    ชั้นบรรยากาศของสนามแม่เหล็กก็เช่นกัน มันจะขยายกำลังของมันดูดวัตถุโลหะจากอวกาศเข้ามาหนึบกับมัน โดยเฉพาะตรงจุดที่สนามแม่เหล็กแรงมากๆ อย่างบริเวณขั้วโลกทั้งเหนือและใต้



    จุดชมแสงเหนือจึงมักอยู่ในพื้นที่ขั้วโลก อย่างรัฐอลาสก้าของสหรัฐ เป็นจุดที่ชมแสงเหนือใต้สวยงามมาก





    เอาล่ะ คราวนี้เราก็กลับไปดูลมพายุสุริยะที่พัดผ่านมาซะหน่อย เพราะในลมพายุที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์นี้ประกอบด้วยอนุภาคสสารมากมาย เมื่อมันพัดผ่านมายังสนามแม่เหล็กของโลกเรา อนุภาคต่างๆ ที่ติดหนึบเข้ามาในสนามแม่เหล็กในชั้นบรรยากาศนี้เองที่ทำให้เราเห็นแสงเหนือ



    แสงจะมีลักษณะเหมือนแสงจากจอทีวีสี เพราะภาพจากทีวีนั้นก็ควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กเหมือนกัน



    แสงเหนือจะมีสีต่างๆ กันออกไป ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของแก๊สและพลังงานอนุภาคที่มากับลมสุริยะนั้นๆ แสงที่สว่างสุดคือสีเหลือง-เขียว ส่วนที่หายากคือสีแดง







    xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×