แนะนำ : สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล - แนะนำ : สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นิยาย แนะนำ : สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล : Dek-D.com - Writer

    แนะนำ : สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    โดย Pharjung

    แนะนำ : สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาใหม่แกะกล่องของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

    ผู้เข้าชมรวม

    21,262

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    21.26K

    ความคิดเห็น


    54

    คนติดตาม


    12
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 พ.ค. 53 / 13:08 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      แจ้งข่าวใหม่มาแรง.....


      คุณ taekung
      และคุณพี่มาริโอ้ได้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับคณะนี้โดยตรงแล้ว
      แวะไปเยี่ยมเยือนและสอบถามได้ค่ะ ตามลิ้งค์นี้เลยนะคะ

      http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1706858

      และ

      http://sietmahidol.smfforfree.com

      ------------------------------------------------------------------------------------------

      สวัสดีค่า….พี่ Pharjung เองค่ะ (^o^)// 

      หลังจากที่พี่ ได้แนะนำให้น้องรู้จักคณะน้องใหม่ (ที่จัดตั้งขึ้น เมื่อ ปี 2546) 
      ซึ่งก็คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขา แผนไทยประยุกต์ ไปแล้ว 


      ตอนนี้หลังจากที่พี่เพิ่งจบเป็นบัณฑิตใหม่(รับปริญญา ปี 2550) เผอิญได้มีโอกาสกลับไปติดต่อเรื่องรับภาพหมู่ที่ถ่ายร่วมกับอาจารย์ 
      พี่เลยถือโอกาสแวะไปห้องสโมสรนักศึกษาคณะเภสัชฯ ก็เลยไปเจอนิตยสาร 
      MuMu Mag (นิตยสารฝีมือน้องๆรั้วมหิดล) ในเล่มมีการแนะนำสาขาน้องใหม่ 
      ภายใต้สังกัดของพี่เบิ้ม “คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล” 
      เป็นสาขาที่อาจจะถือได้ว่า ใหม่แกะกล่องเลยก็ว่าได้ 
      ดังนั้นด้วยความที่อยากให้น้องๆได้รู้จักจึงรีบเอามาลงให้น้องๆได้อ่านกันเน้อ… 
       
      อารัมภบทนานไปหน่อยก็อย่าว่ากันนะคะ หุหุ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า 
      เสียเวลากันพอสมควรแล้ว…….
       
      ก่อนอื่นขอปรบมือให้กับ คอลัมนิสต์ Glouy-kaiiz , Lala , Slipperz , iSpy จากคอลัมน์ “What’s About ET?” , และ 
      Chocko Banana จากคอลัมน์ “มหิดล ET น้องใหม่หัวใจ Drawing Board” 
      ที่ขีดเขียนคอลัมน์แนะนำสาขานี้ให้เหล่านักอ่านได้รู้จัก
       
      เอาล่ะแต่เวลาเล่า…ขอเล่าตามแบบฉบับพี่นะคะ    \\(^…^)//
       
      สาขานี้เรียกกันแบบเต็มๆว่า….

      คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ 
      Faculty of Medicine Siriraj Hospital , Department of Medical Education Technology หรือเรียกย่อๆ SIET 


      แต่โดยทั่วไปชาวศาลายาจะเรียก “ET”
       
      ขอเน้นว่าคือ “ET” 

      แต่อันนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกะ ET มนุษย์ต่างดาวนะจ๊ะ หรือประมาณว่า
       
      “ถ้าจะมาเรียนคณะนี้ต้องเป็นพวกต่างด้าว เอ้ย..ต่างดาวอ๊ะเปล่า?”
       
      โอ้…พี่ขอตอบแบบฟันธงเลยนะคะว่า “ได้แน่นอน!!” ดังนั้นน้องๆหน้าตาธรรมดา บ้านๆ สามารถเข้ามาเรียนได้ไม่ต้องกังวลนะคะ หุหุ
       
      สาขานี้เปิดเป็นรุ่นแรก (ปีการศึกษา 2550) แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่า


       
      “เอ…แบบนี้เราเข้าไปเรียนปีการศึกษาหน้า (2551) ก็เป็นแค่รุ่นที่ 2 
      เองแบบนี้ไม่มีพี่ปีสูงเลยเหงาอ่า…”
       
      อันที่จริงจากข้อมูล (นิตยสาร MuMu Mag ฉบับที่ 5 หน้า 9 –10 และ 56) 
      ได้เขียนเอาไว้ว่า…..
       
