lookky pooh
ดู Blog ทั้งหมด

pat 5 pat 6 พร้อม เฉลย + เนื้อหาสอบ เกี่ยวกับ สังคมและศิลปะ

เขียนโดย lookky pooh

pat 5 (2553)ความถนัดครู http://www.thaigoodview.com/library/exam/gat-pat/531/pat5.pdf
เฉลย  
http://www.kmitl.ac.th/~s3010819/Ebook/mattayom/gatpat/keygatpat1_53.pdf 
 pat5 (2552)ความถนัดครู http://www.tlcthai.com/education/exam/pat5_2552.pdf


เฉลย

PAT 5

ความถนัดทางวิชาชีพครู  Smiley2552

1. 2  2. 2  3. 3  4. 4  5. 1  6. 4  7. 3  8. 1  9. 4  10. 2  
11. 2  12. 3  13. 1  14. 1  15. 3  16. 4  17. 1  18. 3  19. 4  20. 2
21. 3  22. 4  23. 1  24. 1  25. 3  26. 1  27. 4  28. 2  29. 2  30. 2
31. 4  32. 2  33. 4  34. 1  35. 2  36. 2  37. 2  38. 3  39. 1  40. 3
41. 1  42. 4  43. 4  44. 3  45. 3  46. 2  47. 1  48. 3  49. 3  50. 2
51. 4  52. 1  53. 3  54. 1  55. 4  56. 2  57. 4  58. 3  59. 1  60. 4
61. 3  62. 4  63. 3  64. 2  65. 1  66. 4  67. 4  68. 3  69. 4  70. 1
71. 1  72. 1  73. 4  74. 3  75. 2  76. 1  77. 4  78. 3  79. 1  80. 2
81. 4  82. 2  83. 4  84. 2  85. 4  86. 3  87. 2  88. 2  89. 2  90. 3
91. 1  92. 3  93. 2  94. 2  95. 3  96. 1  97. 2  98. 4  99. 3  100. 3
101. 2  102. 2  103. 1  104. 3  105. 2  106. 3  107. 4  108. 2  109. 4  110. 1
111. 4  112. 1  113. 2  114. 1  115. 4  116. 3  117. 2  118. 4  119. 3  120. 1
121. 1  122. 2  123. 2  124. 1  125. 2  126. 3  127. 1  128. 4  129. 2  130. 4
131. 3  132. 4  133. 1  134. 3  135. 4  136. 4  137. 1  138. 3  139. 4  140. 3
141. 1  142. 3  143. 3  144. 2  145. 1  146. 2  147. 3  148. 1  149. 2  150. 1
credit : NoO~MoOK 

pat 6 2553 http://www.thaigoodview.com/library/exam/gat-pat/531/pat6.pdf 
เฉลย http://www.kmitl.ac.th/~s3010819/Ebook/mattayom/gatpat/keygatpat1_53.pdf

pat 6 2552 http://www.forum.02dual.com/examfile/321topic/PAT76.pdf


เฉลย PAT6

2552  ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ รหัสวิชา 76

1. 1  2. 4  3. 3  4. 3  5. 1  6. 3  7. 3  8. 1  9. 4  10. 1
11. 2  12. 1  13. 4  14. 2  15. 1  16. 2  17. 2  18. 3  19. 3  20. 3
21. 2  22. 4  23. 2  24. 2  25. 4  26. 4  27. 2  28. 1  29. 4  30. 3
31. 3  32. 4  33. 3  34. 4  35. 3  36. 2  37. 1  38. 1  39. 2  40. 3
41. 2  42. 1  43. 1  44. 4  45. 2  46. 3  47. 1  48. 4  49. 2  50. 4
51. 1  52. 3  53. 2  54. 4  55. 1  56. 3  57. 3  58. 1  59. 2  60. 1
61. 1  62. 1  63. 2  64. 3  65. 4  66. 1  67. 2  68. 1  69. 3  70. 2
71. 3  72. 3  73. 4  74. 4  75. 3  76. 4  77. 4  78. 4  79. 4  80. 2
81. 2  82. 1  83. 2  84. 1  85. 3  86. 3  87. 4  88. 1  89. 1  90. 4
91. 3  92. 2  93. 3  94. 3  95. 2  96. 2  97. 2  98. 1  99. 1  100. 2
เฉลยฉบับ สทศ..

Credit : sageal

        ............................................................................................

