ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Sakura Hana House ภาษาญี่ปุ่น น่ารู้ ง่าย ๆ

    ลำดับตอนที่ #246 : [Off] 大学院 บัณฑิตวิทยาลัย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 300
      0
      28 เม.ย. 57

    大学院(だいがくいん) บัณฑิตวิทยาลัย

                การจะเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือนักเรียนจะต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนเนื่องจากการศึกษาที่ญี่ปุ่นจะเน้นการทำวิจัย ให้นักเรียนค้นคว้าหาข้อมูล ทดลองปฏิบัติด้วยตนเองมากกว่าการฟังบรรยายแบบการเรียนในระดับปริญญาตรี ต้องมีการเขียนรายงาน นำเสนอผลงานวิจัยของตนเอง อภิปรายแสดงความคิดเห็นงานวิจัยของผู้อื่น รวมไปถึงการนำเสนองานวิจัยของตนในงานประชุมวิชาการต่าง ๆ ทั้งในญี่ปุ่นหรือต่างประเทศและหากนักเรียนเคยมีประสงการณ์ทำงานมาบ้างจะเป็นประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำงานวิจัย

     

    การเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าสอบ

                ในการเลือกมหาวิทยาลัยที่จะเข้าสอยนั้น ก่อนอื่นต้องเริ่มจากสาขาวิชาที่เราต้องการจะเข้าเรียน ซึ่งควรจะเป็นสาขาเดียวกับในระดับปริญญาตรี เนื่องจากเราต้องนำความรู้เดิมมาใช้ในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง กำหนดหัวข้อที่เราจะนำมาวิจัย และศึกษาว่าอาจารย์ท่านใดที่เป็นผู้ดูแลหรือเคยมีผลงานวิจัยในด้านที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในการทำวิจัยของเรา และดูว่าอาจารย์ท่านนั้นสอนอยู่ทีมหาวิทยาลัยใด

     

    การสมัครและการสอบเข้า

                การสอบเข้าเรียนต่อในระดับบัณฑิตวิทยาลัย ส่วนใหญ่จำเป็นต้องไปสอบที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวิธีการสอบคัดเลือกจะแตกต่างกันไปตามแต่คณะ เช่น พิจารณาจากเอกสาร ความสามารถทางวิชาการ (มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดสอบ) การสอบสัมภาษณ์ รายละเอียดสรุปของวิทยานิพนธ์ สอบปากเปล่าซึ่งเน้นในเนื้อหาวิชาเฉพาะที่นักเรียนสมัคร นอกจากนี้ยังมียังการสอบข้อเขียนในวิชาเอก วิชาภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศภาษาอื่น (มหาวิทยาลัยบางแห่ง มีค่อนข้างน้อย พิจารณาจากเอกสารการสมัครโดยไม่ต้องบินไปสอบที่ญี่ปุ่น)และอาจจะมีการสอบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต Skype รายชื่อบัณฑิตวิทยาลัยอนุญาตให้เข้าศึกษาก่อนมาญี่ปุ่นได้ สามารถค้นคว้าได้จากเว็บไซต์ http://www.jasso.go.jp/syudy_j/documents/tonichimar.pdf (ภาษาญี่ปุ่น)

     

    ช่วงเวลาการสมัครและสอบเข้า

                มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนในภาคเรียนเดือนเมษายน มีบางแห่งที่เปิดรับเข้าเรียนในภาคเรียนเดือนตุลาคมด้วย โดยการรับสมัครและการสอเข้าจะเริ่มประมาณเดือนมิถุนายน - กันยายน ก่อนปีที่จะเข้าศึกษา แต่อาจเปิดรับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม เช่นกัน ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องติดต่อสอบถามข้อมูลการสมัครของคณะและมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะเข้าศึกษาล่วงหน้าอย่างละเอียด

     

    เอกสารที่จำเป็นในการสมัคร

                มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะแตกต่างกัน แต่เอกสารทั่วไปมีดังนี้

    1. ใบสมัครของทางวิทยาลัย

    2. เอกสารประวัติส่วนตัว

    3. ใบรับรองการจบการศึกษา หรือคาดว่าจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี (กรณีศึกษาต่อระดับปริญญาโท) ใบรับรองการจบการศึกษา หรือคาดว่าจะจบการศึกษาระดับปริญญาโท (กรณีศึกษาต่อระดับปริญญาเอก)

    4. ใบแสดงผลการศึกษา Transcript จากสถาบันที่ศึกษาล่าสุด

    5. จดหมายรับรองจากอธิการบดี หรือคณบดี หรืออาจารย์ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยที่จบการศึกษา

    6. บทคัดย่องานวิจัย (ถ้ามี) หรือวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัยที่การศึกษา

    7. แผนงานวิจับ หรือโครงร่างวิจัย

    8. ใบรับรองแพทย์

    9. รูปถ่าย

    10. ใบรับรองทะเบียนต่างด้าว (กรณีที่ผู้สมัครอยู่ในประเทศญี่ปุ่น)

