ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #25 : ตี นตุ๊กแก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 478
      0
      30 ธ.ค. 47





                    ตี นตุ๊กแก



          \"ซองคำถาม\" เคยเห็นแถบพลาสติกที่ทำเป็นขุย ติดกันได้ใช้แทนซิป

    แบบที่ใช้กับกระเป๋าและรองเท้าไหม มันเรียกว่าอะไร และใครเป็นผู้ประดิษฐ์



        (จันทรา จงกล / กรุงเทพฯ)



    ****************



        มันมีชื่อว่า velcro ในภาษาไทยเรียกกันว่า ตี นตุ๊กแก



        ระหว่างการเดินเขาในเทือกเขาอัลไพน์ใน ค.ศ. ๑๙๔๘ นักไต่เขาชาวสวิสชื่อ จอร์จ เดอ เมอสทรอล

    (George de Mestral) รู้สึกหงุดหงิดรำคาญกับเมล็ดหนามของพันธุ์ไม้ป่า ที่มาเกาะติดตามกางเกงและถุงเท้าของเขา

    ขณะที่เขาค่อย ๆ แกะมันออกอย่างยากเย็น เขาก็เกิดความคิดขึ้นว่า การทำเครื่องยึดติดโดยอาศัยหลักการ

    เกาะยึดของเมล็ดหนาม เพื่อแข่งกับหรือแทนที่ซิป น่าจะเป็นไปได้



        ทุกวันนี้ ตี นตุ๊กแก หรือ velcro ประกอบด้วยแถบไนลอนสองแถบ แถบด้านหนึ่งเป็นตะขอขนาดจิ๋วนับพัน ๆ ตัว

    ส่วนแถบอีกด้านหนึ่งเป็นตาขนาดจิ๋ว เมื่อกดแถบไนลอนทั้งสองเข้าด้วยกัน ตะขอจะเกี่ยวเข้ากับตาและล็อกติดกัน

    ไว้แน่นสนิท กว่าที่ความคิดนี้จะได้รับการพัฒนา ให้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ก็กินเวลาและความพยายามถึง ๑๐ ปี



        ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอซึ่ง เดอ เมอสทรอล ไปปรึกษา ต่างก็หัวเราะเยาะ ความคิดที่จะประดิษฐ์เมล็ดหนามเทียมขึ้น

    มีเพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นช่างทอที่โรงงานทอผ้า ณ เมืองลียง (Lyon) ประเทศฝรั่งเศส ที่เชื่อว่าความคิดนี้

    น่าจะทำให้เป็นจริงได้ ช่างทอผู้นี้เริ่มทำงานกับเครื่องทอมือขนาดเล็กพิเศษ เขาทอแถบผ้าฝ้ายขึ้นสองชิ้น

    ชิ้นหนึ่งเป็นตะขอตัวจิ๋ว อีกชิ้นเป็นตาขนาดเล็กกว่า เมื่อกดเข้าด้วยกันแถบผ้าทั้งสองจะประกบติดกันแน่น

    และไม่หลุดออกจากกัน จนกว่าจะถูกดึงแยกจากกัน เดอ เมอสทรอล ตั้งชื่อผลงานตัวอย่างชิ้นแรกนี้ว่า

    แถบล็อก หรือ \"locking tape\"



        การคิดค้นพัฒนาเครื่องมือซึ่งสามารถเลียนแบบงานฝีมือ อันละเอียดลออของช่างทอ

    ต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชั้นสูง ผ้าฝ้ายถูกแทนที่ด้วย \"ไนลอน\" เนื่องจากการเปิดปิดครั้งแล้วครั้งเล่า

    ทำให้ตะขอและตาที่อ่อนนุ่มของแถบผ้าฝ้ายต้นแบบ ฉีกขาดเสียหาย เดอ เมอสทรอล ได้ค้นพบว่าเมื่อทอเส้น

    ด้ายไนลอนภายใต้รังสีอินฟราเรด จะได้ตะขอและตาที่เหนียวแข็งแรงทนทานมาก ในกลางทศวรรษ ๑๙๕๐

    แถบล็อกไนลอนก็ปรากฏตัวในท้องตลาด สำหรับชื่อทางการค้า เดอ เมอสทรอล เลือกคำว่า vel จาก \"velvet\"

    หรือกำมะหยี่ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่าเขาชอบเสียงของคำคำนี้ และเลือกคำว่า cro จากคำภาษาฝรั่งเศส \"crochet\"

    ที่แปลว่า ตะขอ (hook)



        พอถึงปลายทศวรรษ ๑๙๕๐ เครื่องทอในโรงงานก็สามารถผลิต velcro ได้มากถึง ๖๐ ล้านหลาต่อปี

    และถึงแม้ว่าเครื่องยึดไนลอนชนิดใหม่นี้ ไม่อาจแทนที่ซิปได้อย่างที่ เดอ เมอสทรอล คาดหวังไว้

    แต่ตีนตุ๊กแกก็เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ชุดว่ายน้ำ ผ้าอ้อม

    นาฬิกาข้อมือ ไปจนถึงในหัวใจเทียมและเครื่องใช้ในยานอวกาศ



    --------------------------------------------------------------------------------



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×