เว็ป เนื้อหา ศิลปะ องประกอบศิลต่าง

เว็ป เนื้อหา ประวัติศสาสตร์ศิลปะ ตะวัณตก
--ตะวันออก--
/
/
/
/

ประวัติศิลปะของไทย และมียุคอื่นๆอีกด้วย

/

ประวัติศาสตร์ศิลปะสากล  / จะไม่อ่านก็ได้ เพราะเนี้อหาล้วน งงมา/

/

ยุคกลาง ยุคกลาง (อังกฤษ: Medieval Age) หรือ สมัยกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) เป็นหนึ่งในการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์โลก นำหน้าด้วยอารยธรรมสมัยคลาสสิค และตามหลังด้วยสมัยใหม่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดช่วงเวลาสมัยกลางของสากลโลกไว้ว่า การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในค.ศ. 476 เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง เพราะหลังการล่มสลาย จักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งกลายเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ การล่มสลายของมหาอำนาจทำให้ยุโรปแตกเป็นอาณาจักรมากมายและไม่มีขื่อแป จนตกเป็นเหยื่อของการรุกรานจากชนชาติภายนอก คริสต์ศาสนาจึงกลายเป็นที่พึ่งและสถาบันสูงสุดของยุโรปสมัยกลาง จนในศตวรรษที่ 15 ชาติต่าง ๆ ในยุโรปสามารถรวมตัวกันเป็นรัฐชาติ (Nation-States) จนพัฒนากลายเป็นประเทศต่าง ๆในปัจจุบันได้ หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1453ทำให้ความรู้ของกรีกและโรมันแพร่กระจายไปทั่วยุโรป เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงเริ่มต้นเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยกลางของสากลโลก และเปิดโลกเข้าสู่สมัยใหม่ การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

 

