ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักปรัชญาคนสำคัญของโลก

    ลำดับตอนที่ #12 : ญาณวิทยา(ต่อ)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.09K
      1
      16 ก.พ. 49


    ประจักษ์นิยม Empiricism (ประสบการณ์นิยม)

    เน้นเรื่องประสบการณ์ เป็นที่มาของความรู้ที่แท้จริง John Locke 1632-1704 เชื่อว่าจิตได้รับความคิดต่างๆ จากประสบการณ์ ไม่ได้ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งแตกต่างกับ เดการ์ตโดยสิ้นเชิง
    ประสบการณ์มี 2 ชนิด
    1. ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส (รับจากภายนอก) ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    2. ประสบการณ์ทางจิต (รบจากภายใน) เช่นการคิด ทบทวน
    - เด็กไม่สามารถคิดก่อนที่จิตใจจะได้รับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส เช่นการสอนเขียน ก.ไก่ (มี 2 ขา มีปาก มีหัว)
    - ความรู้ทุกอย่างเกิดจากประสบการณ์ และเกิดภายหลังประสบการณ์
    - ความรู้เกิดขึ้นโดยอุปมาน (การเปรียบเทียบสิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน) ไม่ใช่การอนุมาน (การคาดคะเน)
    - แนวคิดนี้หาเหตุผลโดยการใช้ตรรกวิทยามาช่วยโดยใช้ อุปนัยและนิรนัย
    - อุปนัย Induction (กระบวนการให้เหตุผล จากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่)
    - นิรนัย Deductive (กระบวนการให้เหตุผล จากส่วนใหญ่ไปหาย่อย)
    - Empiricism ถือว่าประสบการณ์เป็นที่มาของความรู้เพียงอย่างเดียว

    เพทนาการนิยม Sensationism
    Devid Hume เดวิท ฮิว 1711-1776
    "ความรู้เกิดจากความตรึงตราและความคิด" Impressions เพราะได้นำแนวคิดจากประจักษ์นิยมของล๊อคให้เป็นเพทนาการ

    Impressions ความตรึงตรา
    คือ สัญชาน Perception ที่ตื่นตัวมี 2 ชนิด คือ
         - ความตรึงตราที่เกิดจากเพทนาการหรือการรับรู้ภายนอก (รับรู้จากการสัมผัส)
         - ความตรึงตราที่เกิดจากมโนภาพหรือการรับรู้ภายใน (รับรู้ทางจิต)
    ความคิด (Idea) คือการถ่ายแบบที่เลือนลางของความตรึงตราหรือ จินตนาการ (Imagination) หรือการรับรู้ที่เข้าไปกระทบจิตอย่างรุนแรง (เพทนาการ กิเลสและอาเวค)
    ** อาเวค = Emotion ความรู้สึกดีใจ โกรธ ฉุนเฉียว
    ** จินตภาพ = Imagination ภาพที่เกิดจากความนึกคิด
    ** ความคิด = Idea การถ่ายแบบที่เลือนลางของตรึงตรา
    ** ความตรึงตรา = Impression อารมณ์สะเทือนใจ การรับรู้จากผัสสะและจิต

    A Priorism อนุมานนิยม
    - พื้นฐานแนวคิดของ Immanual Kant 1724-1804
    - ตั้งอยู่บนญาณวิทยามากกว่าอภิปรัชญา
    - เอาเหตุผลนิยมกับประจักษ์นิยมรวมเข้าด้วยกัน (เน้นเหตุผลนิยม)

    "มโนภาพถ้าปราศจากการรับรู้ทางผัสสะ แล้วก็ว่างเปล่า การรับรู้ทางผัสสะ ถ้าปราศจากมโนภาพก็กลายเป็นความบอด"
    "Conception without Perception is empty : Perception without conception is blind"
    ** มนัส หรือพุทธปัญญา Intellect ความสามารถที่จะรับรู้และเข้าใจ

    Intuitionisn สัญชาตญาณนิยม
    - อังรี แบร็กซอง
    - ถือว่าสัญชาตญาณเป็น
    - องคาพยพ (ส่วนน้อยและใหญ่แห่งร่างกาย อวัยวะน้อยใหญ่)
    ของความรู้ที่แท้จริง
    - สัญชาตญาณ หรือ อัชฌัตติญาณคือการรู้เอง
    - การที่จิตเกิดความรู้แจ่มแจ้ง ชัดเจนโดยตรง
    - ไม่ต้องอาศัยการอ้างผลหรือความรู้อันเป็นตัวกลาง
    - อังรี ประณาม ๗
    - วุฒิปัญญา ว่าเป็นความแท้จริงที่บิดเบือน (บิดเบือนเพราะการถ่ายทอด)
    เพราะเป็นความแท้จริงที่เกิดจากการเล่าเรียน ส่วนสัญชาตญาณ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเองโดยการเพ่งภายในของจิต

    อ้างอิงจาก http://www.hrd.ru.ac.th/TotalSubject/EF603_4.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×