ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #289 : สำนวนไทย

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 677
      0
      28 ก.ย. 48



                            



                               สำนวนไทย





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





            ในชีวิตประจำวันของคนเรามีการใช้สำนวนไทยอย่างมาก  โดยเฉพาะไนการสื่อสารของมนุษย์   ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับสำนวนไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง   ในที่นี้จะได้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดสำนวนไทยมีความเป็นมาอย่างไร  สำนวนไทยมีลักษณะของคำเป็นอย่างไร    และสำนวนไทยมีประโยชน์และมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดในชีวิตประจำวันของมนุษย์









    ที่เกิดสำนวนไทย



            ที่เกิดสำนวนไทยมีมูลเหตุจากหลายทางด้วยกัน  เป็นต้นว่า  เกิดจากธรรมชาติ  เกิดจากการ กระทำ  ความประพฤติ   การกินอยู่ของคน  เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม  เกิดจาก    ศาสนา  เกิดจากนิยาย  นิทาน  ตำนานหรือประวัติวัติศาสตร์  เกิดจากกีฬา  การละเล่นหรือการ  แข่งขันละมูลเหตุอื่นๆอีกซึ่งพอสรุปประการสำคัญ ๆ  เป็นตัวอย่างได้ดังนี้



    1. เกิดจากธรรมชาติ  เช่น



                                       ข้าวคอยฝน                       ฝนตกไม่ทั่วฟ้า



                                       คลื่นใต้น้ำ                         น้ำซึมบ่อทราย



                                       ไม้งามกระรอกเจาะ           ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น



    2.    เกิดจากสัตว์   เช่น



                                        ไก่แก่แม่ปลาช่อน             ขี่ช้างจับตั๊กแตน



                                       ปลากระดี่ได้น้ำ                 วัวแก่เคี้ยวหญ้าอ่อน



                                       เสือซ่อนเล็บ                      หมาหยอกไก่



    3. เกิดจากการกระทำ  ความประพฤติ  การปฏิบัติและการกินอยู่ของคน  เช่น



                             ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน                      ขึ้นต้นไม้ช่วยแรงคาถา



                              ไกลปีนเที่ยง                               ปิดทองหลังพระ



                              ชักใบให้เรือเสีย                          พายเรือคนละที



                              นอนตาไม่หลับ                            หาเช้ากินค่ำ



    4. เกิดจากอวัยวะต่างๆ  เช่น



                              ใจลอย                                ตาเล็กตาน้อย



                              ตีนเท่าฝาหอย                    ปากรรมยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม



                              มืออยู่ไม่สุข                        หัวรักหัวใคร่



    5. เกิดจากของกินของใช้  เช่น



                              ข้าวแดงแกงร้อน                  ไข่ในหิน



                              ฆ้องปากแตก                       ผ้าขี้ริ้วห่อทอง



                               ลงเรือลำเดียวกัน                 บ้านเคยอยู่  อู่เคยนอน



    6.    เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม   เช่น



                            ช้างเท้าหลัง                                 ตื่นก่อนนอนหลัง



                            เข้าตามตรอกออกตามประตู          เป็นทองแผ่นเดียวกัน



                            ฝังรกฝังราก                                 คนตายขายคนเป็น



    7.     เกิดจากศาสนา   เช่น



                            กรวดน้ำคว่ำขัน                     ขนทรายเข้าวัด



                            ตักบาตรถามพระ                   บุญทำกรรมแต่ง



                            เทศน์ไปตามเนื้อผ้า                ผ้าเหลืองร้อน



    8.    เกิดจากนิทาน  ตำนาน  วรรณคดี  หรือประวัติศาสตร์  เช่น



                            กระต่ายหมายจันทร์                กบเลือกนาย



                            ชักแม่น้ำทั้งห้า                        ฤษีแปลงสาร



                            ดอกพิกุลจะร่วง                       ปากพระร่วง



    9.    เกิดจากการละเล่น   กีฬาหรือการแข่งขัน  เช่น



                            ไก่รองบ่อน                              งงเป็นไก่ตาแตก



                            รุกฆาต                                    ไม่ดูตาม้าตาเรือ



                            ลูกไก่                                       ว่าวขาดลมลอย









    ลักษณะสำนวนไทย



    ข้อความที่เป็นสำนวนไทยมีลักษณะดังนี้  คือ



    1.    มีความหมายโดยนัย   คือความหมายม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ  พูดอย่างหนึ่งม    ีความหมายอีกอย่างหนึ่ง  เช่น