ยุโรปประมาณค.ศ. 450 จักรวรรดิโรมันแผ่ขยายอาณาเขตรอบทะเลเมดิเตอร์ราเนียนจนมีอาณาเขตสูงสุดในศตวรรษที่ 2 แต่อาณาจักรโรมันที่ใหญ่เกินไปทำให้ยากแก่การปกครอง ทำให้ต้องแบ่งจักรวรรดิออกเป็นตะวันออกและตะวันตก ในค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชตั้งเมืองไบแซนติอุม (Byzantium) เป็นเมืองหลวงใหม่แทนที่โรม ตั้งชื่อใหม่เป็นโรมใหม่ (Nova Roma) แต่ผู้คนมักจะเรียกว่า เมืองของพระเจ้าคอนสแตนติน คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) สงครามกับชนเผ่าเยอรมัน ในยุโรปกลางและตะวันออกในปัจจุบัน ทำให้ชาวโรมันเหนื่อยล้า ในศตวรรษที่ 4 พวกชนฮั่น (Huns) จากเอเชียบุกเข้ามาในยุโรปสังหารเผ่าเยอรมันอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เผ่าเยอรมันต่าง ๆ มาขออาศัยในจักรวรรดิ แลกเปลี่ยนกับการถูกเกณฑ์ไปรบ ใน ค.ศ. 378 ในการรบที่อเดรียโนเปิล (Adrianople) เผ่าวิสิโกธเอาชนะทัพโรมันและยึดแคว้นดาเชีย (Dacia โรมาเนียในปัจจุบัน) เป็นที่มั่นในค.ศ. 391 จักรพรรดิธีโอโดซิอุสออกกฎหมายให้คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาเพียงหนึ่งเดียวของจักรวรรดิโรมัน ความเชื่อตามหลักของคริสต์ศาสนานั้นบรรเทาความกระหายสงครามของชาวโรมันจนเกือบหมด ทำให้ต้องจ้างทหารเผ่าเยอรมันเพื่อให้สู้กับพวกเยอรมันเอง กองทัพโรมันจึงอ่อนแอลงพระเจ้าธีโอโดซิอุสทรงแบ่งอาณาจักรโรมันออกเป็นตะวันออกและตะวันตก การแบ่งจักรวรรดิเป็นการตัดเนื้อร้ายของจักรวรรดิ คือ ฝั่งตะวันตกที่ย่อยยับด้วยการรุกรานของเผ่าอนารยชน ทำให้จักรวรรดิฝั่งตะวันออก ที่รุ่งเรืองด้วยการค้ากับเส้นทางสายไหม ยังคงอยู่รอดเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปอีกพันปีใน ค.ศ. 409 เผ่าแวนดัล (Vandals) ทนการโจมตีของพวกฮั่นไม่ไหว จึงข้ามแม่น้ำไรน์ที่เป็นน้ำแข็งมาในแคว้นโกล (Gaul) ปล้นสะดมไปตามทางและตั้งรกรากที่คาบสมุทรไอบีเรีย ในค.ศ. 410 พระเจ้าอลาริค (Alaric) แห่งพวกวิซิกอททำทัพบุกยึดกรุงโรม เผาทำลายเมืองจนพินาศ จนจักรพรรดิโฮโนริอุส แห่งจักรวรรดิตะวันตก ยกแคว้นอากีแตนในฝรั่งเศสปัจจุบันให้กับพวกวิซิกอท พวกวิซิกอทจากอากีแตนก็บุกไอบีเรียขับพวกแวนดัลไปแอฟริกาเหนือในค.ศ. 429 พวกแวนดัลจากแอฟริกายกทัพเรือกลับมาโจมตีทำลายกรุงโรมใน ค.ศ. 455ใน ค.ศ. 476 โอโดอาเซอร์ (Odoacer) จากเผ่าเยอรมันโจมตีกรุงโรม และปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งฝั่งตะวันตก คือ จักรพรรดิโรมุลุส ออกุสตุส (Romulus Augustus) ทำให้จักรพรรดิฝั่งตะวันออกส่งพระเจ้าธีโอโดริค (Theodoric) แห่งชาวออสโตรกอท (Ostrogoths) มายึดโรมคืน แต่ธีโอโดริคก็ตั้งอาณาจักรในอิตาลีเสียเอง ยุคมืด ชนเผ่าเยอรมันต่างๆเข้ามาแทนที่จักรวรรดิโรมัน ได้แก่ ชาวแองเกิลส์และชาวแซ็กซอนในอังกฤษ ชาวแฟรงก์ในฝรั่งเศส ชาววิซิกอธในสเปน ชาวแวนดัลในแอฟริกา ชาวออสโตรกอธในอิตาลี แต่จักรวรรดิโรมันตะวันออกนั้นยังอยู่ยั้งยืนยง แต่ในยุโรปตะวันตกนั้น อารยธรรมโรมันค่อยๆสูญสลาย เมื่อบ้านเมืองไม่มีขื่อแป การค้าขายและคุณภาพชีวิตจึงเสื่อมลง มีเพียงสถาบันศาสนาที่ยังคงประดิษฐานมั่นคงเป็นที่พึ่งของประชาชน สมัยนี้จึงเรียกว่ายุคมืดซึ่งไม่เกี่ยวกับความมืดมนแต่อย่างใดแต่เป็นสมัยที่บันทึกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มีหรือครุมเครือจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งโรมันตะวันออกทรงต้องการจะรื้อฟื้นจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่ เลยทรงทำมหาสงครามยึดดินแดนต่างๆคืน โดยทรงทำลายอาณาจักรพวกแวนดัลในค.ศ. 533 และพวกออสโตรกอธในค.ศ. 552 แต่ดินแดนที่พระองค์ยึดมาได้นั้นจะหลุดมือไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการรุกรานของชาวมุสลิมในศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวอาหรับยึดได้แอฟริกาเหนือทั้งหมด และทำลายอาณาจักรชาววิซิกอธและยึดสเปนในค.ศ. 711 รวมทั้งบุกอิตาลีด้วยแต่การรุกรานของชาวมุสลิมก็สามารถต้านท้านไว้ได้โดยชาวแฟรงก์ พวกแฟรงก์เรืองอำนาจในศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์คาโรริงเจียน ปราบปรามเผ่าเยอรมันอื่นๆ และพิชิตเยอรมนี แผ่ขยายอิทธิพลของคริสต์ศาสนา จักรวรรดิไบแซนไทน์ที่อ่อนแอลงทำให้ควบคุมอิตาลีไม่ได้ ชาวลอมบาร์ด (Lombards เผ่าเยอรมันอีกเผ่า) จึงเข้ารุกรานอิตาลี พระสันตะปาปาทรงขอให้พระเจ้าชาร์เลอมาญ (Charlemagne) แห่งชาวแฟรงก์ช่วยเหลือ พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงสามารถขับชาวลอมบาร์ดได้ และสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิโรมันในค.ศ. 800 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)จักรวรรดิของพระเจ้าชาร์เลอมาญถูกแบ่งเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์ดัง (Verdun) ในค.ศ. 843 เป็นอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ตะวันตก และกลาง แต่อิทธิพลของราชวงศ์คาโรแลงเจียนก็เสื่อมลง ประจวบกับการรุกรานของชาวไวกิง (Vikings) จากสแกนดีเนเวีย บุกปล้นสะดมเมืองชายฝั่งต่างๆทั่วยุโรป ทำให้การค้าล่มสลาย กษัตริย์ทรงมิอาจจะต้านการรุกรานได้ ประชาชนจึงต้องพึ่งขุนนางท้องถิ่น ทำให้ขุนนางท้องที่มีอำนาจขึ้นมา เกิดระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ที่อำนาจเป็นของขุนนาง ขณะที่กษัตริย์นั้นอ่อนแอลงทุกวัน สมัยกลางเรืองอำนาจ (High Middle Ages) ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ในอาณาจักรแฟรงก์ต่างๆนั้นจะเป็นลักษณะของสมัยกลาง คือ นาย (lord) มีที่ดิน แบ่งที่ดิน (fief) ให้ลูกน้อง (vassal) ไปเพาะปลูกเกษตรกรรมและสร้างกองทัพ ขณะเดียวกันลูกน้องต้องทำหน้าที่ คือ จงรักภัคดี (homage) และช่วยรบในสงคราม และลูกน้องก็อาจจะมีลูกน้องอีกทีเป็นขั้นๆ นายที่ใหญ่ที่สุด คือ กษัตริย์ แบ่งที่ดินเป็นแคว้นๆให้ขุนนางใหญ่ปกครอง และขุนนางเหล่านั้นก็มีขุนนางใต้บังคับบัญชาอีกทีราชวงศ์คาโรแลงเจียนในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและตะวันตกสิ้นสุด อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกกลายเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในค.ศ. 962 ด้วยการสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปาของจักรพรรดิออตโตที่ 1จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการสวมมงกุฎจากพระสันตะปาปา ในค.ศ. 1072 พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ทรงมีความขัดแย้งกับจักรพรรดิเฮนรีที่ 4 ในการแย่งชิงอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ เรียกว่า ข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) จนจักรพรรดิเฮนรีต้องทรงเดินข้ามเทือกเขาแอลป์เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา เป็นชัยชนะของสถาบันศาสนาต่อการปกครองบ้านเมือง การเสื่อมอำนาจของพระจักรพรรดิทำให้นครรัฐต่างๆในอิตาลีเรืองอำนาจขึ้นมาอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกกลายเป็นอาณาจักรฝรั่งเศส ภายใต้ราชวงศ์กาเปเชียง อาณาจักรฝรั่งเศสเป็นที่ที่ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ส่งผลร้ายแรงที่สุด ฝรั่งเศสแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย กษัตริย์ฝรั่งเศสทรงไม่มีพระราชอำนาจในการควบคุมขุนนาง ทรงมีเพียงที่ดินรอบๆกรุงปารีสเท่านั้น ขุนนางฝรั่งเศสคนหนึ่งได้เป็นกษัตริย์อังกฤษ และด้วยการแต่งงานทำให้ได้ที่ดินมากมายในฝรั่งเศสเป็นของตน

