ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #362 : สะพานโกลเดนเกท

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 187
      0
      17 ธ.ค. 48





                                        สะพานโกลเดนเกท







    ทำไมสะพานโกลเดนเกทที่ซานฟรานซิสโกจึงมีชื่ออย่างนั้น สะพานเป็นสีแดงไม่เคยเป็นสีทอง หรือจะเกี่ยวกับขุมทองอะไรเปล่าคะ /Chelsea





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





    ตอบ





    \"สะพานโกลเดนเกท-Golden Gate\" ความหมายคือ \"ประตูทอง\" ต้อนรับผู้มุ่งมาซานฟรานซิสโก ทำสถิติเป็นสะพานแขวนแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเส้นทางสู่อ่าวซานฟรานซิสโก และเชื่อมระหว่างซานฟรานฯ กับมาริน เคาท์ตี



    สะพานทาสีแดงอมส้มสดตามสีสัญลักษณ์ของซานฟรานฯ ใช้งบประมาณในการสร้าง 35 ล้านดอลลาร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 มกราคม 1933 อันเป็นช่วงสมัยของประธานาธิบดีแฟรงกิน ดี. รูสเวลต์ มี โจเซฟ สเตราส์ เป็นวิศวกร ฝากฝีมือบันทึกไว้บนสะพานโกลเดน เกทสีแดงอมส้มที่จะเปล่งแสงสะท้อนเมื่อยามแสงอาทิตย์ตกกระทบ ความงามทางด้านวิศวกรรมได้รับการยกย่องจากสมาคมวิศวกรพลเรือนอเมริกันให้เป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก



    สะพานประตูทองทอดข้ามอ่าวทางตอนเหนือของเมืองซานฟรานฯ สร้างเป็นแบบโครงแขวน ตัวสะพานแขวนประกอบด้วยหอคอยเหล็กสองข้าง ข้างละ 215 เมตร ใช้ลวดเคเบิลโยงทอดเป็นตัวดึงน้ำหนักสะพาน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 36 นิ้ว ข้างละ 2 เส้น แต่ละเส้นประกอบด้วยลวนเส้นเล็กๆ 17,664 เส้น รวม 4 เส้น ยาว 70,815 ไมล์ หรือหมุนรอบโลกได้ 3รอบ และยังมีเส้นลวดเล็กยึดสายโยงอีกรวม 27,572 เส้น มีช่วงกลางระหว่างตอม่อยาว 1.26 กิโลเมตร ส่วนริม 2 ฟาก ยาวข้างละ 34 เมตร รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ส่วนกว้าง 27 เมตร





    เนื้อที่บนสะพานเปิดให้เดินรถไฟได้ 2 ช่องทาง และ 3 ช่องทางรถยนต์ โดยที่ตัวสะพานสามารถสามารถรับน้ำหนักได้ และไม่เกิดความเสียหาย เป็นสะพานแบบแขวนขนาดใหญ่และยาวมากที่สุดสะพานแรกในยุคนั้น สร้างแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 1937 เปิดใช้ครั้งแรกวันที่ 28 พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยประธานาธิบดีรูสเวลต์กดปุ่มทำพิธีเปิดมาจากกรุงวอชิงตัน ดีซี เป็นสัญญาณให้ผู้ใช้รถสัญจรไปมาบนสะพานได้ ทั้งนี้ เมื่อวันแรกนั้นมีประชาชนราว 200,000 คน มารวมตัวกัน



    ส่วนยุคตื่นทองคำในสหรัฐเกิดขึ้นช่วง ค.ศ.1853 ผู้คนนับแสนหลั่งไหลเข้ารัฐแคลิฟอร์เนีย ยิ่งนานวันทวีจำนวนมากกว่า 250,000 คน สภาวการณ์ชุมชนเมืองระยะแรกเต็มไปด้วยคนนอกกฎหมาย ซานฟรานฯ ที่ในอดีตเคยเป็นของสเปนก็ได้กลายเป็นแหล่งชุมชนที่มั่งคั่งขึ้นจากการเป็นศูนย์กลางการค้ายุคนั้น และยั่งยืนต่อมาแม้ทองจะหมดไปน้านนาน





    กระแสตื่นทองยังทำให้ซานฟรานฯ กลายเป็นแหล่งคนงานทำเหมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนอพยพซึ่งนับเป็นรุ่นล่าสุดของอเมริกายุคหลังสงครามกลางเมือง คนงานชาวจีนซึ่งส่วนใหญ่มาจากโรงยาฝิ่นลงเรือกลไฟแล่นข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังซานฟรานฯ ก่อนถูกกระจายไปตามเหมืองทองคำที่ต่างๆ ชาวจีนที่หลั่งไหลเข้าอเมริกาในช่วงตื่นทองนี้ ไม่เพียงทำให้อเมริกันเรียนรู้พลังของแรงงานผิวเหลืองจากเอเชียตะวันออก หากทำให้ชาวจีนเรียนรู้ที่จะอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตกในเวลาต่อมาด้วย ชุมชนการค้าของชาวจีนในซานฟรานซิสโก กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่นับแต่นั้นจนวันนี้







    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×