                    กินปูนร้อนท้อง  -       รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่



                    ขนทรายเข้าวัด  -       ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ



                    ฤษีเลี้ยงลิง         -       เลี้ยงเด็กซุกซน   เป็นต้น



    2.    ใช้ถ้อยคำกินความมาก  การใช้ถ้อยคำในสำนวนส่วนใหญ่เข้าลักษณะใช้คำน้อยกินความมาก  เนื้อความมีความหมายเด่น  เช่น  ก่อหวอด  ขึ้นคาน  คว่ำบาตร  ขมิ้นกับปูน  คมในฝัก  กิ้งก่าได ้ทอง  ใกล้เกลือกินด่าง  เด็ดบัวไว้ใย  ซึ่งล้วนมีความหมายอธิบายได้ยืดยาว  ส่วนที่ใช้ถ้อยคำหลายคำ  แต่ละคำก็ล้วนมีความหมายและช่วยให้ได้ความกระจ่างชัดเจน  



    3.    ถ้อยคำมีความไพเราะ   การใช้ถ้อยคำในสำนวนไทยมักใช้ถ้อยคำสละสลวยมีสัมผัสคล้องจอง  เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ  สัมผัสอักษร  ให้เสียงกระทบกระทั่งกัน  เกิดความไพระน่าฟังทั้ง   สัมผัสภายในวรรคและระหว่างวรรค  มีการจัดจังหวะคำหลายรูปแบบ  เช่น  เป็นกลุ่มคำซ้อน  4  คำ  อย่าง  ก่อกรรมทำเข็ญ  ก่อร่างสร้างตัว  คู่ผัวตัวเมีย  คู่เรียงเคียงหมอน  คำซ้อน  6  คำ  เช่น  ขิงก็ราข่าก็แรง  ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น  ยุให้รำตำให้รั่ว  ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง  คำซ้อน  8  คำ  หรือมากกว่าบ้าง  เช่น  ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง  กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง  กำแพงมีหูประตูมีตา  เป็นต้น



    ลักษณะสัมผัสคล้องจองเป็นร้อยกรองง่ายๆ  หลายรูปแบบ  มีทั้งคล้องจองกันในข้อความตอน      เดียว  เช่น  ตื่นก่อนนอนหลัง  ต้อนรับขับสู้  ผูกรักสมัครใคร่  โอภาปราศรัย   และคล้องจองในข้อ ความที่เป็น  2 ตอน  ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและในข้อความมากกว่า 2 ตอน  เช่น  น้ำมาปลากินมด  น้ำลดมดกินปลา   เอาหูไปนา  เอาตาไปไร่  อย่าไว่ใจทาง  อย่าวางใจคน  จะจนใจเอง  เป็นต้น



    4.    สำนวนไทยมักมีการเปรียบเปรย  หรือมีประวัติที่มา  ส่วนใหญ่มาจากการเปรียบเทียบกับ     ปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ประเพณี  ศาสนา  นิยาย  นิทานต่างๆ  กิริยาอาการ  และส่วนต่างๆ    ของร่างกาย  ตัวอย่างเช่น  กลับหน้ามือเป็นหลังมือ  นอนตาไม่หลับ  ใจดีสู้เสือ   กินไข่ขวัญ      ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง  เป็นต้น  







                                                



    ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร





    1.    ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน   ความเรียงต่างๆ ได้ดีขึ้น  เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความ      เรียงที่เขียนขึ้น



    2.    ทำให้ได้คติสอนใจ  ในด้านต่างๆ  เช่น



            -  ด้านการเรียน  ตัวอย่างๆ  “รู้ไว้ใช่ว่า  ใส่บ่าแบกหาม”  “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม”  “ความรู้ท่วม  หัวเอาตัวไม่รอด”



            -  ด้านการคบค้าสมาคม  ตัวอย่าง  “คบคนให้ดูหน้า  ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ”  “คบเด็กสร้างบ้าน  คบหัวล้านสร้างเมือง”



            -  ด้านการครองเรือน  ตัวอย่าง  “ความในอย่านำออก  ความนอกอย่านำเข้า”  “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่  ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”



            -  ด้านความรัก  ตัวอย่าง  “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน”  “รักยาวให้บั่น  รักสั้นให้ต่อ”  “รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี”



    3.    ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม  ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น  ว่ามีความเป็นอยู่   อย่างไร  เช่น   “อัฐยายซื้อขนมยาย”   “แบ่งสันปันส่วน”  “หมูไปไก่มา”



    4.    เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ













    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++







    จากข้อความที่คุณ ตุ๊กตาหิมะโพสมาค่ะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×