      เอ๊ะๆๆๆ เดี๋ยวก่อน!!!! เล่าแบบนี้เดี๋ยวน้องจะงง…..
      เอาเป็นว่าเล่าแบบ Step By Step ดีกว่า (ใช้คำถูกไหมเนี่ย..)
       
      มา..มารู้จักกันไปทีละขั้นๆกันเถอะ!
      ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนสิว่า คณะนี้เรียนกี่ปี
       

      “เป็นสาขาหนึ่งของคณะแพทย์ แล้วต้องเรียน 6 ปีแบบแพทย์ไหม?”
      อันนี้ขอตอบว่า “ไม่ใช่….สาขานี้ใช้เวลาเรียน 4 ปีค่ะ 
      (ยกเว้นหากน้องอยากจะอยู่น้านนาน…อันนี้ก็ไม่ว่ากัน)”
       

      “แล้วชื่อสาขาแบบนี้ เรียนเกี่ยวกับอะไรอ่ะ?”
      ชื่อก็บ่งบอกเป็นนัยๆอยู่แล้วว่า “เทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์”
       
      มันต้องเกี่ยวกับ “เทคโนโลยี” + “การศึกษา” + “การแพทย์” สิคะ

       
      อธิบายอย่างง่ายๆจะเรียนเกี่ยวกับการผลิตสื่อสำหรับที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนทางด้านการแพทย์และวิทยาศาตร์สุขภาพนี่ล่ะ 
      สื่อที่พูดถึงก็ได้แก่ ภาพวาด ภาพถ่าย คอมพิวเตอร์ วีดีโอ รวมไปถึงบรรดาพวกหุ่นจำลองต่างๆ แต่น้องๆก็ต้องรู้นะคะว่า การที่เราจะสามารถผลิตสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ ตัวของน้องก็ย่อมต้องมีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานทางการแพทย์ที่ดีด้วยเช่นกัน 

      ดังนั้นเข้าคณะนี้ก็ต้องเรียนวิชาพื้นฐานเหล่านี้ด้วยนะจ๊ะ 
      และเวลาปีสูงๆ ก็คล้ายคลึงกับหลายคณะที่ต้องมีการทำ Project ตรงนี้จะเป็นการให้แต่ละคนได้เลือกที่จะเจาะลึกเฉพาะเรื่องที่สนใจ อันนี้น้องคอลัมนิสต์แอบกระซิบว่า….(อันนี้โม้เองค่ะ อันที่จริงพี่ก็ไม่เคยเห็นหน้าน้องเค้าหรอก) 
      จะมีการฝึกเพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่ออกไปสามารถทำงานได้ทันทีอีกด้วย


       
      “แต่ละปีเรียนอะไรกันบ้าง?”
      ปี 1 จะเรียนวิชาพื้นฐาน (อันนี้พี่คิดเอาเองนะคะว่า คงจะเป็นพวก ชีวะ เคมี คณิต ฟิสิกส์ อังกฤษ มั้ง? แต่ไม่รับรองนะ ใครสนใจอาจจะต้องไปสอบถามกันเองภายหลัง) และจะมีวิชาเฉพาะบางวิชาที่จะเข้าไปเรียนที่ศิริราช ซึ่งได้แก่วิชา วาดเส้น 
      หรือเรียกด้วยศัพท์หรูภาษาอังกฤษ “Drawing” โดยจะเข้าไปเรียน ณ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
       
      ตั้งแต่ปี 2 จะเรียนเป็นวิชาเฉพาะของทางสาขา (อันนี้พี่เองก็ไม่รู้ คอลัมนิสต์ไม่ได้แจงรายละเอียด) และจากนี้ไปชีวิตจะต้องไปสถิตอยู่ที่ศิริราช
       

      กลับมาตอบคำถามที่ว่า

       
      เอ…แบบนี้เราเข้าไปเรียนปีการศึกษาหน้า (2551) 
      ก็เป็นแค่รุ่นที่ 2 เองแบบนี้ไม่มีพี่ปีสูงเลยเหงาอ่า…” (อีกครั้ง)


      มีสิคะ น้องเข้าไปมีพี่ปีสูงๆ!
      อ้าว…งงล่ะสิ ตะกี้เพิ่งบอกว่าถ้าปี 2551 จะเป็นรุ่นที่ 2 แล้วทำไมมีพี่ปีสูง 
      อย่างมากก็น่าจะมีแค่พี่ปี 2 นี่นา…
      อันนี้ขอแจงว่า….หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต โดยมีรากฐานจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาเวศนิทัศน์ ซึ่งผลิตบัณฑิตทางสาขานี้นับตนถึงปี 2550 ออกสู่สังคมมา 40 รุ่นแล้ว (เดิมเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี ต่อมาก็เปลี่ยนจากวิทยาศาสตรบัณฑิตเป็นเทคโนโลยีบัณฑิตก็เลยกลายเป็นหลักสูตรใหม่ไงล่ะ)
       