ทำให้มีอำนาจมากกว่ากษัตริย์ฝรั่งเศสเองเสียอีกแม้ชาวมุสลิมจะยึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ไป แต่ก็ให้เสรีภาพแก่ผู้แสวงบุญชาวคริสต์ที่จะเดินทางไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่ในศตวรรษที่ 11 เซลจุคเติร์กเข้ายึดครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์และขัดขวางการเดินทางแสวงบุญของชาวคริสต์ รวมทั้งได้รับแรงบันดาลใจจากการต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวมุสลิมในสเปน ประกอบกับการร้องขอจากจักรพรรดิอเล็กซิอุสที่ 1 แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ให้มาช่วยรบพวกเติร์ก พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 1 จึงประชุมสภาคลีมองต์ (Council of Clermont) ประกาศว่าทุกคนที่ไปช่วยยึดดินแดนศักดิ์สิทธิคืนจะได้รับการไถ่บาป (indulgence) ทำให้ทั้งขุนนางและชาวบ้านยกพลกันไปดินแดนศักดิ์สิทธิ์ จนยึดดินแดนเยรูซาเล็มได้ในค.ศ. 1099 ตั้งอาณาจักรครูเสดต่างๆ เช่น ราชอาณาจักรเยรูซาเล็ม อัศวินคณะต่างๆ เช่น อัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar) หรืออัศวินฮอสพิทัลเลอร์ (Hospitallers) ทำสงครามกับพวกเติร์กแต่รัฐครูเสดเหล่านี้อยู่ได้ร้อยกว่าปีก็เสียให้ชาวมุสลิมไปในที่สุด โดยเฉพาะสุลต่านซาลาดิน แห่งไคโร ยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนในค.ศ. 1291 ชาวยุโรปจึงถูกขับออกจากตะวันออกกลางไปในที่สุด สงครามครูเสดครั้งต่อๆมา เปลี่ยนเป้าหมายไปอย่างสิ้นเชิง ในค.ศ. 1204 สงครามครูเสดครั้งที่ 4 ลงเอยด้วยการยึดจักรวรรดิไบแซนไทน์ ตั้งจักรวรรดิลาติน (Latin Empire) และรัฐครูเสดต่างๆในกรีซ หรือสงครามครูเสดตอนเหนือโดยอัศวินทิวทัน(Teutonic Knights) ปราบปรามชาวบอลติกอย่างโหดร้ายให้มาเข้ารีตศาสนาคริสต์ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 13 พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ออกุสตุส ปราบปรามและยึดที่ดินจากขุนนางต่างๆขยายอำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศสจนกลายเป็นมหาอำนาจของสมัยกลาง ขณะที่จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิทรงมุ่งจะกู้เมืองต่างๆในอิตาลีที่เป็นอิสระและสนับสนุนพระสันตะปาปา ทรงให้อำนาจขุนนางในเยอรมนี ทำให้เยอรมนีแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศเสปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้

(barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง

ระบบอาราม

 

