ความรู้เรื่องระบบสุริยะจักรวาลเเละเกร็ดความรู้อื่นๆ - นิยาย ความรู้เรื่องระบบสุริยะจักรวาลเเละเกร็ดความรู้อื่นๆ : Dek-D.com - Writer
×

    ความรู้เรื่องระบบสุริยะจักรวาลเเละเกร็ดความรู้อื่นๆ

    - - - - - บทความเรื่องนี้จะกล่าวถึงที่มาเเละความสำคัญของระบบสุริยะจักรวาลเเละยังจะได้รู้อีกว่าระบบสุริยะจักรวาลมีเกล็ดความู้อีกมากมาย เช่น ใครคิดค้นอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ออกแบบ - - - - -

    ผู้เข้าชมรวม

    1,510

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    28

    ผู้เข้าชมรวม


    1.51K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    34
    จำนวนตอน : 13 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  2 ก.ย. 60 / 22:07 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    นิยามดาวเคราะห์

                    ตามมติที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (International Astronomical Union : IAU) ระหว่างวันที่ 14-24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก ประเทศสหรัฐเช็ก ในการประชุมดังกล่าว มีเรื่องสำคัญที่ได้รับการพิจารณา ได้แก่ นิยามของดาวเคราะห์และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ ที่สำคัญที่สุดได้แก่มติที่ประชุมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ที่มีผลให้ดาวพลูโตถูกปรับเปลี่ยนจากดาวเคราะห์ (Planet) กลายเป็นดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) ในที่สุด

                    ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีนิยายที่ชัดเจนว่าดาวเคราะห์คืออะไร แม้เราจะยอมรับกันทั่วไปว่า ดาวเคราะห์เป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์ เช่น ดวงอาทิตย์ในสมัยโบราณมนุษย์รู้จักดาวเคราะห์ 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แต่ดั้งเดิมนั้น คำว่า ดาวเคราะห์ (Planet) หมายถึงผู้พเนจร (Wanderer) เนื่องจากหากสังเกตจากโลกแล้ว ดาวทั้ง 5 ดวงนี้ เปลี่ยนตำแหน่งไปในท้องฟ้าเมื่อเทียบกับดาวดวงอื่นๆ ต่อมาเมื่ออุปกรณ์ทางดาราศาสตร์มีความก้าวหน้า จึงทำให้รู้ถึงความแตกต่างระหว่างดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ เมื่อมีการคิดค้นและประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้น ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่ถูกค้นพบด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของมนุษย์

                    ในเวลาต่อมาก็มีการค้นพบดาวเคราะห์เพิ่มขึ้นอีกนั้นคือ ดาวเนปจูน และดาวพลูโตตามลำดับ เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นอีกทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบวัตถุขนาดเล็กเพิ่มอีกจำนวนมากที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต ซึ่งแต่เดิมได้มีการยอมรับว่า ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา แต่นักดาราศาสตร์ทราบดีถึงความแตกต่างระหว่างดาวพลูโต และดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ทั้ง 8 ดวง ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กมากเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก ขนาดของดาวพลูโตเพิ่งจะเป็นที่ทราบแน่ชัดภายหลังจากที่มีการค้นพบดวงจันทร์แครอน (Charon) ในปี พ.ศ.2521 นอกจากนี้จากการศึกษาสเปกตรัมของดาวพลูโต ยังพบว่า แม้ดาวพลูโตเพิ่งจะมีองค์ประกอบทั้งที่เป็นหินแข็งและองค์ประกอบที่เป็นน้ำแข็งของโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น น้ำ ไนโตรเจน และคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น และหากพิจารณาในแง่วงโคจรของดาวพลูโตแล้วยังมีงโคจรที่เป็นวงรีมาก อีกทั้งยังอยู่ในระนาบที่แตกต่างไปจากระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์ดวงอื่น

