ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    108 ซองคำถามII

    ลำดับตอนที่ #94 : นายฮ้อย คาวบอยแบบไทยๆ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 245
      0
      13 ก.พ. 48



                นายฮ้อย คาวบอยแบบไทยๆ  

      

    \"ซองคำถาม\" เคยได้ยินเรื่องนายฮ้อยที่ไม่ใช่นายร้อยหรือไม่  รู้มาคร่าว ๆ ว่ากลุ่มคนที่ทำอาชีพ

    ต้อนวัวควายจากอีสาน รอนแรมมาขายยังจังหวัดทางภาคกลาง  ส

    ารคดี น่าจะไปทำเรื่องนะถ้าวันนี้ยังมีนายฮ้อยอยู่น่ะ

    (กฤษฎา / กรุงเทพฯ)



    *******************



    จะมีใครรู้บ้างว่า ภาพคาวบอยหนุ่มมาดองอาจบนหลังม้า ควบม้าไล่ต้อนฝูงวัวอย่างชำนิชำนาญ

    ท่ามกลางแสงแดดครั้งหนึ่งคือวิถีชีวิตของนายฮ้อยแห่งอีสาน ซึ่งปัจจุบันไม่มีให้เห็นอีกแล้ว







    ทุกปีราวเดือนสองเดือนสาม (มกราคม-กุมภาพันธ์) หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นายฮ้อยจาก \"เมืองบน\"

    หรือดินแดนที่ราบสูงโคราชแถบขอนแก่น โคราช ชัยภูมิ จะเริ่มออกหาซื้อวัวควายจากหมู่บ้านต่าง ๆ

    หมู่บ้านละประมาณ ๓๐-๔๐ ตัว



    เมื่อรวบรวมได้ราว ๔๐๐-๕๐๐ ตัว หรือบางคราวอาจมากถึง ๑,๐๐๐ ตัว ก็จะเริ่มเดินทางพร้อมกองคาราวาน

    เกวียนบรรทุกสัมภาระ ข้าวปลาอาหาร และลูกน้องไม่น้อยกว่า ๑๐ คน ถ้าเป็นฝูงใหญ่อาจต้องใช้คนนับร้อย

    ไล่ต้อนลงมาขายที่ \"เมืองล่าง\" หรือดินแดนที่ราบลุ่มภาคกลางแถบลพบุรี สระบุรี อยุธยา มาถึงราวเดือนสี่เดือนห้า

    (มีนาคม-เมษายน) ซึ่งกำลังเริ่มฤดูกาลไถหว่านทำนาพอดี



    ระหว่างการเดินทางรอนแรมกลางป่าเปลี่ยวเสี่ยงอันตราย เผชิญกับอุปสรรคนานัปการ นายฮ้อยต้องรับผิดชอบ

    ดูแลทุกชีวิตทั้งคนและฝูงวัวควายที่เสี่ยงต่อการถูกปล้นสะดมระหว่างทาง ต้องปกครองคนได้ เป็นผู้นำที่ได้รับ

    การยอมรับนับถือจากทุกคน กล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว สามารถจัดการฝูงวัวควายนับร้อยนับพันตัวได้

    โดยจะแบ่งออกเป็นฝูงย่อย ฝูงละ ๘๐-๑๐๐ ตัว มีคนคุมต้อน ๙-๑๒ คน มีหัวหน้าหนึ่งคน แต่ละกลุ่มย่อยเรียกว่า

    \"หนึ่งพาข้าว\"



    เส้นทางไล่ต้อนเริ่มต้นจากขอนแก่น นครราชสีมา ผ่านช่องเขาต่าง ๆ ในแนวเทือกเขาพังเหยจังหวัดชัยภูมิ เช่น

    ช่องสำราญ ช่องตานุด ช่องลำพญากลางหรือช่องตะพานหิน เป็นต้น ผ่านเข้าสู่ประตูภาคกลางที่อำเภอลำสนธิ

    จังหวัดลพบุรี หยุดแวะขายที่บ้านโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นแห่งแรก



    นายฮ้อยจะเข้าไปแจ้งข่าวให้คนในหมู่บ้านแวะมาดูมาซื้อวัวควาย จากนั้นจะตระเวนขายไปจนสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอแก่งคอย

    จังหวัดสระบุรี กว่าจะหมดบางครั้งใช้เวลาร่วมเดือนหรือ ๒ เดือน



    รวมเวลาเดินทางกลับแล้วกว่าครึ่งปี ที่พวกเขาต้องจากบ้านมาใช้ชีวิตรอนแรมห่างไกลจากครอบครัว ทว่าสิ่งที่พวกเขา

    นำมาพามาด้วยพร้อม ๆ กับกองคาราวานวัวควาย คือวัฒนธรรมจากอีสาน โดยมีนายฮ้อยเป็นสื่อเชื่อมกับอารยธรรมในภาคกลาง

    ซึ่งยังปรากฏร่องรอยให้เห็นผ่านขนบธรรมเนียม ประเพณี การแต่งกาย อาหารการกิน ภาษาพูด ของกลุ่มคนที่หลากหลาย

    แถบลพบุรี สระบุรี



    เกือบ ๓๐ ปีแล้วที่ภาพกองคาราวานนายฮ้อยไล่ต้อนฝูงวัวควายหายไปจากความทรงจำ ภายหลังที่มีเส้นทางรถยนต์เข้ามาแทนที่

    ฝูงวัวควายที่ต้อนมาขายยังตลาดนัดวัวควายทุกวันนี้จึงมาพร้อมกับรถบรรทุก



    ข้อมูลนี้ได้มาจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  และถ้าคุณกฤษฎาต้องการข้อมูลเรื่องนายฮ้อยแบบมีสีสันและบรรยากาศ  \"ซองคำถาม\" แนะนำให้อ่านนิยายเรื่อง นายฮ้อยทมิฬ ของ คำพูน บุญทวี





      



    --------------------------------------------------------------------------------





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×