ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #78 : ปล่อยม้าอุปการ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.73K
      3
      27 ม.ค. 48



                    ปล่อยม้าอุปการ



         อ่านหนังสือพบสำนวนว่า \"ปล่อยม้าอุปการ\"  ...มีความหมายอย่างไรไม่ทราบ



        (หนุ่มเมืองระยอง / จ. ระยอง)



    ***************



       ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา อธิบายคำนี้ไว้ในหนังสือ สำนวนไทยที่มาจากวรรณคดี ว่า

    คำว่า ปล่อยม้าอุปการ เป็นสำนวนเชิงตำหนิติเตียนว่า ชอบวางอำนาจหรือข่มขู่ผู้อื่น

    ดังตัวอย่างในเรื่อง พระอภัยมณี ว่า



       \"ทำปล่อยม้าอุปการเที่ยวพาลเขา

       เห็นโง่เง่าแล้วจะจับไปปรับไหม\"



       เรื่องปล่อยม้าอุปการ มีที่มาจากวรรณคดีโบราณของอินเดีย คือ มหากาพย์เรื่อง รามายณะ

    และมหาภารตะ ตลอดจนคัมภีร์ปุราณะต่าง ๆ และเรื่อง รามเกียรติ์ ของไทย ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑

    และรัชกาลที่ ๒ การปล่อยม้าอุปการ คือ การทำพิธีอัศวเมธยาคะ เป็นการแผ่แสนยานุภาพรุกรานดินแดนทั่วโลก

    พิธีอัศวเมธนี้ถ้าใครกระทำได้ถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็จะได้เป็นพระอินทร์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการทำพิธีอัศวเมธเมื่อใด

    พระอินทร์ก็มักจะหาทางทำลาย มิให้ประสบความสำเร็จ การทำพิธีอัศวเมธ ก็คือการนำเอาม้าสำคัญตัวหนึ่งมาเข้าพิธี

    (อันมีขั้นตอนมากมาย) เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็ปล่อยให้ม้าวิ่งไปตามแว่นแคว้นต่าง ๆ มีกองทัพติดตามไป

    เมืองใดต้อนรับม้านั้นเป็นอันดี ก็ถือว่าเป็นการอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น แต่ถ้าไม่ต้อนรับก็ถือว่าไม่ยอมอ่อนน้อม

    กองทัพก็จะทำลายเมือง และแว่นแคว้นให้ถึงกับพินาศไป เมื่อม้าวิ่งไปครบหนึ่งปี ก็นำม้าสำคัญกลับบ้านเมือง

    และทำพิธีฆ่าม้านั้นเสียเป็นอันสุดสิ้นพิธีอัศวเมธ และดินแดนที่ได้จากการปล่อยม้าให้วิ่งไปหนึ่งปีนั้น

    ก็มากพอที่ผู้ทำพิธีจะเป็นเจ้าโลกได้ โดยเหตุที่การทำพิธีอัศวเมธ นำความเดือดร้อนมาให้แก่ผู้อื่นดังนี้

    ในวรรณคดีไทยจึงถือว่า การปล่อยม้าอุปการหรือม้าอัศวเมธนั้นเป็นการแผ่อำนาจบาตรใหญ่ จึงกล่าวว่า

    \"ทำปล่อยม้าอุปการเที่ยวพาลเขา\"





    --------------------------------------------------------------------------------



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×