หัวเสาอาดัมกับอีฟ นคริสต์ศตวรรษที่ 12 (พิพิธภัณฑ์เมืองอาเมียน ฝรั่งเศส สมัยนั้นระบบอาราม หรือ สำนักสงฆ์ (monasticism) มีความนิยมกันมาก ปัจจัยนี้ทำให้ศิลปะโรมาเนสก์เผยแพร่อย่างรวดเร็ว เพราะมีการสร้างอารามใหม่ขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรประยะนั้นมีการสถาปนานิกายใหม่ๆ ขึ้มากรวมทั้ง นิกายซิสเตอร์เชียน (Cistercian) , คลูนิค (Cluniac) และ คาร์ธูเชียน (Carthusian) เมือมีนิกายใหม่ก็มีผู้ติดตาม เมื่อมีผู้ติดตามก็ต้องมีการสร้างอารามใหม่ขึ้นทั่วยุโรปอารามใหม่นี้นอกจากจะเป็นแหล่งการศึกษาทางศาสนาแล้ว ทางวัดก็ยังมีการคัดหนังสือจากภาษาละติน และกรึก รวมทั้งหนังสือที่แปลมาจากภาษาภาษาอาหรับ ทางวิชาคณิตศาสตร์ และแพทยศาสตร์ หนังสือเหล่านี้แต่ละหน้าจะตกแต่งด้วยลวดลายอย่างหยดย้อยสวยงาม ศิลปะการตกแต่งหนังสือเรียกกันว่าหนังสือวิจิตร อิทธิพลทางคริสต์ศาสนา โรมาเนสก์เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงก้บคริสต์ศาสนา สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สื่อสารให้คริสต์ชนได้เห็นถึงแก่นของความเชื่อทางศาสนา จากหน้าจั่วที่มักจะเป็นรูปสลักนูนต่ำของการตัดสินครั้งสุดท้าย (Last Judgment) เนื้อหาและความน่าเกรงขามของฉากนี้ทำให้ผู้เห้นมึความรู้สึกว่ากำลังเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเข้าไปภายในก็จะเห็นภาพเขียนฉากต่างๆจากคัมภีร์ไบเบิลทั่วไปทั้งวัดไม่ว่าจะเป็นที่ประตู บนเสาหรือผนัง ภาพเขียนโรมาเนสก์มีอิทธิพลโดยตรงมาจากศิลปะแบบไบแซนไทน์ แต่งานของศิลปินโรมาเนสก์จะมีความเป็นนาฏกรรมมากขึ้นและมีความอ่อนช้อยกว่าไบแซนไทน์เห็นได้จากความพริ้วของเสื้อผ้า องค์ประกอบนี้ทำ

ให้ผู้ดูเกิดความสะเทือนทางอารมณ์มากกว่าศิลปะยุคก่อนหน้านั้น ศิลปะโรมาเนสก์ (พ.ศ. 1540 - 1740)

 

พระแม่มารีและพระบุตร (คริสต์ศตวรรษที่ 12) , วัดเซ็นต์โจน เทรโดส์ ประเทศเสปน สถาปัตยกรรม เป็นการก่ออิฐฉาบปูน มีหลังคาทรงโค้งกากบาทและมีลักษณะสำคัญ คือมีความหนักแน่น ทึบคล้ายป้อมโบราณมีโครงสร้างวงโค้งอย่างโรมันมีหอสูง 2 หอ หรือมากกว่านั้นมีช่องเปิด ตามหน้าต่างหรือประตูทำเป็นโครงสร้างวงโค้งวางชิด ๆ กันมีหัวคานยื่นออกนอกผนัง เป็นคิ้วตามนอนนอกอาคารมีหน้าต่างแบบวงล้อ เป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่สำหรับงานศิลปกรรมอื่นๆ ส่วนมากมักเป็นงานแกะสลักงาช้างขนาดเล็กๆ หรือไม่ก็เป็นงานที่เขียนบนหนังสือแบบวิจิตร เรื่องราวของงานศิลปะจะนำมาจากพระคัมภีร์ฉบับเก่าและใหม่ ตำนานโบราณ ชีวประวัตินักบุญ รูปเปรียบเทียบความดีกับความชั่ว หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นรูปดอกไม้ และรูปเรขาคณิต ศิลปะกอธิค ศิลปะกอธิค (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอธิคนานาชาติ ศิลปะกอธิคนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะยุคเรอเนสซองซ์ ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตรศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซงเดอนี(ฝรั่งเศส) มหาวิหารโนยง(ฝรั่งเศส) มหาวิหารลาออง(ฝรั่งเศส) มหาวิหารอาเมียง(ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์(อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์(อังกฤษ) เป็นต้น

 

มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอธิคตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมาศิลปะยุคกอธิคเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยเรอเนซองส์ตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอธ แฟรงค์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซอน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอธิค" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมันที่มีกฏเกณท์ชัดเจน ซึ่งในยุคเรอเนซองส์ได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร"อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ศิลปกรรมกอธิคเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะ

รูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival จิตรกรรม สมัยกอธิคมีพื้นที่เขียนภาพบนฝาผนังน้อยลง เพราะสถาปัตยกรรมมีช่องเปิดมาก ดังนั้นจึงมักเน้นไปที่การออกแบบกระจกสีบานหน้าต่าง สำหรับการเขียนภาพในหนังสือเขียน มักจะแสดงรูปคนที่สะโอดสะอง ในชุดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่พลิ้ว และโค้งไหวอย่างอ่อนช้อย ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510) ชาวอียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรมประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมากจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย

จิตรกรรม

 

งานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้ เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบ นอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากกว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ จะมีขนาดใหญ่กว่า มเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใส บนพื้นหลังสีขาว

ประติมากรรม งานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลักประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็ เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังมีการทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็กมักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลีเซรามิค ฯลฯประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้าหรือรูปฟาโรห์ ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และ สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ในที่นี้ทางเราจึงให้ข้อมูลครบถ้วน สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมอียิปต์ ใช้ระบบโครงสร้างเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและ แข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนา รูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้า เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ. 510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมาจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์และ หุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสานกษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

 

 

 

ศิลปะกรีก ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 440) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์จิตรกรรม จิตรกรรม รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้น ที่ ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจน ใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและคมชัด สีที่ใช้ได้แก่ สีดินคือเอาสีดำ อมน้ำตาลผสมบาง ๆ ระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำตาลอมแดง แต่บางทีก็มีสีขาว และสีอื่น ๆ ร่วมด้วย เทคนิคการใช้รูปร่างสีดำ ระบายพื้นหลัง เป็นสีแดงนี้ เรียกว่า "จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ" และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธ ศตวรรษที่ 1 มีรูปแบบใหม่ขึ้นมา คือ "จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง"โดยใช้สีดำอม น้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพ ตัวรูปเป็นสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลไม้ ตามสีดินของพื้น แจกัน ประติมากรรม ประติมากรรม ส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจาก สำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิต อยู่ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก (200 ปีก่อน พ.ศ.) เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ เทพเจ้า รูปนักกีฬา รูปวีรบุรุษ รูปสัตว์ต่าง ๆ ในยุคหลัง ๆ รูปทรงจะมีความเป็น มนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการ ขัดถูผิวหินให้เรียบ ดูคล้ายผิวมนุษย์ มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ ประติมากรรมกรีก จัดเป็นยุคคลาสสิค ที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาตินั่นเอง

สถาปัตยกรรม

 

สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้น ๆ ก็จะเป็นฝาผนัง โดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่าง ๆ 1 - 3 ห้อง ปกติสถาปนิกจะ สร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน อย่างมีจังหวะ ระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบ ๆ วิหารมีความสว่าง และมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์ และมีขนาดเหมาะสม ไม่ใหญ่โต จนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน 2 ใน 3 แบบ เกิดใน สมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริก และแบบไอโอนิก ซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไป ในแถบเอเชียไมเนอร์ เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมด ในสมัย ต่อมา เกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือ แบบโครินเธียน หัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกัน โดยมี การตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบ บางทีก็แกะสลักรูป คนประกอบไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความ นิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่ว และสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับ ประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน

ยุคโรมัน จักรวรรดิโรมัน (ละติน: Imperium Romanum กรีกโบราณ: Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία อังกฤษ: Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่ วันที่จูเลียส ซีซาร์ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการ (44 ปีก่อนคริสตกาล)ชัยชนะของออคเตเวียนในยุทธการแอคทิอุม (2 กันยายน, 31 ปีก่อนคริสตกาล)วันที่สภาซีเนตประกาศยกย่องออคเตเวียนให้เป็นออกุสตุส (16 มกราคม, 27 ปีก่อนคริสตกาล)จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนียและมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการีบัลแกเรียและยูเครน) ในปี ค.ศ. 106 และเมโสโปเตเมียในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาเดรียน) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตร.กม. (2,300,000 ตร.ไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum "ทะเลของเรา" อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมิวลุส ออกุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนแสตนติโนเปิลให้กับจักรวรรดิออตโตมันในปีค.ศ. 1453 พัฒนาการของจักรวรรดิโรมัน นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งแยกช่วงการปกครองของจักรวรรดิโรมันเป็นสมัยผู้นำ (Principate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิออกุสตุสจนถึงวิกฤติการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3และสมัยครอบงำ (dominate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิไดโอคลีเชียนจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งในสมัยผู้นำ จักรพรรดิจะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่ในสมัยครอบงำ อำนาจของจักรพรรดิได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยมงกุฎทองและพิธีกรรมที่หรูหรา และเมื่อเร็วๆ นี้ นักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่ารูปแบบการปกครองนี้ได้ใช้ต่อจนถึงช่วงเวลาของจักรวรรดิไบแซนไทน์

