ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #66 : ข้าราชการสมัยก่อน มีเครื่องแบบหรือไม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 264
      0
      21 ม.ค. 48



                 ข้าราชการสมัยก่อน มีเครื่องแบบหรือไม่



    .......ร้อยแปดเรื่องไทย, \"ส.พลายน้อย\", ตุลาคม ๒๕๔๑, หน้า ๖๖-๖๗





    ***************



    ......ข้าราชการสมัยโบราณ ไม่มีเครื่องแบบ บางสมัยไม่สวมเสื้อด้วยซ้ำ ถ้าจะมีที่สังเกตว่า

    เป็นขุนนางข้าราชการ บางทีจะสังเกตได้ที่ ผ้านุ่ง คือนุ่งผ้าสมปัก แต่โดยมาก จะนุ่งเฉพาะเวลาเข้าเฝ้า

    ถ้าอยู่ตามธรรมดา ก็นุ่งผ้าพื้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาดเล็กหลวง

    หัดเป็นทหาร พระราชทานเครื่องแบบ ให้แต่งตัว และเมื่อมีเครื่องแบบ สำหรับแต่งตัวทหารมหาดเล็กขึ้นแล้ว

    ทรงพระราชดำริให้มี เครื่องแบบสำหรับ ฝ่ายพลเรือน แต่งเข้าเฝ้าในเวลาปรกติด้วย



    ......สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึง การแต่งกายของ ขุนนางในสมัยแรก ไว้ดังต่อไปนี้

    \"ให้แต่งใส่เสื้อแพรสีต่างกัน ตามกระทรวง คือเจ้านาย สีไพล, ขุนนางกระทรวงมหาดไทย

    สีเขียวแก่, กลาโหม สีลูกหว้า, กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) สีน้ำเงินแก่

    (จึงเกิดเรียกสีนั้นว่า สีกรมท่า มาจนทุกวันนี้), มหาดเล็ก สีเหล็ก (อย่างเดียวกับ เสื้อแบบทหารมหาดเล็ก),

    อาลักษณ์ กับโหร สีขาว



    ......รูปเสื้อ แบบพลเรือนครั้งนั้นเรียกว่า เสื้อปีก เป็นเสื้อปิดคอ มีชาย (คล้ายเสื้อติวนิค แต่ชายสั้น)

    คาดเข็มขัดนอกเสื้อ, เจ้านาย ทรงเข็มขัดทอง, ขุนนาง คาดเข็มขัดหนังสีเหลือง หัวเข็มขัดมีตราพระเกี้ยว

    นุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน แทนสมปัก แต่เครื่องแบบพลเรือนนี้ ไม่ได้บัญญัติให้ใช้ทั่วกันไป เป็นแต่ใครได้พระราชทาน

    ก็แต่ง ที่ไม่ได้พระราชทาน ก็คงแต่งตัวอย่างเดิม คือใส่เสื้อกระบอกผ้าขาว, เจ้านายทรงผ้าม่วงโจงกระเบน

    คาดแพรแถบ, ขุนนาง นุ่งสมปักชักพก คาดผ้ากราบ แต่เครื่องแบบพลเรือนที่ว่านี้ ใช้มาเพียงปีวอก

    พ.ศ. ๒๔๑๕ พอเสด็จกลับจากอินเดีย ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น\"



    ......ในสมัยนั้น การใช้เสื้อผ้าพระราชทาน ต้องระวังกันมาก ถ้าไม่มีแต่งเข้าเฝ้า ก็ถือว่าเสียหาย

    ฉะนั้นจึงต้องระวัง ไม่จำเป็นก็ไม่ใช้นุ่ง เพราะเกรงจะเก่า



    --------------------------------------------------------------------------------

      

      

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×