      “รับนักศึกษากี่คน?”
      แหะๆ…ตัวพี่ไม่แน่ใจ แต่จากข้อมูลทีหยิบยกออกมาทั้งประโยค เล่าว่า
       

      ”ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมไม่ค่อยเจอใครเรียนคณะ ET เลยเพราะนอกจากจะเป็นรุ่นแรกแล้ว ยังมีกันน้อยอีกต่างหาก คณะ ET มีอยู่ 15 คนเอง……”
       

      จบแล้วค่ะ จบแล้วสำหรับข้อมูลของคณะสาขาน้องใหม่ในรั้วมหิดล….รายละเอียดอาจจะยังไม่จุใจ ก็คงต้อง…เอาเป็นว่าลองเข้าไปที่นี่นะคะ  
       
      www.si.mahidol.ac.th อันนี้คือเว็บคณะแพทย์นะ 
      แต่คิดว่าน่าจะมีรายละเอียดของ ET อยู่ด้วย 
       
      หรือ http://10.7.101.44/club/index.php 
      อันหลังเป็นบอร์ดที่เหล่าชาว ET เขาเอาไว้พูดคุยกัน 
      พี่ว่าถ้าน้องลองเข้าไปถามน่าจะได้คำตอบจากน้องๆคณะนี้โดยตรงนะ
      (ปล.แต่ถ้าเขาเปลี่ยน URL เว็บพี่ก็ไม่รู้นา…อาจจะต้องขออภัยล่วงหน้า 
      แต่อย่างไรลองเข้าไปดูก่อนล่ะกันนะคะ)
       

      สุดท้ายนี้ขอโฆษณาหน่อย
      น้องคนไหนอยากรู้ว่า “MuMu Mag” มันคือนิตยสารเกี่ยวกับอะไร “สนใจคณะนี้จังต้องเรียนที่ศาลายา เอ…ศาลายาเป็นอย่างไร” หรือ “มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอย่างไร” ติดตามได้ที่ บทความ
       
      “เรื่องราวรอบรั้วชาวมหิดล”
       
      อย่าลืม….มีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล
      …..แล้วคุณ…จะรู้จักมหาวิทยาลัยแห่งนี้มากกว่าที่เคย…………
       
       
      ขอขอบคุณ

      ข้อมูลจากนิตยสาร MuMu Magazine ฉบับที่ 5 : คอลัมน์ “What’s About ET?” โดย Glouy-kaiiz , Lala , Slipperz , iSpy, และ จากคอลัมน์ “มหิดล ET น้องใหม่หัวใจ Drawing Board” โดย Chocko Banan 



      -----------------------------------------------

      เพิ่มเติมข้อมูลเนื่องจากไปเจอข้อมูลมาใหม่จาก

      http://wichakan2009.mahidol.ac.th/MU%20Open%20house%20ET%20info.php

      ซึ่งเป็นเว็บไซต์เฉพาะกิจงาน open house ของมหิดลค่ะ


      เป็นเกี่ยวกับว่าจบไปแล้วทำงานอะไรได้บ้างลองอ่านกันดูนะคะ เห็นน้องถามเข้ามากันมากทีเดียว

      การทำงาน
      ผู้จบการศึกษาสามารถทำงานในหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ จากสถิติของผู้จบหลักสูตรเดิมมีผู้ทำงานในตำแหน่งต่างๆ เรียงตามจำนวนจากมากไปหาน้อย ดังนี้

      - นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะ
      พยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์  คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ

      - ช่างภาพการแพทย์    ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(ระดับโรงพยา
                บาลศูนย์)  และบางส่วนในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม

      - อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล 
      มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดต่างๆ  

      - กราฟิกดีไซน์เนอร์ อาร์ตไดเร็คเตอร์ และครีเอทีฟ ในโปรดัคชันเฮาส์และบริษัทโฆษณา

      - ตำแหน่งที่เรียกชื่ออื่นๆในหน่วยงานทางทหาร ในกองทัพบก กองทัพเรือ 
               กองทัพอากาศ และตำรวจ

      - เป็นเจ้าของกิจการ เช่น โปรดัคชั่นเฮาส์ผลิตสื่อด้านต่างๆ

      - รับงานอิสระ



      ------------------------------------------------------------------------------------