จักรพรรดิพระองค์แรก ไม่มีคำตอบแน่ชัดว่าใครเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของโรม อันที่จริงแล้วไม่มีตำแหน่งจักรพรรดิในระบบการเมืองของโรมัน มันเหมือนกับเป็นตำแหน่งที่แยกออกมามากกว่าจูเลียส ซีซาร์ได้ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการตลอดอายุขัย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้เผด็จการจะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งเกิน 6 เดือน ตำแหน่งของซีซาร์จึงขัดกับกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เหล่าสมาชิกสภาซีเนตบางคนเกิดความหวาดระแวงว่าเขาจะตั้งตนเป็นกษัตริย์และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นจึงเกิดการวางแผนลอบสังหารขึ้น และในวันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์เสียชีวิตลงโดยฝีมือของพวกลอบสังหารออคเตเวียน บุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองของจูเลียส ซีซาร์ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และไม่อ้างสิทธิในตำแหน่งผู้เผด็จการ แต่ได้ขยายอำนาจภายใต้รูปแบบสาธารณรัฐอย่างระมัดระวัง โดยเป็นการตั้งใจที่จะสนับสนุนภาพลวงแห่งการฟื้นฟูของสาธารณรัฐ เขาได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น ออกุสตุสซึ่งแปลว่า "ผู้สูงส่ง" และพรินเซปส์ ซึ่งแปลว่า"พลเมืองชั้นหนึ่งแห่งสาธารณรัฐโรมัน" หรือ "ผู้นำสูงสุดของสภาซีเนตโรมัน" ตำแหน่งนี้เป็นรางวัลสำหรับบุคคลผู้ทำงานรับใช้รัฐอย่างหนัก แม่ทัพปอมปีย์เคยได้รับตำแหน่งนี้เช่นกันนอกจากนี้ ออกุสตุสยังได้สิทธิในการสวมมงกุฎพลเมือง ที่ทำจากไม้ลอเรลและไม้โอ๊คอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งตำแหน่งต่างๆ และมงกุฎก็ไม่ได้มอบอำนาจพิเศษใดๆ ให้เขา เขาเป็นเพียงกงสุลเท่านั้น และใน 13 ปีก่อนคริสตกาล ออกุสตุสได้เป็น พอนติเฟกซ์ แมกซิมุส ภายหลังการเสียชีวิตของมาร์คุส อีมิลิอุส เลพิดุส ออกุสตุสสะสมพลังอำนาจไว้มากโดยที่ไม่ได้อ้างสิทธิในตำแหน่งต่างๆ มากเกินไป ศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ. 640 - 1040) และ ศิลปะไบแซนไทน์ (พ.ศ. 1040 - 1996) ศิลปะคริสเตียนยุคแรก รับอิทธิพลมาจากศิลปะกรีกโบราณศิลปะไบแซนไทน์ หมายถึงศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกับอาณาจักรไบแซนไทน์แต่มิได้เป็นอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ เช่น ประเทศบัลแกเรีย เซอร์เบีย หรือรุส รวมทั้งศิลปะของรัฐอาณาจักรเวนิส และราชอาณาจักรซิซิลี ศิลปะของผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิออตโตมันมักจะเรียกว่า ศิลปะหลังไบแซนไทน์ ศิลปะไบแซนไทน์บางลักษณะที่เริ่มจากอาณาจักรไบแซนไทน์โดยเฉพาะการเขียนภาพแบบที่เรียกว่า รูปสัญลักษณ์ (icon) และสถาปัตยกรรมการสร้างศาสนสถานยังคงทำกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศกรีซ ประเทศรัสเซีย และบางประเทศที่อยู่ในเครืออีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ อาคารในสมัยแรกนั้นจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ถูกฆ่าเรื่องศาสนา วิหาร พิธีเจิมน้ำมนต์ ผนังภายนอกอาคารจะถูกปล่อยไว้เรียบ ๆ ทื่อ ๆ ผนังภายในอาคารจะประดับด้วยเศษหินสีแวววาว ส่วนต่างๆของอาคาร เช่น เสารายแบบโรมัน เสาก่ออิฐ หลังคาทรงโค้ง แผนผังอาคารมี 2 แบบ คือ แบบชนิดตามยาว และแบบชนิดศูนย์กลาง ซึ่งมีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมันอาคารที่มีแนวยาวเหมาะสำหรับขบวนพิธีการที่สง่างาม อาคารชนิดมีศูนย์กลาง สำหรับเป็นสถูปสถานของนักบุญคนสำคัญ แต่ต่อมานิยมสร้างโบสถ์แบบมีศูนย์กลางกันมาก อาคารแบบมีศูนย์กลางอาจมี หลายรูปทรง เช่น ทำเป็นรูปทรงไม้กางเขนกรีก อยู่ภายในรูปจัตุรัส หรือไม่ก็รูปวงกลม โบสถ์ที่มีผังชนิดมีศูนย์กลางมักทำหลังคาทรงโค้ง หรือทรงกลมด้วย อิฐหรือหิน อาคารทรงเรือนโถงขนาดใหญ่มักทำเครื่องบนหลังคาด้วยไม้ท่อน จิตรกรรม ทำบนฝาผนังและแผงไม้ ตลอดจนทำเป็นภาพประกอบเรื่องในหนังสือ เขียนด้วยสีฝุ่น สีขี้ผึ้งร้อน และสีปูนเปียกอย่างแห้ง แสดงรูปคนกำลังสวดมนต์ต์ และภาพปาฏิหารย์ตอนสำคัญของพระผู้เป็นเจ้าที่นำมาจากพระคัมภีร์เก่าและใหม่ หนังสือในสมัยแรกๆ ทำมาจากหนังสัตว์และเป็นหนังสือม้วน ภาพประกอบเรื่องในหนังสือแสดงให้เห็นความเป็นธรรมชาติ โดยแก้ไขให้เป็นเชิงสัญลักษณ์มากกว่าจะเป็นธรรมชาติแท้ ๆ ลักษณะของภาพเป็นรูปแบนและเป็นการใช้สีอย่างประหลาด ๆ งานประติมากรรม ในยุคคริสเตียนถูกลดความสำคัญ อันเนื่องมากจากบทบัญญัติในพระคัมภีร์ เกี่ยวกับรูปเคารพบูชาประติมากรรมมักจำกัดอยู่กับงาน ขนาดเล็กๆ ได้แก่งานแกะสลักรูปคนบนโลงศพ ถ้วยและจานโลหะ งาแกะ สลักงาช้าง โกศบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์คำว่า "ไบแซนไทน์ " เรียกตามชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันคือนครอิสตันบูลในประเทศตุรกี) ลักษณะศิลปะไบแซนไทน์ มีลักษณะคาบเกี่ยวกับศิลปะคริสเตียนอยู่มาก และยังมีสืบเนื่องกันต่อมาเป็นเวลาอีกยาวนาน โดยมีลักษณะศิลปะแบบตะวันออกมาผสมผสานอยู่ด้วย