                    ต่อมานักดาราศาสตร์ได้เสนอทฤษฎีที่ว่าด้วยวัตถุนอกวงโคจรของดาวเนปจูน (Trans Neptunian Objects : TNO) รวมถึงวัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Objects : KBO) ซึ่งมีวงโคจรที่เกิดกำทอน (Resonance) กับวงโคจรของดาวเนปจูน และในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบวัตถุที่จัดว่าเป็น TNO มากกว่า 800 วัตถุ รวมถึง อีรีส ซึ่งพบว่ามีขนาดใหญ่กว่าดาวพลูโต ปัญหาที่ตามมาก็คือ จะมีการยอมรับดาวเคราะห์เพิ่มขึ้นหรือจะทำการตั้งนิยามของดาวเคราะห์ให้มีความชัดเจนมากขึ้นรวมทั้งจัดแบ่งประเภทของวัตถุในระบบสุริยะ

                    ในที่สุกนักดาราศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงมีความเห็นสมควรที่จะมีการนิยามคำว่า ดาวเคราะห์ให้มีความชัดเจน โดยร่างข้อเสนอนิยามของดาวเคราะห์แรกเริ่มที่เข้าสู่ที่ประชุมนั้น เสนอสมบัติขั้นพื้นฐานของวัตถุที่จัดว่าดาวเคราะห์ อันเป็นผลให้วัตถุขนาดใหญ่ ได้แก่ เซเรส แครอน และอีรีส ถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ดาวอย่างไรก็ดี ภายหลังกรถกเถียงของนักดาราศาสตร์ชั้นนำทั่วโลก เป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ ในที่สุดได้มีการลงมติในเรื่องนิยามของดาวเคราะห์ดังต่อไปนี้

                    ข้อที่ 1 ของดาวเคราะห์ (Planet) เป็นวัตถุที่

                                    1.1 โคจรรอบดวงอาทิตย์

                                    1.2 มีมวลสูงมากพอจนแรงโน้มถ่วงทำให้วัตถุดังกล่าวมีรูปทรงเป็นทรงกลมหรือเกือบกลม

                                    1.3 วัตถุดังกล่าวทำให้บริเวณใกล้เคียงกับวงจรของมันปราศจากวัตถุอื่นๆ แล้ว

                    ข้อที่ 2 ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) เป็นวัตถุที่

                                    2.1 โคจรรอบดวงอาทิตย์

                                    2.2 มีมวลสูงมากพอจนแรงโน้มถ่วงทำให้วัตถุดังกล่าวมีรูปทรงกลมหรือเกือบกลม

                                    2.3 ในบริเวณใกล้เคียงกับวงโคจรของวัตถุดังกล่าวสามารถมีวัตถุอื่นๆ ในวงโคจรได้

                                    2.4 ไม่เป็นบริวารของดาวเคราะห์อื่น

                    ข้อที่ 3 วัตถุอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามข้อ 1 และ 2 ให้เรียกรวมๆ ว่าเป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar System Bodies)

                    ผลดังกล่าวทำให้วัตถุที่ถูกจัดว่าเป็นดาวเคราะห์ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ดาวพลูโต เซเรส อีรีส ในปี พ.ศ.2552 ได้มีการพิจารณาดาวเคราะห์แคระอีก 2 ดวง ได้แก่ มาเกะ มาเกะ และเฮาเมอา

                    อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่ายังมีความไม่ชัดเจนบางประการเกี่ยวกับ นิยามในข้อ 1.3 และ 2.3 และการ ลงมติดังกล่าวก็มิได้คลอบคลุมถึง แครอน ว่าจะถือว่าเป็นดวงจันทร์บริวารของ ดาวเคราะห์แคระพลูโต หรือจะถือว่า พลูโต-แครอน เป็นระบบดาวเคราะห์แคระคู่

                    ในที่สุดหลังจากที่เป็นที่ยอมรับกันว่า ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่เก้ามานานถึง 76 ปี ดาวพลูโตก็ได้ถูกลดชั้นเป็น ดาวเคราะห์แคระ และเป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดแบ่งประเภทดังกล่าวอาจทำให้จำนวนดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะลดลงเหลือเพียง 8 ดวง และโอกาสที่จะค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่ 9 คงเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับจำนวนของดาวเคราะห์แคระ อาจจะเพิ่มจำนวนเป็นหลักร้อยในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า

     

     

     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น