      เนื้อหาจากนี้ไปเป็นเนื้อหาที่นำมาจากเว็บไซต์ของ คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่พูดถึงรายละเอียดของสาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทย์ศาสตร์

      อ้างอิงจาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/education/edu/curricular26.asp

      หลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์
      คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

      สาขานี้เกี่ยวกับอะไร
                 เป็นสาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการสร้างหรือผลิต  สื่อชนิดต่างๆ  สำหรับนำไปใช้
      เพื่อการเรียนการสอน  เพื่อการเผยแพร่   หรือเพื่อการโฆษณา  ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการแพทย์  เสมือนหนึ่งการผสมผสานระหว่างสาขาวิชา ศิลปกรรม +เทคโนโลยีการศึกษา+นิเทศศาสตร์+วิทยาศาสตร์การแพทย์
      สื่อชนิดต่างๆ ที่ศึกษา ครอบคลุมสื่อ  5  ชนิด ได้แก่  1.ภาพวาด  2.ภาพถ่าย   3.คอมพิวเตอร์  4.วิดีโอ   5.หุ่นจำลอง

      ภาพวาด  นักศึกษาต้องเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพทั่วไป  เช่น  คน สัตว์ สิ่งของ 
      การ์ตูน   ภาพอวัยวะและร่างกายของมนุษย์  สัตว์ พืช   ภาพเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ   มีทั้งการวาดภาพด้วยมือทั้งหมดและวาดภาพแล้วตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์
      ภาพถ่าย  นักศึกษาต้องเรียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ทั่วไป  และการถ่ายภาพที่ใช้ในทางการแพทย์ การถ่ายภาพทางนิติวิทยาศาสตร์    การถ่ายภาพในสตูดิโอ  การตกแต่งภาพด้วย คอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์  นักศึกษาต้องเรียนเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ  การวาดภาพ    การตกแต่งภาพ    การสร้างภาพแอนิเมชั่น  การสร้างเว็บไซท์ 
      วิดีโอ  นักศึกษาต้องเรียนเกี่ยวกับการใช้กล้องวิดีโอ   การถ่ายทำสารคดี    การเขียนบทสารคดี   การตัดต่อวิดีโอด้วยคอมพิวเตอร์
      หุ่นจำลอง  นักศึกษาต้องเรียนเกี่ยวกับ   การปั้นคน สัตว์หรืออวัยวะ ต่างๆ   อาหารเทียม   รวมทั้งการหล่อรูปปั้นออกมาเป็นวัสดุสังเคราะห์จำพวกเรซิ่น  หรือเป็นปูนปาสเตอร์  แล้วลงสีให้เหมือนจริง

      วิชาพื้นฐานทางการแพทย์
                   นักศึกษาต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางการแพทย์ เช่น  วิชา กายวิภาคศาสตร์   สรีรวิทยา   จุลชีววิทยา ชีววิทยา  วิทยาภูมิคุ้มกัน ปรสิตวิทยา  และพยาธิวิทยา  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาทางการแพทย์และสามารถสร้างสื่อที่ใช้ในทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

      วิชาพื้นฐานทั่วไป
                    
                 นักศึกษาต้องเรียนเกี่ยวกับวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาบังคับตามเกณฑ์การศึกษาใน
      หลักสูตรปริญญาตรี ของประเทศไทย เช่น สังคมศาสตร์ ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  
      คณิตศาสตร์  ศิลปะ ฯลฯ

      การฝึกงาน 
                ในชั้นปีที่ 4  นักศึกษาทุกคนต้องฝึกงาน  ด้วยการทำงานเกี่ยวข้องกับสื่อชนิดต่างๆดังกล่าวแล้ว  ในหน่วยงานที่อยู่ในศิริราช หรือหน่วยงานภายนอกตามที่หลักสูตรเห็นสมควร  เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญก่อนออกไปทำงานจริง