    11. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้ำประกัน

     

    ขั้นตอนการสอบเข้า

                1. การพิจารณาเอกสาร

                2. การพิจารณาความสามารถทางวิชาการ (มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดการทดสอบ)

                3. การเขียนบทความสั้น / เรียงความ

                4. การสอบสัมภาษณ์

     

    อาจารย์ที่ปรึกษา

                คืออาจารย์ที่คอบให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนแผนกการวิจัยและวิชาเรียน บัณฑิตวิทยาลัยหลายแห่งอาจกำหนดให้นักเรียนคิดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้อาจารย์ตกลงยินยอมรับเข้าศึกษาก่อน จึงสามารถเข้าศึกษาได้ ดังนั้นควรสอบถามวิทยาลัยที่ต้องการเข้าเรียนก่อนว่าจะเป็นต้องติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาหรือไม่การหาอาจารย์ที่ปรึกษานั้นจำเป็นต้องใช้ความพยายามและความอดทนสูง จำเป็นต้องส่งรายละเอียดของตนเองอย่างชัดเจน เช่นเหตุผลที่เลือกอาจารย์ท่านนั้น ผลงานวิจัยเดิมและแผนงานวิจัยที่ต้องการจะทำ โดยอาจแนบหนังสือรับรองจากอาจารย์ผู้สอนในประเทศไปด้วย เป็นต้น การให้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่เคยศึกษาแนะนำ หรือติดต่อผ่านทางนักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่กับอาจารย์ท่านนั้น จะทำให้การเข้าถึงอาจารย์ง่ายขึ้น หรือเข้าร่วมงานแนะแนวเพื่อศึกษาต่อเพราะในงานแนะแนวที่จัดขึ้นมักมีบูธจากมหาวิทยาลัยและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เข้าร่วมงานด้วยตนเอง จึงมีโอกาสทำความรู้จัก และพูดคุยสอบถามกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยได้โดยตรง

     

    การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับบัณฑิตวิทยาลัย

                1. ค้นหารายชื่ออาจารย์และสังกัดจากหนังสือแนะนำมหาวิทยาลัย หนังสือแนะนำอาจารย์ของมหาวิทยาลัย หรือจดหมายข่าว

                2. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่เคยไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นมาหรือผู้ที่ทำงานอยู่ในสาขาที่จะศึกษาต่อ

                3. ถ้าค้นหาข้อมูลของสามาที่จะศึกษาต่อจากโฮมเพจของมหาวิทยาลัยไม่ได้ ให้ส่งอีเมล์ โทรสารหรือจดหมายเพื่อขอรายละเอียดไปที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นโดยตรง

                4. ค้นหาข้อมูลนักวิจัยและหัวข้อวิจัย จากเว็บไซต์ http://researchmap.jp/search/ หรือ http://ci.nii.ac.jp/en

     

    นักศึกษาวิจัย Kenkyusei

                คือนักเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำวิจัยในระยะเวลาสั้น ๆ โดยไม่ได้ปริญญาหรือหน่วยกิจจากวิชาที่วิจัย ระยะเวลาในการทำวิจับ 6 เดือน หรือ1 ปี บัณฑิตวิทยาลัยหลายแห่งคาดพร้อมให้นักเรียนสมัครเข้าเป็นนักเรียนวิจัยก่อน เพิ่มเตรียมความพร้อมและปรับตัวก่อนสอบเข้าเรียนในหลักสูตรปกติ การเป็นนักศึกษาวิจัยจะมีข้อดีคือ ทำให้ได้ทำความรู้จักกับอาจารย์ที่ปรึกษาและรู้แนวทางงานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาล่วงหน้า มีเวลาในการปรับพื้นฐานวิชาความรู้ และวางแผนงานวิจัยของตนเอง และยังมีโอกาสที่อาจารย์จะรับเป็นนักเรียนได้ง่ายหว่าผู้ที่สมัครสอบโดยตรง โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมที่คิดว่าเป็นประโยชน์ที่นักเรียนควรเข้าร่วม และแนะนำคลาสเรียนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยและตรงกันความสนใจของนักเรียน นักเรียนวิจัยสามารถทำงานพิเศษได้แต่กำหนดชั่วโมงการทำงานน้อยกว่านักเรียนปกติ

     

    การรับสมัครนักเรียนวิจัย

                มหาวิทยาลัยจะพิจารณาจากเอกสารและสัมภาษณ์เป็นหลัก ซึ่งนักเรียนจะต้องเสนอหัวข้อวิจัยให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อประกอการพิจารณาแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาขาของผู้สมัครด้วย และการนักเรียนวิจัยจะได้รับสถานพำนักเป็นนักเรียนวิทยาลัยนั้น จำเป็นต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

                ขอขอบคุณข้อมูลจาก องค์การสนับสนุนนักเรียนแห่งประเทศญี่ปุ่น JASSO

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×