 

 

 

 

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ ยุคเรอเนสซองซ์ (ฝรั่งเศส: Renaissance) แปลว่า "การเกิดใหม่", (อิตาลี: Il Rinascimento) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ประวัติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน อาทิเช่นศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซ่า ไมเคิล แองเจลโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอล ผู้กำกับการสร้างและตกแต่ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ เป็นต้นเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกส และ สเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้นวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เซอร์ไอแซก นิวตัน ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง เป็นต้น ศิลปะ ศิลปะเรอเนสซองซ์ (พ.ศ. 1940 - 2140) คำว่า "เรอเนสซองซ์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรเนสซองซ์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มิเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักทางศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในยุคยุคฟื้นฟูศิลปวิทยานี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ศิลปะสมัยใหม่

ศิลปะสมัยใหม่ เป็นคำที่ใช้เรียกการสร้างงานศิลปะตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงประมาณคริสตทศวรรษ 1970 (สำหรับการสร้างงานศิลปะเมื่อไม่นานมานี้ มักจะเรียกว่า ศิลปะร่วมสมัย หรือ ศิลปะหลังสมัยใหม่) โดยการเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นแบบอย่างของแต่ละบุคคลมากว่าที่จะเป็นแบบอย่างศิลปะแห่งแคว้นซึ่งเป็นแบบที่มีความแตกต่างกันจนยากที่จะกล่าวอย่างผิวเผินได้ วัสดุและเทคนิคใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งผลผลิตของเครื่องจักรกลได้สะท้อนไปสู่งานศิลปะทำให้รูปแบบของศิลปะมีความหลายหลายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ความรู้ทางด้านจิตวิทยาและฟิสิกส์ได้จัดแจง

รูปแบบความคิดของศิลปินที่มีต่อมนุษย์ และโลกทางกายภาพขึ้นใหม่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ แม้ว่าแนวโน้มศิลปะหลาย ๆ แบบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 25 จะได้พยายามลดคุณค่าแบบอย่างศิลปะส่วนตนไปบ้าง แต่แนวโน้มที่แพร่หลายไปนี้ก็เน้นหนักที่ความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ ลักษณะสำคัญของงานศิลปะสมัยใหม่ จึงเป็นปฏิกิริยาที่ศิลปินแต่ละคนแสดงออกต่อโลกรอบตัว การค้นหาอาณาจักรความฝันเฟื่องของแต่ละคน การสร้างโลกทัศน์ใหม่ของตัวเองจากวัสดุและเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ไปจากเดิม เหล่านี้เป็นลักษณะสำคัญของงานจิตรกรรม ประติมากรรมแห่งพุทธศตวรรษที่ 25 แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและได้รับอิทธิพลจากศิลปะในแบบดั้งเดิมอีกด้วยศิลปะสมัยใหม่ โดยสรุป จึงเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคนเน้นความเป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิดเทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็ สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็ แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็ แสดงภาวะทางจิตของศิลปินและกลุ่มชน บ้างก็ แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆ รวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้างสรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยอย่างแต่ก่อนเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับความนิยมและสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย

 

--จากเว็ป --    http://docs.com/FYUV

 

 

*****สุดท้าย รวมข้อสอบเอ็นไว้หลายปี ลองมาทำดู****

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น