      การทำงาน
                อาจทำงานในหน่วยงานทางการแพทย์หรือไม่ก็ได้
      ถ้าทำงานในหน่วยราชการ จะทำงานในตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ทั้งหน่วยงานทางการแพทย์และไม่ใช่การแพทย์  ตัวอย่างหน่วยงานทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ต้องการบุคลากรที่จบด้านนี้ ได้แก่  หน่วยโสตทัศนศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ   รวมทั้งหน่วยโสตฯของคณะทันตแพทย์ 
      สัตวแพทย์ เภสัช  เทคนิคการแพทย์   สาธาณ สุข วิทยาศาสตร์  เวชศาสตร์เขตร้อน  โรงพยาบาล และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธาณสุข    รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน  (ที่เป็นโรงพยาบาลใหญ่)  
      ถ้าทำงานในหน่วยงานเอกชน   ส่วนมากทำงานในตำแหน่งกราฟิกดีโซเนอร์    ในโปรดัคชั่นเฮาส์    หรือบริษัทที่ผลิตงานโฆษณา  เมื่อมีประสบการณ์และความสามารถมากขึ้น  สามารถก้าวขึ้นเป็นครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ในบริษัทโฆษณา   บางคนเป็นช่างภาพสารคดีโทรทัศน์   บางคนเป็นผู้ตัดต่อรายการโทรทัศน์ บางคนเป็นนักเขียนประจำเว็บไซท์
      หลายคนเป็นอาจารย์  ในสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  มหาวิทยาลัยราชภัฏ  สถาบันพัฒนศิลป(วิทยาลัยช่างศิลป ) วิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดต่างๆ   
      ในหน่วยราชการทหารและตำรวจ  ศิษย์เก่าซึ่งสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรเก่า รับราชการในหน่วยงานสังกัดกองทัพบก  กองทัพเรือ กองทัพอากาศ  และตำรวจ  รวมทั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ในกระทรวงยุติธรรม
      หลายคนทำงานในฝ่ายฝึกอบรมของธนาคาร  เช่น ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารเอ็กซิมแบงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย

      การศึกษาต่อ
                 ผู้จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการศึกษา    และระดับปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

       

      จุดเด่นของหลักสูตร
                  การที่เรียนเกี่ยวกับสื่อหลายชนิด  และเน้นให้นักศึกษาทุกคนปฏิบัติได้จริง   ทำให้ผู้จบออกไปมีโอกาสในการได้งานทำมากขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นช่วงเวลาของการค้นหาตัวเอง
      ของนักศึกษา  ว่าตัวเองชอบสื่อชนิดใดหรือถนัดอย่างใดเป็นพิเศษ จะได้ศึกษาต่อหรือเอาดี
      ในสาขานั้นๆต่อไป    

      ความเป็นมา
                  สาขานี้เคยเปิดสอนมาก่อนในชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเวชนิทัศน์ ซึ่งเป็นปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี (รับผู้จบ ปวส. มาเรียนต่ออีก 2 ปี)  มีนักศึกษาจบแล้ว 41 รุ่น ขณะนี้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ชื่อหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์   

      คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
      -  จบชั้นมัธยมปลายสายสามัญ
      -  ควรมีความสนใจหรือมีความถนัดทางด้านศิลปะในระดับดีพอสมควร   
      -  ไม่บกพร่องทางสายตาในลักษณะตาบอดสี

      การสมัครเข้าศึกษา
      -  สมัครสอบผ่านระบบแอดมิชชั่นกลาง

      การรับสมัครรอบ 2

                  ในการประกาสผลการสอบรอบแรกจะนักศึกษาส่วนหนึ่งสละสิทธิ์หรือไม่มาสอบ  จึงจะมีการสมัครสอบรอบ 2 ผู้ที่พลาดจากการสอบรอบแรกและต้องการเข้าศึกษา โปรดติดตามข่าวการรับสมัครรอบเพิ่มเติม  ซึ่งจะเปิดรับอีกครั้ง ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม  โดยใช้คะแนน O-NET , A-NET  และ GPA
      เกณฑ์การคัดเลือกจะเลือกตามลำดับคะแนน O-NET , A-NET และ GPA ของผู้สมัครจากสูงไปต่ำตามจำนวนที่รับ

      วิชาที่ใช้ในการคัดเลือก
      O-NET   รหัสวิชาที่ใช้  ได้แก่  (01)   (02)  ( 03)  (04)  (05)
      A-NET   รหัสวิชาที่ใช้  ได้แก่  (13)   (14)   (15)
      GPA      รหัสวิชาที่ใช้  ได้แก่  (21)   (23)  (24)  (25)  (26)
      คะแนนของผู้สอบได้ ในปีที่ผ่านมา( 2550 )   5340-6564 

      การจัดการเรียนการสอน

      -  ปี1 เทอม 1 และเทอม 2 ส่วนใหญ่ เรียนวิชาศึกษาทั่วไปรวมกับนักศึกษาจากคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่วิทยาเขตศาลายา
      -  ปี 2-4  เรียนที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล   

      สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

      -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญชา  พิทยวรานันท์  โทร 02-419 -6394 หรือ  086-973-7116
      -  คุณวรรณพร  สุวรรณดี สำนักงานโรงเรียน ฯ  ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 5 
          โทร. 02-419-6394, 02-419-8987



      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×